ที่มา Thai E-News
ผม ช็อคมากกับการสังหารหมู่ประชาชนที่เกิดขึ้น ผมไม่คิดว่าประเทศที่มีอารยะ ควรนำอาวุธปืนมายิงใส่ประชาชน ผมตกใจมากจริงๆ กับการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์( วอลเดน เบนโล สมาิชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวต่อหน้านายอภิสิทธิ์ ในการร่วมออกรายการ BBC World Debate )
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา ประชาไท
หมายเหตุไทยอีนิวส์:ใน โค้งสุดท้ายของการรณรงค์เลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นป้ายโปสเตอร์ชุดใหม่ หลังจากถูกคริส เบเกอร์วิจารณ์ว่าภาพโปสเตอร์ชุดเดิมของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั้นไม่ยอม"สบตาประชาชน" โดยชุดใหม่นี้ได้นำเสนอภาพนายอภิสิทธิ์ที่ดูมีชีวิตชีวาขึ้น และ1ในโปสเตอร์ชุดใหม่นี้ได้ขายเรื่องว่าอภิสิทธิ์เป็นผู้ที่"ได้รับการยอม รับจากเวทีระดับโลก"
อย่างไรก็ตามรายงานข่าวจากประชาไทล่าสุดนี้ อาจเป็นเรื่องตรงกันข้ามกับที่พรรคประชาธิปัตย์กำลังชูอยู่...
“อภิสิทธิ์” เจอส.ส.ฟิลิปปินส์ ฉะ “ประเทศที่ศิวิไลซ์จะไม่เอาปืนยิงใส่ประชาชน”
เวบไซต์หนังสือพิมพ์ประชาไท รายงานว่า สืบเนื่องจากที่นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เดินทางไปร่วมอภิปรายในงาน World Economic Forum ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2554 ทางสถานีโทรทัศน์ BBC World Service ได้นำบันทึกเทปดังกล่าวมาฉายในรายการ BBC World Debate ตอน Asia: Sharing the Wealth เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2554 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
การอภิปรายดังกล่าว มีตัวแทนจากสี่ประเทศในเอเชีย คือ มารี เอลกา ปังเกสตู รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศอินโดนีเซีย, ปราชันท์ รัวร์ ซีอีโอเอสซาร์กรุ๊ป ประเทศอินเดีย, วอลเดน เบลโล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเทศฟิลิปปินส์ และนักวิเคราะห์อาวุโส Focus on the Global South และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีประเทศไทย
ผู้ สื่อข่าว ได้ถามถึงความสัมพันธ์ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเป็นประชาธิปไตย และธรรมาภิบาล วอลเดน เบลโล ได้ชี้ว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงประสบปัญหาด้านประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งประชาธิปไตยถดถอยมากหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ต่อมา อภิสิทธิ์ ใช้สิทธิถูกพาดพิงชี้แจง โดยยอมรับว่าการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นเรื่องทำให้ประเทศไทยถอยหลังจริง แต่หลังจากนั้นมา รัฐบาลก็จัดให้มีการเลือกตั้ง ซึ่งวันที่ 3 กรกฎาคมนี้ จะเป็นการเลือกตั้งครั้งที่สองหลังการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการนำเป็นประเทศก้าวไปข้างหน้า เขาเน้นว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ “ได้นำหลักนิติรัฐกลับมาสู่ประเทศ”
ต่อประเด็นดังกล่าว ผู้สื่อข่าวบีบีซีตั้งคำถามว่า พรรคประชาธิปัตย์ได้รับประโยชน์จากการรัฐประหารเมื่อปี 2549 ใช่หรือไม่ อภิสิทธิ์ชี้แจงว่า พรรคตนไม่ได้ประโยชน์จากการรัฐประหารแต่อย่างใด และชี้แจงว่า บัดนี้ประเทศไทยได้กลับสู่สภาวะปกติแล้ว
“ในช่วงที่ผม เข้ามาบริหารประเทศ มีรัฐบาลสองรัฐบาลที่บริหารอยู่ก่อนหน้าแล้ว เราประสบกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลประชาธิปัตย์ก็สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจดังกล่าวได้ ซึ่งในขณะนี้ นับว่าประเทศได้กลับสู่สภาวะปกติ เราจัดให้มีการเลือกตั้ง เป็นการคืนอำนาจให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนได้ตัดสินใจ และทหารก็ไม่เข้ามาแทรกแซงการเมืองอีก” นายกฯ ไทย ชี้แจง
อย่างไรก็ ตาม วอลเดน เบนโลจากฟิลิปปินส์ ยังกล่าวต่อไปว่า เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ตนได้อยู่ที่กรุงเทพฯ และได้รับรู้ถึงการใช้ความรุนแรงของรัฐในการสลายการชุมนุม ซึ่งตนมองว่า เป็นเรื่องที่เกินกว่าเหตุ และไม่สามารถยอมรับการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อประชาชนตนได้
“ผม ช็อคมากกับการสังหารหมู่ประชาชนที่เกิดขึ้น ผมไม่คิดว่าประเทศที่มีอารยะ ควรนำอาวุธปืนมายิงใส่ประชาชน ผมตกใจมากจริงๆ กับการกระทำดังกล่าวของรัฐบาลประชาธิปัตย์” วอลเดน กล่าว
อภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า หากวอลเดน เบลโล ได้อยู่เมืองไทยก่อนหน้านั้น จะรู้ว่า ความรุนแรงดังกล่าวเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ แต่การสลายการชุมนุม เป็นเรื่องจำเป็น เพราะพบว่ามีกลุ่มติดอาวุธอยู่ภายในกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง ทั้งนี้ ทางรัฐบาลได้ใช้ความอดทนอดกลั้น ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ยอมรับกันทั่วไป และเป็นการนำหลักนิติรัฐกลับคืนมาสู่ประเทศ
“หลังจากเหตุการณ์ดัง กล่าว ก็มีกระบวนการทางการเมืองที่โปร่งใส เรามีการอภิปรายในสภา มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้เราก็ยังมีคณะกรรมการอิสระที่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำการค้นหาความจริง (Fact-finding) ไม่มีใครอยากเห็นความสูญเสียหรอกครับ แต่เราต้องยึดถือหลักนิติรัฐ” อภิสิทธิ์กล่าว
หลังจากนั้น ทางรายการ BBC World Debate เข้าสู่ประเด็นการพูดคุยเรื่องการคอร์รัปชั่นและนโยบายทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ตัวแทนจากประเทศอินโดนีเซียมองว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกับตัวแทนจากอินเดียและฟิลิปปินส์ซึงมองว่าการลดความเหลือมล้ำเป็น เรื่องที่จำเป็น และการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการคอร์รัปชั่นก็มีส่วนสำคัญในการบรรลุจุด ประสงค์ดังกล่าว
อภิสิทธิ์ ในฐานะตัวแทนประเทศไทย ได้อภิปรายเสริมว่า ในส่วนของประเทศไทย มีการริเริ่มนโยบายการลดการคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะส่วนของภาคที่ธุรกิจ ที่ได้รวมตัวกันในนามของ ภาคีเครือข่ายการป้องกันและการปราบปรามคอร์รัปชั่น ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นที่ฝังรากลึกในสังคมไทย
“การ แก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นนับเป็นเรื่องที่ต้องทำกันอีกนาน เนื่องจากอาจกล่าวได้ว่าคนไทยได้ชาชินกับการคอร์รัปชั่นไปแล้วเป็นเรื่อง ปกติ โชคดีที่เราได้นำหลักคำสอนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวมาใช้ ซึ่งเน้นเรื่องความพอเพียง และให้คนลดเว้นจากความตะกละและความเห็นตัว ซึ่งเป็นรากฐานของการคอร์รัปชั่น” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อธิบาย
ใน ช่วงท้ายของรายการ มีการถามถึงการเลือกตั้งและสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย โดยผู้ดำเนินรายการถามว่า การเลือกตั้งในเมืองไทยครั้งนี้ อาจเกิดการแทรกแซงจากทหารหรือไม่ นายกฯ ไทยตอบว่า จะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไม่ว่ากองทัพ หรือพรรคการเมืองใดๆ ต่างมีอิสระในการรณรงค์หาเสียง และต่างเคารพในผลการเลือกตั้งที่ออกมา
ในขณะเดียวกัน วอลเดน เบนโลกลับมองว่า หลังการเลือกตั้ง หากฝ่ายค้านชนะ อาจนำมาซึ่งความวุ่นวายในประเทศไทยได้ เนื่องจากจะมีปัญหาในส่วนของทหารและสถาบันกษัตริย์ และยังกล่าวด้วยว่า ในประเทศที่เป็นสมัยใหม่ ไม่ควรจะนำกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือกฎหมายอาญามาตรา 112 มาใช้ โดยทัศนะของเขาเห็นว่าการนำคนเข้าคุก เพียงเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ เป็นเรื่องที่มีปัญหา
อภิสิทธิ์ ได้ชี้แจงต่อประเด็นดังกล่าวว่า ตนและทุกส่วนยอมรับผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ และถ้าหากฝ่ายค้านชนะการเลือกตั้ง ก็จะยอมรับเช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลใหม่จะมีจุดมุ่งหมายอย่างไร ถ้าหากรัฐบาลใหม่บริหารประเทศโดยคำนึงผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศ ก็เป็นเรื่องดี แต่หากคำนึงถึงผลประโยชน์ของคนคนเดียว โดยเฉพาะต่อคนที่ถูกตั้งข้อกังขาเรื่องคอร์รัปชั่นและสิทธิมนุษยชน ก็คงต้องเป็นเรื่องควรกังวล และได้ชี้แจงถึงการใช้กฎหมายมาตรา 112 ในประเทศไทยด้วยว่า มีการใช้เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป
“กฎหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นกฎหมายอาญา ซึ่งเกี่ยวข้องกับรากเหง้าและเอกลักษณ์ของประเทศไทย และยังเป็นส่วนหนึ่งของความมั่นคงของชาติ ที่ต้องมีการบังคับใช้ เนื่องจากว่า สถาบันกษัตริย์ไม่มีกลไกป้องกันตนเองอื่นๆ เช่น ถ้าหากคุณถูกหมิ่นประมาท คุณสามารถไปฟ้องศาลได้ แต่หากสถาบันกษัตริย์ถูกดูหมิ่น ท่านไม่สามารถไปฟ้องศาลเองได้”
“อาจกล่าว ได้ว่า คนที่ถูกดำเนินคดีเนื่องจากการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ก็จะถูกดำเนินคดี เหมือนกับเวลาเขาไปหมิ่นประมาทคนทั่วไป ซึ่งกรณีดังกล่าวก็ย่อมไม่ได้รับการอภัยโทษเช่นกัน” อภิสิทธิ์ ชี้แจง
********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง: รวมฮิตช็อตเด็ดทองมาร์คในเวทีโลก(เผยแพร่ครั้งแรก30ตุลาคม2553,ไทยอีนิวส์)
ส่วนเกินบนเวทีโลก-ผู้ นำชาติต่างๆคุยกันอย่างออกรสในการ ร่วมงานเลี้ยงอาหารค่ำ หลังสิ้นสุดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 17 และการประชุมกับชาติพันธมิตรอาเซียน ที่เวียดนาม ในภาพ นายกรัฐมนตรีหญิงจูเลีย กิลลาร์ด ของออสเตรเลีย จับมือทักทายนายกรัฐมนตรีนาโอโตะ คุงของญี่ปุ่น โดยมีเลขาธิการอาเซียน สุรินทร์ พิศสุวรรณ นายกรัฐมนตรีจอห์น คีย์ จากนิวซีแลนด์ และประธานาธิบดีเบนิกโย อาวควิโนที่3ของฟิลิปปินส์ ล้อมวงกันอย่างสนิทสนม ทั้งหมดเป็นผู้นำจากการเลือกตั้งของประชาชนในชาตินั้นๆ และยังไม่มีใครมือเปื้อนเลือดสังหารหมู่ประชาชนในประเทศของตน
โดยมีใครก็ไม่รู้เป็นส่วนเกินของภาพอยู่ด้านซ้ายมือ(ภาพข่าว:REUTERS)
มือที่มองไม่เห็น(ตัว)ของใคร?-เป็น ธรรมเนียมปฏิบัติของการ ประชุมสุดยอดผู้นำนานาชาติ ต้องมีภาพแบบนี้เกิดขึ้นตอนจบประชุม คือการจับมือประสานกันอย่างแน่นเหนียว แต่การประชุมอาเซียน-จีนหนล่าสุดที่ฮานอย มีบางมือของบางคนที่ผู้นำนานาชาติทำท่าไม่อยากสัมผัส(ภาพข่าว:REUTERS)
เฉลย..ยัง ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า สำนักข่าวต่างประเทศแค่บังเอิญ หรือ ตั้งใจจะให้ภาพนายกฯหุ่นเชิด ของระบอบทรราชย์อำมาตย์ในเวทีโลก ออกมาเสมือนถูกรังเกียจจากผู้นำนานาชาติ แต่ดูแล้วภาพแนวนี้ออกมาถี่ หลังการสังหารหมู่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในไทย
สำนักข่าวต่าง ประเทศยิงช็อตเด็ด แสดงให้เห็นภาพอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทำท่าหันไปขอจับมือกับนายกฯเหวิน เจีย เป่าของจีน ระหว่างประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 13 ที่ฮานอย เวียดนาม เมื่อวันศุกร์ 29 ต.ค. แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความใส่ใจ ส่วนนายกฯสิงคโปร์ก็ทำท่าเหมือนไม่อยากยื่นมือมาสัมผัสด้วยเช่นกัน
อีก ภาพ อภิสิทธิ์ไปประชุม UN ที่วอชิงตัน เมื่อ 24 กันยายนที่ผ่านมา ทำท่าพยายามเรียกร้องความสนใจจากโอบาม่า แต่เหมือนจะถูกเมิน ราวกับไม่มีตัวตนของเขายืนอยู่ตรงนั้น
อย่าง ไรก็ตามเขาได้รับการชดเชยด้วยการกระชับมืออย่างอบอุ่นแนบแน่นจากนายพล อาวุโสตานฉ่วย เผด็จการมือเปื้อนเลือดรุ่นพี่ ขณะที่เจ้าตัวทำสีหน้าพะอืดพะอม เหมือนยังไม่ยอมทำใจรับสภาพ