WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 13, 2011

วิวาทะกรณีม.112 ระหว่าง "รมว.นิพิฏฐ์" กับนักเขียน "วาด รวี - ปราบดา หยุ่น"

ที่มา Thai E-News

คุณ วาด รวี และ คุณปราบดา หยุ่น ครับ ในขณะที่คุณทั้งสองกำลังจิบกาแฟถ้วยที่ 2 ของวันนี้อยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา ผมอยู่ไกลออกไปเกินกว่า 1,000 กิโลเมตร จากเมืองหลวงของประเทศ อยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนเกิน 34 องศา ผมอาจจะมีอารมณ์ไปบ้างก็ต้องขอโทษอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อคุณมีอายุใกล้เคียงกับอายุของผมในขณะนี้ ผมหวังจะได้รับจดหมายตอบจากคุณทั้งสอง และ หวังว่า อีก 20 ปีข้างหน้า คุณจะเขียนมาขอโทษผมก็ได้ ผมจะรอครับ

รมต. นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ (3 มิถุนายน 2554)


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์

12 มิถุนายน 2554

เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ไทยอีนิวส์ ได้ลงข่าว "นักเขียนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วย บินหลา สันกาลาคีรี,ปราบดา หยุ่น,วาด รวี,ดวงฤทัย เอสะนาชาตัง,ซะการีย์ยา อมตยา,กิตติพล สรัคคานนท์ และ วรพจน์ พันธุ์พงศ์ เป็นต้น ได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึงเพื่อนนักเขียนไทยทั่วประเทศ เรื่อง: ขอเชิญร่วมลงชื่อในการเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 และยุติการใช้ข้อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพปิดกั้นการแสดงออกและแสดงความ คิดเห็นทางการเมือง" ปราบดา หยุ่นผนึกมือนักเขียนดังล่าชื่อนักเขียนแก้ม.112 หยุดใช้คดีหมิ่นฯปิดกั้นเสรีภาพการเมือง

ซึ่งมีการแสดงความคิดเห็นของรมต. กระทรวงวัฒนธรรมต่อจดหมายนักเขียนนี้ ปราดา หยุ่น และวาด ระวี จึงได้ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 ว่า

ตาม ที่ท่านรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์แสดงความเห็นต่อจดหมายเปิดผนึก เรื่องเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 ลงวันที่ 19 พฤษภาคม ของนักเขียน โดยมีเนื้อข่าวสั้น ๆ ตามการรายงานของเว็บไซต์มติชนออนไลน์ดังนี้

"ผมไม่เคยเห็นมาตรา 112 ถูกหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง และนักการเมืองกว่าร้อยละ 99 ก็ไม่มีปัญหากับมาตราดังกล่าว ผมเดินทางไปหลายประเทศที่เคยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ ชาวบ้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเสียดายที่ไม่มีสถาบันกษัตริย์แล้ว อยากจะรื้อฟื้นให้กลับมาใหม่ เพื่อจะเป็นประมุข รวมทั้งสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ กลับกันไทยยังมีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ จึงสมควรมีมาตราดังกล่าวไว้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์" นายนิพิฏฐ์กล่าว

นาย นิพิฏฐ์กล่าวว่า หากเราแก้ไขมาตรา 112 ให้ไปอยู่ในหมวดเดียวกับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคล เชื่อว่าสุดท้ายก็อาจมีการเสนอให้แก้ไขลดโทษลง หรือแก้ให้ยอมความกันได้อีก ยิ่งข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ที่ให้แก้ไขให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้องเอง ยิ่งทำให้เกิดปัญหา เพราะจะกลายเป็นว่าเอาสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน การให้ชาวบ้านฟ้องร้องเองได้ถ้าพบเห็นพฤติกรรมที่อาจฝ่าฝืนมาตรา 112 ส่วนตัวคิดว่าว่าเหมาะสมแล้ว เพราะมาตราดังกล่าวอยู่ในลักษณะความผิดต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306048341&grpid=01&catid=01

ซึ่ง ท่านรมต. กระทรวงวัฒนธรรมก็ตอบโต้ด้วยการออกหนังสือเปิดผนึกและเผยแพร่ที่ที่เวบไซด์ ของกระทรวงวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2554 และล่าสุดวันที่ 11 มิถุนายน 2554 วาด ระวี ออกหนังสือโต้กลับเช่นกัน

ท่าทางการวิวาทะของฝ่ายนักเขียนและรมต. กระทรวงวัฒนธรรมจะไม่จบลงง่ายๆ
เรียน คุณวาด รวี และ คุณปราบดา หยุ่น

ผม อ่านจดหมายเปิดผนึกของคุณทั้งสองที่มีถึงผมแล้ว ตอนแรกตั้งใจจะไม่ตอบ เพราะไม่มีเวลา แต่คิดไปคิดมาถ้าไม่ตอบคุณทั้งสองอาจจะเข้าใจผิดว่า ผมยอมรับหรือจำนนต่อเหตุผลของคุณ ซึ่งอาจทำให้ผมได้รับความเสียหายได้

"ข้อ หา" ที่คุณทั้งสองตั้งให้ผมนั้นดูเหมือนรุนแรงเกินไป และขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงหลายประการ แต่ผมให้อภัย เพราะคิดว่าคุณทั้งสองกำลัง "จินตนาการ" ตามวิสัยของความเป็นนักเขียนของคุณ แต่บังเอิญจินตนาการของคุณล้ำเข้ามาในเขตแดนของผม และทำลายความสงบสุขในเขตแดนของผม โดยไม่เป็นธรรมโดยเฉพาะข้อหาที่คุณ กล่าวว่า การให้สัมภาษณ์ของผม "ไม่เป็นผลดีต่อการใช้เหตุผลและสติปัญญาของสังคม และอาจส่งผลให้วัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมไทยเสื่อมเสียได้" และข้อหาที่ว่าผม "กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์" ผมขอแก้ข้อกล่าวหาของคุณทั้งสอง ดังนี้

ข้อ 1 กรณีที่คุณทั้งสองกล่าวว่า มาตรา 112 ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ขอชี้แจงว่า ต้องยอมรับความจริงว่าปัจจุบันมีผู้พยายามทำความผิดตามมาตรา 112 มากขึ้นอย่างผิดปกติจะด้วยวัตถุประสงค์อย่างไรก็ตาม และต้องยอมรับว่าผู้ทำความผิดตามมาตรา 112 ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองหรือผู้สนับสนุนนักการเมือง ดังนั้น เมื่อรัฐดำเนินคดีกับคนเหล่านี้ จึงเป็นการใช้อำนาจตามปกติ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม และศาลก็มีคำพิพากษาลงโทษไปแล้วหลายราย ดีที่คุณทั้งสองยังไม่กล่าวหาว่า "ศาล" ก็ใช้มาตรา 112 เป็นเครื่องมือทางการเมืองด้วย ต่อไปภายภาคหน้าหากมีผู้กระทำความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรามากขึ้น คุณวาด รวี และคุณปราบดา หยุ่น อย่าเผลอว่ารัฐใช้ข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเป็นเครื่องมือทางการเมืองอีกล่ะ ครับ เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่นักการเมืองหรือผู้สนับสนุนทางการเมืองเป็นผู้ พยายามละเมิดมาตรา 112 จึงต้องดำเนินคดีกับบุคคลเหล่านี้เท่านั้นเอง ท่านทั้งสองอย่าจินตนาการอะไรไปให้มากไปกว่านี้เลยครับ

ข้อ 2 ความเห็นของผมในประเด็นที่ว่าหากให้ราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องร้องเอง เหมือนกับการเอา "สถาบัน" มาเป็น "คู่กรณี" กับประชาชน โดยคุณทั้งสอง แย้งว่า เคยมีกรณีที่สำนักราชเลขาธิการเป็นคู่กรณีมาแล้ว เช่น กรณีสำนักราชเลขาธิการมอบให้ดีเอสไอเป็นโจกท์ฟ้อง "เสี่ยอู๊ด" กรณีการจัดสร้างพระสมเด็จเหนือหัว ในประเด็นนี้ ผมขอชี้แจงว่า ความผิดของเสี่ยอู๊ด เป็นความผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค, พรบ.เครื่องหมายราชการ และกฎหมายอาญา ฐานฉ้อโกงประชาชน เท่านั้น มิใช่ กรณีตาม มาตรา 112 ที่มอบให้สำนักราชเลขาธิการเป็นผู้ฟ้องหรือมอบให้ดีเอสไอเป็นผู้ฟ้อง เป็นเรื่องผู้เสียหายจำนวน 921 คน ไปแจ้งความร้องทุกข์ว่า "ถูกฉ้อโกง" และเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบต้องพิจารณาหาว่า การกระทำของเสี่ยอู๊ดผิดกฎหมายใดบ้างเท่านั้น มิใช่เป็นกรณีสำนักราชเลขาธิการ เป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน ตามที่คุณทั้งสองเข้าใจ ประเด็นนี้ผมไม่โทษคุณ เพราะคุณมิใช่นักกฎหมาย แต่บังเอิญคุณจินตนาการตามความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เท่านั้นเอง ในฐานะผู้มีอายุมากกว่า ถือว่า "อโหสิ" กันได้ แต่หากผมไม่ตอบจะทำให้ประชาชนสับสน เพราะคุณทั้งสอง ก็มีต้นทุนทางสังคมสูงอยู่ หากคนไทยไม่ใช้หลัก "กาลามสูตร" ในการพิจารณาก็อาจเชื่อคุณทั้งสองได้

ข้อ 3 ประการต่อไปคุณทั้งสอง กล่าวว่า ผมมีความเห็นไม่ตรงกับท่านนายกรัฐมนตรี ขอชี้แจงว่า ผมและท่านนายกรัฐมนตรีมีความเห็นตรงกัน เป็นเรื่องที่คุณทั้งสองจับบางคำพูดของท่านนายก ฯ มากล่าว เป็นการ "ตีความไม่แตก" เท่านั้นเอง และในบางเรื่องที่ผ่านมา ผมก็เคยมีความเห็นไม่ตรงกับท่านนายกฯ แต่เมื่อมีมติออกมาเป็นอย่างไรทุกอย่างก็ยุติ ความจริงคุณทั้งสองที่อ้าง "ประชาธิปไตย" น่าจะมายกย่องผม แต่คุณกลับตำหนิผม หาว่าผมมีความเห็นต่าง ผมจึงสับสนความเป็นบุคคลใน "ระบอบประชาธิปไตย" ของคุณทั้งสองจริง ๆ

ส่วนข้อหาที่ว่าผมทำให้ "วัฒนธรรมทางปัญญาของสังคมเสื่อมถอย" ซึ่งเป็นข้อหาที่รุนแรง ผมยังไม่ตอบวันนี้ เพราะไม่มีเวลาจริง ๆ

คุณ วาด รวี และ คุณปราบดา หยุ่น ครับ ในขณะที่คุณทั้งสอง กำลังจิบกาแฟถ้วยที่ 2 ของวันนี้อยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศา ผมอยู่ไกลออกไปเกินกว่า 1,000 กิโลเมตร จากเมืองหลวงของประเทศ อยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนเกิน 34 องศา ผมอาจจะมีอารมณ์ไปบ้างก็ต้องขอโทษอีก 20 ปีข้างหน้า เมื่อคุณมีอายุใกล้เคียงกับอายุของผมในขณะนี้ ผมหวังจะได้รับจดหมายตอบจากคุณทั้งสอง และ หวังว่า อีก 20 ปีข้างหน้า คุณจะเขียนมาขอโทษผมก็ได้ ผมจะรอครับ

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

(3 มิถุนายน 2554)

(ที่มา http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=2898)


ต่อมา"วาด รวี" ได้เขียนบทความตอบโต้ รมว.นิพิฏฐ์ กลับทันที ผ่านทางเฟซบุ๊กของ "UndergroundBuleteen Thailand" ความว่า

เกี่ยวกับ 3 ประเด็นในคำตอบจดหมายของรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม

เนื่องจากคำตอบของรัฐมนตรี http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1307800784&grpid&catid=02&subcatid=0207ที่ตอบจดหมายเปิดผนึกนี้ http://www.prachatai3.info/journal/2011/05/35200

ตามที่ รมต. ตอบมาสามข้อ ข้าพเจ้ามีความเห็นดังนี้

คำตอบ ข้อหนึ่ง ของ รมต. ฟังไม่ได้ เนื่องจากไม่ได้พูดถึงประเด็น "ใครก็ร้องได้" ซึ่ง เป็นประเด็นที่แม้แต่ นายกฯ อภิสิทธิ์ก็เคยแสดงความเห็นว่ามีปัญหา ประเด็นนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ม.112 ง่ายที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง

ข้อสอง มี 2 ประเด็นย่อย คือ 1 ในกรณีเสี่ยอู๊ด ถือว่า สำนักราชเลขาฯ เป็น คู่กรณี กับชาวบ้านหรือไม่ ดูข่าวนี้ http://news.sanook.com/social/social_225230.php ถ้าสำนักราชเลขาฯ ไม่ใช่คู่กรณี ทำไมดีเอสไอต้องรอไฟเขียว? ทำไมสำนักราชเลขาฯ ต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะให้ใครดำเนินการ ระหว่าง สตช., ดีเอสไอ, กรมการศาสนา อันที่จริง หากศึกษาคำพิพากษาคดีนี้ ก็จะเห็นว่า "ความเป็นคู่กรณี" ของสำนักราชเลขาฯ อยู่ที่ประเด็นการนำสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์มาใช้

ข้อสอง ประเด็นย่อยที่ 2 คือ กรณีนี้ถือได้ว่าอยู่ในบริบทแค่ ม. 112 หรือไม่? การที่ รมต. ยืนยันว่าตนพูดเฉพาะบริบท ม.112 นั้นน่าตกใจพอสมควร เช่นนั้น หมายความว่า ท่าน รมต. เห็นว่า กรณีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ ม. 112 สถาบันฯ สมควร/อยู่ในฐานะ/เหมาะสม ที่จะเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน? จริง ๆ การโต้ รมต. ไม่ใช่การโต้ที่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย หรือ ม.112 เลย แต่เป็นการโต้ว่า รมต.เข้าใจผิด ที่บอกว่า สำนักราชเลขาฯเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน = สถาบันเป็นคู่กรณีกับชาวบ้าน ซึ่งไม่จริง เพราะไม่ใช่ และสำนักราชเลขาฯ เคยเป็นคู่กรณีแล้ว (ไม่เกี่ยวกับว่าในกรณีกฎหมายข้อใด) และดุลยพินิจของสังคม (และสำนักราชเลขาฯ) ไม่เห็นว่า การที่สำนักราชเลขาเป็นคู่กรณี = สถาบันเป็นคู่กรณี

ข้อสาม ที่บอกว่า รมต. เห็นต่างกับ นายกฯ ไม่ได้บอกว่า รมต. ผิดที่เห็นต่าง แต่ รมต. ผิดตรงที่ไปยืนยันสิ่งที่ผิดกับข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่แม้แต่นายกยังยอมรับไปแล้ว

ท่านรมต. จบกฎหมายมาจริง ๆ หรือนี่ ทำไมตรรกะท่านแกะรอยแกะดาวขนาดนี้

ประเด็นนี้ข้าพเจ้าเคยตอบไปแล้วที่กระทู้นี้ ผู้สนใจเชิญชม http://www.thaipoetsociety.com/index.php?topic=3712.msg20048#new

ที่มา มติชน

ดูข่าวที่เกี่ยวข้อง ปราบดา หยุ่นผนึกมือนักเขียนดังล่าชื่อนักเขียนแก้ม.112 หยุดใช้คดีหมิ่นฯปิดกั้นเสรีภาพการเมือง