WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 14, 2011

"ธัญญ์วาริน" จิกกัด "คำ ผกา" ฟัดเหวี่ยง รัฐไทยไร้พื้นที่ทางเพศ "จริง" หรือ "ตอแหล"

ที่มา มติชน





กลุ่ม วิจัยความขัดแย้งและพหุวัฒนธรรมนิยม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดการเสวนาชวนถกเรื่องการเล่าเรื่องในสังคมพหุวัฒนธรรม ในหัวข้อชื่อ "พื้นที่" กับการเล่าเรื่องเพศในสังคมไทย เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คือ "ลักขณา ปันวิชัย" หรือ "คำ ผกา" และ "ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์" ผู้กำกับจากภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard โดยมี ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ทำหน้าที่ดำเนินการเสวนา

"หน้าตา"ของพื้นที่ทางเพศของไทย


ธัญญ์วาริน ไม่รู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นสิ่งที่น่าอายเพราะเราสามารถพบเห็นสิ่งเหล่านี้ จากรอบตัว เพิ่งรู้สึกว่าเรื่องเพศเป็นสิ่งที่พูดยากขึ้นเมื่อตอนถูกแบนหนัง เพราะถูกพิจารณาว่าเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมอันดีและผิดกฎหมาย ขณะที่โสเภณีซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายกลับพบเห็นอยู่ได้ทั่วไป


ในความเห็นส่วนตัวเห็นว่า รัฐไทยเป็นรัฐ "ตอแหล" ทุกคนมีเสรีภาพทางเพศกันอย่างมาก แต่กลับเอามาพูดถึงในพื้นที่สาธารณะไม่ได้

ด้าน คำ ผกา เห็นว่าลำพังเรื่องเพศเองไม่เป็นปัญหา จนกว่ามันจะถูกนำไปเกี่ยวพันกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่น รัฐหรือศาสนา การเมืองกับเรื่องเพศเป็นสิ่งเกี่ยวข้องกัน ทุกวันนี้เราทราบดีว่ารัฐแบบไหนที่เปิดพื้นที่ให้กับการถกเถียงพูดคุยและ แข่งขันกันระหว่างค่านิยมทางเพศ ซึ่งแท้จริงแล้วคือรัฐที่เป็นประชาธิปไตยและเสรีนิยม และรัฐที่เป็นรัฐฆราวาส ที่จะไม่เอาเรื่องศาสนามาเป็นกฎหมายและตัดสินลงโทษคนที่มีพฤติกรรมผิดแผกจาก คนทั่วไป

ปัญหาเรื่องเพศในประเทศไทยคือ ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่มีเพศสัมพันธ์กัน ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่อ่านหนังสือโป๊ ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่ดูหนังโป๊ ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่มีโสเภณี คนไทยทำทุกอย่างเท่าที่จินตนาการของมนุษย์จะนำพาเราไปสู่การร่วมเพศทุกรูป แบบ แต่ปัญหาก็คือ เราพูดถึงมันได้มากแค่ไหน อย่างไร

สิ่ง ที่ถูกนำมาพูดมากที่สุดในสังคมไทยก็คือ "อัตลักษณ์" ของความเป็นไทย เพราะฉะนั้นเพศและอัตลักษณ์ของความเป็นไทยจะถูกนำมาใช้คู่กันอยู่เสมอ เราอาจจะไม่ได้พูดถึงศาสนาพุทธมาก เราอาจจะไม่พูดถึงการใช้กฎหมายของรัฐมากเท่ากับการใช้อัตลักษณ์ของความเป็น ไทยเข้าไปกำกับและควบคุมเรื่องเพศ ทั้งนี้ตนเองไม่ได้เรียกร้องให้สังคมไทยเป็นสังคมฟรีเซ็กซ์ เราทุกคนที่อยู่ในสังคมนี้ เราอยากมีชีวิตทางเพศที่เกี่ยวกับสังคมที่เราสังกัดอยู่อย่างไรต่างหาก นี่เป็นเรื่องที่เราในฐานะพลเมืองจะต้องเข้าไปตัดสินว่า เราอยากให้สังคมมีกรอบกติกาทางเพศอย่างไร เราจะกำหนดให้รัฐมีอำนาจเพียงใดในการเข้ามาก้าวก่ายชีวิตที่เป็นพื้นที่ส่วน ตัวของพลเมือง

วัฒนธรรม "มือถือสาก ปากถือศีล"

คำ ผกา เห็นว่าไม่ใช่เฉพาะสังคมไทยที่เป็นสังคมแบบ "มือถือสาก ปากถือศีล" หลายชาติต้องการนำตนเองให้พ้นไปจากการถูกชาวตะวันตกกล่าวหาว่าเป็นคนป่า เถื่อนหรือไร้อารยธรรม โดยการปรับวัฒนธรรมให้อยู่บนฐานความเชื่อแบบ "ผัวเดียวเมียเดียว" หรือ "รักต่างเพศ" ทุกวันนี้ที่เรามีความเป็นตะวันตกอย่างเต็มที่ เราเริ่มใส่เสื้อผ้ารัดกุม เราสำรวมกายวาจาใจเรื่องเพศ เรามีมารยาทในระดับหนึ่งว่าเราควรพูดถึงเรื่องเพศได้เพียงใด เราจะพูดถึงอวัยวะเพศของเราด้วยศัพท์ในระดับ สูง กลาง หรือต่ำ เราจะพูดถึงชีวิตทางเพศของเราได้แบบใด ซึ่งเกี่ยวพันกับมารยาทที่คนทั้งหลายพึงมี

เพราะฉะนั้น หากว่าเราต้องการมีเสรีทางเพศ เราจะนำวัฒนธรรมที่ผู้หญิงในยุคโบราณไม่ใส่เสื้อกลับมาหรือไม่ ปัญหาที่เรากำลังจะเผชิญอยู่ในขณะนี้ เช่น การแบนหนัง ส่วนตัวเชื่อว่าสังคมต้องมีการเซ็นเซอร์หรือจัดเรตติ้งหนัง แต่ลักษณะของสังคมไทยคือ แทนที่เราจะมีชุดของเหตุผลของการแบนหรือการจัดเรตติ้งที่เราเข้าใจได้ แต่กลับมี "เรต ห" ซึ่งเราตั้งคำถามว่าใช้เหตุผลอะไรในการกำหนดว่าหนังเรื่องใดห้ามฉายโดยสิ้น เชิง อีกทั้งเหตุผลที่ถูกนำมาใช้อยู่เสมอก็คือ "กระทบกระเทือนต่อความเป็นไทย" ซึ่งเราจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า ความเป็นไทยคือ การหมอบ คลาน ไม่ใส่เสื้อ การมีภรรยาหลายคน ซึ่งคือความเป็นไทยที่เรา "ไม่ต้องการ" อีกแล้วในยุคปัจจุบัน เราจะนำกลับมาด้วยหรือไม่ แล้วความเป็นไทยคืออะไรสำหรับกระทรวงวัฒนธรรมฯ

ใน ขณะเดียวกันกับความขัดแย้งเรื่องระบบ "โซตัส" ทางเฟซบุ๊ค ในขณะนี้ กระทรวงวัฒนธรรมซึ่งกำลังเดือดร้อนเรื่อง "เรยา" "สาวโชว์หน้าอก" เหตุใดจึงไม่เดือดร้อนกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในมหาวิทยาลัย ซึ่งการรับน้องกลายเป็นวัฒนธรรมของนิสิตนักศึกษาในทุกมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้สงสัยว่า อะไรคือคำว่า "วัฒนธรรม" ในสายตาของกระทรวงฯ ขอบข่ายงานอยู่ที่ใด

ธัญญ์วาริน กล่าวว่าคนในกระทรวงวัฒนธรรามเองยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าคำว่าวัฒนธรรมคืออะไร เขาไม่ทราบว่าการรับน้องที่เกิดขึ้นทุกปีคือวัฒนธรรม เพราะเขายังคิดว่า "วัฒนธรรมไทย" ก็คือวัฒนธรรมไทยสมัยก่อน เขาไม่ทราบว่าการที่คนมาอยู่ร่วมกันจำนวนหนึ่งเรียกว่าวัฒนธรรมได้เช่นกัน วัฒนธรรมคือการทำงานเกี่ยวกับมนุษย์ กระทรวงก็ต้องทำงานเกี่ยวกับมนุษย์ แต่เขาเองยังไม่ทราบว่ามนุษย์อยู่กันอย่างไร หรือมนุษย์คืออะไร

คำ ผกา เห็นว่าถ้าเราไปดูในรายละเอียดเราจะพบว่า กระทรวงวัฒนธรรมหรือว่ารัฐมีหลักเกณฑ์ของตนเอง ซึ่งเราจะต้องเข้าไปดูว่าเหตุใดมันจึงมีอยู่ และเหตุใดสามัญสำนึกของรัฐไทยเมื่อกล่าวถึง "ศาสนา" เหตุใดจึงจินตนาการได้เฉพาะ "พุทธศาสนา "เท่านั้น ไม่สามารถจินตนาการได้ถึงศาสนาอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าสังคมไทยกำลังให้ความสำคัญกับสิ่งใดมากกว่ากัน ซึ่งเป็นอุดมการณ์ที่ตกผลึกซึ่งแท้จริงแอบแฝงอยู่ในส่วนลึกของจิตใจเราทุกคน หากเราคิดว่าศาสนาพุทธมีเฉพาะเท่าที่เรารู้เห็นเราก็จะรู้สึกว่าสิ่งที่ กระทรวงวัฒนธรรมกระทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว แต่เราไม่ได้คิดต่อว่าทำไมหนังหรือศิลปะประเภทอื่นๆ ซึ่งมีหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ หรือหยิบเอามุมมองต่างๆในชีวิตประจำวันมานำเสนอเพื่อให้คนอื่นเก็บไปคิดและ ตัดสิน

และแท้จริงแล้วเรื่อง เพศด้วยตัวของมันเองไม่ใช่ ปัญหาหรือเป็นเรื่องใหญ่ ตราบใดที่เรื่องเพศไปสอดคล้องกับอุดมการณ์หลักที่รัฐอยากเห็น ที่ผู้ปกครองอยากให้เป็น เช่นสังคมไทยไม่มีปัญหากับการมีอยู่ของ "กะเทย" หากว่ากะเทยคนนั้น เรียบร้อย น่ารัก พูดเพราะ บริสุทธิ์ เป็นลูกกตัญญู เป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี เป็นกะเทยที่มีเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกะเทยที่รักชาวนา เป็นกะเทยที่รักรากเง้าของสังคมไทย โดยการทำหนังรักความเป็นไทย กะเทยคนนั้นจะต้องได้รับการยกย่องว่าเป็นกะเทยดีเด่นอย่างแน่นอน

ก่อนที่ ธัญญ์วาริน จะสรุปในประเด็นนี้ว่า คนเรามักเลือกที่จะให้สังคมสงบเรียบร้อยโดยการเลือกเอาอวัยวะเป็นเป็นตัว กำหนดบทบาทของสังคม ใครที่มีอวัยวะเพศชาย ก็ต้องเป็นเพศชาย ใครที่มีอวัยวะเพศหญิงก็ต้องเป็นเพศหญิง และมีหน้าที่ทางสังคมตามนั้น เหมือนเป็นการ "ใส่เครื่องแบบ" ที่กำหนดหน้าที่ตามชุดที่เราใส่ตั้งแต่กำเนิด

ข่มขืนด้วยความรัก=ความรุนแรง

คำ ผกา ระบุว่าการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ที่สุด ซึ่งเกิดจากความเป็นหญิงและความเป็นชายถูกแบ่งขั้วออกจากกันชัดเจน ผู้หญิงที่ดีจะต้องอ่อนโยน นุ่มนวล รู้จักเอาอกเอาใจ ดังนั้นผู้หญิงจึงถูกสอนให้จำยอม ถ้าจะถูกผู้ชายตกตีบ้าง แต่ถ้าหากเรามีน้ำอดน้ำทนสามีก็จะเห็นความดีของเรา ส่วนตัวเชื่อว่ามีผู้หญิงที่มีความอดทนต่อการถูกทำร้ายทางร่างกายและจิตใจ ค่อนข้างมาก นอกจากนั้นยังมีการทำร้ายด้วยอุดมการณ์เกิดขึ้นก่อน หรือการถูกทำร้ายด้วยความรัก หรือการเอาคำว่ารักมาบังหน้า ซึ่งไม่ใช่เฉพาะระหว่างสามีและภรรยาเท่านั้น มันยังเป็นความรักระหว่างพ่อ แม่ และลูกด้วย อาทิการใช้ความรักมาต่อรองเพื่อให้ได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมา

สังคม ไทยเป็นสังคมที่ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงเรื่องเพศ หญิง-ชาย หรือการใช้อำนาจ ก็จะเต็มไปด้วยความลักลั่น ย้อนแย้ง และไม่สามารถตีความสิ่งที่เราเห็นได้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า ผู้หญิงที่โดนทำร้ายในครอบครัวมากที่สุดคือผู้หญิงชนชั้นกลาง เพราะฉะนั้นการที่สังคมให้มาตรฐานความงามอย่างหนึ่งมาให้แก่ผู้หญิงทั่วไป มาตรฐานความงามบางอย่าง เช่น ความขาวหรือความผอมยังเป็นการลดทอนความแข็งแรงทางกายภาพของผู้หญิงและ ศักยภาพในการใช้ร่างกายเพื่อปกป้องตนเองในระดับหนึ่งอีกด้วย

ธัญญ์วาริน แสดงความเห็นว่าการ ใช้ความรุนแรงเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ แต่การใช้ความรักบังคับให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นสิ่งที่รุนแรงกว่า ผู้หญิง หรือเด็กๆหรือประชาชน ที่โดนสามี หรือพ่อแม่ หรือคนอื่นๆ "ข่มขืนด้วยความรัก" และทุกคนเองก็ไม่ทราบว่าตนเองกำลังโดนข่มขืนอย่างไม่จบสิ้่น และพยายามทำให้รัฐข่มขืนตนเองบ่อยๆ เพราะว่าตนเองคิดเองไม่เป็น จึงพยายามเรียกร้องและส่งเสริมให้การข่มขืนเหล่านั้นดำเนินต่อไป หรือพูดง่ายๆว่าเราโดนทำความรุนแรงทางเพศโดยที่ไม่รู้ตัว และชอบที่จะทำอยู่เรื่อยๆ และยังสนับสนุนมันอีกต่างหาก

ยิ่งปิด ยิ่งอยากเปิด และความเป็นไทยแบบลืมหูลืมตา

ธัญญ์วาริน เปิดเผยว่าการโดนแบนภาพยนตร์ทำให้ตนเองมีพื้นที่ในสื่อ มีคนอยากฟังความคิดและความรู้สึกส่วนบุคคล อย่างน้อยที่สุดก็ได้มีสิทธิในการพูดถึงหรือแสดงความคิดเห็นของคนทำและคนที่ รับ หรือสิทธิของความเป็นมนุษย์ที่จะไม่ยอมรับความคิดในการนำเครื่องเพศมาตัดสิน คนใดคนหนึ่งทั้งชีวิต ไม่นำเอาอวัยวะเพศมาเป็นสิ่งสำคัญของทั้งชีวิต แต่มองว่าเป็นเพียงอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่นเดียวกับปากและมือ เพราะยิ่งเราปกปิดมันเท่าไหร่ มันจะกลายเป็นสิ่งที่อยู่เหนือชีวิตและประเทศชาติบ้านเมือง

ขณะที่ คำ ผกา เสนอว่าสำหรับสังคมไทย สิ่งแรกที่จะต้องมารื้อกันใหม่ไม่ใช่เรื่องเพศ แต่คือ "ความเป็นไทย" ที่เราเข้าใจว่ามันคืออะไรกันแน่ ประเทศไทยมีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด รัฐไทยมีขึ้นตั้งแต่เมื่อใด จริยธรรม วัฒนธรรมไทยถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นการไหว้ การใช้สรรพนามแทนตนเองว่าคุณ ผม ท่าน เพิ่งมีมาเมื่อสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่ใช่สิ่งที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณ แต่เหตุใดคนไทยเมื่อพูดถึงวัฒนธรรมไทยจึงต้องย้อนกลับไปไกลถึงสมัยหลายร้อย ปีก่อน และนำไปผสมปนเปว่าความเป็นไทยจะต้องดีงาม ประณีต ละเอียดอ่อน ผู้หญิงไทยจะต้องอ่อนช้อย มีคุณสมบัติที่ดี และทำให้คุณสมบัติที่ดีต่างๆ ถูกสร้างตามกันมาอย่างไม่ลืมหูลืมตา และหลงประเด็น

จำเป็น หรือไม่ที่ความเป็นไทยจะต้องไม่เหมือนคนอื่น จำเป็นหรือไม่ที่ความเป็นไทยคือการนุ่งผ้าไทยมาทำงาน ขณะที่ชาวญี่ปุ่นกลับไม่สูญเสียความเป็นญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่ผู้ชายใส่สูทมาทำงานหรือผู้หญิงใส่ชุดทำงานตามแบบสากลนิยม ขณะที่ผู้หญิงไทยกลับใส่รองเท้าแตะเดินกันในสำนักงานกันอย่างเอิกเกริกทั้งๆ ที่กำลังใส่ชุดไทย

ความ เป็นไทยคือการที่เราอยากอยู่บนโลกที่ร่วมสมัย เราเองต้องพิจารณาว่าโลกหรือการเมืองของโลกเปลี่ยนไปอย่างไร อุดมคติของสังคมอื่นๆ เปลี่ยนไปอย่างไร แล้วความเป็นไทยของเราจะเป็นความเป็นไทยที่ให้ความสำคัญกับมรดกสมัยโบราณ หรือเราจะให้ความสำคัญกับปรัชญาที่เป็นสากล เช่นหลักการว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค เราจะสมาทานสิ่งเหล่านี้ให้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในวัฒนธรรมไทยได้หรือไม่ เราจะเอาความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นประชาธิปไตยแบบสากล ไม่ใช่ประชาธิปไตยแบบไทย ๆที่กระทรวงวัฒนธรรมนำมาปฏิบัติอยู่หรือไม่

และ ถ้าเราสมาทานหลักการว่าด้วยสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคได้ เรื่องอื่นๆ ก็จะตามมาเองโดยอัตโนมัติ ประเด็นเรื่องเรตติ้งภาพยนตร์ ศิลปะ วรรณกรรม เรื่องเพศที่สาม หรืออื่นๆก็จะตามมาขนานใหญ่

เซ็กซ์: สินค้าเฉพาะถิ่น

คำ ผกา แสดงความเห็นว่าสินค้าทางเพศในแต่ละสังคมมีมูลค่าและจุดขายที่ไม่เหมือนกัน เพราะแรงปรารถนาของเราที่ถูกห่อตัวขึ้นมาด้วยปัจจัยเฉพาะของแต่ละสังคม ก็จะก่อความปรารถนาต่อเรื่องเพศต่างกัน เช่น สังคมที่เปิดมากๆ การที่ผู้หญิงใส่เสื้อผ้าแบบมิดชิดก็อาจทำให้คนนั้นดูมีเสน่ห์ได้ ขณะที่สังคมไทยซึ่งเป็นสังคมที่พยายามปิดเรื่องเพศ อาจจะชอบสิ่งที่มีการเปิดเผยมากๆก็ได้

ด้าน ธัญญ์วาริน เสนอว่าเซ็กซ์ถูกทำให้เป็นสินค้ามานานแล้ว เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่เป็นปกติและเกิดขึ้นตลอดเวลา ทั้งการมีโสเภณี หนังสือปลุกใจเสือป่า ภาพยนตร์วับๆ แวมๆ ไม่ได้มองว่าการมีโซเชียล เน็ตเวิร์ค ต่างๆ ทำให้เซ็กซ์เป็นสินค้า ยิ่งกว่านั้น เซ็กซ์ในสมัยนี้ถูกทำให้เข้าถึงง่ายขึ้น มีความชัดเจนขึ้น ตรงไปตรงมา และปราศจากการซ่อนเร้น

"เกย์ชนชั้นกลาง" และ "เกย์กรีดยาง"


ธัญญ์วาริน ระบุว่าตนเองไม่เคยต้องการเรียกร้องสิทธิเพื่อขอ "พื้นที่" ทางเพศใดๆ เพราะนั่นจะเท่าเป็นการตอกย้ำว่าเรา "ไม่เหมือน" คนอื่น สิ่งที่เราต้องทำคือการละลายความคิดเรื่องการแบ่งสองเพศ เมื่อละลายความเชื่อเหล่านั้นได้ คนเราก็จะเคารพกันที่สิทธิและเสรีภาพความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่การตัดสินว่าเรามีอวัยวะเพศแบบใด อย่างที่เป็นกันอยู่ตอนนี้ กรณีที่การหาเสียงที่ชูว่า "นายกหญิงคนแรกของประเทศ" นี่ก็ถือเป็นการนำเรื่องอวัยวะเพศเพศขึ้นมาวัดกัน และกรณีที่กลุ่มรักร่วมเพศออกมาเรียกร้อง ก็แสดงว่าเขาไม่ได้เป็นมนุษย์คนหนึ่ง แต่เพื่อแสดงว่า "ฉันมีเพศเช่นนี้ กรุณาเคารพที่ฉันเป็นเพศแบบนี้" ก็เท่ากับเป็นการเอากรอบของคำว่า "กะเทย" มาครอบตนเองอีกชั้นหนึ่ง และเท่ากับว่าเป็นการประกาศตัวว่าตนเองต่างจากคนอื่น


ส่วน คำ ผกา ชี้ว่าเราจะไม่มีวันรู้ว่าจุดยืนของเราคืออะไร จนกว่าเราจะรู้ว่า "คู่ต่อสู้" ของเราคือใคร และถือว่าเป็นหน้าที่ของเราที่อยู่ในฐานะ "ผู้ชม" ที่เราจะเปิดรับให้เข้าใจในหลายภาษา นอกจากภาษาการต่อสู้ของเกย์ เลสเบี้ยน หรือคนชั้นกลาง เราต้องได้ยินภาษาของคนที่พูดภาษาอื่น หรือชนชั้นอื่นด้วย หรือเขามีวิธีการท้าทายกับคู่ต่อสู้ หรืออำนาจที่เขาเผชิญอยู่อย่างไร

เพราะแน่นอนว่าปัญหาเกย์ ที่กรีดยางย่อมมีปัญหาคนละแบบกับที่เกย์ที่เป็น ชนชั้นกลางเรียกร้อง ขึ้นอยู่กับว่าใครมีวาระใดแอบแฝงในการเรียกร้องหรือไม่อย่างไร อีกทั้งความหลากหลายของกลุ่มรักร่วมเพศที่ไม่ได้มีแต่ตุ๊ด เกย์ กระเทย เลสเบี้ยน ทอม ดี้ แต่ยังมีกลุ่มข้ามเพศ เลสเบี้ยนในกลุ่มเกย์ เกย์ในกลุ่มเลสเบี้ยน ซึ่งต่างก็มีวาระหรือประเด็นของตนเองแอบแฝงอยู่แน่นอน