WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 8, 2011

นักปรัชญาชายขอบ: อาจารย์แจ้งความลูกศิษย์ “ข้อหาหมิ่นเบื้องสูง” สะท้อนวุฒิภาวะประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยไทย

ที่มา ประชาไท

ข่าว ที่น่าสะเทือนใจที่สุดในรอบสัปดาห์นี้ คือข่าวรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มหาวิทยาลัยชื่อดังแห่งหนึ่ง แจ้งความตำรวจในข้อหากระทำผิดกฎหมายหมิ่นฯ ม.112 ให้ดำเนินคดีกับลูกศิษย์ตนเอง เนื่องจากได้รับร้องเรียนว่าลูกศิษย์คนดังกล่าวถูก “ล่าแม่มด” ในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง (ดูมติชนออนไลน์, 6 ส.ค.54)

นักศึกษาคนดัง กล่าถูกแจ้งความตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 และเพิ่งถูกตำรวจจับกุมดำเนินคดีโดยศาลไม่ให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา
ที่น่าสนใจคือ เหตุผลในการแจ้งความของรองอธิการฝ่ายกิจการนิสิตที่ว่า จำเป็นต้องแจ้งความ เพราะ
1. ถูกกดดันจากสภามหาวิทยาลัย
2. ต้องการปกป้องชื่อเสียงของสถาบัน (มหาวิทยาลัย)
นี่ คืออักหนึ่งตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นปัญหาของ “ม.112” ที่ใครจะแจ้งความดำเนินคดีก็ได้ จะเห็นว่า เหตุผลในการแจ้งความไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแสดงความรับผิดชอบของผู้แจ้ง เพราะพิจารณาเห็นว่า “ตนเองต้องแจ้งความเพื่อปกป้องเจตนารมณ์ของกฎหมาย”
สมมุติ ว่า คุณเห็นชายคนหนึ่งกำลังวิ่งออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ และคุณจำได้ว่าคนๆ นี้คืออดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขที่กำลังเป็นข่าวถูกแจ้งความจับเรื่อง ทุจริตยา และขณะนี้ตำรวจกำลังติดตามตัว แล้วคุณก็โทรไปแจ้งตำรวจ ด้วยเหตุผลว่าในฐานะพลเมืองต้องรักษากฎหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ คนทำความผิดต้องได้รับการลงโทษตามเจตนารมณ์ของกฎหมายเพื่อปกป้องความ ยุติธรรม และความสงบสุขของบ้านเมือง การกระทำของคุณย่อมสมเหตุสมผล
แต่ เหตุผลในการแจ้งความเอาผิดลูกศิษย์ตนเองของอาจารย์คนดังกล่าว ไม่ใช่เหตุผลเรื่องการช่วยกันรักษากฎหมาย หรือรักษาเจตนารมณ์ของกฎหมายในฐานะพลเมืองดี แต่เป็นเรื่องของ “การถูกกดดัน” และต้องการ “รักษาชื่อเสียงสถาบัน”
คำ ถามคือ นี่มันคือ “เหตุผล” หรือครับ ข้ออ้างเรื่องถูกกดดันจากอำนาจที่เหนือขึ้นไป ข้ออ้างเรื่องรักษาชื่อเสียงสถาบัน มันมีความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลอย่างไรกับการแจ้งความดำเนินคดีกับนักศึกษา คนนั้น เพราะ
1. การกระทำของนักศึกษาคนนั้นเป็นความผิดส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยไม่ได้ส่งเสริมให้ทำ แล้วมหาวิทยาลัยจะเสียชื่อเสียงอย่างไรไม่ทราบ (ถ้าอาจารย์อ้างเครดิตสถาบันไปหาเงินจากการทำวิจัยสร้างความชอบธรรมแก่โรง งานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษแก่ชาวบ้าน ก็ว่าไปอย่าง)
2. สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจตามกฎหมายอะไรที่จะมากดดันในเรื่องดังกล่าวนี้ (ถ้าสภามหาวิทยาลัยไปกดดันผู้บริหารให้เอาผิดกับอาจารย์ที่อ้างเครดิตสถาบัน ไปหาเงินจากการทำวิจัยสร้างความชอบธรรมแก่โรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษแก่ ชาวบ้าน ก็ว่าไปอย่าง)
ประเด็นสำคัญคือ การที่ “ม.112 เป็นกฎหมายที่ให้ใครก็ได้แจ้งความเอาผิด” คือปัญหาสำคัญที่ทำให้การแจ้งความเอาผิดตามกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย แต่อาจเป็นไปตาม “อคติ” ของผู้แจ้งอย่างไรก็ได้ เช่น ความเกลียดชังกันเป็นส่วนตัว ความขัดแย้งทางความคิดเรื่องเสรีภาพและความเสมอภาค ความขัดแย้งของอุดมการณ์ทางการเมือง การคลั่งเจ้า การต้องการทำลายศัตรูทางการเมือง ฯลฯ
ในกรณีของ อาจารย์แจ้งจับนักศึกษาก็ชี้ชัดว่าเป็นเรื่อง “อคติ” คือ “ความกลัว” การถูกกดดันจากสภามหาวิทยาลัย และ “ความกลัว” ว่า มหาวิทยาลัยจะเสียชื่อเสียง ฉะนั้น การแจ้งความจับนักศึกษาของตนเองจึงสะท้อน “วุฒิภาวะความเป็นประชาธิปไตย” ภายในมหาวิทยาลัยได้ในแง่หนึ่งว่า แม้คนระดับรองอธิการบดีก็สามารถใช้ “ความกลัว” แจ้งความให้ลูกศิษย์ของตนต้องติดคุก
ประเด็น “ด้อยวุฒิภาวะ” ต่อมาคือ คนระดับรองอธิการบดีนอกจากจะมองไม่เห็นปัญหาของการที่ ม.112 ที่ใครจะแจ้งความเอาผิดก็ได้ดังกล่าวแล้ว ยังไม่เข้าใจว่ากฎหมายฉบับนี้ขัดแย้งต่อหลักการพื้นฐานประชาธิปไตยคือหลัก เสรีภาพในการพูด “ความจริง” และหลักความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ ซึ่งหมายความว่า หาก “หลักความยุติธรรม” (principle of justice) ที่เป็นรากฐานของการออกกฎหมายในสังคมประชาธิปไตยคือหลักเสรีภาพและหลักความ เสมอภาค ม.112 ย่อมขัดแย้งต่อ “หลักความยุติธรรม” ดังกล่าวนี้อย่างชัดเจน
ฉะนั้น ขณะที่กระแสการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยส่วนหนึ่งกำลังเรียกร้องให้ แก้ไข และ/หรือให้ยกเลิก ม.112 การที่คนระดับรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงออกมาแจ้งความดำเนิน คดีแก่ลูกศิษย์ของตนที่ “ถูกล่าแม่มด” จึงสะท้อนวุฒิภาวะประชาธิปไตยในสังคมมหาวิทยาลัยไทยอย่างน่าเป็นห่วง!