WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, August 8, 2011

ความดีและสิ่งที่ดีในพุทธเถรวาทแบบไทย

ที่มา ประชาไท

"ใน สังคมปัจจุบันคนที่ต่อสู้เพื่อ เสรีภาพ เพื่อความเสมอภาค และความเป็นธรรมด้านต่างๆ ทางสังคมต่างหาก คือผู้ที่ทำ “ความดี” ตามความหมายที่เข้ากันได้กับหลักการพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม"
เวลา เราพูดถึง “ความดี” และ “สิ่งที่ดี” นั้น เรากำลังพูดถึง “คุณค่า” (value) บางอย่าง คุณค่าหมายถึงสิ่งที่พึงปรารถนา ต่างจาก “ข้อเท็จจริง” (fact) ในความหมายว่าข้อเท็จจริงนั้นเราพิสูจน์ทราบได้ด้วยประสาทสัมผัส ขณะที่คุณค่าเราต้องพิสูจน์ด้วยความรู้สึกหรือเหตุผล
เช่น เมื่อเราพูดว่า “ดอกกุหลาบช่อนี้สีแดง” เรากำลังพูดถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับดอกกุหลาบ เราพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคำพูดนี้ด้วยประสาทสัมผัสคือใช้ตาดูว่าดอกกุหลาบ ช่อนี้สีแดงจริงหรือไม่ โดยปกติทุกคนก็จะมองเห็นตรงกัน (ยกเว้นคนตาบอดสี) แต่ถ้าเราบอกว่า “ดอกกุหลาบช่อนี้สวย” เรากำลังพูดถึงคุณค่าของดอกกุหลาบ เราจะรู้ว่าดอกกุหลาบช่อนี้สวยหรือไม่จากการใช้ความรู้สึก ซึ่งแต่ละคนอาจรู้สึกแตกต่างกัน และเมื่อเราพูดว่า กฎหมายฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อปี 2550 เรากำลังพูดถึงข้อเท็จจริงของกฎหมายที่ทุกคนตรวจสอบแล้วเห็นตรงกันได้ แต่เมื่อเราบอกว่ากฎหมายฉบับนี้ยุติธรรม การยืนยันว่ากฎหมายยุติธรรมหรือไม่ต้องใช้เหตุผล
เช่น เดียวกัน เมื่อเราพูดถึงความดี และสิ่งที่ดี เราก็ใช้ความรู้สึกและเหตุผลในการยืนยัน เมื่อเรามองความหมายของความดีและสิ่งที่ดีในพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม เราสามารถเข้าใจความหมายของสิ่งดังกล่าวได้จากการวิเคราะห์ “ธรรม” ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ “อริยสัจ 4”
ในอริยสัจ 4 นั้น สองข้อแรกพูดถึง “ข้อเท็จจริง” คือ ทุกข์กับสาเหตุให้เกิดทุกข์ สองข้อหลังพูดถึง “คุณค่า” คือ ความดี (มรรค) และสิ่งที่ดี (นิโรธ) ความสัมพันธ์ระหว่างความดีกับสิ่งที่ดีก็คือ เราทำความดีเพื่อให้เกิดหรือบรรลุถึงสิ่งที่ดี หรือความดีเป็นมรรคไปสู่สิ่งที่ดี
ถามว่าทำไม พุทธศาสนาแบบดั้งเดิมจึงถือว่ามรรคและนิโรธเป็นคุณค่าที่พึงประสงค์ เหตุผลก็เพราะพุทธศาสนามองว่าความทุกข์และสาเหตุให้เกิดทุกข์ นอกจากจะเป็นข้อเท็จจริงในชีวิตมนุษย์ที่เราต่างรับรู้กันอย่างเป็นปกติอยู่ แล้ว พุทธศาสนายังมองว่าทุกข์และสาเหตุให้เกิดทุกข์เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งความทุกข์นั้นพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่เราต้องทำความเจ้าใจอย่างชัด แจ้ง ขณะที่สาเหตุของทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องละ แก้ไข หรือขจัดให้หมดไปด้วยการปฏิบัติตามมรรคหรือการดำเนินชีวิตบนหลักการพื้นฐาน 3 ด้าน คือ ศีลธรรม จิตใจ และปัญญา
หลักการพื้นฐาน ทางศีลธรรมนั้น หมายถึงหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ไม่เบียดเบียนกัน หลักการพื้นฐานทางจิตใจหมายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสติ มีความมั่นคงทางจิตใจ และมีคุณธรรม ส่วนหลักการทางปัญญาหมายถึงการมีความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงตามกฎ ธรรมชาติ ความจริงของโลกและชีวิต เห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม (สัมมาทิฐิ) และคิดตระหนักในทางมีเมตตากรุณา ไม่พยาบาทเบียดเบียน และมุ่งอิสรภาพจากพันธนาการทั้งปวง (สัมมาสังกัปปะ)
“ความดี” ในนิยามของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนั้นอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 อย่างดังกล่าวนี้
คำ ถามคือ การกระทำความดีดังกล่าวนี้เพื่อเป้าหมายอะไร? คำตอบคือเพื่อนิโรธหรือความดับทุกข์ บางทีพุทธศาสนาใช้คำว่า “วิมุติ” แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า freedom หมายถึงเสรีภาพหรือความเป็นอิสระจากกิเลสแหะความทุกข์ทั้งปวง มีพุทธพจน์ยืนยันว่า “วิมุติคือแก่นของพุทธธรรม” (จูฬสาโรปมสูตร 12/374)
ฉะนั้น วิมุติหรือเสรีภาพจากพันธนาการของกิเลสและความทุกข์ทั้งปวงจึงเป็นสิ่งที่ดี หรือเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาในฐานเป็นเป้าเหมายสูงสุดของชีวิต
ผม เห็นว่า การที่พุทธศาสนาถือว่าเสรีภาพจากกิเลสและความทุกข์คือเป้าหมายสูงสุดของ ชีวิตนั้นคือ “คีย์เวิร์ด” สำคัญในการทำความเข้าใจ “ความเป็นมนุษย์” ตามทัศนะของพุทธศาสนา หมายความว่า ความเป็นมนุษย์ แก่นสาร หรือ essence ของมนุษย์ในทัศนะของพุทธศาสนาคือ “เสรีภาพ” เพราะหากเสรีภาพไม่ใช่แก่นสารของมนุษย์ก็เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะบรรลุความ หลุดพ้น ซึ่งการบรรลุความหลุดพ้นนั้นในแง่หนึ่งคือบรรลุถึง “ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์” ซึ่งพุทธมหายานถือว่า ภาวะความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ คือ “พุทธภาวะ” มีอยู่ในทุกสรรพสัตว์ ฉะนั้น พุทธภาวะหรือเสรีภาพ คือแก่นสารของความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีอย่างเสมอภาคกัน การเคารพความเสมอภาคของมนุษย์ จึงหมายถึงการเคารพและปกป้องความมีเสรีภาพของมนุษย์นั่นเอง
ประเด็น นี้ ผมคิดว่าสำคัญในการทำความเข้าใจพุทธศาสนา และเมื่อพุทธศาสนาให้ความสำคัญสูงสุดกับเสรีภาพทั้งในแง่ที่เป็น essence ของมนุษย์ ทั้งในแง่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต หรือความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ก็เป็นไปไม่ได้ที่พุทธศาสนาจะปฏิเสธเสรีภาพในทางสังคมการเมือง หรือจะไปสนับสนุนส่งเสริมระบบสังคมการเมืองที่ลิดรอนเสรีภาพของมนุษย์ เพราะนั่นเท่ากับเป็นการลิดรอนความเป็นมนุษย์
ฉะนั้น จึงจึงมีปัญหาว่า ทำไมพุทธเถรวาทแบบไทยจึงยังคงสนับสนุนระบบสังคมการเมืองที่ลิดรอนเสรีภาพและ ความเสมอภาคในความเป็นมนุษย์ เช่น การส่งเสริมอุดมการณ์ธรรมราชาซึ่งขัดแย้งกับที่พระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบชนชั้น กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร มากว่าสองพันปีแล้ว ระบบการปกครองสงฆ์ยังขึ้นกับระบบสมณศักดิ์ ยังใช้ พรบ.ปกครองสงฆ์ พ.ศ.2505 อันเป็นมรดกเผด็จการสฤษดิ์ ฯลฯ ทั้งที่โลกยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเรียกร้องเสรีภาพและความเท่าเทียมใน ความเป็นมนุษย์ ซึ่งสอนคล้องกับแก่นสารของพุทธธรรม หรือ essence ของมนุษย์ตามทัศนะของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมมากกว่า
และ “ความดี” ตามความหมายของพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมนั้น หมายถึงความดีที่ที่นำไปสู่เสรีภาพจากความทุกข์ แต่ความดีของพุทธเถรวาทไทยปัจจุบันกลับหมายถึงความดีที่ทำให้ร่ำให้รวย ให้เงินทองไหลมาเทมา ให้เจริญด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ การเข้าคอรส์ปฏิบัติถือศีลภาวนามีความหมายว่า จะทำให้เกิดสิริมงคลแก่ชีวิต บุญที่เกิดขึ้นจะดลบันดาลให้ทำมาค้าขึ้น ได้เลื่อนยศตำแหน่ง ผู้ใหญ่เมตตา และได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติพรั่งพร้อมบริบูรณ์
ความ ดีทั้งหลายทั้งปวงที่โปรโมทกันนั้น ไม่เกี่ยวกับการส่งเสริมความเป็นมนุษย์ที่มีเสรีภาพและความเสมอภาคเลย นอกจากไม่ส่งเสริมแล้วยังแปลกแยกกับความเป็นมนุษย์ในความหมายดังกล่าว ฉะนั้น จึงไม่แปลกที่สังคมพุทธแบบไทยๆ ยังแปลกแยกกับการต่อสู้เรียกร้องเสรีภาพและความเสมอภาค
หาก จะพูดกันอย่างตรงไปตรงมา ผมเห็นว่า ในสังคมปัจจุบันคนที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพ เพื่อความเสมอภาค และความเป็นธรรมด้านต่างๆ ทางสังคมต่างหาก คือผู้ที่ทำ “ความดี” ตามความหมายที่เข้ากันได้กับหลักการพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะไม่ได้อ้างหลักคำสอน หรือความเชื่อใดๆ ของพุทธศาสนาก็ตาม
ตรงกันข้ามพวกที่อ้าง คำสอน อ้างความเชื่อของพุทธศาสนา ประเภททำบุญแล้วรวย ทำบุญอย่างไรจึงจะสวย ทำบุญอย่างไรถึงจะเจริญด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ ฯลฯ อาจไม่ใช่การทำความดีตามความหมายของพุทธศาสนาที่แท้จริงเลยก็ได้ แต่เป็นการทำความดีในความหมายของ Egoism คือ ทำความดีเพื่อมุ่ง “ความสุขส่วนตัว” เท่านั้น ซึ่งขัดแย้งต่อหลักการพุทธแบบดั้งเดิม
และ จะเห็นว่า ในยุคปัจจุบันวัฒนธรรมการทำความดี และการปฏิบัติธรรมของพุทธเถรวาทแบบไทย มีลักษณะโน้มเอียงไปในทาง Egoism มากกว่า ที่สำคัญแม้ชาวพุทธชอบอ้างเสมอว่า หลักการพุทธศาสนาเป็นประชาธิปไตย หรือเข้ากันได้กับประชาธิปไตย ระบบสังคมสงฆ์ในยุคพุทธกาลเป็นประชาธิปไตย แต่พุทธเถรวาทแบบไทยกลับถูกใช้เป็นเครื่องมือสนับสนุนอุดมการณ์ราชาชาตินิยม อย่างเหนียวแน่น และระบบสังคมสงฆ์ยังมีโครงสร้างเป็นเผด็จการอย่างชัดเจน
ฉะนั้น ความดีตามค่านิยมของพุทธเถรวาทแบบไทย จึงไม่สนับสนุนส่งเสริมความเป็นมนุษย์ในความหมายของความมีเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางสังคม หากเป็นความดีที่ส่งเสริมความเห็นแก่ตัว และส่งเสริมระบบสังคมการเมืองที่ลิดรอนเสรีภาพ ความเสมอภาค และความเป็นธรรมทางสังคม