WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 6, 2011

มองบทบาท "เฉลิม" "ขุนศึก"ใน-นอกสภา ไซเรนหมู่บ้านกระสุนตก

ที่มา มติชน





ดูเหมือนบทบาทของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ในรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" เป็นมากกว่าตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี

ใน สภาผู้แทนราษฎร ร.ต.อ.เฉลิมทำหน้าที่เป็น "ขุนพล" หรือผู้ที่เป็นหัวหน้าทัพของกองทหาร เพื่อต่อกรทุกรูปแบบกับพรรคประชาธิปัตย์ ในการปกป้อง คุ้มกันนายกฯยิ่งลักษณ์

ขณะที่การบริหารราชการแผ่นดิน ร.ต.อ.เฉลิมทำหน้าที่เป็น "ขุนศึก" หรือแม่ทัพผู้มีความสามารถในการรบ ที่นอกจากประกาศลุยปราบปรามอบายมุขทุกรูปแบบแล้ว ยังเล่นกับ "ของร้อน" ด้วยการเข้าไปโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในตำแหน่งสำคัญๆ

อย่างน้อยก็ 2 ตำแหน่ง

หนึ่ง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผบ.ตร.

อีกหนึ่ง ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช.

ทั้งสองตำแหน่งนายกฯยิ่งลักษณ์ โยนให้รองนายกฯเฉลิมตัดสินใจ

แน่ นอน ร.ต.อ.เฉลิมหมายมั่นปั้นมือในการดัน พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รอง ผบ.ทบ. ขึ้นมาเป็น ผบ.ตร. จึงต้องออกแรงดันด้วยความนุ่มนวลให้ พล.ต.อ.วิเชียรพ้นจากตำแหน่ง

หากแต่การพ้นจากตำแหน่งของ พล.ต.อ.วิเชียร ทีแรกมีการตกลงกันที่ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

หากแต่การต่อรองระหว่าง พล.ต.อ.วิเชียร และ ร.ต.อ.เฉลิม มีมากกว่าตำแหน่งปลัดฯ

เพราะมีข้อเสนอใหม่ต้องการเข้าไปนั่งเป็นประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เกรดเอ อีก 1 ตำแหน่ง

ข้อเรียกร้องของ พล.ต.อ.วิเชียร ไม่ได้รับการตอบสนอง

ข้อตกลงทีแรก เป็นอันโมฆะ

แต่ ด้วยความที่ พล.ต.อ.วิเชียรเหลืออายุราชการอีก 2 ปีเต็มๆ ผู้มีอำนาจทางการเมืองจึงให้ พล.ต.อ.วิเชียรบอกความต้องการของตัวเองว่าจะไปนั่งที่ใด

เลขาธิการ สมช.คือตำแหน่งที่ พล.ต.อ.วิเชียรเลือก

ร้อนถึง "ถวิล เปลี่ยนศรี" เลขา สมช.ที่ได้รับผลกระทบแบบเต็มๆ

เมื่อผลกระทบกลายเป็น "ลูกโซ่" ความแข็งขืนก็มีออกมาเป็นระลอก

ทั้งจากข้าราชการที่ได้รับผลกระทบ นักการเมือง และจากสังคม

โดย เฉพาะ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ออกมาปลุกให้ข้าราชการลุกขึ้นต่อสู้ ปกป้องศักดิ์ศรี หรือโพลจากสวนดุสิตโพล ที่ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการโยกย้าย ผบ.ตร.ครั้งนี้

กระแสสังคมที่ออกมา อาจเป็นเพราะรูปแบบในการทำงานของ ร.ต.อ.เฉลิมที่ต้องการให้จบเร็ว จบไว

อีกทั้งการออกมาให้สัมภาษณ์แบบตรงไปตรงมา ไม่มีอ้อมค้อม จึงเกิด "อิมแพค" ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

"เลขาฯ สมช.ต้องเข้าประชุมกับ ครม.ทุกวันอังคาร แล้วใครจะให้คนของอีกฝ่ายมานั่งประชุมด้วย เพราะเป็นที่รู้กันดีว่านายถวิลเป็นคนของประชาธิปัตย์"

แถมยังบอกด้วยว่า สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีการโยกย้ายแบบ "ล้างบาง" เหมือนกัน

ไม่ ว่าจะเป็น พีรพล ไตรทศาวิทย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขาฯ สมช. สุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร รองเลขาฯ สมช. พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัด กทม.

รวมถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ออกจากตำแหน่ง

การทำหน้าที่ทั้ง "ขุนพล" ในสภา และ "ขุนศึก" นอกสภา แน่นอนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี สามารถจัดระบบ วางแผน วางคน ให้นโยบายสามารถเดินหน้าไปได้มีประสิทธิภาพ

ส่วนข้อเสีย แน่นอนสังคมจะตั้งข้อสงสัยในตัว ร.ต.อ.เฉลิมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะท่าทีที่ดูดุดัน เอาจริงเอาจัง

จนมีเสียงออกมาจากปาก "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" และ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" ว่ากำลังลุแก่อำนาจ

จึงไม่แปลกที่เวลานี้ ร.ต.อ.เฉลิมกำลังกลายเป็น "หมู่บ้านกระสุนตก" ที่ทุกฝ่ายในสังคมเฝ้าจับตา-โจมตีอย่างต่อเนื่อง

ฉะนั้น เมื่อวางคน วางระบบ เรียบร้อย สิ่งที่ ร.ต.อ.เฉลิมต้องทำคือ "ถอย" ออกมาเล่นในบทบาทหน้าที่รับผิดชอบของตัวเอง

เป็น "ขุนพล-ขุนศึก" ในการปราบปรามยาเสพติด ปราบปรามอบายมุขทุกรูปแบบ อย่างจริงจัง ด้วยความรอบคอบ เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง

ไม่เช่นนั้น ร.ต.อ.เฉลิมจะกลายเป็น "เป้านิ่ง" ที่ถูกรุมถล่ม

เป้านิ่ง ที่หากถูกรุมถล่มจากทุกทาง ทุกฝ่าย ก็มีสิทธิยวบได้เหมือนกัน

(มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 6 กันยายน 2554 หน้า3)