WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 5, 2011

ฝากอนาคตไว้กับอะไร

ที่มา มติชน



โดย สุชาติ ศรีสุวรรณ

คอลัมน์ ที่เห็นและเป็นไป นสพ.มติชน



พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุด ยิ่งในยุคยุบพรรคกันเป็น "ขนมหวานล้างปากหลังอาหาร" แล้ว "ประชาธิปัตย์" รอดมาได้พรรคเดียว ยิ่งเป็นพรรคที่ว่ากันด้วยอายุแล้วไม่มีพรรคไหนสูงเท่า

ความสูงอายุเป็นภาพของความเชี่ยวชาญ ช่ำชอง

ประชาธิปัตย์ก็เป็นอย่างนั้น

ความเป็นพรรคเก่าแก่ ทำให้มีสมาชิกและผู้นิยมชมชอบกระจายอยู่ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ อย่างเหนียวแน่น ภักดีอยู่ไม่น้อย

"ประชาธิปัตย์" น่าจะเป็นพรรคมือวางอันดับหนึ่งของการเมืองไทย

แต่เอาเข้าจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

ยังมีอีกภาพคือ เป็นพรรคเก่าแก่ก็จริง แต่ตั้งแต่ตั้งพรรคมา ชนะการเลือกตั้งน้อยมาก ส่วนใหญ่จะแพ้

การเลือกตั้งแต่ละครั้งมีการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้นมา แข่งกับประชาธิปัตย์

เหลือเชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์ทั้งที่สะสมประสบการณ์ และฐานความนิยมมายาวนานกว่ากลับพ่ายแพ้เสียเป็นส่วนใหญ่

เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

หลังความพ่ายแพ้ต่อพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา แบบไม่น่าเชื่อว่าจะแพ้ เพราะประชาธิปัตย์มีความพร้อมทุกด้าน และทุ่มเทเพื่อสู้เต็มที่

ที่ชวนให้ช็อกไปมากกว่านั้นคือ แพ้ขาดกว่า 100 คะแนนกับพรรคการเมืองที่ไม่มีสภาพความพร้อมอย่างเพื่อไทย

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ในฐานะประธาน ส.ส.จึงไปทำการวิจัยว่าทำไม "ประชาธิปัตย์จึงแพ้"

ผลวิจัยออกมาละเอียดยิบ แต่สรุปๆ ก็คือ "พรรคประชาธิปัตย์มีภาพเป็นพรรคของชนชั้นกลางและชั้นสูง ห่างเหินจากคนรากหญ้า"

เมื่อคนระดับล่างมีมากกว่าคนชั้นกลางและคนชั้นสูง พรรคที่เข้าถึงกว่าก็ต้องชนะ

ซึ่งว่าไปข้อมูลนี้ไม่ใช่ข้อมูลใหม่สักเท่าไร

ก่อนหน้านั้น ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เขียนหนังสือเรื่อง "การเมืองสองนครา" สรุปว่า "คนชนบทเลือกตั้งบาง แต่คนเมืองล้มรัฐบาล"

ซึ่งเป็นทฤษฎีที่นักรัฐบาลและนักการเมืองยอมรับ

เพราะพิสูจน์ได้จากประวัติศาสตร์การเมืองไทย

พรรคที่ได้รับเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากส่วนใหญ่เป็นพรรคใหม่ที่ตั้งขึ้น มาสู้กับประชาธิปัตย์ แต่ตั้งรัฐบาลได้ไม่นานก็ถูกล้ม ด้วยรัฐประหาร

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ถูกเลือกเข้ามามีบทบาทในช่วงวิกฤตการเมือง

กลายเป็นภาพมีอำนาจเพราะ "พรรคทหารเลือก" ไม่ใช่ "ประชาชนเลือก"

เป็นพรรคที่เป็นรัฐบาลหลังการปฏิวัติ

อาจจะเป็นเหราะเหตุนี้ ไม่ว่าจะโดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม บทบาทของนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์จึงเป็นไปในทางสร้างเงื่อนไขให้เกิดการ ปฏิวัติ มีความสามารถสูงยิ่งที่จะทำให้เห็นว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นพวกที่สกปรกโสมม เต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่สมควรจะให้บริหารประเทศ

การเมืองที่มาตามกรอบของระบอบประชาธิปไตยจึงมีแต่ความเลวทรามต่ำช้าตลอดมา

และพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งสร้างภาพให้เป็นนักการเมืองสะอาดบริสุทธิ์ จะเป็นพระเอกขี่มาขาวมาขจัดกวาดล้างความโสมมนั้น

นั่นเป็นยุทธศาสตร์ที่ประสบความสำเร็จในวันเก่าของพรรคประชาธิปัตย์

เพียงแต่วันนี้ยังจะเป็นอย่างนั้นได้หรือ

การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ได้สะท้อนให้เห็นว่าสำนึกของประชาชนในเรื่องประชาธิปไตยไปไกลแล้ว

ไกลกว่าที่นักการเมืองจะเข้าใจเสียด้วยซ้ำ

การเป็นพรรคที่รอ หรือพยายามผลักให้คู่ต่อสู้พลาดพลั้งลื่นล้ม ยังเป็นพรรคที่ประสบความสำเร็จได้อยู่หรือ

ไม่จำเป็นหรือจะต้องฮึดขึ้นมาเพื่อเป็นพรรคที่สร้างชัยชนะด้วยตัวเองให้ได้ ไม่ใช่หวังแต่พึ่งพาอำนาจนอกระบบมาอำนวยวาสนาให้

งานวิจัยของ "คุณหญิงกัลยา" เหมือนพยายามจะบอกอย่างนั้น

เช่นเดียวกับสมาชิกพรรคอีกหลายคนยกตัวเองเช่น นายถาวร เสนเนียม ก็พยายามบอกว่าให้เอาผลวิจัยนี้มาปรับตัว

แต่ดูเหมือนว่าสมาชิกได้แค่พยายาม

หลัง "หัวหน้าพรรคอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ประกาศในงานสัมมนาพรรคที่พิษณุโลก ว่า "ผลงานวิจัยของคุณหญิงกัลยาถือเป็นความเห็นของคนที่ไม่เลือกเราเท่านั้น อย่าให้ผมพูดเลย กลัวจะถูกฟ้องหมิ่นประมาท"

ทุกอย่างก็จบ สมาชิกคนอื่นต้องยอมรับสภาพ "ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามก็อยู่ที่นั่น" เดินไม่ถึงความสำเร็จสักที

ความสำเร็จที่จะให้ "หัวหน้าพรรค" มองเห็นว่า "ความเห็นของคนที่ไม่เลือกเรา" ที่ไม่ให้ราคาคุณค่านั้น

เป็น "ความเห็นที่ทำให้คู่แข่งชนะการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า"