WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 14, 2010

ข่าวรั่วในโลกปัจจุบัน

ที่มา มติชน



โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์



สิ่ง ที่ทำให้ผมงงและไม่งงไปพร้อมกันก็คือปฏิกิริยาของคนหลายกลุ่ม ที่เกิดจากการเผยแพร่ข้อมูลลับของ WikiLeaks เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มดังกล่าวนั้น มีทั้งเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงของสหรัฐเอง, ประเทศพันธมิตร และที่งงหนักขึ้นไปอีกคือองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนบางแห่ง

เอกสาร ที่ถูกปล่อยออกมาครั้งนี้คือสำเนาโทรเลขของสถานทูตสหรัฐในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่งกลับไปรายงานกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ นับตั้งแต่ พ.ศ.2509 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยเอกสาร 251,287 ฉบับ แต่ที่เพิ่งเผยแพร่ผ่านเว็บนั้นมีเพียง 291 ฉบับเท่านั้น ยังมีอีกบางส่วนที่อาจเผยแพร่หรือ "แพลม" ผ่านข่าวและบทวิเคราะห์ของหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั่วโลกตะวันตก เช่น The Guardian, The New York Times, Le Monde, Der Spiegel เป็นต้น

ใน จำนวนเอกสารจำนวนมหึมานี้ ที่น่าสนใจแก่คนไทยเป็นพิเศษก็คือ มีเอกสารที่ส่งไปจากสถานทูตสหรัฐในกรุงเทพฯ ถึง 3,516 ฉบับ นับตั้งแต่ พ.ศ.2547 เป็นต้นมา (ก่อนรัฐประหาร 2549) แต่มีเพียงส่วนเดียวที่ถูกเผยแพร่ทั่วไป คือที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาและแผนของสหรัฐในเรื่องของนายวิคเตอร์ บูท หลังจากที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่าไม่ต้องส่งตัวเขาเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไป ยังสหรัฐ

ที่ทำให้ผมงงก็คือ หลายคน หลายองค์กร โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่พูดถึงกรณีข่าวรั่วครั้งนี้ตามผู้นำอเมริกันว่า ได้เกิด "ความเสียหาย" ที่ร้ายแรงขึ้นแล้ว เพราะนับจากนี้ไป การบริหารรัฐจะไม่มีความลับอีกต่อไป

ผมงงก็เพราะว่า หากการบริหารรัฐไม่อาจทำเป็นความลับได้ จะเกิด "ความเสียหาย" แก่ใครเล่าครับ? ผมแน่ใจว่าไม่เกิดแก่ประชาชนอย่างแน่นอน

แต่ ความวิตกกังวลเหล่านี้กลับเป็นส่วนที่ผมไม่งง เพราะเป็นข้อสรุปที่ไม่ต้องพิสูจน์มานานแล้วว่าการบริหารบ้านเมืองย่อม ประกอบด้วยการสงวนบางเรื่องไว้ไม่ให้ประชาชนล่วงรู้ และการเปิดเผยสิ่งที่ไม่จริง หรือจริงไม่หมดเปลือกให้เป็นความรู้ของสาธารณชน พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือการบริหารรัฐย่อมต้องใช้การปิดบังและการโกหกเป็น เครื่องมือที่ขาดไม่ได้

ทั้งนี้ กระทำกันทุกรัฐ ไม่ว่าจะเป็นรัฐเล็กๆ หรือรัฐใหญ่ๆ ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย หรือผูกขาดอำนาจโดยพรรคเดียว ไม่ว่าจะเป็นรัฐพลเรือนหรือรัฐทหาร

โดย เฉพาะในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว ยังใช้กับเรื่องอื่นๆ ที่กระทบไปถึงสิทธิเสรีภาพของพลเมืองอย่างไม่จำกัด อันที่จริงในรัฐปัจจุบัน สองเรื่องนี้แยกออกจากกันไม่ได้ การดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างปิดลับนั้น อาจเป็นผลให้ท้ายที่สุดก็นำประเทศเข้าสู่สงคราม (รูปแบบต่างๆ - เช่นโดนถล่มตึกสูงด้วยเครื่องบิน) ที่กระทบถึงพลเมือง โดยไม่มีส่วนในการตัดสินใจเลย ทั้งๆ ที่สงครามเป็นเรื่องคอขาดบาดตายซึ่งหากให้พลเมืองเลือก คงเลือกทางที่จะหลีกเลี่ยงมากกว่า

ทั้งนี้ ผมไม่ได้หมายถึงมาตรการปิดลับชั่วคราวบางเรื่อง ซึ่งในเวลาไม่นานก็ต้องประกาศอย่างเปิดเผยให้รู้ทั่วกัน เช่น การปรับเปลี่ยนพิกัดภาษีศุลกากร หรือการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ย่อมจำเป็นต้องปิดไว้จนกว่าประกาศเป็นทางการ (แต่เรื่องอย่างนี้เสียอีกที่ผู้บริหารบางรัฐกลับแอบ "แพลม" ให้บางคนที่เป็นพรรคพวกได้รู้ก่อน)

และในนามของความจำเป็นที่จะต้อง ปิดลับในการบริหารบ้านเมืองนี้เอง ที่ทำให้รัฐมีอำนาจเหนือพลเมือง โดยปราศจากการถ่วงดุลอำนาจจากสถาบันอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นตุลาการ, นิติบัญญัติ, สื่อ หรือภาคประชาสังคม ก็ไม่มีข้อมูลที่จะใช้ตรวจสอบถ่วงดุลได้เลย อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายจึงเป็นเพียงน้ำหมึกบนกระดาษเท่านั้น ขนาดจับผู้คนไปกักขังทรมานได้เป็นปีๆ เพียงเพราะสร้างคุกขึ้นในพื้นที่นอกเขตอำนาจศาล ทั้งในดินแดนอันอยู่ใต้อารักขาของตน หรือในประเทศพันธมิตร ที่อ้างกันถึงหลัก Check and Balance ในสหรัฐ จึงไม่เป็นผลในทางปฏิบัติ เพราะการบริหารบ้านเมืองต้องเป็นความลับนี่แหละ

ความจำเป็นที่มักใช้ อ้างกันเสมอคือ "ความมั่นคง" ของรัฐ คำนี้ไม่ได้หมายเพียงเผชิญสงครามรุกรานอย่างเปิดเผยจากปัจจามิตรเท่านั้น เพราะอ้างกันว่าสงครามในโลกยุคปัจจุบันทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการค้าระหว่างประเทศ การกระจายของวัฒนธรรมต่างชาติ ความเชื่อทางศาสนา หรือแม้แต่การเผยบางส่วนของร่างกายสตรีที่ฝ่ายอำนาจไม่ชอบก็อาจกระทบถึงความ มั่นคงแห่งรัฐได้ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ความมั่นคง" ให้ความชอบธรรมแก่ฝ่ายบริหารที่จะเข้ามากำกับชีวิตของพลเมืองในทุกด้าน รวมถึงการรับรู้ด้วย เพราะมีความรู้บางอย่างที่พลเมืองไม่ควรรู้ เพราะจะบ่อนทำลาย "ความมั่นคง"

นอกจากอะไรกระทบต่อความมั่นคงบ้าง เป็นสิ่งที่รัฐกำหนดเอาเองแล้ว แม้แต่ใครคือศัตรูของรัฐ ก็ยังกำหนดเอาตามใจชอบอีกด้วย และหามาตรฐานอะไรไม่ได้เลย บางครั้งรัฐที่เป็นมิตรและร่วมเป็นภาคีขององค์กรระหว่างประเทศเดียวกัน เช่น สิงคโปร์ หรือเวียดนาม ก็อาจถูกมองว่าเป็นศัตรูได้ในบางครั้งบางเรื่องโดยเฉพาะด้านธุรกิจ กัมพูชากลายเป็นศัตรูทันทีที่แต่งตั้งทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ

ในนามของ "ความมั่นคง" แห่งรัฐนี้เอง ประชาธิปไตยของหลายประเทศในโลกนี้จึงกลายเป็นประชาธิปไตยเบ็ดเสร็จ

โดย อาศัยความลับเพื่อความมั่นคงนี่แหละ รัฐทั้งหลายในปัจจุบันจึงทำงานเหมือนกองทัพที่กำลังเข้าสงคราม โดยมีหน่วยงานเพื่อความมั่นคงนานาชนิด คอยกำกับควบคุมพลเมือง อาจจับกุมคุมขังหรือสั่งฆ่าทั้งในที่ลับและที่แจ้งได้ โดยกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง (หรือไม่กล้าเอื้อมเข้าไปให้ถึง) หน่วยงานเหล่านี้อาจรวมกันเป็น "กระทรวงสันติภาพ" ซึ่งมีหน้าที่ทำสงคราม ของยอร์ช ออร์เวิล ได้เลย (และอย่าลืมว่าสงครามใหญ่ของ "พี่เบิ้ม" ไม่ได้ทำกับรัฐอื่น แต่ทำกับประชาชนของตนเอง)

สิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญประกันไว้ให้พลเมืองไร้ความหมายไปสิ้น เบื้องหน้าซีไอเอ, ศอฉ., หรือสภาความมั่นคง

อย่าง ไรก็ตาม กรณีการรั่วไหลของเอกสารกระทรวงต่างประเทศสหรัฐครั้งนี้นับว่าน่าสนใจเป็น พิเศษ นับเป็นการรั่วไหลที่ใหญ่สุดหลังกรณี The Pentagon Papers สมัยสงครามเวียดนาม แต่ครั้งนั้นผู้เผยแพร่เป็นผู้นำเอกสารออกมาเอง เพราะต่อต้านสงครามเวียดนาม ในครั้งนี้ WikiLeaks ได้เอกสารมาอย่างไรไม่ทราบได้ แต่ไม่น่าจะมาจากการ "ซื้อ" เพราะ WikiLeaks ไม่มีประโยชน์ทางธุรกิจมากพอจะซื้อได้ เอกสารทั้งหมดไม่ได้เจาะเฉพาะกรณีสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน อันเป็นสงครามที่มีผู้ต่อต้านในอเมริกาพอสมควร ความเป็นไปได้จึงอยู่ที่การเจาะ (hack) ข้อมูลในระบบดิจิตอล

ข้อมูล ทั้งหลายจะถูกเก็บในระบบดิจิตอลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เสียแล้ว และรัฐบาลอเมริกันย่อมทราบดีว่าระบบนี้ถูกทะลวงจากภายนอกได้ แม้แต่เจ้าหน้าที่รัฐเองก็มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลได้ในระดับที่ต่างกัน แล้วแต่ตำแหน่งหน้าที่ ดังนั้น สหรัฐย่อมต้องสร้างระบบที่ป้องกันการทะลวงอย่างแน่นหนาที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้กระนั้นในที่สุดก็ยังถูกทะลวงเข้าไปจนได้

ถ้าระบบอันดีเลิศของ สหรัฐยังมีช่องโหว่ จะมีข้อมูลของประเทศใดเหลือรอดจากการทะลวงของนักเจาะอิสระได้ล่ะครับ (ยกเว้นก็แต่ประเทศที่ไม่อยู่ในวัฒนธรรมใช้ตัวหนังสือเต็มที่ จึงบริหารประเทศกันด้วยลมปากเป็นส่วนใหญ่) ฉะนั้น การบริหารรัฐในมุมมืด ซึ่งทำกันมานานแล้วกำลังสั่นคลอนอย่างหนัก ในเวลาไม่นาน สิ่งที่ซุกอยู่ในมุมมืดก็จะถูกแสงสว่างส่องไปถึง โดยไม่ต้องรอถึง 50 ปีให้กลายเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์เสียก่อน อำนาจรัฐจะตั้งอยู่บนความลับได้น้อยลง ในขณะที่อำนาจของประชาชนจะเพิ่มขึ้น เพราะสามารถตรวจสอบและกำกับรัฐได้ใกล้ชิดมากขึ้น

สภาพที่โปร่งใสมาก ขึ้นอย่างนี้ ทำให้นักการเมืองและนักบริหารที่มีอยู่ขณะนี้ตกยุคหมด ความกะล่อนและหน้าไหว้หลังหลอกและหน้าด้าน จะไม่เป็นคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้ของบุคคลสาธารณะต่อไป อย่างไรก็ตาม สถาบันทางการเมืองต่างๆ แม้แต่ชาติจะอยู่ได้อย่างมั่นคง หากสามารถรับมือกับความโปร่งใสนี้ได้อย่างสุจริตใจ

อย่างไรก็ตาม ในระยะเปลี่ยนผ่านนี้ เราจะเห็นการใช้ความรุนแรงเพื่อเก็บอำนาจไว้ในที่มืดต่อไปให้ได้ แม้แต่สหรัฐ ก็ใช้อำนาจปิดกั้นการเข้าถึง WikiLeaks อย่างเดียวกับที่รัฐบาลจีนทำมานานแล้ว ในประเทศไทยเราเห็นการใช้อำนาจอย่างไร้ขอบเขตของหน่วย "ความมั่นคง" แทรกลงไปถึงรองเท้าแตะและสีเสื้อของผู้คน มีกฎหมายซึ่งมีโทษรุนแรง ปิดกั้นข้อมูลและความเห็นที่มีต่อบางเรื่องอย่างเด็ดขาด

แสงสว่างที่ ค่อยๆ สาดลงมาขับไล่นักการเมืองและผู้บริหารรัฐถอยร่นไปติดมุมมืด ซึ่งแสงยังส่องไปไม่ถึงชั่วขณะ แต่ในที่สุดก็จะไม่มีมุมใดที่แสงส่องไปไม่ถึงเหลืออยู่

ในกรณีประเทศไทย นอกจาก WikiLeaks จะชี้ให้เห็นแรงกดดันอย่างหนักของสหรัฐในกรณีนายวิคเตอร์ บูท แล้ว ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจซึ่งยังไม่เผยแพร่จากเอกสารอีกมาก โดยเฉพาะเมืองไทยปลายสมัยทักษิณ การชุมนุมทางการเมือง, การรัฐประหาร และความแตกร้าวอย่างหนักในการเมืองไทยหลังรัฐประหาร (และนี่คือเหตุผลที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สั่งปิดเว็บ WikiLeaks)

แม้ เป็นข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมและประเมินของสถานทูตสหรัฐในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ข้อเท็จจริง แต่จากกรณีตัวอย่างที่ได้รับรู้กันแล้ว รายงานของสถานทูตสหรัฐ (และอีกหลายประเทศ) เปิดเผยข้อเท็จจริงที่ไม่เคยรู้กันมาก่อนได้มาก หรืออย่างน้อยก็อาจมอง "ข้อเท็จจริง" ที่ถูกปั้นแต่งขึ้นจากอีกมุมหนึ่งได้

ผมหวังว่า สื่อในเมืองไทยจะขยับหลังของตนไปรวบรวมเอกสารเหล่านี้มาเผยแพร่ให้สาธารณชน ไทยได้รับรู้ ถึงสื่อไทยไม่ทำ ก็จะมีสื่อต่างประเทศทำอย่างแน่นอน ฉะนั้น ใครทำอะไรไว้ก็เตรียมตัวกะล่อนได้แต่บัดนี้