WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 14, 2010

มาม่ายังไม่รู้ตัวโดนรุมต้านคว่ำบาตรเร่งวิจัยงมหาเหตุส่วนแบ่งทรุด คู่แข่งไวไวได้อานิสงส์โตพรวด

ที่มา Thai E-News



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
14 ธันวาคม 2553

หลัง จากที่เครือข่ายผู้บริโภคสีแดง ประกาศรณรงค์บอยคอตสินค้าที่สนับสนุนเผด็จการ โดยเริ่มต้นที่เครือสหพัฒนพิบูล ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภครายใหญ่ ด้วยการจัดแคมเปญ"หยุดซื้อหยุดกินมาม่าเป็นเวลา1เดือน"ผ่านมา 1 สัปดาห์ และคาดการณ์ว่าจะมีคนไทยร่วมรณรงค์ทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 20 ล้านคน

ล่าสุดช่วงเดียวกันนี้มีการศึกษาวิจัยหัวข้อเรื่อง "เหตุใด ส่วนแบ่งทางการตลาดของมาม่าจึงมีสัดส่วนที่ลดลง"

ทั้งนี้กลุ่มผู้ทำการศึกษาวิจัยได้เผยแพร่เอกสารดังกล่าวไว้ในระบบข้อมูลlearners ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า ส่วนแบ่งการตลาดของมาม่าที่เคยสูงถึงง 60%ในตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ลดวูบลงมาเหลือราว 50%ในปัจจุบัน

รายงานระบุว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของ “มาม่า” ลดลงอย่างต่อเนื่อง และค่อนข้างคงที่ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา

ขณะ ที่คู่แข่งรายสำคัญของมาม่า คือไวไวอ้างว่าได้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น โดยนายปรีชา นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตราไวไวและควิก ผู้นำตลาดอันดับ 2 เปิดเผยว่ามีส่วนแบ่งตลาด 32% จากเดิม26%

บริษัท ยังคงตั้งเป้าการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเป้าหมายการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของไวไว จากส่วนแบ่งตลาด 32% เพิ่มเป็น 34-35% หรือเพิ่มอีก 2-3%


คณะผู้วิจัยสาเหตุที่ส่วนแบ่งการตลาดมาม่าลดลง ระบุว่า

เหตุ ใด ส่วนแบ่งทางการตลาดของ “มาม่า” จึงมีสัดส่วนที่ลดลงในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่าให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจาก “มาม่า” เคยเป็นผู้นำตลาดธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ด้วยส่วนแบ่งตลาดมากถึง 60% และถือว่าได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งมาตลอดระยะเวลากว่า 35 ปี

แต่ ในปัจจุบัน “มาม่า” ได้มีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลงมาเรื่อยๆ ทำให้ “มาม่า” ต้องการที่จะแก้ไขปัญหานี้ เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะกลับมาครอง ส่วนแบ่งทางการตลาดให้เป็นเหมือนดั่งเช่นที่ผ่านมา ในขณะที่คู่แข่งก็พยายามที่จะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดให้มากขึ้นทุกๆ ปี จึงเป็นปัญหาหนักสำหรับ “มาม่า” ในการที่จะกลับมาครองส่วนแบ่งทางการตลาดให้เท่าเดิม

ดังนั้น ”มาม่า” จึงต้องทำการวิจัยศึกษาว่า เพราะเหตุใด “มาม่า”จึงมีส่วนแบ่งทางการตลาดลดลง และจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร เพื่อให้ตนเองนั้นได้กลับมามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิมได้


ทั้งนี้ผู้บริหารมาม่าอ้างว่า ปัจจุบันส่วนแบ่งการตลาดลดลงมาเหลือราว 50% ขณะที่คู่แข่งขันของมาม่าอ้างว่าเหลือราว 48% โดยผู้บริหารมาม่าอ้างว่า ตลาดบะหมี่สำเร็จรูป ณ ปัจจุบันใกล้อิ่มตัวแล้ว กับมูลค่าการตลาดราว 12,000 ล้านบาทต่อปี

ซึ่งข้ออ้างดังกล่าวถือว่า สวนทางกับทั่วโลก ที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเป็น 158.7 พันล้านซอง ในปี 2553

ขณะ ที่การจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศ ซึ่งเป็นตลาดหลักของผู้ประกอบการไทย ในปี 2553 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า จะมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 11,200 ล้านบาท หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2552 ประมาณร้อยละ 5-6 มาม่ายังมีส่วนแบ่งการตลาด เป็ นอันดับ 1 ที่ 50%

ปัจจุบันมาม่าเป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 50% ไวไว 25-26% และยำยำ 20%

แต่ นายปรีชา นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด ให้ "กรุงเทพธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตราไวไวและควิก ผู้นำตลาดอันดับ 2 อ้างว่าบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มจาก26%ขึ้นมาเป็น 32%

ไทย เป็นผู้บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปรายใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก ซึ่งในช่วงปี 2547-2551 มีอัตราการขยายตัวของปริมาณการบริโภคเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5.1 ต่อปี โดยในปี 2551 มีปริมาณการบริโภครวม 2.2 พันล้านซอง หรือคิดเป็นอัตราการบริโภคเฉลี่ยของคนไทยเท่ากับ 35.5 ซอง/คน/ปี สูงกว่าอัตราการบริโภคเฉลี่ยของโลก ซึ่งอยู่ที่ 23.7 ซอง/คน/ปี แสดงให้เห็นว่า ในปัจจุบันคนไทยบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในปริมาณที่สูงกว่าอัตราการบริโภค เฉลี่ยของโลกอยู่มาก

กลุ่มผู้วิจัยระบุว่า แต่อย่างไรก็ดี “มาม่า” กลับมีส่วนแบ่งการตลาดจะมีตัวเลขที่ลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ทำให้ผู้จัยมีความต้องการที่จะศึกษาว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของ “มาม่า” ลดลง และยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวแปรให้ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกหรือไม่

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาว่า เหตุใดส่วนแบ่งการตลาดของ “มาม่า” จึงลดลง
2. เพื่อต้องการทราบว่าต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ “มาม่า” จำเป็นต้องมีการปรับขึ้นราคาหรือไม่
3. เพื่อต้องการทราบว่า การพัฒนาที่มากขึ้นของคู่แข่ง อาทิ ไวไว และยำยำ มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเลือกบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือไม่
4. เพื่อศึกษาว่าส่วนแบ่งทางการตลาดของ “มาม่า” จะสามารถถือครองส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 55% ได้หรือไม่
5. เพื่อต้องการทราบว่ากลุ่มผู้บริโภคมีความจงรักภักดีต่อตราสินค้าหรือไม่ หากไม่มีการจัดการส่งเสริมการจัดจำหน่ายดังเช่นปัจจุบัน

ใน การดำเนินการวิจัยนี้ ต้องการศึกษาเพื่อให้ทราบว่า มีปัจจัยใดบ้างที่ทำให้ส่วนแบ่งทางการตลาดของมาม่าลดลงในแต่ละปีที่ผ่านมา โดยได้มีการดำเนินงานศึกษาวิจัยในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ. 2551 ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่ได้ทำการศึกษาวิจัยนี้ จะได้มาจากการทำแบบสอบถาม ที่ผู้ทำวิจัยจัดทำขึ้นและเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมด จากการตอบแบบสอบถามของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ

โดยสมมติฐานในการศึกษาครั้งนี้คือ

1.การใช้พรีเซนเตอร์ในการโฆษณา มีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
2.การจัดแคมเปญของคู่แข่ง มีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
3.การปรับขึ้นราคาของ “มาม่า” มีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
4.การส่งเสริมการขาย มีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
5.บรรจุภัณฑ์เดิมของ “มาม่า” มีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
6.ความสับสนระหว่างแบรนด์ ของผู้บริโภคมีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
7.ความไม่จงรักภักดีของผู้บริโภค มีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค
8.ลักษณะความคล้ายคลึงกันของผลิตภัณฑ์ระหว่าง “มาม่า” กับแบรนด์อื่นมีผลต่อการไม่เลือกซื้อของผู้บริโภค

มั่นใจคนไทยไม่น้อยกว่า20ล้านต้านสินค้าเผด็จการคึกคัก


เครือ ข่ายผู้บริโภคสีแดง ได้ประกาศเริ่มมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อองค์กรธุรกิจที่ให้การสนับสนุน ระบอบปกครองเผด็จการอำมาตย์ และได้รับการเกื้อหนุนจากฝ่ายเผด็จการ โดยประกาศเริ่มต้นคว่ำบาตรเศรษฐกิจต่อเครือสหพัฒนพิบูล ของตระกูลโชควัฒนา ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของประเทศ ด้วยการจัดแคมเปญ"หยุดซื้อ หยุดกินมาม่า เป็นเวลา 1 เดือน"เริ่มต้นเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2553 ปรากฎว่าเกิดกระแสตอบรับอย่างกว้างขวาง

ขณะที่เครือข่ายผู้บริโภคสีแดงได้ตั้งเป้าหมายให้คนไทยเกินกว่า 20 ล้านคนเข้าร่วมแคมเปญนี้


95%ของผู้อ่านไทยอีนิวส์ตอบรับเข้าร่วมการรณรงค์

ไทยอีนิวส์ได้จัดสำรวจผู้อ่านในหัวข้อเรื่อง คุณคิดอย่างไรกับแคมเปญคว่ำบาตรศก.สินค้าหนุนเผด็จการ? ผู้ตอบแบบสำรวจในวันแรก มากกว่า 95%ตอบว่าจะเข้าร่วมกิจกรรมการรณรงค์ครั้งนี้ โดยมีผู้แสดงความเห็นว่า เห็นด้วยที่สุด เข้าร่วมแน่ และจะชวนคนอื่นร่วมด้วย 77% แสดงความเห็นว่าเห็นด้วย และจะร่วมลงมือคว่ำบาตรด้วย 18% มีเพียง 2%ที่แสดงความเห็นว่า ทำไปทำไม คงไม่ได้ผล ทำอย่างอื่นดีกว่า

ชุมชนคนเสื้อแดงขานรับบอยคอตมาม่า และขยายผลไปยังสินค้าหนุนเผด็จการเป็นไฟลามทุ่ง

กระดานสนทนา Internet freedom กระดานสนทนาคนเสื้อแดงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ได้นำข่าวการจัดแคมเปญนี้ไปเผยแพร่เป็นกระทู้ปักหมุด โดยได้แสดงความเห็นด้วยที่จะเข้าร่วมการรณรงค์ครั้งนี้ เช่น

กิจการ รณรงค์นี้ ถูกใจผมเป็นที่สุด เริ่มเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่สายและไม่ต้องปราณีมันหรอก คว่ำให้พินาศฉิบหายไปเลย ความคิดมันเป็นระดับอุดมการณ์เผด็จการแล้ว มันเปลี่ยนอุดมการณ์ไม่ได้หรอก อย่างมากมันก็แกล้งยอมเพื่อรักษากิจการมัน อย่าปราณีศัตรูระดับอุดมการณ์ ฆ่าได้ฆ่ามันโลด


ดีครับเอาโฟกัสเป้าแบบ ตรงๆกระชับๆไม่ต้องไปหลายตัว มันจะลดพลัง เอาง่ายๆเลิกกินมาม่า ไปกินยำยำ ไวไวแทน เลิกซื้อผงซักฟอกเปาไปใช้บรีสแทน 2ตัวนี้คือมาม่ากับเปาเป็นเสาหลักของสหพัฒน์ครับ เน้นๆไปเลย


กรณีCP รายนี้จิ้งจกครับ ใครมีอำนาจก็หนุนทางนั้นตอนทักษิณมีอำนาจก็เชียร์ เรียกว่าเอาทุกทาง แต่อย่างสหพัฒน์นี่เห็นอยู่ข้างศักดินาตลอด ตอนทักษิณมีอำนาจก็สนับสนุนพวกพันธมิตรให้ล้มทักษิณเพื่อศักดินา ผมอยากรู้จังว่าระหว่างศักดินากับชนชั้นกรรมาชีพใครอุดหนุนสินค้ามันมากกว่า กัน ประธานบริษัทคนนี้มันกลวงจริงๆสู้พ่อมันที่ตายไปแล้วไม่ได้


ขอ เข้าร่วมด้วยทั้งครอบครัว เลิกสนับสนุนสินค้าที่ให้เงินอุดหนุนฆ่าไพร่ ขณะนี้เราค่อยๆทำไปทีละอย่าง ทำพร้อมๆกันขั้นแรกงดซื้อมาม่า หันไปซื้อสินค้าตัวอื่นที่ทดแทนกันได้ (ที่ทำอยู่ขณะนี้ก็คือไม่เข้าซื้อสินค้าในร้านเซเวน และ108 พยายามหาซื้อตามร้านชำของพี่น้องเสื้อแดง ) เชิญชวนทุกคนครับ สมัยเป็นนักศึกษาเคยรณรงค์ไม่ใช้สินค้าญี่ปุ่นมาแล้ว ขอรับรองมาตรการอย่างนี้พ่อค้าจะต้องจำไปอีกนาน แต่ขอให้พี่น้องช่วยกัน นี่แหละสงคราม​ที่ต่อสู้โดยอหิงสา


ส่วนบางคนก็ขอให้ขยายผลไปยังสินค้าหนุนเผด็จการอื่นๆด้วย โดยระบุชื่อหลายกิจการ และหลายผลิตภัณฑ์

ส่วนกระดานชุมชนบ้านราชดำเนิน กระดานสนทนาคนเสื้อแดงแหล่งใหญ่อีกราย ได้มีผู้เสนอว่า นอกจากบอยคอตมาม่าแล้ว น่าจะแนะนำทางเลือกต่อผู้บริโภคไปด้วยเลยว่าให้ไปกินไวไว หรือยำยำ ที่เป็นคู่แข่งแทน หรือให้เลิกใช้ผงซักฟอกเปาของสหพัฒน์ แล้วไปใช้บรีสแทน เป็นต้น เพื่อให้ยอดขายของสหพัฒน์ตก แล้วไปเพิ่มมูลค่าการตลาดให้คู่แข่งขันแทน

ที่กระดานสนทนาไทยฟรีนิวส์ กระดาน ชุมชนคนเสื้อแดงแหล่งใหญ่อีกแห่ง ได้นำเสนอต่อแกนนำนปช.แดงทั้งแผ่นดินว่า นอกจากเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายวิธีแล้ว ควรใช้มาตรการคว่ำบาตรเศรษฐกิจต่อฝ่ายเผด็จการด้วยจึงจะทรงพลังมีอำนาจต่อ รองสูง เช่น อาจกำหนดว่าหากยังไม่ปล่อยตัวแกนนำ หรือนักโทษการเมืองก็จะบอยคอตสินค้าของฝ่ายเผด็จการ หรือสินค้าที่ให้การสนับสนุนอย่างหนัก เป็นต้น

กองเชียร์เผด็จการว่าทำไปไร้ผลเพราะคนรากหญ้ากินฟาง

อย่างไรก็ตามมีเสียงเสียดสีเยาะเย้ยจาก เวบบล็อกในเครือNATION ว่าแคมเปญนี้คงไม่ได้ผล เช่น

คนที่กินมาม่ามากกว่าใคร น่าจะเป็นกลุ่มพวกเด็กหอ พนักงานบริษัท จนท.โรงพยาบาล บอยคอดคงไม่ได้ผลหรอกกับคนที่กินหญ้า ฟางเป็นหลัก


เครือ ข่ายผู้บริโภคสีแดงได้คิกออฟ เริ่มแคมเปญนี้เป็นวันแรกเมื่อวานนี้ โดยให้เหตุผลว่า เหตุที่ต้องเริ่มต้นด้วยการบอยคอต"มาม่า"ก็เพื่อจะได้โฟกัสอย่างชัดเจน และทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ในทันที

เครือข่ายผู้บริโภคสีแดงประกาศ เป้าหมายว่า น่าจะมีคนเข้าร่วมโครงการรณรงค์ครั้งนี้เกินกว่า 20 ล้านคนทั่วประเทศ โดยอิงบนพื้นฐานคนไทยที่เลือกพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชนเป็นรัฐบาลที่มีมากกว่า 19ล้านเสียง หากนับรวมคนในครอบครัวของผู้มีสิทธิออกเสียงเหล่านี้ก็ควรมีคนเข้าร่วมแคม เปญนี้เกินกว่า 20 ล้านคนแน่ เนื่องจากคนเหล่านี้ถูกปล้นสิทธิ์ปล้นเสียงจากอำนาจเผด็จการ และผู้สนับสนุนอย่างสินค้าหนุนเผด็จการทั้งหลาย

อย่างไรก็ตามปัจจัย ความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับการรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางที่สุด โดยหวังว่าจะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กันแบบปากต่อปากให้กระจายเป็นไฟไหม้ ลามทุ่งออกไปในระยะ 1 เดือนแรกของโครงการนี้

มีธุรกิจที่สนับสนุน เผด็จการอำมาตย์ และได้รับการเกื้อหนุนต่างตอบแทนอยู่มากมาย ทำให้เผด็จการยังแข็งแกร่ง ร่วมพลังกันคว่ำบาตรเพื่อสั่นคลอนฐานรากเผด็จการ เริ่มต้นที่เครือสหพัฒนพิบูล ของตระกูลโชควัฒนา ทำได้ง่ายๆเพียงแค่'หยุดซื้อ หยุดกินมาม่าเป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกันทั่วไทยทั่วโลก' นับตั้งแต่วันนี้ ไปถึงวันที่ 8 มกราคม 2554 หรือจนกว่าเครือสหพัฒนพิบูลจะได้ตระหนักสำนึกถึงพลังของผู้บริโภคชาวไทยที่ เรียกร้องต้องการประชาธิปไตย ชิงชังระบอบปกครองเผด็จการ

เครือข่าย ผู้บริโภคสีแดงมีเป้าหมายที่จะรณรงค์แคมเปญนี้ขยายผลไปยังองค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่ฝักใฝ่สนับสนุนระบอบเผด็จการ หรือได้ประโยชน์จากระบอบปกครองเผด็จการในระยะต่อไปเมื่อสิ้นสุดแคมเปญคว่ำ บาตรต่อมาม่าในระยะเวลา 1 เดือน

เหตุที่มาม่าตกเป็นเป้าหมายการเริ่ม ต้นรณรงค์นี้ก็เนื่องจากเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคยอดนิยม และจะแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนชาวไทยผู้เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยได้ อย่างกว้างขวางที่สุด และทุกคนสามารถเข้าร่วมการรณรงค์ได้ทันที เพียงแต่หยุดซื้อ หยุดบริโภคพร้อมๆกันทั่วไทยและทั่วโลก


ผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า เป็นของบริษัท ไทยเพสซิเด้นท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ในเครือของสหพัฒนพิบูล ซึ่ง ผู้บริหารได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากระบอบเผด็จการ รวมทั้งเป็นผู้สนับสนุนรายสำคัญแก่กลุ่มพันธมิตรในการโค่นล้มรัฐบาลจากการ เลือกตั้งของประชาชนไทย มีบทบาทสำคัญในสภาหอการค้าไทยที่ออกมารณรงค์ขับไล่รัฐบาลจากการเลือกตั้งของ ประชาชน และสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลเทพประทาน รวมทั้งยังออกหน้าออกตาในการสนับสนุนเผด็จการ ต่อต้านความเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ทั้งที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนไทยทั้งประเทศ เครือสหพัฒน์จึงต้องได้รับบทเรียนจากพลังผู้บริโภคชาวไทย หากไม่ตระหนักสำนึก ก็ต้องถูกคว่ำบาตรตลอดไป ไม่ใช่เฉพาะ 1 เดือนของการรณรงค์นี้เท่านั้น

'เครือข่ายผู้บริโภคสีแดงตั้งเป้าหมาย ว่าในระยะ 1 เดือน หากประชาชนชาวไทยร่วมกันอย่างจริงจังทุกคนทุกครัวเรือน น่าจะได้เห็นยอดขายของมาม่าตกลงมาอย่างชัดเจน และจะเป็นการกระตุ้นเตือนให้เครือสหพัฒน์ และบรรดาองค์กรธุรกิจต่างๆที่เป็นมือไม้ให้เผด็จการต้องตระหนักสำนึกว่า พวกเขาควรวางตำแหน่งจุดยืนในทางการเมืองอย่างไรให้ถูกต้อง เราไม่ได้กดดันให้กลุ่มธุรกิจต้องมามีจุดยืนสนับสนุนฝ่ายประชาธิปไตย แค่ให้พวกเขาหยุดการเป็นมือไม้เป็นสปอนเซอร์ให้พวกเผด็จการอย่างออกนอกหน้า หรือประกาศความเป็นกลางทางการเมืองก็นับว่าน่าพอใจกับการรณรงค์นี้ และเราหวังว่าท้ายที่สุดอำนาจของฝ่ายเผด็จการจะไม่แข็งแกร่งอีกต่อไป หากขาดการเกื้อหนุนจากธุรกิจต่างๆ"เครือข่ายฯระบุ

เมื่อสิ้นปีที่ แล้วไทยเพรสซิเด้นท์ฟู้ดส์ เจ้าของผลิตภัณฑ์มาม่ามียอดขาย8,482ล้านบาท และปีนี้เฉพาะ9เดือนแรกมียอดขาย6,629ล้านบาท กำไรสุทธิงวด9เดือนนี้1,028ล้านบาท