ที่มา Thai E-News
การบอยคอต ทำให้ "กองทัพไทย" ไม่มีเวทีที่จะเข้ามาแทรก อำนาจทหารกลายเป็นศูนย์ ในเวทีนี้ อำนาจรัฐหมดความหมายในการกดดันผู้บริโภค
โดย ลูกชาวนาไทย
ที่มาและภาพประกอบ เวบไทยฟรีนิวส์
ดู เหมือนว่าการต่อสู้ทางการเมืองของคนเสื้อแดง ด้วยวิธีการชุมนุมใหญ่ได้ถึงจุดสูงสุดในช่วงเดือน 14 มีนาคม 2553- 19 พฤษภาคม 2553 และจบลงด้วยการถูกล้อมปราบและการสั่งหารหมู่
ประชาชน ไปเกือบร้อยคน บาดเจ็บไปกว่า 2,000 คน กลายเป็นบาดแผลที่สำคัญของสังคมที่ยากจะเยียวยาได้ และคงเป็นเงื่อนไขทางการเมืองในอนาคต ที่คงทำให้ใครต่อใครได้เข้าคุกหลังหมดอำนาจแล้ว
จากผลดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การชุมนุมใหญ่นั้น ไม่ได้ให้ผลด้านชัยชนะที่ "ชี้ขาด" ในสงครามความขัดแย้งทางการเมือง
ที่ จริงกลยุทธ์การชุมนุมใหญ่ หากคิดตามตำราพิชัยสงคราม 36 กลยุทธ์ของจีนแล้ว ต้องใช้ในฐานะของ "กลลูกโซ่" คือ ต้องมีเครื่องมืออิ่นรองรับด้วย เช่น กำลังทหารที่ซุ่มซ่อนรอเงื่อนไขเข้าทำการบดขยี้ เมื่อฝ่ายตรงข้ามขาดความชอบธรรมไปแล้ว
หากไม่มีเครื่องมืออย่างอื่นคอยช่วยหนุน การใช้การชุมนุมใหญ่ก็ไม่อาจพิชิตศึกได้ด้วยตัวของมันเอง
แม้ จะถูกล้อมปราบอย่างรุนแรง ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนแล้ว คนเสื้อแดงคงพ่ายแพ้ไปอย่างชนิดที่เรียกว่าไม่ได้ผูดได้เกิดอีกต่อไป และคงละลายหายไปและฝ่ายตรงข้ามคงได้ชัยชนะอย่างสมบูรณ์
แต่เมื่อดู ผลหลังการล้อมปราบในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนบัดนี้เป็นเวลากว่า 7 เดือนแล้ว ขบวนการเสื้อแดงยังไม่ได้ละลายหายไปแต่อย่างใด
มีสภาพ เหมือนกับก่อนการชุมนุมใหญ่ คือ กำลังสะสมกำลัง เพื่อรอที่จะเข้ากระทำอีกครั้งหนึ่ง หากได้ยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ที่เหมาะสมแล้ว สงครามยังไม่จบ และยังไม่มีทีท่าจะจบ ฝ่ายเสื้อแดงไม่ได้อ่อนกำลังลงแต่อย่างใด
การถูกล้อมปราบไม่ได้ทำให้เสื้อแดง พ่ายแพ้สงครามแต่อย่างใด เพียงแต่อาจพลาดพลั้งในด้านการรบเท่านั้น
ตอนนี้อยู่ที่ว่าจะทำสงครามต่อไปได้อย่างไร ภายใต้ยุทธศาสตร์อะไร ทิศทางการต่อสู้ความใช้ยุทธวิธีอย่างไร
ผม เชื่อว่าการใช้การชุมนุมใหญ่คงไม่ได้ผลอีกต่อไป เมื่อเดือนสองเดือนก่อน คนเสื้อแดงอาจยังสับสน ว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป กลยุทธ์แบบ "วันอาทิตย์สีแดง" ของ บก.ลายจุดจึงเกิดขึ้น เพื่อดังส่วนต่างๆ ของคนเสื้อแดงให้กลับมารวมตัวกันอีก
แต่ กลยุทธ์ "วันอาทิตย์สีแดง" มีผลเพียงทำให้ คนเสื้อแดงที่กระจัดกระจายไปหลังการถูกล้อมปราบ กลับมารวมพลกันอีกครั้งเท่านั้น
โดยตัวของมันเองแล้ว "วันอาทิตย์สีแดง" เป็นกลยุทธ์การตั้งรับเท่านั้น ไม่ใช่กลยุทธ์ในการรุกแต่อย่างใด
ใน สงคราม การใช้การตั้งรับไม่อาจนำไปสู่การเผด็จศึกได้ เป็นเพียงแต่สะสมกำลังยามเรายังไม่เข็มแข็งเท่านั้น หากจะชนะสงคราม ต้องใช้กลยุทธ์การรุกเท่านั้น
ตอนนี้ กลยุทธ์ในการรุก เริ่มปรากฎให้เห็นแล้ว คือ "การใช้ยุทธวิธีบอยคอตสินค้าของกลุ่มทุนที่สนับสนุนอำมาตย์" มีการรณรงค์ให้ "เลิกกินมาม่า เพื่อเป็นผลในการกดดันฝ่ายตรงข้าม
ตอนนี้การบอยคอต มา ม่า เริ่มดังขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าแกนนำเสื้อแดงระดับประเทศจะยังไม่ขานรับ แต่เชื่อว่า เมื่อยังไม่มีวิธีอื่นที่ดีกว่านี้
การบอยคอตจะเริ่มได้รับการยอมรับจากมวลชนเสื้อแดงมากขึ้นเรื่อยๆ
การ บอยคอต โดยตัวของมันเองแล้ว มีพลังและเป็น อาวุธที่เด็ดขาด แบบระเบิดนิวเคลียร์ เป็นอาวุธที่รุนแรงที่สุดในโลกทุนนิยม "หน่วยธุรกิจใด" ที่โดยบอยคอตอย่างจริงจัง จากผู้บริโภคที่พร้อมใจกัน จะอยู่ในตลาดไม่ได้ และในที่สุดหากไม่ยินยอมตามผู้บริโภค ก็จะต้อง "ออกจากตลาดไป"
ไม่ มีแรงกดดันใดของประชาชน หรือ ผู้บริโภค จะร้ายแรงเท่าการบอยคอตสินค้า และไม่มีอำนาจใดจะต้านมันได้ด้วย แม้ฝ่ายที่ถูกบอยคอตจะมี "ทุนขนาดมหึมา" แต่หากผู้บริโภค" บอยคอต"อย่างต่อเนื่องและจริงจัง กลุ่มทุนนั้นในที่สุดแล้ว ก็ต้องออกจากธุรกิจไป เพราะคงไม่อาจอยู่ในตลาดได้
หากผลิตแล้วไม่มีใครซื้อ ต่อให้รวยแค่ไหน คงไม่มีใครผลิตสินค้าเอามากองทิ้งได้นานนัก
ผม คิดว่า การบอยคอตสินค้าของกลุ่มทุนที่สนับสนุนอำมาตย์ จะเป็น "ภารกิจทางประวัติศาตร์" ที่คนเสื้อแดงจะต้องช่วยเหลือกันอย่างจริงจัง และทำให้มีพลังอย่างพร้อมเพียงกัน เหมือนที่เราออกไปร่วมกันในการชุมนุม "วันอาทิตย์สีแดง"
การชุมนุมที่ราชประสงค์กว่า 2 เดือน พวกเรายังทำกันได้ แค่เลิกใช้สินค้าของกลุ่มทุนที่เป็นศัตรูกับประชาชน ทำไมเราจะทำไม่ได้ ไม่ได้ลำบากมากเท่าใดนัก
ผมคิดว่าระบบ การสื่อสาร เครือข่ายของคนเสื้อแดงนั้นสมบูรณ์และกระจายได้อย่างรวดเร็ว หากเราร่วมแรงร่วมใจกันได้ ในที่สุดแล้วชัยชนะจะตกเป็นของพวกเรา
มาร่วมกันใช้พลังที่แท้จริงของประชาชน หรือพลังของผู้บริโภคกันเถอะครับ ประชาชนตัวเล็กๆ หากรวมตัวกันแล้ว จะกลายเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่
การบอยคอต ทำให้ "กองทัพไทย" ไม่มีเวทีที่จะเข้ามาแทรก อำนาจทหารกลายเป็นศูนย์ ในเวทีนี้ อำนาจรัฐหมดความหมายในการกดดันผู้บริโภค
ในโลกทุนนิยม หากอำมาตย์หมดทุน ก็เท่ากับหมดพลังไปโดยปริยาย
เหล็กกำลังร้อน ต้องช่วยกันตี