ที่มา มติชน
โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
วิ กิลีกส์เป็นองค์กรของสื่อไร้รัฐมีรายได้จากการ บริจาคเป็นงบประมาณ 1.75 แสนปอนด์ต่อปี ลักษณะเป็นองค์กรสื่อยุคใหม่ในโลกยุคดิจิตอล เช่นเดียวกับสารนุกรมออนไลน์ วิกิพีเดีย (คนละองค์กรนะครับ) ยูทูบ เฟซบุ๊ก ฯลฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2549 โดยผู้ที่ต่อต้านรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในเบื้องแรก ประกอบด้วยผู้สื่อข่าว นักคณิตศาสตร์ นักคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ๆ ในสหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ยุโรป ออสเตรเลีย และแอฟริกาใต้ ใช้พนักงานหลักๆ แค่ 5 คน มีเครือข่ายอาสาสมัครกว่า 1,000 คน ที่ร่วมด้วยช่วยกันคัดกรอง ตรวจสอบ แก้ไข ก่อนเผยแพร่จนกลายเป็นฐานข้อมูลเอกสารลับใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
เป้า หมายของวิกิลีกส์ คือการสร้างสำนักข่าวกรองของประชาชน ขณะที่สื่อหลายแห่งพยายามให้คำจำกัดความหลากหลายแก่วิกิลีกส์ เช่น นิตยสารนิวยอร์กเกอร์ ตั้งฉายาว่า การลุกฮือแข็งข้อของสื่อที่ยึดมั่นกับสิ่งที่เรียกว่า ความโปร่งใสสุดขั้ว ด้วยความเชื่อว่ายิ่งลับน้อยเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
ผล งานของวิกิลีกส์ที่ทำให้เป็นที่รู้จักขึ้นมาเป็น ครั้งแรกคือคลิปวิดีโอเหตุการณ์เมื่อปี 2550 เฮลิคอปเตอร์จู่โจมของสหรัฐกราดยิงใส่พลเรือนและผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ในกรุง แบกแดด ประเทศอิรัก เสียชีวิต 12 ศพ รวมถึงการเผยแพร่เอกสารลับเกี่ยวกับสงครามอิรักและอัฟกานิสถานจนกระทั่ง เอกสารลับชุดล่าสุดที่มีผลกระทบต่อวงการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั่วโลก
การ เปิดโปงความชั่วของรัฐบาลทั้งหลายในโลกรวมทั้งนักการเมือง ข้าราชการประจำของนานาประเทศอย่างมีหลักฐานชัดแจ้งทำให้วิกิลีกส์ได้รับ รางวัลจากหน่วยงานต่างๆ มากมาย อาทิ รางวัลจากวารสาร Economist พ.ศ.2551 และรางวัลจาก Amnesty International พ.ศ.2552 ฯลฯ
ผู้ที่เป็นตัวจักรกลสำคัญขอวิกิลีกส์นั้นเป็นชายชาวออสเตรเลียอายุ 39 ปี ชื่อ จูเลียน พอล แอสซานจ์ (Julian Paul Assange) อาซานจ์มีหน้าที่เป็นโฆษกและหัวหน้ากองบรรณาธิการของวิกิลีกส์ เขาเดินทางไปพำนักอยู่ในประเทศต่างๆ อย่างเป็นความลับแบบว่าย้ายที่อยู่เป็นประจำ
ก่อน หน้าที่เขาจะมาทำงานให้กับวิกิลีกส์ นั้นเขาได้ใช้ชีวิตในเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียในฐานะโปรแกรมเมอร์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้เปล่า (ดูจากประวัติเป็นคนที่มีจิตสาธารณะจริงๆ)
วิกิลีกส์เรียก ตัวเองว่า เป็นระบบปลอดเซ็นเซอร์สำหรับการแพร่งพรายเอกสารสารลับจำนวนมหาศาลแบบที่ไม่ สามารถแกะรอยไปยังที่มาได้ เอกสารถูกเก็บอย่างดีในเซิร์ฟเวอร์หลักที่สวีเดน และอีกหลายประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองความลับสื่อ ข้อมูลถูกเข้ารหัสป้องกันระดับเดียวกับกองทัพเพื่อปกป้องแหล่งข่าว และต่อต้านความพยายามบุกรุกของหน่วยงานรัฐ ตลอดจนบริษัท และเหล่าแฮกเกอร์ที่อยากลองดี นอกจากนี้ วิกิลีกส์ยังได้รับการสนับสนุนด้านกฎหมายจากสำนักข่าวชื่อดังของโลกหลายแห่ง ด้วย ว่ากันง่ายๆ ก็คือ วิกิลีกส์ไม่ใช่หมูที่จะให้รัฐบาลไหนๆ ในโลกเถือเอาง่ายๆ
ตอนนี้รัฐบาลสวีเดนจึงใช้วิธีเล่นงานนายแอสซานจ์ เรื่องข่มขืนทางเพศกับสตรี 2 ราย คือนางสาวเอกับนางสาวดับเบิ้ลยูโดยข้อหามี 4 กระทงครับ โดยคุณเจมมา ลินฟิลด์ (Gemma Linfield) ผู้แทนของรัฐบาลสวีเดนให้รายละเอียดดังนี้ 1.ใช้น้ำหนักตัวของนายแอสซานจ์เองในการกดนางสาวเอเพื่อการร่วมเพศ (ใช้กำลังว่ายังงั้นเถอะ) 2.ร่วมเพศไม่ป้องกันทั้งๆ ที่นางสาวเอยืนยันให้ใช้ถุงยางอนามัย 3.ล่วงละเมิดทางเพศ (Molested) นางสาวเอในแง่ของการละเมิดศักดิ์ศรีทางเพศของเธอ 4.ลักหลับนางสาวดับเบิ้ลยู โดยไม่มีการป้องกัน คือไม่สวมถุงยางอนามัย ซึ่งนายแอสซานจ์ได้ไปมอบตัวกับทางการอังกฤษเพราะสวีเดนแจ้งความกับตำรวจสากล ไว้ ซึ่งศาลอังกฤษก็ไม่ยอมให้ประกันตัวนายแอสซานจ์ นอกจากนี้ รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ยังได้อายัดเงินในบัญชีธนาคารของนายแอสซานจ์อีกด้วย แบบว่ารัฐบาลทั่วโลกคงร่วมมือกันเล่นงานวิกิลีกส์ให้อยู่หมัดเลยทีเดียว
ที่ วิกิลีกส์ทำให้โลกฮือฮากันตอนนี้คือเปิดโปงบันทึกข้อความและข้อมูลลับที่ สถานทูตสหรัฐ 274 แห่งทั่วโลก ติดต่อกลับไปยังกระทรวงต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.นับตั้งแต่ปี 2550 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา จำนวนกว่า 250,000 ชุดนั้น
สำนัก ข่าวต่างประเทศทั้งเอพีและเอเอฟพี รวมถึงหนังสือพิมพ์การ์เดี้ยนของอังกฤษที่ได้รับไฟล์ข้อมูลจากเว็บแฉโดยตรง รายงานว่า มีเอกสารลับบางส่วนระบุถึงคดีความนายวิคเตอร์ บูท พ่อค้าอาวุธชาวรัสเซียในประเทศไทยด้วย
การที่เอารายงานของ นักการทูตอเมริกันที่รายงานกลับไปยังรัฐบาลสหรัฐและครั้งนี้มีรายงานของ ทูตอเมริกันประจำประเทศไทยคือ นายอีริค จี. จอห์น ซึ่งคนไทยคุ้นหน้ากันดีเพราะนายอีริค จอห์น คนนี้แกชอบออกงานสังคมในกรุงเทพฯมาก ผิดกับทูตอเมริกันคนก่อนๆ จึงมีเรื่องรายงานประเภทวงในมากเท่านั้นเอง ซึ่งการรายงานความเป็นมาของประเทศที่ทูตมาประจำอยู่ก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา อยู่แล้วสำหรับนักประวัติศาสตร์ที่เคยอ่านบันทึกของนักการทูตอังกฤษในไทย สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้วจากหอจดหมายเหตุในลอนดอนก็คงจะระลึกได้ถึงการให้ความเห็นที่ถูกบ้าง ผิดบ้างอย่างถึงพริกถึงขิงของนักการทูตฝรั่งในเรื่องการเมืองไทยได้ดี
สัจธรรม ของทูตข้อหนึ่งก็คือการทำหน้าที่ป้องกันรักษาผลประโยชน์ของประเทศของตนเอง ด้วยวิธีนานาประการ รวมทั้งการเข้าหาผู้นำของประเทศเพื่อกดดันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศตน
และสำคัญคือการรายงานของทูตเป็นเรื่องตามธรรมชาติ (ทูตต้องเป็นสปายโดยธรรมชาติ) รัฐบาลก็ต้องโกหกจึงเป็นเรื่องธรรมดา
ใน วิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้นซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชารัฐศาสตร์ ตำรา หลักๆ ทั้งหลายจะเน้นว่านโยบายต่างประเทศของทุกประเทศจะมี 2 ประเภทเหมือนกันคือ
1.Statement Policy คือนโยบายต่างประเทศที่ทุกประเทศใช้ประกาศให้ทั่วโลกรับทราบว่าประเทศของตน นั้นส่งเสริมสันติภาพ ส่งเสริมความเป็นมิตรไมตรีและความร่วมมือระหว่างประเทศ จะไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น จะปฏิบัติตามกฎของสหประชาชาติอย่างเคร่งครัด (เหมือนกันทุกประเทศแหละครับ) แต่ไม่มีใครถือเป็นเรื่องจริงจัง (นอกจากนักวิชาการบางคน)
2.Actual Policy คือนโยบายที่ปฏิบัติกันจริงๆ ของทุกประเทศ ซึ่งตรงกันข้ามกับ Statement Policy โดยสิ้นเชิง รวมทั้งการแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ ด้วย ดังนั้นสิ่งที่วิกิลีกส์เปิดเผยออกมาก็เป็นเรื่องที่รู้ๆ กันอยู่ ไม่น่าที่จะตกอกตกใจอะไรกันนักหนา เพราะธรรมชาติของการกำหนดนโยบายต่างประเทศของทุกประเทศในโลกก็ยังคงเป็นแบบ เดียวกัน
นั่นคือ... "ประเทศไม่มีมิตรถาวร ประเทศไม่มีศัตรูถาวร ประเทศมีแต่ผลประโยชน์ถาวรเท่านั้น"