ที่มา มติชน เมื่อ ไม่นานมานี้ ในงานเสวนาถกเรื่องพหุวัฒนธรรม ประจำเดือนธันวาคม 2553 โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร หัวข้อเรื่อง “Legal pluralism” ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์ กล่าวบรรยายว่า Legal pluralism แปลตรงตัวว่า “พหุนิยมทางกฎหมาย” ความหมายของมันกว้างจนยากจะหาคำอธิบายที่ถูกต้องชัดเจนได้ แต่หากจะให้อธิบายง่ายๆแล้ว พหุนิยมทางกฎหมาย คือ การใช้กฏหมายตั้งแต่สองฉบับ ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีเงื่อนไข ในการใช้กฏหมายแต่ละฉบับ ในที่นี้ กฏหมาย มิเพียงหมายถึง กฏหมายที่รัฐเป็นผู้บัญญัติ แต่ยังหมายถึง ประเพณี วัฒนธรรมของสังคม ซึ่งเปรียบเสมือนกฏหมาย แม้แต่ข้อปฏิบัติในศาสนาก็ไม่ต่างกัน แต่ลองคิดดูดีๆ ชนเผ่าอินเดียนแดงทำมาหากินในดินแดนนี้ตั้งแต่แรก หากเราแย่งที่อยู่ ที่ทำมาหากินของเขา พวกเขาจะหาอะไรเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และถึงแม้จะมีการจัดเขตแดนพิเศษให้พวกเขา แต่สักวันหนึ่งที่ดินแถบนั้น ต้องแห้งแล้ง เสื่อมสภาพ เช่นนั้น ที่นั้นก็ไม่ต่างจาก “กรงขัง” ดีๆ นี่เอง และเมื่อเป็นเช่นนั้น ผลที่ตามมาย่อมเกิดเป็นความขัดแย้ง อย่าง ในกรณีนี้ การพิจารณาคดีได้มีนำการวิจัยเรื่องประวัติการทำไร่เลื่อนลอยของเผ่าพื้น เมืองกลุ่มนี้ ซึ่งมีมานานแล้ว และด้วยความจำเป็นที่ชนเผ่าต้องทำไร่เลื่อนลอยเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องไม่ ให้อดตาย เราอาจเคยได้ยินว่า การทำไร่เลื่อนลอยเป็นสิ่งไม่ดี จริงอยู่เมื่อการทำไรเลื่อนลอยทำให้คุณภาพดินเสื่อม ต้องย้ายไปสลับ รอดินฟื้นตัวเรื่อยๆ อีกประการพวกเขาไม่มีเงินมากมายถึงขนาดซื้อปุ๋ยบำรุงดินได้ตลอด จากพิจารณาคดีครั้งนี้ของผู้พิพากษา จึงไม่ได้ใช้กฏหมายที่รัฐบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ยังใช้ความเป็นจริงในสังคมนั้นเข้ามาประกอบด้วย Legal pluralism เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมานานแล้ว ผสมกลมกลืนอยู่ในชีวิต ในสังคม โดยที่เราไม่รู้ตัว อย่าง พี่น้องทะเลาะแย่งของเล่นกัน ก็ตกลง แบ่งเวลาเล่นของเล่นกัน หรือคนขับรถชนกันตกลงจะจ่ายเงินค่าซ่อมกันคนละครึ่ง เป็นต้น Legal pluralism อาจพูดได้ว่าเป็น หลักการของการเจรจา ประนีประน้อมกันก็ว่าได้ เราต้องยอมรับสิทธิของคนๆนั้น แม้เขาจะมีความแตกต่าง ไม่เหมือนเรา ไม่จะด้วยเหตุใดก็ตาม Legal pluralism จึงไม่ใช่เรื่องวิชาการเลย เป็นเพียงการสร้าง หนทางที่จะอยู่รอดต่อไป การ ยอมรับข้อแตกต่างซึ่งกันและกัน เป็นเรื่องยาก ซึ่งเราเห็นได้ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในโลก ฮิตเลอร์ล่าล้างชาวยิว หรือในช่วงสงครามเวียดนาม และแม้แต่ความขัดแย้งของเหล่าเสื้อสีในบ้านเราเอง การยอมรับสิทธิ ความแตกต่าง ของกันและกัน นั้นหมายความว่า คุณมองเห็นเขา เป็น มนุษย์เช่นเดียวกับคุณ
ตัวอย่าง เช่น ในแคนาดา มีเผ่าอินเดียนแดงอาศัยอยู่ในเขตป่าสงวน สามารถตกปลา ตัดไม้ ทำมาหากิน ในเขตป่าสงวนได้อย่างไม่มีความผิด แต่หากเป็นคนแคนาดาซึ่งเป็นผู้มาทีหลังจะโดนจับทันที บอกเช่นนี้ ทุกคนอาจคิดว่าไม่ยุติธรรม
ใน ประเทศไทยเองก็มีตัวอย่าง ซึ่งเพิ่งเกิดได้ไม่นาน ในจังหวัดตาก มีเผ่าชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มหนึ่ง บุกรุกพื้นป่าสงวน ทำไร่เลื่อนลอย จึงมีการดำเนินคดี ขึ้นโรงขึ้นศาล โดยธรรมดาการบุกรุกป่าสงวนต้องโดนลงโทษ แต่คดีนี้ผู้พิพากษากลับยกฟ้องคดี ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกที่ศาลในไทย นำแนวคิด Legal pluralism มาใช้
หากสิ่งที่ถูกต้องเป็นสีขาว สิ่งผิดเป็นสีดำ แนวคิด Legal pluralism ก็คงเป็นสีเทา
เรื่องและภาพ โดย วิศาสตร์ สวัสดิ์ภักดี