WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 18, 2010

ฟังสัมภาษณ์+ซับไตเติ้ล ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์: ข้อมูลที่ลงทุนปกปิดคือข้อมูลที่ควรเปิดเผย

ที่มา ประชาไท

จู เลียน อัซซันจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ จวกสื่อกระแสหลักทำงานแย่กว่านักกิจกรรมกลุ่มเล็กๆ เผยหลักการเปิดโปงข้อมูล โดยถือว่าข้อมูลชนิดใดก็ตามที่หน่วยงานรัฐถึงกับลงทุนเพื่อปกปิด เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าหากข้อมูลนั้นรั่วไหลไปสู่สาธารณะ จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ และนี่คือประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในการรายงานข่าว

ผู้ใช้นามแฝงว่า gigcode แปลคำสัมภาษณ์จูเลียน อัซซันจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ เป็นภาษาไทยและนำเสนอผ่านเว็บไซต์ยูทูปว์เมื่อคืนวันที่ 17 ธ.ค. ที่ผ่านมา



ผู้สัมภาษณ์คือ คริส แอนเดอร์สัน ผู้ก่อตั้งวารสารด้านไอที และเว็บไซต์ www.ted.com สัมภาษณ์จูเลียน อัซซันจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นความยาวทั้งสิ้น 19.14 นาที โดยแอสเซนส์วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของสื่อกระแสหลัก พร้อมกล่าวถึงเทคนิคและวิธีการปกป้องแหล่งข่าวผู้เปิดเผยข้อมูลลับให้แก่วิ กิลีกส์

คำ ถามแรก คริส แอนเดอร์สัน ถามว่าจริงหรือไม่ที่ในช่วงปีที่ผ่านมา วิกีลิกส์ได้เปิดเผยเอกสารลับมากกว่าสื่อทั่วโลกรวมกันได้นำเสนอ โดยอัซซันจ์ ตอบว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงที่สื่อหลักทำหน้าที่ได้แย่มากขนาดที่ว่านัก กิจกรรมกลุ่มเล็กๆ ยังสามารถเปิดเผยข้อมูลลับๆ นั้นได้มากกว่าสื่อมวลชนทั่วโลกที่เหลือทั้งหมดเสียอีก

เมื่อ คริส แอนเดอร์สันถามว่า คนทีเผยแพร่เอกสารต้องทำอย่างไร และวิกิลีกส์ปกป้องคนที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างไร อัซซันจ์ตอบว่าแหล่งข่าวมีหลากหลายวิธีให้เลือกใช้ เพื่อส่งข้อมูลให้กับวิกิลีกส์ โดยทางวิกีลีกส์ใช้การเข้ารหัสที่ทันสมัยที่สุดกระจายข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เพื่อปกปิดร่องรอย และทำการส่งต่อข้อมูลในเขตประเทศที่กฎหมายให้ความคุ้มครองเช่น สวีเดนและเบลเยียม ส่วนข้อมูลจากแหล่งข่าวนั้นก็อาจใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ตามปกติ และจากนั้นก็ตรวจสอบข้อมูลเหมือนกับสำนักข่าวทั่วไป ซึ่งบางครั้งก็ทำได้ยากในกรณีที่ต้องใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่

สำหรับการปกป้องตัวคนทำงานของวิกิลีกส์เองนั้น อัซซันจ์กล่าวว่าเป็นเรื่องยากที่จะปกป้องตัวเองจากการถูกฟ้องร้อง และการโจมตีทางการเมือง

อัซซันจ์ยอม รับด้วยว่า บางครั้งเขาก็ไม่รู้ชื่อเสียงเรียงนามของแหล่งข่าวที่ส่งข้อมูลให้เขา และหากเขาได้รู้ว่าผู้ส่งข้อมูลเป็นใคร แม้จะโดยบังเอิญ เขาก็จะทำลายข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งข่าวโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

อัซซันจ์ยก ตัวอย่างการเปิดเผยข้อมูลลับเกี่ยวรายงานของรัฐบาลเคนยา ต่อกรณีการคอรัปชั่นในยุคที่ แดเนียล อรัป มอย อดีตประธานาธิบดีประเทศเคนยาซึ่งเป็นเผด็จการเสียงข้างมากปกครองอยู่เป็น เวลา 18 ปี อย่างไรก็ตามรัฐบาลเคนยาเก็บรายงานนี้ไว้ใช้ต่อรองกับอดีตประธานาธิบดี ซึ่งเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในเคนยา และแอสเสนจ์ได้รายงานชิ้นนี้มาก่อนการเลือกตั้งในเคนยาในปีพ.ศ. 2547 เมื่อ วิกิลีกส์ปล่อยรายงานชิ้นนี้ออกมา ก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ คิบากิ ประธานาธิบดีคนใหม่กำลังผู้สัมพันธ์ทางการเมืองกับแดเนียล อรัป มอย ซึ่งเดิมนั้นคิบากิต้องการจะกวาดล้างอำนาจ ทำให้คิบากิตกอยู่ในสภาพสภาพเขวี้ยงงูไม่พ้นคอ และกลายเป็นจุดพลิกผันของการเลือกตั้ง ซึ่งกรณีของเคนยานั้นเป็นการรั่วไหลของข้อมูลจากภายนอกประเทศ สื่อต่างประเทศ เช่น เดอะการ์เดี้ยนนำเสนอประเด็นดังกล่าวก่อน ตามาด้วยสื่อในประเทศเพื่อนบ้านของเคนยา เช่น แทนซาเนีย และแอฟริกาใต้ 2 วันต่อมาสื่อในประเทศเคนยา จึงกล้าจับกระประเด็นดังกล่าวมานำเสนอโดยเฉพาะข่าวทางโทรทัศน์นำเสนอข้อมูลดังกล่าวติดต่อกันถึง 20 วัน ส่งผลให้การเลือกตั้งเปลี่ยนข้างไปถึง 10 เปอร์เซ็นต์

อัซ ซันจ์ กล่าวต่อไปว่า หากเขาได้รับข้อความทางการทูตเขาก็จะเผยแพร่ต่อ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะเปิดเผยถึงข้อเท็จจริงในหลายๆ เรื่อง เช่น การคุกคามสิทธิมนุษยชนในกลุ่มประเทศอาหรับแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรกันแน่

คริ ส แอนเดอร์สันถามต่อไปว่า มีหลักการอะไรที่ทำให้ข้อมูลลับเป็นเรื่องที่ถูกต้อง อัซซันจ์ตอบว่า ยังเป็นเรื่องที่สงสัยกันอยู่ว่าข้อมูลแบบไหนกันแน่ที่สำคัญสำหรับโลก ข้อมูลแบบไหนที่ทำให้เกิดการปฏิรูปได้ ขณะที่ข้อมูลก็มีอยู่มากเหลือเกิน แต่สำหรับเขา ข้อมูลชนิดใดก็ตามที่หน่วยงานรัฐถึงกับลงทุนเพื่อปกปิด นั่นก็เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกว่าหากข้อมูลนั่นรั่วไหลไปสู่สาธารณะ ข้อมูลนั่นจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ เพราะหน่วยงานที่ทำการปกปิดข้อมูลรู้ดีชนิดที่เรียกว่า ทุกแง่ทุกมุม และนี่แหละ คือประวัติศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในการรายงานข่าว

แอ นเดอร์สันถามว่า ไม่กลัวว่าการเปิดเผยข้อมูลจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อบุคคลหรือองค์กรที่ถูกกล่าวถึงหรือ อัซซันจ์ตอบว่า เท่าที่ผ่านมา ยังไม่มีกรณีเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีความลับตามกฎหมายที่ต้องยอมรับอยู่ เช่นประวัติการพบแพทย์

แอ นเดอร์สันยกตัวอย่างผลกระทบที่เกิดต่อทหารสหรัฐ เมื่อวิกิลีกส์เผยแพร่ข้อมูลลับเกี่ยวกับปฏิบัติการทางทหารออกไปแล้วทำให้ ผู้ชมวีดีโอเกิดทัศนคติทางลบต่อทหารสหรัฐว่าไร้มนุษยธรรมและเกิดผลกระทบทาง ใจต่อญาติพี่น้อง อัซซันจ์ตอบว่า “จำไว้นะครับว่าคนในแบกแดด อิรัก หรือชาวอัฟกานิสถาน ไม่จำเป็นต้องดูวิดีโอเหล่านี้ เพราะเขาเห็นภาพเหล่านี้อยู่ทุกวัน ฉะนั้น การเผยแพร่วิดีโอไม่มีผลต่อความรับรู้และทัศนคติของคนเหล่านั้น แต่วิดีโอจะเปลี่ยนทัศนคติและความรับรู้ของคนที่จ่ายเงินให้มีการทำเรื่อง พรรค์นี้แทน และนั่นคือความหวังของเรา”