ที่มา ประชาไท
ภาพ ขณะที่ประธานาธิบดีลินคอล์นปราศรัยเมื่อปี ค.ศ.1865 ถือได้ว่าความสำเร็จของการเป็นผู้นำของประธานาธิบดีท่านนี้คือการนำพาประเทศ สหรัฐอเมริกาให้ผ่านพ้นจากความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามกลางเมือง ไปสู่ความสมานฉันท์ของคนในชาติอย่างแท้จริง และเป็นบทบาทฐานนำไปสู่ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมในที่สุด |
ในบทความ จากใจอภิสิทธิ์ถึงคนไทยทั้งประเทศ 3 "ผมถูกยัดเยียดข้อหาฆ่าประชาชน” นั้น จากที่เคยออกปากว่าจะหาทางปรองดอง และปล่อยให้เพียง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นคนป่าวประกาศว่าแดงเผาบ้านเผาเมือง ส่วนอธิบดีดีเอสไอก็มีหน้าที่จับคนที่เห็นต่างเข้าคุก บัดนี้ นายอภิสิทธิ์ คงเห็นว่าไม่ได้ผล เขาจึงลงมือเล่นบทบาทสร้างความชั่วร้ายให้ขั้วการเมืองอีกขั้วหนึ่งด้วยตน เอง
เขากล่าวหาว่ากลุ่มคนเสื้อแดงพยายามยั่วยุเพื่อทำลายบ้านเมือง และเมื่อ “ไม่ประสบความสำเร็จมาคราวนี้ปิดจุดอ่อนคราวที่แล้วด้วยการเพิ่มกองกำลังติด อาวุธ...มีการตั้งกองทัพประชาชนซึ่งสื่อมวลชนเรียกขานว่า "กองทัพแดง"”
เขา ยังบรรยายถึงพฤติการณ์ที่สมควรประณามของ “กองทัพแดง” ว่า “....มีการยั่วยุด้วยการยิง M 79 ในสถานที่ต่าง ๆและมีการเคลื่อนมวลชนไปหลายสถานที่ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจำนวนมาก และยังมีการใช้มวลชนกดดันทหารที่อยู่ในที่ตั้ง...”
ที่เลวร้ายกว่า นั้นคือการเรียกขานการสังหารหมู่ที่สี่แยกคอกวัวว่าเป็น “สงครามเต็มรูปแบบ” โดยบอกว่า “จากนั้นสงครามเต็มรูปแบบก็เกิดขึ้นที่สี่แยกคอกวัวหลังคำประกาศบนเวทีราช ประสงค์ของนายอริสมันต์ไม่นาน มีชายชุดดำแฝงตัวอยู่ในที่ชุมนุมใช้คนเสื้อแดงที่บริสุทธิ์เป็นเกราะกำบัง โจมตีทหารจนเกิดการสูญเสียชีวิตทั้งทหารและประชาชน” ซึ่งล้วนเป็นข้อพิสูจน์ที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเองยังไม่กล้าสรุปเช่น นั้น แม้จะใช้เวลาสืบสวนสอบสวนมาเนิ่นนาน
การพยายามสร้างความชั่ว ร้ายให้ฝ่ายตรงข้าม การพยายามยุยงให้เกิดความเกลียดชังต่ออีกฝ่ายหนึ่ง (vilification) ดูเหมือนจะเป็นยุทธวิธีของหมาจนตรอก มากกว่าจะเป็นวิธีการอันเหมาะสมสำหรับนักการเมืองที่ประกาศตนเองว่าจะหาทาง สร้างความสมานฉันท์ขึ้นมาในสังคมที่แตกแยกให้ได้ น่าเสียดายที่นายอภิสิทธิ์เคยประกาศว่า เขาจะเป็นนายกฯของคนทั้งประเทศ แต่เมื่อผลการสำรวจความเห็นล่าสุดที่ระบุว่า คะแนนเสียงของตนเป็นรองพรรคคู่แข่งอย่างมาก เขาจึงงัดไม้ตายเช่นนี้ออกมาเพื่อตัดคะแนนเสียงพรรคตรงข้ามเผยให้เห็นธาตุ แท้ว่า อันที่จริงแล้วเขาไม่เคยคิดจะเป็นนายกฯ ของคนทั้งประเทศเลย หากแต่ของคนบางกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากนโยบายของพรรคการเมืองเขาเท่านั้นเอง
เมื่อ วันเสาร์ที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1865 หรือ 150 กว่าปีก่อน ทั้งๆที่ฝนตกก่อนหน้านั้นนานนับสัปดาห์ บ้านเมืองเต็มไปด้วยน้ำและโคลน คนอเมริกันต่างพร้อมใจกันยืนตากฝนแช่น้ำเพื่อรอฟังคำแถลงในวาระการขึ้นดำรง ตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีครั้งที่สองของ นายอับราฮัม ลินคอล์น (Abraham Lincoln) ที่หน้ารัฐสภาซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ที่รัฐเพ็นซิลเวเนีย
ใน วันนั้น ประชาชนชาวอเมริกันเพิ่งจะผ่านสงครามกลางเมือง (American Civil War) ที่ยืดเยื้อถึงห้าปี และเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึงกว่าครึ่งล้าน เป็นสงครามแบ่งแยกประเทศระหว่างฝ่ายเหนือและใต้ แต่ต่างจากนายอภิสิทธิ์ที่เลือกเป็นผู้นำของคนเพียงบางกลุ่ม และทำหน้าที่เพียงตอกลิ่มบาดแผลให้ร้าวลึกยิ่งขึ้น ประธานาธิบดีลินคอล์นเลือกที่จะเป็นผู้นำประเทศของ “ประชาชนอเมริกัน” ทุกหมู่เหล่า โดยไม่ได้เลือกว่าจะเป็นฝ่ายเหนือหรือฝ่ายใต้
ใน ย่อหน้าสุดท้ายของคำแถลงของเขาฟังแล้วไพเราะจับใจ หวังว่าจะเป็นอนุสติเตือนนายอภิสิทธิ์ว่า ถ้าเขาต้องการเป็นผู้นำของคนทั้งประเทศอย่างแท้จริง เขาควรจะเริ่มจากการบ่มเพาะความให้อภัยในจิตใจของตนเอง ละเว้นการกล่าวโทษคนที่คิดตรงข้ามกับตน ข้อความที่ประธานาธิบดีลินคอล์นกล่าวมีดังนี้
“ขอให้เรา ละเว้นจิตประทุษร้ายต่อผู้ใด ขอให้เราแผ่เมตตาแด่ทุกคน ขอให้เชื่อมั่นในพระวจนะที่ชี้ทางอันชอบให้กับเรา ขอให้เราต่างพยายามดำเนินงานที่มีอยู่ให้ลุล่วง ช่วยสมานบาดแผลของประเทศชาติ ช่วยอุ้มชูดูแลผู้ที่มีส่วนร่วมในการสู้รบ ช่วยกันเยียวยาภรรยาม่ายและลูกกำพร้าของพวกเขา ช่วยกันทำสิ่งทั้งปวงอันจะนำเราไปสู่สันติภาพที่เป็นธรรมและยั่งยืนสำหรับ พวกเราทั้งหลาย และสำหรับประชาชาติทั้งปวง”
“With malice toward none, with charity for all, with firmness in the right as God gives us to see the right, let us strive on to finish the work we are in, to bind up the nation's wounds, to care for him who shall have borne the battle and for his widow and his orphan, to do all which may achieve and cherish a just and lasting peace among ourselves and with all nations.”