ที่มา ประชาไท
กษัตริย์ โมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งโมร็อกโก แถลงทางโทรทัศน์ต่อพสกนิกร จะลดอำนาจสถาบันกษัตริย์ เพิ่มอำนาจบริหารให้รัฐสภา เผย เพื่อเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (17 มิ.ย.54) สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งโมร็อกโก ทรงประกาศต่อพสกนิกรทั่วประเทศว่า รัฐบาลจะดำเนินการปฏิรูปประเทศ โดยให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อลดอำนาจสถาบันกษัตริย์ พร้อมเพิ่มอำนาจบริหารและความอิสระให้แก่รัฐสภาและตุลาการ โดยจะจัดให้มีการลงประชามติทั่วประเทศในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้
กษัตริย์โม ฮัมเหม็ดที่ 6 แห่งประเทศโมร็อกโกในราชวงศ์ Alaouite ซึ่งปกครองประเทศยืนยาวที่สุดในตะวันออกกลาง ทรงประกาศทางโทรทัศน์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อลดอำนาจกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเปลี่ยนให้เป็นระบอบ “พลเมืองภายใต้ระบอบกษัตริย์”
โดยกษัตริย์มูฮัมหมัดที่ 6 หวังว่า “ระบบดังกล่าว จะทำให้เกิดระบบรัฐสภาที่มีประสิทธิภาพ มีความอิสระและการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดคือเสรีภาพและศักดิ์ศรีของพลเมืองทุกคน”
รัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ให้นายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมาจากการได้รับเลือกจากพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด ซึ่งก่อนหน้านี้ ตำแหน่งนายกฯ ถูกแต่งตั้งจากกษัตริย์เท่านั้น และให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการแต่งตั้ง และถอดถอนคณะรัฐมนตรี รวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ในรัฐบาล อย่างไรก็ตาม กษัตริย์ยังคงมีพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งผู้ว่าส่วนภูมิภาค และมีอำนาจสูงสุดทางความมั่นคง การทหาร และศาสนาเช่นเดิม นอกจากนี้ ในรัฐธรรมนูญ จะให้มีการแก้ไขมาตราที่ว่าด้วยกษัตริย์ โดยแทนที่จาก “พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ” เป็น “ศักดิ์ศรีของพระมหากษัตริย์ในฐานะบุคคล จะมีใครมาล่วงละเมิดมิได้”
การ ปฏิรูปประเทศดังกล่าว มีสาเหตุมาจากการลุกฮือของประชาชนในโมร็อกโกในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการลุกฮือในโลกอาหรับ อันเริ่มมาจากตูนีเซียและอียิปต์ ด้วยสภาพของโมร็อกโกที่มีภาวะคนว่างงาน การคอร์รัปชั่น และความยากจนสูง ประกอบกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ที่เริ่มมีมากในหมู่ประชาชน ที่มาจากความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานของรัฐบาล นอกจากนี้ พรรคการเมืองก็ยังถูกวิจารณ์ว่า ได้รับการชี้นำจากกษัตริย์มากเกินไป
สถาบัน กษัตริย์โมร็อกโกยังถูกครหาว่าครอบครองทรัพย์สินของประเทศสูงเกิน ไป โดยเป็นผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดของ National Investment Company ซึ่งควบคุมธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมถึงบริษัทประกัน บริษัทน้ำมัน และอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ และหลายฝ่ายมองว่าเป็นการกีดกันความสามารถของธุรกิจอื่นๆ ในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ด้วยว่า สถาบันกษัตริย์มีนโยบายทางวัฒนธรรมที่สิ้นเปลืองและผลาญเงินของประเทศมาก เกินไป เช่น เทศกาล Mawazine ซึ่งเป็นมหกรรมทางดนตรีประจำปีที่ยิ่งใหญ่และจัดขึ้นทุกปี ซึ่งฝ่ายค้านได้เรียกร้องให้มีการยกเลิก เป็นต้น
การปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทั้งในด้านดีและด้านลบ โดยฝ่ายที่เห็นด้วยมองว่าเหตุการณ์นี้เป็นขั้นแรกในการเปลี่ยนระบอบการ ปกครองให้เป็นประชาธิปไตยที่เปิดกว้างขึ้น ในขณะที่ฝ่ายค้านเห็นว่านี่เป็นการดำเนินการเพียงผิวเผินเท่านั้น เพื่อลดความตึงเครียดของการลุกฮือและการปฏิวัติของประชาชน ดังที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในตะวันออกกลางและแอฟริกา