ที่มา Thai E-News
รัชกาล ที่ 7 รับสั่งว่า มีความในพระราชปรารภที่ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์สมัครสมานกับประชาราษฎร์ ในอันที่จะรักษาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เจ้านายที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ ไปก็เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
โดย Pegasus
ก่อนอื่นขอกล่าวนำถึงเรื่องที่ได้พบเห็นมาจากในเครือข่ายทางสังคมว่า คุณมังกรดำเขียนในบล็อกของท่านเองว่าวันหนึ่งได้โดน ดีเอสไอ แจ้งข้อหาว่าหมิ่นสถาบันฯ
ด้วยเหตุจากการโพสต์ภาพคณะรัฐประหาร คมช. ซึ่งจะเป็นเหตุบังเอิญหรือไม่อย่างไรไม่ทราบได้มีภาพหรือสัญลักษณ์บางอย่าง ปรากฏร่วมอยู่ด้วย ซึ่งผมเองก็ไม่ได้ทันจำว่าเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ลักษณะไหน
และ ภาพลักษณะนี้เท่าที่จำได้ก็เห็นจากสื่อมวลชนหลายฉบับเลยชวนให้สงสัยว่า สื่อมวลชนทั้งหลายนั้นทำไมไม่โดนแจ้งข้อหาหมิ่นสถาบันฯไปด้วย
ในบล็อกนั้นก็มีการเขียนถึงแนวคิดของดีเอสไอทำนองว่า ”อะไรก็ช่างถือว่าผิดกฎหมายก็แล้วกัน”
กรณีนี้คือแนวคิดว่าประเทศต้องปกครองด้วยกฎหมาย กล่าวคือเมื่อไรมีการออกกฎหมายมาทุกคนต้องปฏิบัติตาม
ทำให้นึกถึงกฎหมายไทยมีหลายมาตราใช้กันมาตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช
ซึ่ง ในหลักสากลถือว่าไม่ใช่หลักนิติรัฐหรือนิติธรรม เพราะสมัยก่อนถือว่าปกครองโดยคนคนเดียว ต่อให้ดีเลิศวิเศษเพียงใดก็ยังเป็นการปกครองโดยกฎหมาย (rule by law) ไม่ใช่หลักนิติธรรม (rule of law) ซึ่งมีหลักสำคัญว่ามนุษย์เท่าเทียมกัน และออกกฎหมายโดยประชาชนเพื่อใช้ในหมู่ประชาชนด้วยกันเอง
หลักนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโรบินฮูด ด้วยมหากฎบัตรที่เราได้ยินกันว่า แมกนาคาต้า พัฒนาเรื่อยมาจนสมบูรณ์ เมื่อชาวอังกฤษขับไล่พระเจ้าชาร์ลที่ 2 ออกจากประเทศ และมีการปกครองโดยพระนางแมรีและพระเจ้าวิลเลียมจากฮอลันดาที่มีการรับรอง สิทธิของประชาชนอย่างสมบูรณ์ทางกฎหมายที่กษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและ หลักนี้จึงพัฒนาเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
สิ่งเหล่านี้ เจ้าหน้าที่ทางราชการไม่ได้มีความรู้ หรือเข้าใจในอุดมการณ์ต่างๆเหล่านี้แม้แต่น้อย
ช่าง น่าเศร้าใจนักที่เรียนจบปริญญาตรีกันมาได้อย่างไร หรือว่าระบบการศึกษาไทยไม่ได้สอนอะไรคนไทยเลยหรือกระไร (อ้อ ลืมไปว่าไทยเรายังมีอาจารย์แจ้งจับลูกศิษย์กรณีหมิ่นฯ โอเค เข้าใจแล้ว ขออภัยที่สงสัย)
คำถามในประเด็นที่ตั้งไว้คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทำไมจึงไม่สามารถที่จะต่อสู้ยืนหยัดเพื่อรัฐธรรมนูญ และระบอบประชาธิปไตยได้เหมือนในต่างประเทศ
ซึ่งก็ต้องท้าวความก่อน ว่ามีตัวอย่างในประเทศสเปนครั้งนั้นเมื่อเกิดการยึด อำนาจหรือรัฐประหารขึ้นกษัตริย์ ฆวน คาร์ลอส ได้ทรงเสด็จออกรายการทางโทรทัศ น์แสดงพระองค์ว่าไม่ทรงเห็นด้วยกับการรัฐประหาร และทำให้การยึดอำนาจนั้นกลายเป็นกบฏ
การใช้กำลังทางทหารในสเปนที่ เกิดขึ้นต่อเนื่องกันมาหลายๆสิบปีก็สิ้นสุดลง สถาบันพระมหากษัตริย์ของสเปนก็ได้ยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้ และต้องบอกกล่าวไว้ก่อนว่า ก่อนที่จะมีเหตุการณ์นี้ สเปนปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาก่อน คงจำจอมพลฟรังโกฯในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองกันได้
ถ้ามีผู้ใดสงสัย ว่าทำไมสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยจึงไม่อาจต่อต้านกับการรัฐ ประหารซึ่งเกิดขึ้นบ่อยมากนับตั้งแต่ นายควง อภัยวงศ์ พลโทผิณ ชุณหะวัน สื่อมวลชนสายเหยี่ยว ได้สร้างสถานการณ์และยึดอำนาจจากคณะราษฎรได้ในต้นเดือน พฤศจิกายนปี พ.ศ.2489 ภายหลังสร้างวาทะกรรมอันลือลั่นจากพรรคการเมืองเก่าแก่ว่า “ปรีดีฆ่าในหลวง” หลังจากที่มีความราบรื่นในระบอบประชาธิปไตยแบบไม่เต็มใบ และเต็มใบในปี 2489 ไม่กี่เดือนมาพอสมควร
เหตุผลแรกนั้นอาจไปศึกษาได้จากการโต้ตอบ กันในรัฐสภา ว่าด้วยการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเกิดจากความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของกลุ่ม คณะราษฎรที่ใจกว้างเกินความพอดีปล่อยให้ฝ่ายข้าราชการและกลุ่มจารีตนิยมเดิม เข้ามาเป็นเสียงข้างมากในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับอัปยศ 10 ธันวาคม 2475 ดังจะยกมาให้ดูพอสังเขปดังนี้
ดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้เคยกล่าวถึงประวัติศาสตร์ในเรื่องความขัดแย้งตอนนี้ในบทความ "จงพิทักษ์เจตนารมณ์ประชาธิปไตยสมบูรณ์ของวีรชน 14 ตุลาคม" (พิมพ์ครั้งแรก 10 ธันวาคม พ.ศ.2516) ว่า
"ใน ระหว่างร่างรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธ.ค. มีปัญหาว่าจะควรเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ว่า พระมหากษัตริย์มีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพหลฯและข้าพเจ้าเข้าเฝ้าที่พระตำหนักจิตรลดา
มีพระราชกระแส รับสั่งว่า รัฐธรรมนูญของหลายประเทศที่ประมุขรัฐเป็นประธานาธิบดีนั้นได้เขียนไว้ว่า ประมุขแห่งรัฐมีหน้าที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญและต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับ หน้าที่ว่าจะพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญไว้
ส่วนสยามนั้นรับสั่งว่าไม่จำ เป็นต้องเขียน เพราะเมื่อพระองค์พระราชทานแล้วก็เท่ากับให้สัตยาธิษฐาน และยิ่งกว่านั้นตามพระราชประเพณีได้ทรงสัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษก
ข้าพเจ้า กราบทูลว่าเมื่อได้เปลี่ยนการปกครองมาเป็นราชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ แล้ว จะโปรดเกล้าฯสำหรับพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปให้มีความใดเติมไว้ในพระราช สัตยาธิษฐานในพิธีราชาภิเษกบ้าง
รับสั่งว่า มีความในพระราชปรารภที่ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์สมัครสมานกับประชาราษฎร์ ในอันที่จะรักษาปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เจ้านายที่จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อๆ ไปก็เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จึงมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ..."
"พระยาพหลฯกราบบังคมทูล ว่าการทรงพิทักษ์รัฐธรรมนูญนั้นจะทรงทำอย่างไร พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ รับสั่งว่า ถ้ารัฐบาลเสนอเรื่องใดที่ขัดรัฐธรรมนูญ พระองค์จะส่งกลับคืนไปโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธยให้
พระยาพหลฯกราบทูล ต่อไปว่า คณะราษฎรเป็นห่วงว่านายทหารที่ถูกปลดกองหนุนไป จะคิดล้มล้างรัฐบาลขึ้นมา แล้วจะทูลเกล้าฯ ถวายรัฐธรรมนูญใหม่ ของเขาให้ทรงลงพระปรมาภิไธย จะโปรดเกล้าฯอย่างไร
รับสั่งว่าพระองค์จะถือ ว่าพวกนั้นเป็นกบฏและในฐานะจอมทัพ พระองค์จะถือว่าพวกนั้นเป็นราชศัตรูที่ขัดพระบรมราชโองการ ถ้าพวกนั้นจะบังคับให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธย พระองค์ก็จะทรงสละราชสมบัติให้พวกเขาหาเจ้านายองค์อื่นลงพระปรมาภิไธย ให้..."
ในบันทึกประชุมของคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญในสมัยนั้นก็ มีการโต้เถียงกัน อย่างดุเดือด เผ็ดร้อน ทั้งฝ่ายคณะราษฎรก็ได้ขอให้มีการบันทึกความเห็นไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าการ ไม่บัญญัติหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญนี้จะก่อให้เกิดปัญหาในอนาคตได้อย่างไร
ก็เป็นทีน่าเสียดายว่าบันทึกประชุมนั้นไม่ได้รับการเผยแพร่อีกเลยหรืออาจจะสูญหายไปตามกาลเวลาแล้วกระมัง
แต่เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ในที่นี่จึงขอหยิบยกมาเพื่อเป็นหลักฐานไว้ดังนี้
ปัญหา การสืบราชสมบัติ และการกำหนดว่า พระมหากษัตริย์จะต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 9 ระบุว่า “การสืบราชสมบัติท่านว่าให้เป็นไปโดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราช สันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร” มาตรานี้มีนัยว่า แม้จะมีข้อกำหนดในกฎมณเฑียรบาลเป็นลำดับแต่พระมหากษัตริย์อาจทรงเลือก รัชทายาทโดย ไม่ต้องคำนึงถึงกฎมณเฑียรบาลก็ได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ได้คนที่ไม่สมควรเป็นพระเจ้าแผ่นดิน จึงต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประธานอนุกรรมการฯ แถลงว่า ตรงกับประเพณีการสืบราชสมบัติของสยามที่ว่า“พระมหากษัตริย์ทรงเสด็จเถลิง ถวัลย์สมบัติด้วยประชาชนอัญเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ” ตามหลักอเนกนิกรสโมสรสมมติ (รงส. 36/2475 25 พฤศจิกายน 2475)
นายหง วน ทองประเสริฐถามว่า พระมหากษัตริย์ต้องทรงปฏิญาณว่าจะรักษาและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ ประธานอนุกรรมการฯตอบว่า ต้องทรงปฏิญาณ และตามประเพณีราชาภิเษกก็มีการปฏิญาณ อยู่แล้ว นายหงวน ทองประเสริฐ และนายจรูญ สืบแสง ต้องการให้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยให้เหตุผลว่า พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆไปอาจไม่ปฏิญาณ
ขณะที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม อธิบายว่าการที่ไม่บัญญัติหรือเขียนไว้เป็นลาย ลักษณ์อักษร ไม่ได้เป็นการยกเว้นว่ากษัตริย์ไม่ต้องปฏิญาณเพราะถือเป็นพระราชประเพณีเวลา ขึ้นครองราชสมบัติ และขอให้จดบันทึกไว้ในรายงานการประชุม
ประธาน อนุกรรมการกล่าวเพิ่มเติมว่า ได้เคยเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงมีรับสั่งว่าพระองค์ได้ทรงปฏิญาณเวลาเสวยราชสมบัติและเวลารับเป็น รัชทายาทก็ต้อง ปฏิญาณก่อนดังนั้นจึงถือเป็นพระราชประเพณีแต่นายจรูญยืนยันให้บัญญัติในรัฐ ธรรมนูญประธานสภาฯจึงขอให้ลงมติ ที่ประชุมฯยืนยันให้คงตามร่างเดิม 48 คะแนน ยืนยันให้เติม 7 คะแนน “
ส่วนผลที่เกิดขึ้นเป็นประการใดท่านผู้อ่านทุกท่านคงทราบกันอยู่แก่ใจแล้ว
บัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยการให้สัตยาบันนี้ อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ได้กล่าวถึงไว้ในการสัมมนาของกลุ่มนิติราษฎร์ว่า
“รัฐ ธรรมนูญของเดนมาร์กกำหนดหน้าที่ที่กษัตริย์ต้องสาบานว่าจะ พิทักษ์รัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร จริงๆหน้าที่ของกษัตริย์ต้องสาบานตนหรือปฏิญาณตนก่อนเข้าสู่ราชบัลลังก์นั้น มีลักษณะเป็นสากลมากๆ พบบทบัญญัติทำนองนี้ในรัฐธรรมนูญหลายประเทศมาก
แต่ ที่ชัดที่สุด เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็คือ เดนมาร์ค ส่วนประเทศอื่นๆ กำหนดให้กษัตริย์สาบานหรือปฏิญาณต่อรัฐสภาว่าจะรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญก่อน เข้าสู่การสืบราชสมบัติ รัฐธรรมนูญเดนมาร์คยังบัญญัติเรื่องค่าตอบแทนเรื่องทรัพย์สิน คือ กำหนดให้สมาชิกราชวงศ์ได้รับ 1 ปี แต่ห้ามโอนเงินดังกล่าวไปนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับความยินยอมจากสภาผู้แทน ราษฎร”
จากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวจึงอาจกล่าวได้ ว่าการที่สถาบันพระมหา กษัตริย์ของไทยไม่อาจป้องกันการรัฐประหารยึดอำนาจที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้ง เล่าในสังคมไทยก็เพราะปัญหาจากการร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่สมัยการเรืองอำนาจ ของพระยามโนปกรณ์นิติธาดาผู้นำรัฐบาล สภาและฝ่ายอนุรักษ์สมัย 2475
และ ต่อๆมาก็คือเหล่านักนิติบริกรในสมัยเผด็จการทั้งหลายที่มีรากฐานจากกลุ่ม ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ตุลาการ ที่ร่วมกันต่อต้านประชาชนซึ่งก็คือประชาธิปไตยในยุคสมัยต่างๆ
ดังจะ ยกตัวอย่างง่ายๆว่า ปัจจุบันการขึ้นทรงราชย์นั้นไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ทั้งๆที่เป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งในการระบุว่ าสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยซึ่งแปลว่าประชาชนเป็นใหญ่ได้อย่าง ไร
ดังจะสังเกตได้ว่าทุกครั้งที่มีการรัฐประหารหรือสังคมมีปัญหาภาย ในประเทศจะ มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์อยู่เสมอ ทั้งสมัยปี 2489 2492-4 2516 2535 2540 และ 2550
แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่กลับ เป็นที่เชื่อกันว่า ห้ามแตะต้องหมวดนี้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยประชาธิปไตยเต็มใบ หรือว่ามีอะไรเป็นพิเศษ เป็นสิ่งน่าคิดเหมือนกัน
จะเป็นอย่างไรถ้ามีการกำหนดหน้าที่ของ สถาบันพระมหากษัตริย์ในการพิทักษ์ รัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ใช่เรื่องต้องห้าม เป็นสิ่งที่ควรทำ เป็นเรื่องเคยถกเถียงกันมาแล้วในรัฐสภาและรัฐสภาเป็นผู้กำหนดในฐานะตัวแทน ของประชาชนที่มีอำนาจสูงสุด
ถ้ามีการทบทวนใหม่ ให้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเช่นประเทศในระบอบการปกครองเดียวกัน สถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะมีเหตุผลที่จะต่อต้านการรัฐประหารของผู้นำกลุ่ม ราชการคือทหารในการไม่เชื่อฟังและกดขี่ประชาชนเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆเช่น สเปน เป็นต้น
และประเด็นนี้คือความหวังที่จะมีประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์ พ้นจากวงจรอุบาทว์อย่างแน่นอน ด้วยการมีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เคียงข้างประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ความ จริงแล้วยังมีอีกสองประเด็นสำคัญที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นไป ตามระบอบประชาธิปไตย คือการที่รัฐสภาต้องให้ความเห็นชอบต่อผู้ที่จะขึ้นทรงราชย์กับการให้มีการลง นามร่วมระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับรัฐบาลหรือรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย
มิฉะนั้นการกระทำใดๆของพระมหากษัตริย์จะเป็นโมฆะเพื่อรองรับมาตราที่ว่า องค์พระมหากษัตริย์จะถูกล่วงละเมิดมิได้
ซึ่งหมายความว่าพระมหากษัตริย์จะถูกฟ้องร้องด้วยประการใดๆไม่ได้ แต่เนื่องจากการกระทำใดๆถ้ามีความผิดต้องมีผู้รับผิด
ดัง นั้นในทุกกรณีจึงต้องมีผู้รับผิดแทนพระมหากษัตริย์ การทำผิดใดๆโดยรัฐบาลหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เช่นการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ที่มีข้อบกพร่องมากมายแต่กลับอ้างว่า มีพระปรมาภิไธยลงมาแล้ว เหมือนมีพระบรมราชโองการแล้วขอให้จบ ซึ่งไม่ถูกต้อง
จะไม่ถูกต้อง เป็นประการใดก็เป็นไปตามหลักประชาธิปไตยสากล ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน 2475 มีบัญญัติไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว แต่มาถูกทำลายเสียในสมัยรัฐธรรมนูญอัปยศ 10 ธันวาคม 2475 ดังที่ จอมพล ป.ฯ สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีฝ่ายคณะราษฎรกล่าวไว้ว่า พระยามโนปกรณ์ครอบงำการร่างรัฐธรรมนู ญนานๆทีจึงจะขอให้กลุ่มคณะราษฎรเข้าประชุมด้วย เป็นต้น
สุดท้ายนี้ เราคงสรุปได้ว่าการร่างรัฐธรรมนูญที่ผิดพลาดหรือมีนิติบริกรในสมัยการยึด อำนาจทุกยุคทุกสมัยเป็นผู้ทำลายระบอบประชาธิปไตย ทำให้องค์พระมหากษัตริย์ไม่ทรงสามารถที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ต่อต้านการรัฐประหาร และส่งเสริมประชาธิปไตยในส่วนที่สำคัญนี้ได้
บัด นี้จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญกันแล้ว จึงขอเสนอไปยังสมาชิกรัฐสภาว่าการขออัญเชิญสถาบันพระมหากษัตริย์มาช่วยปก ป้องประชาธิปไตย เปิดโอกาส เปิดช่องทางที่สถาบันพระมหากษัตริย์จะต่อต้านการรัฐประหารนั้นเป็นแสงที่ ปลายอุโมงค์ของระบอบประชาธิปไตย
ยึดอำนาจจากการรัฐประหารจะไม่สามารถสร้างความแปดเปื้อนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในทางใดๆให้เกิดความเข้าใจผิดได้อีกต่อไป
ดัง นั้นจึงไม่มีความหวังในระบอบประชาธิปไตยใดจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว และต่อไปก็น่าจะไม่เกิดเหตุใครถูกจับข้อหาหมิ่นฯที่ฝ่ายเผด็จการราชการ หรือเรียกกันติดปากว่าระบอบอำมาตย์ร่วมมือกับอดีตฝ่ายซ้ายตัวเอ้ดึงเอาพระ ราชอำนาจ พระบารมี และกฎหมายตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชมาใช้เพื่อประโยชน์ของกลุ่มพวกตน
ซึ่งโดยแท้จริงแล้วไม่ได้เป็นการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ได้แต่ประการใด