WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 5, 2011

ความเห็นแย้งในคำพิพากษา

ที่มา มติชน



โดย สราวุธ เบญจกุล

กฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาพิพากษาคดี ของศาลไว้แตกต่างกันตามประเภทของคดีและทุนทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง โดยกำหนดให้คู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีตามกฎหมาย วิธีพิจารณาความที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะนำมาใช้บังคับเมื่อเป็นการพิจารณาพิพากษาคดี แพ่ง ซึ่งเป็นข้อพิพาทในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างเอกชนด้วยกันและมีผลกระทบต่อ ความสัมพันธ์ส่วนตัวของบุคคล ในขณะที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะนำมาบังคับใช้ในข้อพิพาททางอาญา อันเกิดจากการกระทำที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดและผู้กระทำสมควรที่จะถูก ลงโทษ

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลจะมีความแตกต่างกันไป แต่มีขั้นตอนประการหนึ่งที่ศาลจะต้องกระทำเมื่อมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลและ ศาลได้ดำเนินการพิจารณาคดีจนเสร็จสิ้นไปแล้วโดยมิได้มีการจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ นั่นคือการทำคำพิพากษา ทั้งนี้ ศาลจะปฏิเสธไม่ทำคำพิพากษาไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 134 บัญญัติไว้อย่างชัดแจ้งว่า “ไม่ว่าในกรณีใดๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดคดีโดยอ้างว่า ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้นเคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์”

สำหรับในส่วนของคดีอาญา แม้จะไม่มีบทบัญญัติห้ามมิให้ศาลปฏิเสธไม่ทำคำพิพากษาในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาไว้อย่างชัดแจ้งดังที่ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง แต่มาตรา 182 กำหนดไว้ว่า “เมื่อการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้พิพากษาหรือสั่งตามรูปความ” ศาลจึงจำเป็นต้องทำคำพิพากษาตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ คำพิพากษาที่ทำขึ้นต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในคดี นั้น ซึ่งประกอบไปด้วยองค์คณะผู้พิพากษาตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม

ในบางกรณี จำนวนผู้พิพากษาที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีหนึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่งคน ขึ้นอยู่กับประเภทของคดี ซึ่งอาจเกิดปัญหาหากมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน ในกรณีเช่นว่านี้ กฎหมายวิธีพิจารณาความทั้งสองฉบับจึงต่างกำหนดให้การทำคำพิพากษาต้องบังคับ ตามความเห็นของฝ่ายข้างมาก แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 184 อีกว่า “ถ้าในปัญหาใดมีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย หรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไป จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษา ซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า”

ถึงแม้ว่ากฎหมายจะบัญญัติให้การทำคำพิพากษาต้องบังคับตามความเห็นของฝ่าย ข้างมากแต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงคำนึงถึงหลักความอิสระในการพิจารณาคดีของผู้ พิพากษา จึงได้มีการกำหนดช่องทางให้ผู้พิพากษาสามารถทำ “ความเห็นแย้ง” ได้ หากไม่เห็นด้วยกับความเห็นของเสียงข้างมาก ดังที่ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 140 ซึ่งกำหนดว่า “ถ้า ผู้พิพากษาคนใดมีความเห็นแย้ง ก็ให้ผู้พิพากษาคนนั้นเขียนใจความแห่งความเห็นแย้งของตนกลัดไว้ในสำนวน และจะแสดงเหตุผลแห่งข้อแย้งไว้ด้วยก็ได้” เช่นเดียวกับในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 183 ที่กำหนดให้ “ผู้พิพากษาใดที่นั่งพิจารณา ถ้าไม่เห็นพ้องด้วย มีอำนาจทำความเห็นแย้ง คำแย้งนี้ให้รวมเข้าสำนวนไว้”

ดังเช่นคำพิพากษาฎีกาที่ 6988/2549 ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่าในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีความเห็นว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลย แต่ผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งมีความเห็นว่า จำเลยไม่มีความผิดและควรยกฟ้อง จึงเป็นกรณีที่มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายและจะหาเสียงข้างมากมิได้ ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า คือเห็นว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลย ต้องยอมเห็นด้วยกับผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นว่าจำเลยไม่มีความผิดและควรยก ฟ้อง โดยศาลฎีกาเห็นว่า ต้องแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นพิพากษายกฟ้องจำเลย และให้นำความเห็นว่าจำเลยมีความผิดและควรลงโทษจำเลยเป็นความเห็นแย้ง การที่ศาลชั้นต้นถือเอาความเห็นว่าจำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลยเป็นคำ พิพากษา จึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184

นอกจากการทำความเห็นแย้งในคำพิพากษา จะเป็นการสนับสนุนหลักเรื่องอำนาจอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาคดี แล้ว ยังมีความสำคัญอีกประการหนึ่งเมื่อคู่ความต้องการใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือ ฎีกาคำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งบางกรณีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่คู่ความสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้หากผู้พิพากษาที่นั่ง พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้ทำความเห็นแย้งไว้ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาล ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่คู่ความอาจอุทธรณ์ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งคู่ความสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ได้หากผู้ พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลชั้นต้นทำความเห็นแย้งไว้ หรือฎีกาหากผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้นในศาลอุทธรณ์ทำความเห็นแย้งไว้ ในส่วนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานอกจากผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณา คดีจะได้มีการทำความเห็นแย้งแล้วยังมีเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกว่า “ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์” การทำความเห็นแย้งจึงเป็นช่องทางในการคุ้มครองสิทธิของคู่ความอีกวิธีหนึ่ง ให้ได้รับการวินิจฉัยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในศาลสูงต่อไปในกรณีที่ผู้พิพากษา ในองค์คณะนั้นมีความเห็นแตกต่างกัน

ดังนั้น การทำความเห็นแย้งจึงเป็นวิธีการหนึ่งที่รับรองถึงหลักการในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย มาตรา 197 ที่กำหนดให้ “ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยถูก ต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย” อันเป็นการสนับสนุนให้ศาลสามารถพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรม ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมได้อีกทางหนึ่ง

(บทความทางวิชาการ : สราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม )