WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, February 9, 2010

บทบรรณาธิการ ไทยเรดนิวส์ ฉบับ 36 "จะสร้างระบอบประชาธิปไตยไทยอย่างไร?"

ที่มา thaifreenews


โดย ThaiRedNews



จะสร้างระบอบประชาธิปไตยไทยอย่างไร (6)
(อำนาจการปกครองจากการเลือกตั้ง)
โดย ดร.วิบูลย์ แช่มชื่น

ระบอบหมายถึงอำนาจ ระบอบการปกครอง หมายถึงอำนาจการปกครอง ระบอบเผด็จการหมายถึงอำนาจการปกครองเป็นของคนส่วนน้อย ระบอบประชาธิปไตยหมายถึงอำนาจการปกครองเป็นของปวงชน คนส่วนใหญ่ในสังคมนั้น

ภายใต้ความหมาย ระบอบประชาธิปไตยคืออำนาจการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน นั้น มีความจำเป็นที่การสร้างประชาธิปไตยไทย จะต้องเริ่มต้นจากการทำให้อำนาจการปกครองเป็นของประชาชนก่อน ไม่ใช่การเริ่มต้นจากการมีรัฐธรรมนูญก่อน หรือการใช้กฎหมายสร้างประชาธิปไตย เพราะจะไม่สามารถทำได้

ในอดีตจนปัจจุบันสังคมไทย หลงผิดคิดว่า การสร้างประชาธิปไตยไทย จะต้องใช้กฎหมายหรือใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ แท้จริงแล้วรัฐธรรมนูญและกฎหมายนั้น เป็นเพียงเครื่องมือในการรักษาระบอบของผู้มีอำนาจ ที่เขียนกฎหมายหรือเขียนรัฐธรรมนูญเท่านั้น

ล้นเกล้า...ที่ ๗ พระราชทานอำนาจการปกครองของพระองค์ที่มีมาแต่เดิมนั้น ให้แก่ประชาชน ให้คณะราษฎร ไม่ได้ให้แก่คนหนึ่งคนใด หรือคณะหนึ่งคณะใด แต่ข้อผิดพลาดของคณะราษฎรคือการไม่สามารถรักษาอำนาจการปกครองไว้ให้เป็นของ ราษฎรได้ อำนาจการปกครองได้ถูกแย่งไปโดยกลุ่มอำมาตย์ โดยคนกลุ่มน้อยเหล่านั้นได้ใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือครองอำนาจ ได้ทำบ้านเมืองเสียหาย จนทำให้พระองค์ท่านทรงเสียพระทัย ถึงต้องทรงสละราชสมบัติในที่สุด

ประเทศสยาม แม้เปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยต่อมา ต้องอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบเผด็จการอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตั้งแต่บัดนั้น โดยการใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ ด้วยการหลอกให้สังคมเชื่อว่าประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นระบอบการปกครองที่ใช้กฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มน้อย ตลอดมา

อำนาจการปกครอง ยังไม่เคยได้เป็นของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริง สิทธิเสรีภาพบริบูรณ์ยังไม่เคยเป็นของประชาราษฎร แต่ผู้ปกครองมีสิทธิเสรีภาพมากเสมอ ความเสมอภาคในทางกฎหมาย ในทางการเมือง และในโอกาสของคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่เคยเกิด ยังไม่เคยมีความเท่าเทียม ตามหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยเลย

ตรงกันข้าม คนชั้นสูงในสังคมจะทำอะไรก็ได้ ยึดภูเขาก็ได้ไม่ผิด มีสิทธิทางการเมืองมากกว่า มีโอกาสในการหาความสุขมากกว่า เขาจะมีมากกว่าประชาชนในทุกเรื่อง อีกทั้งหลักนิติธรรม หลักกฎหมาย หลักความยุติธรรมสากล ก็ยังไม่มีการนำมาปฏิบัติในสังคมไทย เราใช้กฎหมายโดยการพิสูจน์ความหมายของตัวอักษร มากกว่ามองเจตนาและผลของการกระทำ ไม่ค่อยคิดถึงความจริงและความเป็นธรรมมากนัก การรับรองให้ภรรยาทำนิติกรรมก็ผิดกฎหมายได้ ให้ติดคุก ๒ ปี โดยไม่รอการลงโทษ ทำกับข้าวออกทีวีก็หลุดจากตำแหน่งนายกได้ เป็นต้น

โดยเฉพาะปัญหาในวันนี้ กฎหมายและรัฐธรรมนูญไทย ก็ร่างและประกาศใช้ โดยคนกลุ่มน้อยทั้งสิ้น การบังคับใช้กฎหมายก็เพียงใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจให้ตัวเองปกครอง ได้ มากกว่าที่จะให้เป็นเครื่องมือเพื่อรักษาความเป็นธรรมในสังคม คนไทยส่วนใหญ่ยังหลงผิดคิดว่า การปฏิบัติตามกฎหมายของเผด็จการเป็นสัญญลักษณ์ของการเป็นประชาธิปไตย ความจริงไม่ใช่เลย ถ้ากฎหมายเป็นเผด็จการ คนก็ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกฎของเผด็จการ แต่ไม่มีทางที่อำนาจเผด็จการ จะเขียนกฎหมายเพื่อคนอื่น “ชนชั้นใดเขียนกฎหมายก็ต้องเขียนไว้เพื่อชนชั้นนั้น” เป็นกฎที่เกิดขึ้นในโลก

ดังนั้นระบอบหรืออำนาจต้องมาก่อนกฎหมาย กฎหมายไม่ได้สร้างอำนาจ แต่อำนาจคือผู้สร้างกฎหมาย กฎหมายไม่ดีสามารถใช้อำนาจเปลี่ยนได้ อำนาจอธิปไตยของปวงชนเท่านั้นจึงจะสร้างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยของประชาชนได้ กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญของเผด็จการจะไม่มีทางสร้างประชาธิปไตยได้เลย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ จึงไม่ได้มีความหมายใดๆต่อการสร้างประชาธิปไตย จึงขอให้นักการเมืองไทย รวมทั้งนักสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่าได้หลงทางไปเป็นเครื่องมือของเผด็จการอำมาตยาธิปไตยอีกเลย โปรดได้ตื่นจากภวังค์และความไม่รู้เสียที วันนี้เราต้องช่วยกันสร้างประชาธิปไตยให้ได้ สังคมไทยจึงจะไปรอด

ปัจจัยสุดท้ายที่ถือว่า มีความสำคัญมากต่อการสร้างประชาธิปไตย คือเรื่องของการทำให้ อำนาจการปกครองเป็นของประชาชนหรือจะต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน นี่คือหลักการที่รัฐบาลต้องมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government) อำนาจปกครองที่จะต้อยอมรับได้โดยประชาชนนั้น หมายรวมถึงทั้ง ๓ อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
ปัญหาของระบอบประชาธิปไตยไทยดังกล่าวมาในตอนต้น ล้วนมีสาเหตุมาจากการที่อำนาจอธิปไตยไม่ได้เป็นของปวงชนทั้งสิ้น ดังนั้นหลักการทำให้อำนาจการปกครอง เป็นที่ยอมรับ จึงต้องใช้หลักการลงคะแนนเสียง ที่เรียกว่าประชาธิปไตยทางตรง Direct Democracy เช่น การทำประชามติ (Referendum) หรือใช้ประชาธิปไตยทางผู้แทน Representative Democracy แทน เพื่อมาทำหน้าที่แทนปวงชน คือหลักผู้ปกครองมาจากการเลือกตั้ง (Elected Government) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน

แต่มีข้อแม้สำคัญคือ ขอให้เป็นผู้แทนในการตรากฎหมายเพื่อปวงชน ไม่ใช่สำหรับคนกลุ่มใดคณะใด ให้รัฐบาลต้องบริหารเพื่อประชาชน ให้เป็นศาลที่ให้ความยุติธรรมต่อประชาชนอย่างแท้จริง เท่านั้น

ปัญหาของไทยที่ผ่านมา มีการทำผิดหลักการปกครอง เช่นให้มีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ โดยให้สามารถใช้อำนาจการปกครองที่เป็นอิสระ จากฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการได้ ซึ่งถือเป็นหลักการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ได้ฉกฉวยเอาอำนาจอธิปไตย ที่มาจากปวงชน ไปทำให้อำนาจปกครองเป็นของคนส่วนน้อย หากอำนาจใดเป็นอิสระจากอำนาจอธิปไตยของปวงชน ถือว่าผิดหลักการประชาธิปไตยทั้งสิ้น จึงจะต้องทำให้สิ้นสุด หรือยกเลิกไป

และที่ยังเป็นปัญหาสำคัญของไทย คืออำนาจตุลาการ ยังไม่ได้มีการยึดโยงกับอำนาจอธิปไตยของปวงชนเลย การแต่งตั้งประธานศาลใดๆ ก็ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของผู้แทนประชาชน ไม่ว่าในสภาสูงหรือสภาล่าง การพิจารณาพิพากคดีของศาล ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ แม้แต่โดยรัฐสภา ว่าเป็นไปตามหลักนิติธรรมหรือหลักกฎหมายหรือไม่

เมื่อศาลคือผู้ตรวจสอบผู้อื่น โดยหลักการปกครองก็จะต้องมีการตรวจสอบผู้ตรวจสอบได้ด้วย ว่าได้ใช้อำนาจชอบธรรมหรือไม่ เช่นกรณีที่ให้อดีตนายกทักษิณ มีความผิดเพียงเพราะการรับรองให้ภรรยาทำนิติกรรม ในคดีที่ไม่มีผู้เสียหาย ต้องโทษจำคุกถึง ๒ ปี โดยไม่รอลงอาญา ด้วยมติ ๕ ต่อ ๔ นั้น น่าจะตรวจสอบได้ว่า ประธานแห่งคดี และคณะผู้พิพากษาทั้ง ๙ คน ที่พิจารณาได้ดำเนินการตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๘๔ หรือไม่ ที่ต้องให้ผู้พิพากษาประชุม ลงมติทีละคน ประธานลงมติหลังสุด เมื่อคะแนนเท่ากัน กฎหมายบังคับให้ประธานลงมติโดยต้องให้เป็นประโยชน์กับจำเลยด้วย

กรณีนี้ ศาลไทยได้ทำผิดอะไรไว้ มีใครตรวจสอบได้หรือไม่? การใช้อำนาจตุลาการวันนี้ มีความเป็นอิสระจากอิทธิพลภายนอกจริงหรือไม่ ศาลในระบอบประชาธิปไตยต้องสามารถตรวจสอบได้ หรือในอนาคตอาจจะต้องใช้ระบบลูกขุนแทน จึงจะเป็นประชาธิปไตยได้...