WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, February 10, 2010

คนเสื้อแดง กรรมกร และ ชาวนา “สู้"

ที่มา Thai E-News



โดย เปลวเทียน ส่องทาง
10 กุมภาพันธ์ 2553

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของ”คนเสื้อแดง” เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทย

แน่นอนว่า มีกลุ่มคนหลากหลายการจัดตั้งในการเข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคมครั้งนี้

“คนเสื้อแดง” บางส่วนอยู่ภายใต้ฐานะการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย บางกลุ่มจัดตั้งโดยผ่านแนวร่วมประชาธิปไตยประชาชน(นปช.) มีไม่น้อยจัดตั้งกลุ่มเสื้อแดงกันขึ้นมาเอง บางคนเป็นแดงแบบปัจเจกชนก็มีอยู่จำนวนไม่น้อย เป็นแดงอิสระ เป็นแดงเสรีชน

แต่พวกเขามีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อประชาธิปไตย มิเพียงเพื่อทักษิณเท่านั้น

“ประชาธิปไตย” จึงเป็นอนาคต เป็นสังคมที่ดีกว่าของประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ

พวกเขาจึงต่อต้าน ระบอบอำมาตยาธิปไตย

คงมีแต่พวกได้ประโยชน์ และมืดบอดทางปัญญาเท่านั้น จึงเลือกจุดยืนเพื่อระบอบอำมาตยาธิปไตย

หรือบางคนถูกทำให้เลือกระบอบอำมาตยาธิปไตย เพราะถูกมอมเมาครอบงำทางความจิตใจมาชั่วชีวิต ผ่านอิทธิพลของสถานการศึกษา และผ่านสื่อสารมวลชนของรัฐและสื่อมวลชนสายอำมาตยาธิปไตยที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนทั้งหลาย พวกเขาจึงขาดการรับรู้ด้านมืดของระบอบอำมาตยาธิปไตย และความก้าวหน้ากว่าของระบอบประชาธิปไตย

จึงเป็นภารกิจของ”คนเสื้อแดง” ที่ต้องช่วงชิงพวกเขาให้กลับมาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ด้วยความอดทน เพราะพวกเขาหาใช่ศัตรูแต่อย่างใด เพียงแต่พวกเขายังหลับใหล ถูกปิดตาให้มืดมิดเท่านั้นเอง ถูกปิดหูไม่ให้ได้ฟัง เท่านั้นเอง

แน่นอนว่า มีกลุ่มคนหลากหลายชนชั้นเข้าร่วมในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความยุติธรรมในสังคมครั้งนี้

บางคนเป็นนายทุนเสรีนิยมหรือทุนใหม่ บางคนเป็นชาวนาไร้ที่ดิน บางคนเป็นเกษตรกรรายย่อย บางคนเป็นนายทุนน้อย บางคนเป็นกรรมกรขายแรงงานเพื่อชีวิตอยู่รอดไปวันๆในชนบท บางคนเป็นกรรมกรรุ่นใหม่ในยุคสมัยใหม่ในสังคมเมือง และอื่นๆ

และพวกเขาทั้งหลายล้วนไม่ได้เป็น “อภิสิทธิ์ชน” แต่อย่างใด

นับว่า เป็นสิ่งที่ดีในการต่อสู้ครั้งนี้ ถ้าหากว่ากลุ่มชนชั้นต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชีวิตของกันและกันอย่างภราดรภาพ ในฐานะพี่น้องร่วมรบร่วมศึกในท่ามกลางการต่อสู้

อย่างไรก็ตาม ภายใต้การเคลื่อนตัวของเศรษฐกิจสังคมไทยยุคเสรีนิยมใหม่ปัจจุบัน สังคมไทยเดินสู่สังคมทันสมัย เทคโนโลยี่ล้ำหน้า พัฒนาอุตสาหกรรมหลายหลากแบบ สังคมไทยมิใช่สังคมชาวนาล้าหลังเหมือนในอดีต ภาคชนบทกลายเป็นเมือง ภาคเกษตรกรกรรมมีหลายหลายชนชั้น ที่สำคัญมีแรงงานรับจ้างรุ่นใหม่จำนวนมากเป็นประชากรส่วนใหญ่ในสังคมไทย

บางคนอาจจะเรียนจบระดับปวช. ปวส. ปริญญาตรี แต่ไม่มีปัจจัยการผลิต จึงกลายสภาพเป็น“กรรมกร” มีแรงงานเป็นสินค้า ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคบริหาร ภาคก่อสร้าง ภาคประมง ภาคเกษตรกรรม ฯลฯ มีทั้งแรงงานในระบอบ นอกระบบ และแรงงานข้ามชาติ

“กรรมกร” ผู้มีสิทธิมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับกลุ่มชนอื่นๆ ในสังคม พวกเขาเหล่านี้มีทั้งจัดตั้งในรูปแบบสหภาพแรงงานตามกฎหมาย และแบบกลุ่มเพื่อนไม่เป็นทางการ เพื่อต่อสู้ต่อรองกับสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม ชีวิตที่ดีกว่า เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ปัจจุบันพวกเขาต้องประสบพบกับกลยุทธ์ของทุนในการจ้างงานแบบเหมาช่วง แบบชั่วคราว แบบไม่เป็นทางการ เพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มกำไรให้ทุนสูงสุด และกดทับเบียดขับการรวมกลุ่มสร้างพลังของกรรมกร ภายใต้ที่รัฐไทยไม่ยอมให้สัตยาบัน ILO เพื่อยอมรับสิทธิของกรรมกรในสังคมไทย ซึ่งจะนำมาสู่การแก้กฎหมาย นโยบายด้านแรงงานต่างๆ ที่ไม่เป็นธรรมต่อกรรมกร เปิดความชอบธรรมให้กรรมกร ต่อสู้เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ

“กรรมกร” ที่เห็นและเป็นอยู่ พวกเขาจึงไม่มีความมั่นคงในชีวิต แต่อย่างใด

“ชาวนา “ ผู้มีสิทธิมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับกลุ่มชนอื่นๆ ในสังคมก็เช่นกัน พวกเขาได้มีรูปการจัดตั้งแบบสหกรณ์ สหพันธ์ สมัชชา สมาชิกกองทุนฟื้นฟู ฯลฯ และแบบเป็นไปเอง พวกเขาต้องเผชิญกับปัญหาในแต่ละวัน และพวกเขาถูกกระทำจากนโยบายของรัฐที่มองชนบทเป็นเพียงส่วนเกินของการพัฒนา เป็นเพียงฐานการเติบโตของภาคการผลิตส่วนอื่นๆ

ปัจจุบัน หลายคนมีหนี้สินล้นตัว บางคนไม่มีที่ดินทำกินต้องเช่าเจ้าที่ดิน ฯลฯ และรัฐก็ไม่เคยมีนโยบายคุ้มครองเกษตรผู้เป็นกระดูกสันหลังของชาติให้มีความมั่นคงในชีวิตแต่อย่างใด แต่กลับปล่อยให้ทุน CP เอารัดเอาเปรียบในหลายรูปแบบ และยิ่งรัฐแบบอำมาตย์ครองอำนาจยิ่งไกลเกินฝันที่จะมีนโยบายการกระจายการถือครองที่ดินเหมือนเช่นข้อเสนอในอดีตของปรีดี พยมยงค์ ผู้นำคณะราษฎร เพราะย่อมกระเทือนถึงที่ดินของเหล่าอำมาตย์ทั้งหลาย

แน่นอนว่าตราบใดที่ระบอบอำมาตยาธิปไตยครองเมือง

ปัญหาของพวกเขาทั้งกรรมกร ชาวนา ย่อมหนักหน่วงทบทวีมากขึ้น

เพราะสิทธิ์เสียงของพวกเขาถูกเมินเฉย ไม่มีความหมาย เพราะอำมาตย์มองพวกเขาเป็นเพียงไพร่ทาสหาใช่มนุษย์ผู้มีศักดิ์ศรีไม่

เพราะระบอบอำมาตย์ บอกพวกเขาว่า ชาติปางก่อนพวกเขาทำบุญไว้น้อย ชาตินี้จะต้องจน

เพราะระบอบอำมาตย์ สร้างความคิดและบอกสังคมว่า พวกเขา เครียด กินเหล้า แล้วก็จน

คงมิอาจปฏิเสธได้ว่า “คนเสื้อแดง” ผู้มีหัวใจยุติธรรม ย่อมต้องการแก้ไขปัญหาของพวกเขาในฐานะคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยด้วยเช่นกัน

คนเสื้อแดง คงเข้าใจกันดีว่า “กรรมกร” “ชาวนา” ซึ่งก็ล้วนเป็นลูกหลานคนเสื้อแดงส่วนใหญ่นั่นเอง

เพราะ”คนเสื้อแดง” ต้องการประชาธิปไตยทางการเมืองและประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

เพื่อลดช่องว่างทางชนชั้น ความเหลื่อมล้ำทางสังคมให้มีความเสมอภาคมากขึ้น

แม้ว่า “กรรมกร” และ”ชาวนา” หลายส่วนหลายองค์กรยังไม่ได้จัดตั้งตนเอง เพื่อต่อสู้ทางประชาธิปไตยด้านการเมือง

จึงเป็นภารกิจของ”ปัญญาชน” กรรมกร ชาวนา ที่ต้องยกระดับองค์กรเพื่อร่วมสู้ ร่วมเรียนรู้ถึงแนวทางของคนเสื้อแดงตามสภาพเงื่อนไขของกลุ่มตน พร้อมๆกับการต่อสู้ในชีวิตประจำวัน

“กรรมกร” “ชาวนา” จึงต้องจัดตั้งกลุ่มศึกษาของตนเอง เปิดโรงเรียนการเมืองกรรมกรชาวนา เหมือนเช่นโรงเรียนการเมืองคนเสื้อแดงเพื่อเรียนรู้เรื่องราวการเมืองการปกครอง ประชาธิปไตย เสนอปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาระยะยาวต่อคนเสื้อแดงและสังคมไทย ฯลฯ และมีจุดยืนเคียงข้างคนส่วนใหญ่

แม้ว่าการต่อสู้จะยืดเยื้อยาวนานเพราะเป็นสงความพื้นที่ทางความคิด

แต่อีกไม่นานก็จะมี”กรรมกร” “ชาวนา” แดงทั้งแผ่นดิน

เพราะหนทางต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในช่วงเงื่อนไขประวัติศาสตร์ปัจจุบันเป็นภาระกิจที่สำคัญ จะนำพากรรมกร ชาวนาสู่สังคมที่เป็นประชาธิปไตย ยุติธรรมและเสรีภาพ เพื่อผลักดันกงล้อประวัติศาสตร์ให้ก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคต เพื่อลูกหลานของกรรมกร ชาวนารุ่นต่อๆไป

“คนเสื้อแดง” “กรรมกร” และ “ชาวนา” “สู้”