WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 12, 2010

“บุญเลิศ ช้างใหญ่ มติชน”: อัด“สื่อหลัก”

ที่มา thaifreenews


“บุญเลิศ ช้างใหญ่ มติชน”: อัด“สื่อหลัก”ไม่เสนอ“ความจริง” ทำ“ประเทศไทย”ใกล้“บรรลัย”เข้าไปทุกที !

สื่อเมืองไทยเข้าไม่ถึง “ความจริง”

โดย บุญเลิศ ช้างใหญ่

ขอแสดงความชื่นชมด้วยความจริงใจต่อสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่เสนอ “รายงานสถานการณ์สื่อปี 2552 ปีแห่งการใช้สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง” ได้อย่างตรงไปตรงมา

และขอบคุณสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทยที่นำรายงานนี้ไปลงเว็บไซต์ของสมาคม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คนสนใจแวะเวียนเข้ามาดูได้รับรู้ว่า สถานการณ์สื่อปีที่แล้ว ทางสมาคมนักข่าวฯ ในฐานะเพื่อนพ้องร่วมวิชาชีพสื่อมวลชนแต่คนละแขนงเขาว่าอย่างไร

สาระสำคัญของรายงานสถานการณ์สื่อปี 2552 ปีแห่งการใช้สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง อยู่ตรงที่สมาคมนักข่าวฯ ระบุว่า

“ในปี 2552 สื่อการเมืองหลายประเภทถูกสร้างขึ้นมาอย่างมากมาย และถูกนำมาใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้นำเสนอความคิดเห็นและความเชื่อมากกว่า “ความจริง” ไม่ได้นำเสนอข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลอย่างรอบด้าน ในทางตรงกันข้าม มีการนำเสนอในลักษณะโฆษณาชวนเชื่อ มีความลำเอียง มีอคติ ยั่วยุให้เกิดความขัดแย้ง แตกแยก เกลียดชัง จนถึงขั้นทำลายล้างต่อฝ่ายที่มีจุดยืนและความคิดเห็นที่แตกต่างกับฝ่ายของตัวเอง”

“…สมาคมนักข่าวฯ เห็นว่าปี 2552 แต่ละฝ่ายได้ใช้ “สื่อเพื่อสร้างสงครามการเมือง” ส่งผลให้สังคมมองบทบาทสื่อมวลชนโดยรวมว่า เป็นสื่อที่นำไปสู่วิกฤตการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองและนำมาซึ่งปัญหายุ่งยากในการหาทางออกของวิกฤตประเทศในครั้งนี้”

ต้องยอมรับว่าปี 2552 ไม่เพียงแต่สื่อการเมืองที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองของแต่ละฝ่าย ซึ่งมีทั้งวิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ ฯลฯ ที่เป็นปัญหาดังที่สมาคมนักข่าวฯ สะท้อนภาพให้เห็น แต่สื่อกระแสหลักโดยเฉพาะวิทยุและโทรทัศน์ก็มีปัญหาอยู่ในตัวเองไม่น้อยไปกว่าสื่อการเมืองสักเท่าไร

นั่นก็คือ สื่อกระแสหลักเลือกที่จะเสนอความจริงเพียงบางส่วน บางแง่บางมุม ไม่จำเป็นต้องพูดถึงวิทยุที่เป็นหน่วยราชการต่างๆ ได้แก่ กรมประชาสัมพันธ์ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการทหารสูงสุด อสมท. ฯลฯ การเสนอข่าวสารการบ้านการเมืองเป็นอย่างไรก็เห็นๆ กันอยู่ สิ่งที่เคยถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์กันมานานนับสิบๆ ปีก็ยังเป็นอยู่เช่นนั้นในยุคปัจจุบัน

สำหรับโทรทัศน์ที่บริษัทเอกชนได้รับสัมปทานเข้าดำเนินการ (ช่อง 3 ช่อง 7) โทรทัศน์ของกองทัพบก(ช่อง 5) โทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์(เอ็นบีที) โทรทัศน์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจแต่รัฐบาลก็ยังกำกับดูแลอยู่ (ช่อง 9 ) โทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์(ช่อง 11-เอ็นบีที) โทรทัศน์สาธารณะ (ไทยพีบีเอส) การนำเสนอข่าว รายงานและการวิเคราะห์วิจารณ์ข่าวก็ไม่สู้จะแตกต่างกันมากนัก

“ยกเว้นเอ็นบีที ที่ถูกรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เอามาใช้โฆษณาชวนเชื่อเพื่อโจมตีฝ่ายตรงข้ามโดยไม่กระดากและละอายใจเลยแม้แต่น้อย ว่าการกระทำเช่นนั้นกระทบต่อการทำหน้าที่ของวิชาชีพสื่ออย่างร้ายแรง”

เท่าที่สังเกตพบว่าในรอบปี 2552 ต่อเนื่องมาถึงวันนี้ บทบาทของสื่อวิทยุและโทรทัศน์กระแสหลักเหล่านี้ เวลาเสนอข่าวจะเลือกเสนอเพียงบางประเด็นที่คิดว่าจะไม่ทำให้รัฐบาลขุ่นข้องหมองใจหรือโกรธเคือง นั่นคือเรื่องราวของฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลจะถูกตัดทิ้งไป ไม่นำเสนอหรือหากจะเสนอก็เสนออย่างเสียไม่ได้ เป็นต้นว่าพูดสรุปสั้นๆ ไม่ลงรายละเอียด ไม่มีภาพประกอบ หรือให้ดูภาพประกอบแต่ไม่ปล่อยเสียงคนพูดให้ผู้ชมได้ยิน ไม่พูดถึงสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ผลกระทบเป็นอย่างไรก็ไม่กล่าวถึง ทางออกของปัญหาควรจะเป็นอย่างไรก็ไม่สนใจ

สรุปแล้ว ข่าวที่ได้ดูทางโทรทัศน์ในแต่ละวัน แต่ละเหตุการณ์จะเป็นไปอย่างผิวเผิน ฉาบฉวย มองเห็นแต่เปลือกนอกเฉพาะบางเสี้ยวบางส่วน (หนักไปในทางที่จะเป็นผลบวกกับรัฐบาล) เท่านั้น นี่เองทำให้ “ความจริง” ของเหตุการณ์และสถานการณ์ทางการเมืองถูกปกปิดไว้อย่างจงใจของคนทำสื่อ

สถานการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คนเสื้อแดง ขัดแย้งกับรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยดำเนินมา 3-4 ปีแล้ว เกิดจลาจลเข้าขั้นกลียุค มีคนเจ็บคนตายไปมากมาย ความขัดแย้งแตกแยกรอวันแตกหักที่อาจเกิดความสูญเสียในหลายด้านจนมิอาจตีค่าเป็นเงินได้

แต่ลองไปสอบถามชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นพวกเสื้อแดง เสื้อเหลืองว่า รู้ไหมสังคมไทยยามนี้เกิดอะไรขึ้น ในประเด็นใครขัดแย้งกับใคร ขัดแย้งด้วยเรื่องอะไร ประเด็นขัดแย้งในข้อกฎหมายและการเมืองคืออะไร ใครฝ่ายไหนมีความชอบธรรมหรือไม่ชอบธรรมอย่างไร อะไรคือสาเหตุ การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ผิดหรือถูกอย่างไรตามที่แต่ละฝ่ายกล่าวอ้าง วิกฤตของประเทศจะมีทางออกอย่างไร หากปล่อยให้ความขัดแย้งเนิ่นนานล่าช้าออกไปจะเกิดผลกระทบด้านใดบ้าง

สถาบันองคมนตรี สถาบันกองทัพ กระบวนการยุติธรรม(ตำรวจ อัยการ ศาล) องค์กรตรวจสอบต่างๆ รัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง ฯลฯ ตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงและล่อแหลมต่อการพังทลาย เพราะเหตุแห่งการไม่ยอมรับของคนบางส่วน กระทั่งถูกเรียกขานว่า 2 มาตรฐานหรือไม่อย่างไร?

กรณียุบพรรค สั่งพักราชการเสธ.แดง การตรวจสอบกรณีที่ดินเขายายเที่ยง สนามกอล์ฟเขาสอยดาว การทวงถามฏีกาคนเสื้อแดง การพิพากษาคดียึดทรัยพ์ 7.6 หมื่นล้าน การปฏิบัติ 2 มาตรฐาน ความอยุติธรรมต่างๆ ฯลฯ

คนไทยหมู่เหล่าต่างๆ จากภาคเหนือ อีสาน กลาง ตะวันออก ตะวันตก ใต้ เข้าใจกรณีต่างๆ เหล่านี้อย่างไร จะเป็นชนวนนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นเกิดสงครามกลางเมืองหรือไม่ รับรองว่าคนไทยจำนวนมากจะพูดกันไปคนละเรื่องละราวและอธิบายไม่ถูกว่าเวลานี้เกิดอะไรขึ้น

หากวิทยุและโทรทัศน์เสนอข่าวอย่างรอบด้าน ให้โอกาสกับทุกฝ่าย นำเสนอความจริงในทุกมิติเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับประชาชน คำถามที่ว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร เมื่อไรจะจบเสียที ใครจะแพ้ใครจะชนะ พ.ต.ท.ทักษิณจะได้กลับเมืองไทยหรือไม่ ฯลฯ คงจะไม่ดังอื้ออึงเหมือนกำลังเกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นความจริงของเหตุการณ์ต่างๆ อย่างครบถ้วนนั่นเอง ได้ยินได้ฟังสื่อนำเสนอข่าวสัมภาษณ์คนโน้นคนนี้แบบหยาบๆ เล่นสำนวนโวหารตอบโต้กันไปมาทุกวันๆ เปรียบได้กับคนทะเลาะ ทุบตีทำร้าย เข่นฆ่ากัน ไม่มีอะไรเป็นโล้เป็นพาย
ผู้ชมผู้ฟังเห็นแต่ปรากฏการณ์เล็กๆ กระจัดกระจายไม่สามารถพยากรณ์แนวโน้มได้ว่ามีเงื่อนไขและปัจจัยที่จะนำไปสู่ข้อยุติหรือความรุนแรง

"เปรียบได้ก็เหมือนกับสังคมไทยเวลานี้ป่วยไข้อยู่ในขั้นโคมา แต่เนื้อหาที่ได้จากโทรทัศน์และวิทยุกระแสหลัก กลับไม่มีคำวินิจฉัยโรคว่ากำลังอยู่ในภาวะอันตราย ทำให้ผู้คนในสังคมตายใจและเอาแต่สรวลเสเฮฮาอย่างมีความสุข สนุกสนาน ทั้งๆ ที่ความจริง บ้านเมืองกำลังเดินไปสู่ห้วงเหวแห่งหายนะ"

เป็นความรับผิดชอบของใคร ถ้าไม่ใช่สื่อวิทยุและโทรทัศน์กระแสหลักที่ไม่ทำหน้าที่ของตนให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ในเมื่อสื่อวิทยุและโทรทัศน์ต่างเบี่ยงเบนไปจากการแสดงบทบาทหน้าที่ที่ควรจะเป็น ผู้คนเลือกอยู่ข้างสีเหลือง สีแดง ต่างพากันปฏิเสธการรับสื่อกระแสหลัก แล้วหันไปบริโภคข่าวสารจากโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมโดยลงทุนซื้อจานดาวเทียมมาติดที่บ้าน อ่านสิ่งพิมพ์และดูเว็บไซต์ของพวกตัวเอง ขณะเดียวกันก็โจมตีสื่อกระแสหลักและพาลไม่ฟังวิทยุและไม่เปิดดูโทรทัศน์ช่องต่างๆ

ข้อเรียกร้องของสมาคมนักข่าวฯ ที่มีต่อสื่อกระแสหลักตามที่เขียนไว้ในรายงานให้สื่อมีความเป็นมืออาชีพที่ค้นหาความจริงมาตีแผ่ ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ คงจะเป็นแค่ตัวอักษรบนกระดาษ เพราะดูเหมือนไม่มีสื่อกระแสหลักที่ไหนให้ความสนใจ!

(ที่มา มติชนรายวัน , 21 มกราคม 2553)