WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, February 8, 2010

เสวนา: เขายายเที่ยงถึงเขาสอยดาว สู่ วิวาทะปฏิรูปที่ดินอย่างไร (ทำไม?)

ที่มา ประชาไท

7 ก.พ.53 ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬา มีการจัดเสวนาเรื่องจากเขายายเที่ยงสู่เขาสอยดาว: เราจะปฏิรูปที่ดินอย่างไร โดยกลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้า
สุรพล สงฆ์รักษ์ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เริ่มต้นกล่าวถึงความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และกระบี่ ซึ่งเป็นความขัดแย้งระหว่างเกษตรกรและนายทุนทุนสวนปาล์มซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อนการเสียชีวิตของสมพร พัฒนภูมิ สมาชิกเครือข่าย ในเดือนเมษายน 2552 ก็มีเกษตรกรที่ไม่ใช่สมาชิกเครือข่ายถูกยิงเสียชีวิต 3 รายจากปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดินกับนายทุนเช่นกัน
เขากล่าวด้วยว่ารัฐมักใช้อำนาจจัดการกับชาวบ้านมากกว่าจะจัดการกับนายทุน โดยยกตัวอย่างที่จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 15 ต.ค.46 มีการสนธิกำลังระหว่างทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน อาสาสมัคร ตำรวจท้องที่จำนวนมากเพื่อผลักดันชาวบ้านนับพันคนออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาว่าบุกรุกที่ของนายทุนเป็นผลสำเร็จ แต่กับนายทุนไม่กี่คนที่ได้เอกสารสิทธิโดยมิชอบนั้นรัฐกลับไม่ยอมดำเนินการใดๆ สาเหตุสำคัญเนื่องจากส่วนปาล์มส่วนใหญ่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกระบี่ล้วนแต่เป็นของหัวคะแนน หรือเป็นนายทุนให้กับพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้งในภาคใต้มาอย่างยาวนาน ถึงกับมีตัวแทนเป็นถึงระดับรองนายกรัฐมนตรี นายทุนในจังหวัดสุราษฎร์และกระบี่จึงเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่คอยส่งเงินให้พรรคการเมืองใหญ่ที่คนส่วนใหญ่ก็รู้กันอยู่ว่าเป็นที่ซ่องสุมของอำมาตย์ทั้งหลาย
พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงหัวข้อการเสวนาว่า ก่อนจะถามว่าปฏิรูปที่ดินอย่างไร ต้องถามก่อนว่าปฏิรูปที่ดินเพื่ออะไร เพราะเรื่องนี้ฟังดูดีมีการพูดตามๆ กันเยอะโดยไม่ทำการบ้าน หากดูรายละเอียดในภาคปฏิบัติจะพบว่าประเทศไทยมีการปฏิรูปที่ดินมา 30 กว่าปีแล้วหลัง 14 ตุลา 16 เนื่องจากมีการตั้งสำนักงานปฏิรูปที่ดิน ออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน แต่เป็นการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม และมีบริบทแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เช่น ไต้หวัน หรือญี่ปุ่น ซึ่งในประเทศเหล่านั้นการปฏิรูปที่ดินเป็นไปเพื่อทำลายเจ้าที่ดินรายใหญ่ และอยู่บนพื้นภูมิหลังของการปฏิวัติสังคม ดำเนินการแบบทุนนิยมโดยรัฐบาลได้ออกพันธบัตรให้นายทุนเพื่อแลกเอาที่ดินมาแจกให้เกษตรกรรายย่อย ซึ่งเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดีก็ถือว่าอยู่ในแนวนี้
“แต่ในประเทศไทยการปฏิรูปที่ดินเกิดภายใต้อำนาจรัฐศักดินาและอำมาตย์ จึงไม่ได้ไปแตะต้องที่ดินของรายใหญ่ และเป็นไปเพื่อแก้ปัญหาการประกาศพื้นที่ป่าทับที่ชาวบ้านเป็นหลัก” พิชิตกล่าว
เขากล่าวด้วยว่าการมุ่งแก้ปัญหาเรื่องป่ากับคน ทำให้รัฐให้สิทธิ์เพียงบางส่วนแก่ชาวบ้านในรูปเอกสารสิทธิ์ที่ไม่ใช่โฉนด ซื้อขายไม่ได้ เพราะต้องการให้เกษตรกรมีที่ดินสำหรับทำการเกษตรต่อไปสืบทอดถึงรุ่นลูกหลาน ไม่ต้องการให้นำไปขายให้นายทุนหรือทำอย่างอื่น ทั้งเชื่อว่าจะเป็นการรักษาป่าไม่ให้มีการบุกรุกเพิ่ม ซึ่ง 30 กว่าปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ชาวบ้านก็ยังซื้อขายสิทธิกันได้ แนวทางเช่นนี้จึงนับเป็นการจำกัดให้เกษตรกรให้ต้องทำการเกษตรอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งที่ปัจจุบันสภาพประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรมขนาดกลางไปแล้ว ดูจากแม้ประชากร 40% จะอยู่ในภาคการเกษตร แต่ก็มีรายได้คิดเป็น 11% ของจีดีพีเท่านั้น
“เอ็นจีโอบางส่วนที่เสนอเรื่องโฉนดชุมชนก็คิดอยู่บนฐานเดียวกับรัฐนั่นเอง คือ ไม่ให้สิทธิขาดแก่ปัจเจกชนเพราะไม่ไว้ใจเกษตรกรรายย่อยว่าเขาจะบริหารจัดการได้อย่างที่ผู้ให้อยากให้ ชาวบ้านจริงๆ ไม่อยากได้โฉนดชุมชน เป็นความคิดของเอ็นจีโอ นักสังคมนิยม และปราชญ์ชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ทุกคนอยากได้โฉนดเป็นชื่อของตัวเองทั้งนั้น กล้าท้าให้ไปถามเลย ต่อให้ในหมู่บ้านเห็นพ้องต้องกันจะใช้โฉนดชุมชนก็ไม่ได้รับประกันว่าเขาจะคิดเหมือนเดิมในอนาคต นี่เป็นเรื่องแนวคิดที่ไม่เอาระบบตลาด มีลักษณะเป็นสังคมนิยมชาวนา ผมจึงไม่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าเขาเต็มใจไม่มีปัญหา แต่ถ้าเขาไม่เห็นด้วยอย่าบังคับ แล้วตราหน้าว่าเสพติดทุนนิยม” พิชิตกล่าว
“การให้กรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ชาวบ้านอย่างเด็ดขาด เป็นความมั่นคงของชาวบ้าน กรรมสิทธิ์เด็ดขาดเป็นอำนาจเพียงอย่างเดียว เป็นอาวุธเพียงอย่างเดียวที่ปัจเจกเอาไว้ต่อต้านอำนาจของรัฐ เป็นสิ่งที่รัฐไม่ชอบเพราะรัฐละเมิดไม่ได้ จะเอาคืนต้องเวนคืนอย่างเป็นธรรม ในยุโรป การปฏิวัติชนชั้นนายทุน การปฏิวัติประชาธิปไตยคือการยืนยันในสิทธิของปัจเจกที่รัฐไม่อาจละเมิดได้ ระบบการเมืองใดถ้าไม่เคารพกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน สุดท้ายล้วนแต่ละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ทั้งนั้น ถ้าเขาได้สิทธิเต็มที่ประโยชน์ที่เขาได้ก็จะเต็มที่ด้วย ตามการตัดสินของเขา” พิชิตกล่าว
สุรพล กล่าวว่า ที่ผ่านมาสังคมอาจตั้งคำถามเชิงวิพากษ์วิจารณ์กระทั่งไม่ให้ความเชื่อมั่นต่อภาคเกษตร คิดว่าหากปฏิรูปที่ดินให้แล้วคนเหล่านี้จะนำไปขาย ทำให้ต้องพยายามหาทางออกว่าทำอย่างไรให้สังคมเชื่อมั่น ดังนั้นเมื่อไม่เชื่อในการถือครองปัจเจกก็คิดถึงแนวทางการถือครองร่วมกัน บริหารจัดการในเรื่องสำคัญร่วมกัน แต่ก็ยังมีเสรีภาพที่จะปลูกสร้าง ทำสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ แม้อาจารย์พิชิตนำเสนอมุมมองเรื่องกรรมสิทธิ์ของปัจเจกได้อย่างน่าสนใจ แต่ในด้านกลับกัน เราก็เผชิญปัญหาความรุนแรงในพื้นที่เพราะระบบกรรมสิทธิ์เด็ดขาดนี้เองโดยเป็นการต่อรองกับนายทุนโดยตรง เนื่องจากชาวบ้านไปตรวจสอบพบว่ามี นส.3 ก. ที่ออกโดยมิชอบ ดีเอสไอไปตรวจสอบที่สุราษฎร์ 20 แปลง ที่อำเภอพระแสง กับ ไชยบุรี หลักการร้องเรียนรัฐบาลขอเวลาในการเพิกถอน 60 วัน แต่ประสบการณ์จากเพื่อนภาคเหนือพบว่าใช้เวลา 3 ปี หากจังหวัดสุราษฎร์ใช้เวลานานขนาดนั้นก็ไม่รู้จะต้องถูกยิงตายอีกกี่ศพ นอกจากนี้ยังมีกรณีที่สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ถูกฟ้องร้องจากนายทุนรวมแล้ว้ 15 ล้านเศษ กระบวนการทางศาลก็ยุ่งยาก ชาวบ้านที่ผถูกกล่าวหาต้องไปแก้ต่างแม้ขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความก็ยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะที่ต้องออกเองอีกนับแสนบาท เรียกได้ว่ากระบวนการยุติธรรมก็กดขี่ขูดรีดคนจนไม่น้อยกว่าระบบเศรษฐกิจ ไม่นับปัญหาว่าหน่วยราชการในพื้นที่ล้วนตกอยู่ภายในอิทธิพลของนักการเมืองใหญ่ด้วย
พิชิตแสดงความเห็นต่อข้อสังเกตของสุรพลว่า แม้จะเกิดปัญหาขึ้นจริงในพื้นที่แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าระบบกรรมสิทธิ์ของปัจเจกชนล้มเหลว เนื่องจากกฎหมายมีชัดเจนอยู่แล้ว แต่เป็นเรื่องมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีเหตุมาจากเส้นสายของนักการเมืองที่เป็นสมุนอำมาตย์
พิชิตกล่าวในตอนท้ายว่า ปัญหาที่ดินต้องแบ่ง 2 ส่วน คือ ประชาชนที่เข้าอยู่ในพื้นที่ป่า เป็นความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐน่าจะแก้ด้วยการแจกที่ดินให้สิทธิเด็ดขาดไปเลย หรือบางกรณีที่ไม่สามารถให้ได้ จะย้ายออกก็ต้องดำเนินการถูกต้องมีมนุษยธรรม จ่ายค่าชดเชยหรือหาที่ใหม่ให้ ซึ่งประเด็นใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เรื่องที่ดินเพียงอย่างเดียวอย่างที่ผู้เข้าร่วมท่านอื่นแสดงคิดเห็นไว้ แต่หัวใจสำคัญคือทำให้ภาคเกษตรถูกกดขี่น้อยที่สุด หรือสามารถดำเนินธุรกิจไปได้เช่นเดียวกับสาขาการผลิตอื่นๆ ปัจจุบันนี้ภาคเกษตรไทยล้าหลังมาก ผลผลิตต่ำที่สุดในเอเชีย แต่ต้นทุนสูงมากเพราะโครงสร้างการผลิตผูกขาดอย่างมาก เช่น ปุ๋ยก็เป็นตลาดผูกขาดโดยกลุ่มทุนใหญ่ซึ่งไม่ใช่ซีพีด้วยซ้ำไป ดังนั้น ต้องทำให้อาชีพเกษตรเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล อีกส่วนหนึ่งคือส่วนที่ดินของศักดินาและอำมาตย์ ซึ่งภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันคงแตะต้องไม่ได้ แต่หลังจากฝ่ายประชาธิปไตยได้รับชัยชนะก็คงต้องตัดสินใจอีกทีว่าจะจัดการอย่างไร
“การออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินที่ปรีดีเคยทำก็อาจไม่ใช่การแก้ปัญหา เพราะมันถือครองแทนกันได้ ถ้าเก็บภาษีจากที่ดินว่างเปล่า ก็หลบเลี่ยงได้อีก ถ้าลองดูประสบการณ์จากต่าประเทศ ในอเมริกา ยุโรป เศรษฐีไม่ค่อยมีที่ดินเยอะ ทิ้งรกร้าง เพราะภาษีที่ดินมันแพง เขาเก็บเป็นหุ้น เป็นพันธบัตรดีกว่า หนทางหนึ่งที่มีคนเสนอก็คือ การเก็บภาษีที่ดินทั้งหลาย แต่การทำอย่างนั้นได้ก็ต้องแก้ที่การเมืองอยู่ดี” พิชิตกล่าว
ตัวแทนจากกลุ่มกรรมกรแดงเพื่อประชาธิปไตยกล่าวว่า การจะปฏิรูปที่ดินได้ต้องปฏิรูปสังคมด้วย ต้องปรับเปลี่ยนโครงงสร้างทางสังคมใหม่ หากโครงสร้างเป็นรัฐสวัสดิการ คนจนก็จะไม่เดือดร้อน ไม่ต้องขายที่ดิน เพราะรัฐจะดูแลความต้องการพื้นฐานทุกอย่างของประชาชน ดังนั้น หากเราผลักดันรัฐสวัสดิการไม่ได้ ปฏิรูปที่ดินกี่สิบครั้งก็ไม่สำเร็จ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงก็ดูเข้ากันไม่ได้กับคนจน เพราะคนที่มีที่ดินเยอะที่สุดก็ไม่เคยคิดเสียสละแบ่งปันที่ดินให้กับคนจน
พัชนีย์ คำหนัก จากกลุ่มเลี้ยวซ้าย กล่าวว่า ในการผลักดันรัฐสวัสดิการนั้นเพียงแค่แก้หรือเพิ่มเติมกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายประกันสังคม กฎหมายแรงงาน ยังไม่เพียงพอ เพราะผู้คุมอำนาจรัฐยังเป็นคนกลุ่มเดิม สิ่งที่ต้องสู้ตอนนี้ต้องเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจรัฐ เพราะปัญหาที่ดินมาจากเศรษฐกิจทุนนิยม เสรีนิยม กลไกตลาด ที่ไปทำลายความมั่นคงในชีวิตของชาวนา เวลาทำการเพาะปลูกเกษตรกรายเล็กทำงานหนักมาก สร้างความมั่นคงทางอาหารให้สังคมซึ่งเป็นจุหมายสูงสุดของการปฏิรูปที่ดิน แต่รัฐก็ไม่เคยอนุญาตให้คนเหล่านี้มีปัจจัยการผลิตที่จะไม่ต้องทำงานที่เหน็ดเหนื่อยจนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นรัฐแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือรัฐทุนนิยม เกษตรกรรายย่อยไม่ต่างจากแรงงาน ต้องสำนึกในชนชั้นของตนเองและต้องรวมตัวกันเพื่อต่อรองกับเกษตรรายใหญ่และรัฐให้สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่เพียงพอ
ปรีชา จันทร์ภักดี ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ กล่าวว่า สิ่งที่สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ทำอยู่นี้ เป็นการสร้างฐานที่มั่นอีกวิธีหนึ่งเท่านั้นในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม สุดท้ายหากกระจายการถือครองที่ดินได้ ไม่ว่าในรูปปัจเจกหรือชุมชนก็ตาม เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโดยรวมย่อมลื่นไหลไปได้ดีกว่า ดังนั้น ต้องร่วมกันทำให้ชาวบ้านมีฐานหรือพลังการผลิตที่เป็นประชาธิปไตยกว่านี้ มีทางเดิน มีโอกาสในการสร้างพลังการผลิตใหม่ๆ