WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, February 11, 2010

สนทนาธรรมกับหลวงตา (ว่าด้วย “ธรรมาธิปไตย” ของ “เปรม”)

ที่มา ประชาไท


สถานการณ์สมมติ : ณ วัดป่าบ้านแดง ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 7 ก.พ.53 ที่ผ่านมา หลังจากพระฉันเช้าเสร็จ มีการสนทนาธรรมว่าด้วยเรื่อง “ธรรมาธิปไตย”

มรรคทายก : เมื่อเช้าผมเห็นมติชนลงข้อความที่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ไปกล่าวเปิดการสัมมนาอะไรสักอย่างที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สาระสำคัญพอจะสรุปได้ว่า “เราต้องสร้างสังคมธรรมาธิปไตย และในสถานการณ์เช่นทุกวันนี้ทหารต้องมีความเป็นผู้นำมากกว่าคนอื่นๆ” หลวงตา มีความเห็นอย่างไรครับกับเรื่องนี้
หลวงตา : อาตมาก็ไม่รู้ว่าคนพูดเขามีเจตนาอะไร แต่เรื่องธรรมาธิปไตยนี่ เป็นหลักธรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ดีแล้ว และทุกคนควรนำมาปฏิบัติ
มรรคทายก : หลวงตาครับ เป็นไปได้ไหมว่า เขาถูกโจมตีเรื่องเป็นผู้นำของอำมาตยาธิปไตยมากในระยะสองสามปีมานี้ ก็เลยคิดจะเสนอเรื่องการสร้าง “สังคมธรรมาธิปไตย” ขึ้นมากลบเกลื่อน?
หลวงตา : อาตมาไม่อยากออกความเห็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับการเมือง แต่...เอาอย่างนี้แล้วกันนะ อาตมาจะพูดใน “มาตรฐานเดียว” กับคนที่โยมอ้างถึงก็แล้วกัน เราก็รู้อยู่แล้วว่า ทุกครั้งที่คนคนนี้เขาอยู่ต่อหน้าสื่อมวลชนเขาก็จะพูดอยู่เสมอว่า “ผมไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ผมไม่อยากออกความเห็นเรื่องการเมือง” แต่คำพูดของเขาก็มี “นัยยะ” ทางการเมือง และเป็นการ “ส่งสัญญาณ” บางอย่างทางการเมืองทุกทีเลย ฉะนั้น เรื่องทางการเมืองนี่อาตมาก็น่าจะพูดได้ในมาตรฐานเดียวกับ “เสาหลัก” ทางจริยธรรมของบ้านเมืองในยุคนี้นะ
มรรคทายก : สังคมธรรมาธิปไตยนี่ ทหารต้องมีความเป็นผู้นำมากกว่าคนอื่นๆด้วยครือครับ?
หลวงตา : “ธรรมาธิปไตย” ที่พระพุทธเจ้าสอนนี่ไม่ใช่ “ระบอบการปกครอง” แต่หมายถึง “การยึดถือความถูกต้องเป็นใหญ่” คือในสังคมที่มีคนอยู่ร่วมกันตั้งแต่กลุ่มเล็กๆไปถึงระดับประเทศ หรือระดับโลกก็แล้วแต่ คนในสังคมต้องยึดถือ ความถูกต้องในการอยู่ร่วมกัน
มรรคนายก : แล้วอะไรคือ “ความถูกต้อง” ครับหลวงตา?
หลวงตา : คือ...พุทธศาสนามองว่า “รัฐ” มีหน้าที่สร้างและปกป้องสิ่งที่ดีแก่สมาชิกทางสังคมการเมือง สิ่งที่ดีอาจแยกเป็น 2 อย่างหลักๆคือ “สิ่งที่ดีทางวัตถุ” กับ “สิ่งที่ดีทางศีลธรรม” ในทางวัตถุรัฐต้องกระจายสิทธิประโยชน์ต่างๆทางทรัพย์สิน การศึกษา การมีงานทำ หรือการมีสัมมาชีพแก่สมาชิกของสังคมอย่างยุติธรรม ทีนี้ “ความยุติธรรมแบบไหน?” อาตมาเห็นว่า ความยุติธรรมตามความคิดของพุทธศาสนา น่าจะสอดคล้องกับความยุติธรรมตามทรรศนะของ จอห์น รอลส์ นะ คือความยุติธรรมของรอลส์เขายึดหลักเสรีภาพ และความเสมอภาคเป็นหัวใจสำคัญ ในขณะเดียวกันเขาก็ยอมให้มีหลักประกันสิทธิประโยชน์ หรือสวัสดิการต่างๆที่พึงมีพึงได้สำหรับคนชั้นล่าง คนยากจน หรือคนที่ประสบปัญหาต่างๆเช่น ภัยธรรมชาติ การระบาดของโรคร้าย ฯลฯ ด้วย ส่วนสิ่งที่ดีทางศีลธรรมนั้น รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมศีลธรรม เริ่มตั้งแต่ผู้นำต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม คนในสังคมทุกระดับก็ต้องมีศีลธรรม พุทธศาสนามองว่า “คนดี” กับ “ระบบที่ดี” ต้องไปด้วยกัน คนเลวหรือคนชั้นนำที่เลวจะสร้างระบบที่ดีได้อย่างไร? ฉะนั้น “ความถูกต้อง” ก็คือการที่มีรัฐซึ่งมีอุดมคติที่ถูกต้อง ผู้นำทุกระดับ และประชาชนโดยรวมต้องยึดหลักความยุติธรรมในการอยู่ร่วมกัน และมีศีลธรรมตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
มรรคทายก : แล้วสังคมธรรมาธิปไตยที่ทหารต้องมีความเป็นผู้นำมากกว่าคนอื่นนี่ เป็นธรรมาธิปไตยแบบพุทธหรือเปล่าครับ?
หลวงตา : โยมนี่จะชักศึกเข้าวัดอยู่เรื่อย! แต่เอาเถอะ อาตมาไม่คิดว่าทหาร ไม่ว่าจะเป็นทหารแก่ไม่เคยตาย ทหารหนุ่มหน้าใสในห้องแอร์ หรือทหารนักรบหน้าแดงกล่ำอะไรนั่น เขาจะทำตัวเป็น “ข้าศึก” ของประชาชน โดยการทำตัวเป็น “ข้าศึก” ของประชาธิปไตยทั้งโดยตั้งใจหรือไร้เดียงสาได้ตลอดไป อาตมาจึงขอฟันธงว่าสิ่งที่เขาพูดมันผิดหลักธรรมาธิปไตยนะ
มรรคนายก : ผิดยังไงครับหลวงตา?!
หลวงตา : มันมีแต่โคตรอำมาตย์!...โทษทีอาตมาน็อตหลุด! คือมีแต่วิธีคิดแบบเผด็จการ/อำมาตยาธิปไตยเท่านั้นที่ “เชิดชูทหาร” ให้เป็นผู้นำเหนือคนอื่นๆ มันไม่ใช่ธรรมาธิปไตยตามมุมมองของพุทธศาสนาที่อาตมาว่ามาหรอก และก็ไม่ใช่ “ความถูกต้อง” ตามระบอบประชาธิปไตยด้วยนะ อาตมาละเซ็งจริงๆ กับพวกที่ชอบอ้างคำสอนของพุทธศาสนาเพื่อ “สร้างภาพ” ให้ตัวเองดูดี แต่ “เนื้อหา” มันไม่ใช่!
(เสียงแทรก) : ผมเคยเป็นทหารเกณฑ์มาก่อน หลังสิ้นสุดการผ่อนผันตอนจบปริญญาตรีใหม่ๆ ผมว่าบทบาททหารไทยมัน “ย้อนแย้งตัวเอง” นะ คือ ขณะที่กำลังพลชั้นผู้น้อยมีหนี้สินท่วมหัว เขากลับให้ทหารเหล่านี้ไปสอนเศรษฐกิจพอเพียงแก่ชาวบ้าน ขณะที่วัฒนธรรมของทหารเป็นเผด็จการ เขากลับให้พวกนี้ไปเกณฑ์ชาวบ้านมาอบรมประชาธิปไตย แทนที่รัฐบาลจะเอา “งบประมาณ” ไปให้ท้องถิ่นเขาทำเรื่องพวกนี้กันเอง แต่กลับเอาให้ทหารไปทำ แล้วก็ทำกันแบบนี้มาหลายสิบปี ประชาธิปไตยบ้านเรามันจึงอยู่ในอุ้งตีนของอำมาตย์มาตลอด!
มรรคทายก : ใจเย็นๆครับ ตอนนี้เรากำลังสนทนากันใน “อารามอันร่มรื่น” ผมอยากถามหลวงตาต่อว่า ทหารกับประชาธิปไตยนี่ มันไปด้วยกันไม่ได้หรือครับ?
หลวงตา : พระพุทธเจ้าสอนว่าคำ ถามแบบนี้ต้องตอบแบบ “วิภัชชวาท” หรือให้แยกแยะแจกแจง ถ้าทหารเป็น “ทหารของประชาชน” ไม่ออกมาปราบปรามประชาชนผู้รักประชาธิปไตย อยู่ในกรมกอง ทำหน้าที่ของตัวเองจริงๆ คือปกป้องประเทศจากการรุกรานของข้าศึกภายนอก อย่างนี้ก็ไปกันได้กับระบอบประชาธิปไตย แต่ถ้าทหารจะต้องมาแสดงบทบาทผู้นำเหนือคนอื่นๆ เช่น อยู่เหนือ หรือคอยกำกับชี้นำรัฐบาลที่ประชาชนเลือกมา เข้ามาแทรกแซงทางการเมือง แทรกแซงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง เข้ามาเป็นบอรด์ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่างๆเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ปากว่าไม่ยุ่งกับการเมืองแต่ให้สัมภาษณ์เรื่องการเมืองผ่านสื่ออยู่เรื่อยๆ หรือประเภทที่อ้างสถาบันกษัตริย์ อ้างธรรมาธิปไตยเพื่อรัฐประหาร อย่างนี้มันคือบ่อยทำลายประชาธิปไตย!
(เสียงแทรก) : หลวงตาคิดว่าปีนี้มีโอกาสจะเกิดรัฐประหารอีกหรือเปล่าครับ?
หลวงตา : น่าจะไปถาม “เกจิ” อย่าง นิธิ เอียวศรีวงศ์ โน่น! เห็นเขาเขียนลงมติชนว่า “เขาเชื่อเกิน 50% ว่ารัฐประหารอาจเกิดขึ้นในปีนี้” แต่ถ้าจะถามว่า เราจะต้านรัฐประหารกันอย่างไร? ก็ขอแนะนำให้ไปถามโยมสมศักดิ์เขา แต่เอ...วันนี้แปลกนะ ไม่เห็นเขามาส่ง “เสียงแทรก” เลย อาตมาคิดถึงว่ะ!
(เสียงแทรก) : ผมขอเรียกร้อง ทั้งที่รู้ว่ามันจะไม่สำเร็จ แต่ก็ขอเรียกร้องให้สื่อ นักวิชาการ ปัญญาชน อธิการบดีของทุกมหาวิทยาลัยที่เคยไปกราบตีนรายงานตัวกับ คมช.คราวที่แล้ว โดยเฉพาะอธิการบดีมหาวิทยาลัยของผมเอง รวมทั้งพวก “สองไม่เอา” ด้วยนะ ออกมาขอโทษประชาชนที่พากัน “กินขี้” รัฐประหาร แล้วจงประกาศต่อสาธารณะว่า จะร่วมต้านรัฐประหารกับคนเสื้อแดง ไม่ต้องกลัวจะตกเป็นแนวร่วมสนับสนุนทักษิณ อย่างี่เง่าขนาดนั้น การต้าน “รัฐประหารเพื่อรักษาอำนาจเผด็จการของศักดินา-อำมาตย์” มันคือความชอบธรรมอย่างไม่มีเงื่อนไข ว่าแต่พวกที่เคยชินกับการ “กินขี้” อย่างพวกคุณจะกล้าหาญพอหรือเปล่า?!
หลวงตา : เอ้า...นึกว่าโยมจะไม่มา แต่อาตมามีงานเข้า เอ๊ยมีกิจนิมนต์น่ะ ต้องไปก่อนละ เอวัง...ก็มีด้วยประการฉะนี้!