WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 26, 2010

สมศักดิ์ เจียมฯ:ความอับจนของคนเสื้อแดง

ที่มา Thai E-News



"คลื่น" การเคลื่อนไหว 3 "ระลอก" ของ "เสื้อแดง" ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการอภิปรายถกเถียง ในแง่ทิศทาง จังหวะก้าว ความผิดพลาด ฯลฯ พิสูจน์ให้เห็นอย่างแน่นอนว่า นี่ไมใช่การมี "สุขภาพดี" ของขบวนการทางการเมือง และขบวนการนี้ ขึ้นต่อการตัดสินใจ และกำหนดของกลุ่มคนเล็กน้อยเพียงหยิบมือเดียว


โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ที่มา
กระดานสนทนาคนเหมือนกัน

[1] ระลอกที่ 1

22 กรกฎาคม 2550 นี่คือช่วง "ก่อนประวัติศาสตร์" (pre-history)ของขบวนการเสื้อแดง การก่อรูปขึ้นจากการยุบพรรคไทยรักไทย การเข้าแทนที่ (take-over) การเคลื่อนไหวต้านรัฐประหารของกลุ่มย่อยอื่นๆที่ดำเนินไปก่อนหน้านั้น (โดยเฉพาะของ "คนวันเสาร์", รองลงมาคือ "เครือข่าย 19 กันยา" และ "พลเมืองภิวัฒน์" ก่อนหน้านั้น "พีทีวี" จัดชุมนุม 2-3 ครั้ง แต่ประเด็นไม่แหลมคมอะไร เช่น ไม่ยอมชูประเด็น เปรม เลย เป็นต้น) แต่แล้ว ไม่ถึง 2 เดือนดี (ต้นมิถุนายน ถึง 22 กรกฎาคม) ก็ "ลงเอย" ด้วยการไปปะทะหน้าบ้านเปรม (ซึ่งความจริง หลีกเลี่ยงได้) และที่ irony คือ ขณะที่กลุ่มย่อยก่อนหน้านี้ เคลื่อนไหวมา ครึ่งปีกว่า ไม่เคยถึงขั้นปะทะ กลุ่ม พีทีวี เคลื่อนไหวเพียงเดือนเศษ ก็ลงเอยที่ปะทะ

ผลคือ เกิดการชะงักชั่วคราว และ "ถอย" ลงชั่วคราวระดับหนึ่ง แกนนำถูกจับครั้งแรก และการชุมนุมยุติไปพอดีมีการเคลื่อนไหวเรื่องรับรองรัฐธรรมนูญ ก็เลยกลายเป็นการรณรงค์ในเรื่องนั้นแทน

การลงมติรัฐธรรมนูญแพ้ แต่พอดีเลือกตั้งชนะ ขบวนการเคลื่อนไหวมวลชนจึงหายไป (มีออกมาในรูปรายการทีวี "ความจริงวันนี้" แทนบางส่วน)



[2] ระลอกที่ 2

เมษายน 2552 การเคลือนไหวครั้งใหญ่ครั้งแรกของ "เสื้อแดง" โดยตรง (เกิด ตุลาคม 2551 ในท่ามกลางกระแสชุมนุมพันธมิตร และกรณี "น้องโบว์") ชุมนุมใหญ่สิ้นปี 2551 และเริ่มรณรงค์ มีนาคม 2552 ตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ ทักษิณ ประกาศเปิดโปง เปรม (และ ปีย์ ฯลฯ) โดยตรง เป็นครั้งแรก "เสียงตบมือกึกก้อง" ให้กับการปราศรัยของจักรภพ, ก่อแก้ว

แต่ลงเอย ที่ สงกรานต์ 2552 ที่แกนนำถูกจับอีก และการชุมนุมถูกสลายไปพร้อมการตกเป็นฝ่ายรับทางการเมืองจากกรณีพัทยา มหาดไทย ยึดรถเมล์ รถน้ำมัน ในกรุงเทพ ฯลฯ

เดือนมิถุนาย-สิงหาคม 2552 มีการปรากฏตัวรณรงค์ใหม่อีก แต่คราวนี้ กลายเป็นเรื่อง "ล่ารายชื่อภวายฎีกา" ซึ่งเปรียบเทียบกับสิ่งที่ทำในช่วง ตุลาคม, ธันวาคม และ มีนาคม-เมษายน แล้ว ถือเป็นการ "ก้าวถอยหลัง" อย่างเห็นได้ชัด


[3] ระลอกที่ 3

มีนาคม - พฤษภาคม 2553

คราวนี้ ลงเอย ด้วยการถูกปราบหนักหน่วง และเสียหายทางการเมือง หนักหน่วง ยิ่งกว่า ระลอกที่ 2 หลายเท่า (ไม่ต้องพูดถึงเรื่องคนตาย ที่ผมยืนยันวา คือการพ่ายแพ้ที่สำคัญที่สุด) เครือข่าย กลไกต่างๆ ที่สะสมขึ้นมาในระยะ 2 ปีเศษ ถูกทำลายเกือบหมด (ทีวี, วิทยุชุมชน, นิตยสาร ฯลฯ) ขณะนี้ ยังบอกได้ยากว่า จะสามารถฟื้นตัวขึ้นได้หรือไม่


การเคลื่อนไหวทีแต่ละระลอก ลงเอยด้วยการแพ้ ด้วยการตกเป็นฝ่ายรับและด้วยความเสียหาย (ที่มากขึ้นกว่าครั้งก่อน) เช่นนี้ ถ้าเป็นขบวนการทางการเมือง ที่เคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ในประเทศอื่น (หรือในประเทศในอดีต) คงตามมาด้วยการอภิปราย ถกเถียง อย่างกว้างขวาง ถึงประเด็นทิศทาง จังหวะก้าว ความผิดพลาด ฯลฯ แล้ว

แต่ปรากฏว่า ไม่มีเลย

บรรดากองเชียร์เสื้อแดง มักจะภูมิใจว่า ขบวนการของตนเป็นขบวนการ"ประชาธิปไตย" เรียกว่าเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองในลักษณะ "โครงสร้าง" หรือในลักษณะ "ระบอบ" เลยทีเดียว (โค่น "ระบอบอำมาตย์" เป็นต้น)

แต่มีขบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมลักษณะนี้ ในประเทศไหนหรือ ที่ช่าง อับจน ยากไร้ ในแง่ของการถกเถียงกันภายใน (internal debate) เกี่ยวกับเรื่องทิศทาง จังหวะก้าว ยุทธวิธี ความผิดพลาด ฯลฯ อย่างขบวนการเสื้อแดง ในระยะ 3 ปีที่ผานมา? ทั้งๆที่เห็นได้ชัดว่า การเคลื่อนไหวแต่ละระลอก ล้วนลงเอยที่การล้มในเวลา หรือ ถอยหลัง ในเวลาส้ันๆ หลังการเคลื่อนไหวเสมอ

เอาตัวอย่างง่ายๆ อย่างกรณี ยื่นฎีกา เห็นได้ชัดว่า เป็นอะไรบางอย่างที่ "เป็นปัญหา" แน่ (problematic) แต่มีการอภิปราย ถกเถียงหรือ? โดยเฉพาะในแง่ของภาพรวม ต่อการต้องการเปลี่ยนแปลงเป็นระบอบประชาธิปไตย

เอาเข้าจริงแล้ว การกำหนดกรณีอย่าง ถวายฎีกา หรือแม้แต่ กรณีเรื่อง "ยุบสภา" ครั้งล่าสุด (ไม่ต้องพูดถึงในเชิงยุทธวิธี ที่มุ่ง "ชน" การยึดราชประสงค์ การไม่ยอมลง ไม่ยอมเจรจา เป็นต้น) เป็นผลมาจากการระดม กลั่นกรอง ขึ้นมาจาก การถกเถียงภายในของขบวนการ ของมวลชน และคนสนับสนุนทั้งหลาย ฯลฯ หรือมาจากการกำหนด ของคนไม่กี่คน พูดง่ายๆคือ ของคนไม่กี่คนบรรดาที่ใกล้ชิดกับทักษิณ?

บรรดากองเชียร์เสื้่อแดง มักจะไม่พอใจ เมื่อถูกพวกผู้จัดการ พวก "อำมาตย์" โจมตีว่า เป็น "ขบวนการเพื่อทักษิณ" โดยพยายามโต้แย้งว่า มวลชน หรือ เสื้อแดง ได้ "ก้าวข้าม" "ก้าวพ้น" ทักษิณ ไปแล้ว (แม้แต่ทักษิณเอง ก็ออกมาพูดเช่นนี้) หลังๆ บรรดานักวิชาการที่หันมาเชียร์เสื้อแดงกันมากขึ้นก็พยายามอธิบายทำนองเดียวกัน ด้วยการยกเรื่อง "ความเปลี่ยนแปลงในชนบทไทย" ฯลฯ มาสนับสนุน

แต่ถามจริงๆว่า มีขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมือง- สังคม ที่ไหน ที่มีลักษณะอับจน ในแง่ของชีวิตทางภูมิปัญญาภายใน (internal intellectual life) ในแง่ของการขาดแคลนการดีเบต ในเรื่องทิศทาง จังหวะก้าว ความผิดพลาด อย่างเด่นชัดมากๆ อย่างที่เสิ้อแดงเป็นอยู่ในระยะ 2-3 ปีมานี้? มีขบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการเมือง- สังคม ที่อ้างเป้าหมายใหญ่โต (โค่น "ระบอบอำมาตย์") ขนาดนี้ แต่ยังขึ้นต่อ การตัดสินใจ ในแง่ทิศทาง ประเด็น จังหวะก้าว ของคนเพียงไม่กี่คน หรือกระทั่ง ผูกติดอยู่กับ คนๆเดียว (ทักษิณ) ในระดับที่มากขนาดนี้?

ทั้งหมดนี้ ไม่ได้แสดงให้เห็นลักษณะ "การมีสุขภาพดี" (healthy) ของขบวนการ แต่อย่างใด

การพ่ายแพ้ครั้งหลังสุดนี้ เป็นการพ่ายแพ้ที่รุนแรง และเสียหายอย่างมาก(เฉพาะเรื่องชีวิตคนเรื่องเดียวก็ประเมินค่าไม่ได้) โดยไม่เพียงแต่ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้น (วันยุบสภาตามที่เรียกร้อง) แต่ยังเสียหายในแง่กลไกต่างๆดังที่กล่าวข้างต้น อีกมหาศาล (ทีวี วิทยุ สิ่งพิมพ์)

ถ้าพ่ายแพ้ และเสียหายถึงขั้นนี้ แล้วยังไม่สามารถ "ก่อให้เกิด" (generate) การอภิปราย แสวงหา สรุป ในแง่ความผิดพลาด ในแง่แนวทาง ทิศทาง ไปถึงในแง่บุคคลากรอีก (คือยังคง อับจนในเรื่องเหล่านี้อีก เช่นที่ผ่านๆ
มา)