WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 22, 2010

"ผู้นำ"ปฏิรูปกับวิกฤตศรัทธา

ที่มา ข่าวสด


รายงานพิเศษ




1.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี
2.ดิเรก ถึงฝั่ง
3.นพพร ลีปรีชานนท์
4.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
คณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยที่รัฐบาลตั้งขึ้น ภายใต้การขับเคลื่อนของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกฯ และน.พ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส มีทั้งเสียงตอบรับและคัดค้าน

แม้ทั้งสองจะยืนยันทำงานโดยอิสระ ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองหรือรัฐบาล

การเดินหน้าปฏิรูปจะสำเร็จหรือไม่นั้น หลายฝ่ายสะท้อนไว้น่าสนใจ ดังนี้



ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี

รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

หากพูดถึงแนวทางการปฏิรูปแบบน.พ.ประเวศ และนายอานันท์ ที่มีความคิดต่อเนื่อง มีการทำงานมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตประเทศ

แต่ปัญหาคือการปฏิรูปประเทศจะแก้ปัญหาความขัดแย้งกับเสื้อแดงได้หรือไม่ อาจไม่ใช่ตัวเดียวกัน อาจมีเงื่อนไขการต่อสู้ทางการเมืองอื่นๆ โดยนายอานันท์ และ น.พ.ประเวศ เองถูกมองว่าเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง จะทำให้ปัญหายิ่งแก้ไม่ตก

ปกติแนวคิดการปฏิรูปประเทศดีอยู่แล้ว แต่ควรมองด้วยว่าจะทำอย่างไรถึงจะผสมผสานฝ่ายเสื้อแดงให้รับได้ ให้เป็นส่วนหนึ่ง จึงมีโจทย์นี้เพิ่มเข้ามาให้คิดมากกว่าการปฏิรูปประเทศอย่างที่ทำกันอยู่

ช่วงแรกการประสานความร่วมมือจากอีกฝ่ายอาจหนักมาก ต้องล้างคราบล้างสีให้ได้ แต่ถ้าไม่แคร์ ปฏิรูปไปเลยก็ทำได้ แต่ปัญหาการเมืองก็ยังจะมีความขัดแย้งอยู่ จะต้องแก้การเมืองที่ขัดแย้งด้วย มิฉะนั้น ปัญหาจะยังคงมีอยู่

การผสมผสานที่ผมบอก อาจคิดถึงปัญญาชน นักคิด นักเขียนในฝ่ายที่สนับสนุนแนวคิดการเปลี่ยนแปลงแบบเสื้อแดงมาร่วมด้วย หาตัวบุคคลที่คนเสื้อแดงรับได้มาผสม อาจลดเงื่อนไขลงไปได้

เท่าที่เห็นตัวบุคคลเครือข่ายการทำงานปฏิรูปประเทศ ส่วนใหญ่มีแนวคิดเดียวกับรัฐบาลหรือเสื้อเหลืองมาก่อน นี่คือปัญหา ซึ่งพอเราเห็นตัวคน องค์กรภาคประชาชน ภาคสังคม อีกฝ่ายจะรู้เลยว่าเป็นพวกไหน สีไหน

การตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยขึ้นมา เราอาจตอบโจทย์การปฏิรูปประเทศได้ในเรื่องโครงสร้างต่างๆ ของสังคม อาจจะแก้ไขปัญหาไปได้ แต่เราจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไม่ได้

ดังนั้น ต้องช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะจัดการผสมผสาน เพื่อหาทางออกให้ได้



นพพร ลีปรีชานนท์

ประธานสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แม้สังคมส่วนใหญ่จะยอมรับในตัวนายอานันท์ และน.พ.ประเวศ ขณะเดียวกันก็มีเสียงจากบางกลุ่มไม่ยอมรับเช่นกัน ซึ่งการทำงานจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ผมมองได้ 2 กรณี คือ 1.การยอมรับเพียงชื่อ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเชื่อมั่นในการทำงาน 2.คนที่มาทำงานมีความรู้มากแค่ไหน ต้องดูทั้ง 2 กรณีคู่กัน เพื่อจะอธิบายบริบทของสังคมว่าจะเป็นในทิศทางไหน

นายอานันท์ มีความรู้เรื่องการจัดการเกี่ยวกับรัฐบาล เคยอยู่ในเหตุการณ์พฤษภา 35 หรือรสช. การทำหน้าที่ของท่านเป็นที่ยอมรับของคนทั่วประเทศ ด้านน.พ.ประเวศ เป็นนักปราชญ์ในประเทศไทยที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง ดูแล้วทั้ง 2 ท่านเป็นคนที่มีคุณภาพ แต่สังคมอาจมีทั้งคนที่ยอมรับและไม่ยอมรับ

คนที่ยอมรับเพียงชื่อ แต่ไม่ได้ทราบถึงประวัติการทำงาน คือคนรุ่นใหม่ที่เกิดไม่ทัน จึงต้องดูว่าคนจำนวนนั้นจะมาศึกษาข้อมูลของทั้งสองท่านหรือไม่ บางทีอาจไปรับข้อมูลอีกด้านจากคนบางกลุ่ม ที่ไม่ได้เป็นความจริงทั้งหมด โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลด้วยตัวเอง ตรงนี้ดูเหมือนไม่เป็นธรรมกับทั้ง 2 ท่าน

ส่วนตัวมองว่าทั้ง 2 ท่านเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ หากคนในประเทศเรายอมรับตรงจุดนี้ และมีความเชื่อมั่นในตัวทั้ง 2 ท่าน คิดว่าประเทศไทยไปรอดแน่ แต่ทางตรงกันข้าม หากเราดูเพียงชื่อ โดยไม่เชื่อว่าทั้ง 2 ท่านจะทำได้ก็อาจไปไม่รอดเช่นกัน

วันนี้คนในบ้านเราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ซึ่งดูแล้วมีจำนวนเท่าๆ กัน และผมคือคนหนึ่งที่เชื่อมั่นว่าทั้ง 2 ท่านทำได้

การที่รัฐบาลให้ทั้ง 2 ท่านมานั่งประธาน ไม่ใช่การสร้างภาพ ใครที่มองเช่นนั้นถือว่าใจแคบเกินไป ซึ่งวิธีคิดของน.พ.ประเวศ ไปไกลมาก จนประชาชนบ้านเราคิดตามไม่ทัน ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่หากศึกษาและทดลองนำมาใช้ คิดว่าสามารถทำได้จริง เพราะวิธีคิดของน.พ.ประเวศ เข้ากับบริบทและวัฒนธรรมของคนไทย

แต่ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีบางกลุ่มที่อคติต่อน.พ. ประเวศ คงเพราะบางอย่างที่ท่านเสนอแนะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายที่เสียประโยชน์จึงไม่เห็นด้วย

ดังนั้น ควรให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ให้โอกาสทั้ง 2 ท่านทำงานสักระยะก่อนดีกว่า ค่อยมากล่าวหาว่ารัฐบาลถ่วงเวลา หรือซื้อเวลา หากเวลาผ่านไปสักพักแล้วทั้ง 2 ท่านรวมถึงคณะทำงานไม่ทำอะไรเลย ค่อยมาต่อว่า

เรื่องปฏิรูปบ้านเมือง คิดว่ารัฐบาลมีความหวังดีแน่ที่ตั้งบุคคล 2 ท่านขึ้นมา แต่รัฐบาลก็มีเรื่องมาตรฐานความเป็นกลาง ความมี 2 มาตรฐาน หรือความเป็นธรรม ที่จะต้องแสดงออกให้ชัดเจนมากกว่านี้ เพราะบางครั้งรัฐบาลทำเรื่องเหล่านี้ไม่กระจ่างชัด

การปฏิรูปประเทศ รัฐบาลควรให้ทุกภาคส่วน ประชา ชน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม นักกฎหมาย นักวิชาการ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย มาจากบุคคลหลายกลุ่ม ไม่ใช่คนของรัฐบาลหรือคนที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล นำคนเหล่านี้มาผสมเข้าด้วยกัน

แต่ถ้าทุกฝ่ายช่วยกันอย่างที่ผมกล่าวแล้วยังไม่สามารถทำให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้าร่วมกันได้ คิดว่าคนที่เป็นปัญหาคงจะอยู่ที่ตัวผู้นำมากกว่า



อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล

อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รู้สึกยินดีที่รัฐบาล มีแผนที่จะปรองดองและปฏิรูปประเทศไทย แต่คำถามต่อไปคือคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นจะปฏิรูปประเทศ สร้างความปรองดองสำเร็จหรือไม่นั้น เป็นคนละเรื่องกัน

ในทัศนะของผมมองว่ารัฐบาลไม่มีทางปฏิรูปประเทศไทยและปรองดองสำเร็จได้ ต่อให้รัฐบาลนี้มีอายุต่อเนื่องไปอีก 4 ปี หรือสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรดเดียวได้ก็ตาม เพราะวันนี้ไม่มีทางออกสำหรับประเทศไทย ไม่มีใครมีบารมีมากพอจะสร้างความเกรงใจให้ทุกคนมาสนใจฟัง แต่จำเป็นต้องทำ

การตั้งน.พ.ประเวศ และนายอานันท์ มาเป็นประธานกรรมการฯ นั้น ผมมองว่าไม่ว่าจะตั้งใครมา ฝ่ายคนเสื้อแดงจะมองว่าไม่เป็นกลาง ยกเว้นจะให้คนเสื้อแดงเลือกมาเอง และเลือกคนที่จะทำอย่างไรก็ได้ที่เป็นประโยชน์กับคนเสื้อแดง

แผนปรองดอง การปฏิรูปประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำอย่างมาก แต่ด้วยภาวะการต่อสู้ทางการเมืองอย่างหนักทุกวิถีทาง จึงไม่มีทางสำเร็จไปได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา อาจจะไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้าย เชื่อคนไทยจะยังฆ่ากันอยู่เพราะการทะเลาะกันที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องฐานการเมือง 2 กลุ่ม เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ของประเทศชาติ

ทุกฝ่ายมองเห็นประโยชน์มหาศาลและต้องการแบ่งผลประโยชน์ตรงนี้ จึงไม่มีทางที่ประเทศจะสงบสุข

หากมีการปฏิรูปแล้วเชื่อว่าประเทศไทยจะดีขึ้น แต่ต้องใช้เวลา ต้องอดทนระยะยาว สาเหตุที่ประชาชนไม่เชื่อมั่นในการปฏิรูปครั้งนี้เนื่องจากฝ่ายที่สนับสนุนเสื้อแดง มองว่าการทำครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายรัฐบาล ส่วนประชาชนที่เป็นกลางก็มองไม่เห็นทางออก และมองว่าคนเสื้อแดงจะไม่ให้ความร่วมมือ

การปฏิรูปประเทศจะเกิดขึ้นได้นั้น จึงไม่ใช่รัฐบาลทำเพียงฝ่ายเดียว แต่คนไทยทุกคนต้องร่วมกันปฏิรูป จะต้องอดทนรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างเพราะมันคือประชาธิปไตย



ดิเรก ถึงฝั่ง

ส.ว.นนทบุรี

การตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาบ้าน เมือง ถือเป็นสิ่งที่ดี แต่ดูรายชื่อคณะกรรมการในแต่ละชุด เป็นที่วิจารณ์กันว่าทั้งหมดเป็นคนของรัฐบาล

ดังนั้น คณะกรรมการแก้ไขรัฐ ธรรมนูญ ที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน รวมถึงคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ที่มีนายอานันท์ ปัน ยารชุน และ น.พ.ประเวศ วะสี เป็นประธานนั้น จะเป็นการพิสูจน์ว่าครู บาอาจารย์ นักวิชาการ ทำงานเที่ยงธรรม ยึดหลักประชาธิป ไตยมากน้อยแค่ไหน

หากทำงานไม่ยึดหลักความจริง ความถูกต้อง ความเป็นประชาธิป ไตย อาจถูกมองได้ว่าเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง จนท้ายสุดขาดความน่าเชื่อถือ เกิดผลเสียร้ายแรงต่อตัวกรรมการ

แนวคิดการตั้งคณะกรรมการในหลายๆ ชุดของรัฐบาล ผมมองว่าช้าไปหน่อย แต่ดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย

ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเหตุ การณ์สลายม็อบ ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน เพราะคงยากที่จะทำงาน เพราะต้องตรวจการตายของคนกว่า 80 คน รวมถึงผู้บาดเจ็บกว่า 2 พันคน

เพราะก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการชุดสลายม็อบเหตุการณ์เดือนเม.ย.2552 ตรวจสอบเฉพาะเหตุการณ์ที่กระทรวงมหาดไทย เพื่อพิสูจน์ว่า นายกฯอยู่ในรถ ที่ถูกทุบจริงหรือไม่ ก็ไม่สามารถหาข้อสรุปเพื่ออธิบายข้อสงสัยต่อสาธารณชนได้ ทั้งที่เป็นเรื่องง่ายที่สุด

พอมาตั้งชุดปัจจุบัน ที่มีนายคณิต เป็นประธาน มันมีความยากกว่ามาก ดังนั้น ใครถูกใครผิด ให้ว่ากันตามกฎหมาย เพราะหากผลออกมาไม่ตรงกับฝ่ายตรงข้าม จะเกิดความแตกแยกที่ร้าวลึกเข้าไปอีก

ผมไม่ขอวิจารณ์ว่าคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้น จะแก้ความแตกแยก เกิดความปรองดองได้จริงหรือไม่ แต่ทุกฝ่ายกำลังเฝ้ามอง และจับตาดูผลงานอยู่