WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 28, 2011

‘หมอตุลย์’ เห็นควรแก้ ม.112 ป้องกันกลั่นแกล้งทางการเมือง

ที่มา ประชาไท

น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำเสื้อหลากสี ให้สัมภาษณ์ต้องมีมาตรา 112 อยู่ แต่เห็นด้วยแก้ไข เพราะถูกใช้กลั่นแกล้งกันทางการเมือง เสนอให้หน่วยพิเศษฟ้อง-ลดโทษขั้นต่ำ เพื่อให้มีหมายเรียก มีการประกันตัว

27 มี.ค.54 น.พ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี เดินทางมาร่วมงานเสวนาเรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” จัดโดยกลุ่มนิติราษฎร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ หรือมาตรา 112 ว่า โดยส่วนตัวเห็นว่ากฎหมายคุ้มครองสถาบันกษัตริย์ยังต้องมีอยู่ เนื่องจากกษัตริย์ควรมีสถานะที่สังคมให้ความเคารพสักการะ แต่กระบวนการดำเนินคดีที่ทำให้เกิดการกลั่นแกล้งกันนั้นเห็นว่าเกิดขึ้นจริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณี อย่างไรก็ตาม ควรจะมีการแก้ไขในขั้นตอนเริ่มต้นการดำเนินคดี จากที่เปิดกว้างให้ผู้ใดก็ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ควรมีกระบวนการกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่ง เช่นอาจให้อัยการพิเศษ หรือหน่วยงานพิเศษเป็นผู้พิจารณาและดำเนินการฟ้องคดี

ในส่วนของอัตราโทษที่ถูกวิจารณ์ว่าสูงเกินไปนั้น น.พ.ตุลย์เห็นว่าบทลงโทษที่สูงก็แปลว่าเป็นสิ่งที่ไม่อยากให้ผู้ใดกระทำ ต่อให้มีโทษถึงประหารชีวิต ถ้าไม่มีการกระทำผิดก็ไม่มีใครถูกประหาร อย่างไรก็ดี การออกหมายจับทันทีโดยไม่ออกหมายเรียก หรือการไม่ให้ประกันตัวเนื่องจากโทษหนักเกินกว่า 3 ปีนั้นก่อให้เกิดปัญหา ดังนั้นจึงอยากให้แก้ไขโทษต่ำสุดที่อาจเริ่มต้นที่ 6 เดือน เพื่อให้ตำรวจออกหมายเรียกและผู้ต้องหามีสิทธิประกันตัว อีกทั้งในบางกรณีที่ไม่ใช่การดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดร้ายอย่างชัดเจนก็ไม่ควรต้องโทษถึง 3 ปี เช่น การกล่าวกระทบกระเทียบ หรือการไม่ยืนในโรงหนัง

“โจทย์หลักของผมคือเห็นว่ามีการกลั่นแกล้งกันจริง แต่ไม่ทุกเคส และทำอย่างไรให้คนที่ถูกกลั่นแกล้งไม่โดนอีก หรือไม่เกิดการกลั่นแกล้งกันอีก” น.พ.ตุลย์กล่าว

เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิดของนักวิชาการจากกลุ่มนิติราษฎร์ที่เคยเสนอว่าการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ควรจะกระทำได้ตามกรอบของกฎหมาย สอดคล้องกับหลักการในระบอบประชาธิปไตย น.พ.ตุลย์ กล่าวว่า เห็นด้วยว่าควรมีการวิจารณ์ได้ แต่เส้นแบ่งก็เบาบางมากระหว่างการวิจารณ์หรือการดูหมิ่น หมิ่นประมาท จึงอยากให้มีหน่วยงานพิเศษพิจารณาเรื่องนี้ และหน่วยงานนั้นก็ควรนำแนวคิดนี้มาพิจารณาด้วย

เมื่อถามเห็นอย่างไรที่ในปัจจุบันมีการรณรงค์เรื่อง มาตรา 112 หลายรูปแบบ ทั้งเสนอให้แก้ไขรวมถึงเสนอให้ยกเลิก นพ.ตุลย์ กล่าวว่า แต่ละกลุ่มก็คงมีเหตุผลแตกต่างกันไป

“ผมเอา แต่ขอแก้ไข เพราะเห็นข้อดีและข้อเสียในตัวกฎหมาย หลายคนก็คงเห็นตรงกันว่าสมควรปรับปรุง ในทางกลับกัน ถ้ากลุ่มรณรงค์อยากให้ยกเลิกทำเพื่อจะได้หมิ่นโดยไม่ถูกลงโทษ อันนี้เป็นเรื่องไม่เหมาะสม”

เมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มการเมืองต่างๆ ที่นำเอาสถาบันกษัตริย์มากล่าวหาบุคคลต่างๆ จนเป็นกระแสหลังรัฐประหาร นพ.ตุลย์กล่าวว่า ถ้าไม่มีผู้กระทำการให้เป็นประเด็นก่อน อีกฝ่ายก็ไม่สามารถยกประเด็นมากล่าวหากันได้ ตนก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องดึงสถาบันกษัตริย์มาพูดบนเวทีทางการเมืองด้วย เพียงเพราะ ‘ความเชื่อ’ ว่าสถาบันกษัตริย์เกี่ยวพันกับเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้สถานการณ์ทางการเมืองร้อนแรงและมีสภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม มีการโต้เถียงระหว่างน.พ.ตุลย์กับกลุ่มคนเสื้อแดงที่มาฟังสัมมนาครู่หนึ่ง และระหว่างที่น.พ.ตุลย์เดินทางกลับมีเสียงโห่จากกลุ่มคนที่ร่วมมาร่วมงานและอยู่บริเวณลานโล่งของคณะนิติศาสตร์จำนวนหนึ่ง