ที่มา ประชาไท
30 มี.ค.54 เวลา 13.00 น. กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU)จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “ประเทศไทยจะไปทางไหนกัน”
ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการกล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาร่วมเสวนาโดย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารกองทัพไทย, อุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร, รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ณ อาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการกล่าวรายงาน โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษาร่วมเสวนาโดย พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารกองทัพไทย, อุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร, รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ต้นเหตุปัญหาการเมืองไทยต้องแก้ทั้งที่ “คน” และ “ระบบ”
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ กล่าวว่า ต้นตอปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันเกิดจากคนในสังคมแตกแยกกันไปหลายทิศหลายทางโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันว่าในท้ายที่สุดแล้วประชาชนต้องได้อยู่ดีกินดี มีศักดิ์ศรี และประเทศชาติมั่งคั่ง คนที่จะร่วมกันขับดันประเทศได้ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน แต่ตอนนี้หลายฝ่ายขับเคลื่อนกันไปคนละทาง บางฝ่ายไม่ยอมฟังคนอื่นแต่ชอบพูดให้คนอื่นฟัง ประเทศที่เจริญก้าวหน้าแล้วเขาสามัคคีและมีเอกภาพกันมากกว่าเรา ขณะที่เรากำลังชักเย่อกันอยู่ ทางแก้ปัญหาคือเราต้องเตรียมคนให้เหมาะให้มีคุณภาพต่อระบอบการปกครอง โดยต้องให้การศึกษา ให้คนมีความรู้เรื่องประชาธิปไตย หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมจรรยา
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ กล่าวว่า ต้นตอปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันเกิดจากคนในสังคมแตกแยกกันไปหลายทิศหลายทางโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์แห่งชาติซึ่งเป็นเป้าหมายร่วมกันว่าในท้ายที่สุดแล้วประชาชนต้องได้อยู่ดีกินดี มีศักดิ์ศรี และประเทศชาติมั่งคั่ง คนที่จะร่วมกันขับดันประเทศได้ต้องมีเป้าหมายร่วมกัน แต่ตอนนี้หลายฝ่ายขับเคลื่อนกันไปคนละทาง บางฝ่ายไม่ยอมฟังคนอื่นแต่ชอบพูดให้คนอื่นฟัง ประเทศที่เจริญก้าวหน้าแล้วเขาสามัคคีและมีเอกภาพกันมากกว่าเรา ขณะที่เรากำลังชักเย่อกันอยู่ ทางแก้ปัญหาคือเราต้องเตรียมคนให้เหมาะให้มีคุณภาพต่อระบอบการปกครอง โดยต้องให้การศึกษา ให้คนมีความรู้เรื่องประชาธิปไตย หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมจรรยา
ด้านอุทัย พิมพ์ใจชน มองว่า ปัญหาการเมืองในปัจจุบันเกิดจากความไม่เชื่อมั่นในทิศทางประชาธิปไตย จึงเกิดการกลับไปสู่จุดเริ่มที่การยึดอำนาจวนเวียนเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตั้งแต่คณะราษฎร์ปฏิวัติเมื่อ 2475 ถือเป็นหมุดหมายว่าเราจะเดินไปในเส้นทางประชาธิปไตย แต่บางช่วงก็เกิดความไม่มั่นใจในประชาธิไตยจึงปล่อยให้เกิดการรัฐประหาร เช่น 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ถ้าเราอดทนและปล่อยให้กระบวนการประชาธิไตยเยียวยาตัวมันเอง เราก็คงผ่านช่วงนั้นมาได้โดยไม่เกิดการรัฐประหาร
“เราไม่เอาอะไรสักอย่าง ประชาธิปไตย เผด็จการ คอมมิวนิสต์ จะเอาอะไรก็เอาไปให้มั่นคงไปเลย แล้วจะเอาดีได้อย่างไร ถ้าจะรัฐประหารก็เอาอำนาจเลย อย่าคืนมานะ แต่ถ้าเอาประชาธิปไตยก็ต้องทน” อุทัยกล่าว
ทางออกจากปัญหานี้คือ สังคมต้องแน่วแน่ในหนทางการปกครองประชาธิปไตย ต้องปูทางไปให้ถึงโดยการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพโดยให้การศึกษาเรื่องประชาธิปไตย เศรษฐกิจ การเมือง ศีลธรรม วินัย ตั้งแต่เด็ก ๆ เหมือนที่ญี่ปุ่นทำ ผ่านไปสิบปีจะได้คนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ
ส่วน รศ.ดร.โคทม อารียา เสนอว่า ปัญหาอยู่ที่ความคิดความเชื่อสองชุดของคนไทยโดยเฉพาะคนกรุงเทพฯที่ขัดแย้งกัน คือ ฝ่ายหนึ่งว่าราชาธิปไตยดี อีกฝ่ายก็ว่าประชาธิปไตยดี ทะเลาะกันมา 79 ปีก็ยังไม่ลงตัว ยังหาจุดพอดีไม่เจอ เพราะว่าฝ่าย “เก่าไม่อยากเปลี่ยน” “ใหม่ไม่ค่อยอยากปรับ” นี่คือลักษณะพหุนิยมของสังคม และตอนนี้สังคมกำลังเผชิญกับวาทกรรมสองอย่างได้แก่ “ประชาธิปไตยขาดคุณธรรม” ใช้อธิบายถึงวงจรอุบาทว์ของนักการเมืองไทย อีกวาทกรรมหนึ่งก็คือ “การเมืองไทยเป็นการเมืองเรื่องอำมาตย์” ซึ่งวาทกรรมสองฝ่ายนี้เป็นปัจจัยนำมาสู่การขัดแย้งทางความคิดที่สำคัญในปัจจุบัน ความขัดแย้งนี้ไม่มีวันจบ เราต้องแก้ปัญหาที่ระบบ เพราะแก้เป็นคน ๆ ไปมันก็เท่านั้น
ด้าร รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ เสริมประเด็นนี้ในด้านเศรษฐกิจว่า ปัญหาด้านเศรษฐกิจของไทยคือยังไม่สามารถเลื่อนชั้นไปสู่เศรษฐกิจภาคบริการ (Service economy) เนื่องจากการเมืองดิ่งลึกเข้าสู่ระบบครอบครัวผ่านทายาททางการเมือง ซึ่งในทางพฤตินัยคืออำนาจอยู่ในมือคนจำนวนน้อย เศรษฐกิจจึงอยากที่จะเกิดพลวัตเลื่อนชั้นไปสู่ภาคบริการ ถ้าคนมีคุณภาพ พลวัตการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองก็เคลื่อนไปได้ง่าย พร้อมเสนอแนะรัฐบาลในอนาคตควรมี Good Governance Policy ที่จะพัฒนามาตรฐานระบบการเงินไทย เพื่อรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งอาเซียนจะเป็นสมรภูมิที่จีนและญี่ปุ่นจะเข้ามาแข่งขันกันอย่างดุเดือดด้วย
รัฐประหารไม่ใช่ทางออก
จากการร่วมอภิปรายของวิทยากร มีความเห็นตรงกันประการหนึ่งต่อสภาพการเมืองไทยว่า รัฐประหารไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา โดย พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า โดยเหตุโดยผลแล้วคิดว่าไม่น่าจะมี และไม่ควรมีรัฐประหาร ที่ผ่านมาการเมืองไทยอยู่ในสภาพพายเรือในอ่างมานานแล้ว เกิดรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง ขัดแย้งแล้วก็จบที่รัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้สังคมแย่ เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องมุ่งแก้ไปตามวิธีการของระบอบนั้น ๆ ทันที
จากการร่วมอภิปรายของวิทยากร มีความเห็นตรงกันประการหนึ่งต่อสภาพการเมืองไทยว่า รัฐประหารไม่ใช่หนทางแก้ปัญหา โดย พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า โดยเหตุโดยผลแล้วคิดว่าไม่น่าจะมี และไม่ควรมีรัฐประหาร ที่ผ่านมาการเมืองไทยอยู่ในสภาพพายเรือในอ่างมานานแล้ว เกิดรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง ขัดแย้งแล้วก็จบที่รัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้สังคมแย่ เมื่อเกิดปัญหาก็ต้องมุ่งแก้ไปตามวิธีการของระบอบนั้น ๆ ทันที
เช่นเดียวกับนายอุทัย พิมพ์ใจชน มีความเห็นว่ากระบวนการประชาธิปไตยมีหลักการอยู่ตรงที่การวิพากษ์วิจารณ์ การตรวจสอบถ่วงดุลผู้ใช้อำนาจทั้งจากในสภาและจากภาคสังคม ใครจะชั่วดีอย่างไรสังคมก็รู้และตรวจสอบได้ แต่ถ้ารัฐประหารไปแล้วอำนาจมันจะทำให้ปิดเงียบ สังคมไม่รู้
ด้าน รศ.ดร.โคทม อารียา เพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนไม่ควรมีปฏิกิริยามากต่อกระแสข่าวรัฐประหาร ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิด ควรเปิดกว้างแนวทางประชาธิปไตบแบบถกแถลง ยอมรับความแตกต่างของคนอื่น และควรปิดประตูรัฐประหารเสีย
เลือกตั้งมีแน่ ความแตกแยกยังไม่จบ
สำหรับประเด็นเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่หลังการยุบสภาต้นดือนพฤษภาคมนี้เวทีเสวนาเห็นว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้นอย่างแน่นอน แม้จะมีข่าวลือว่าไม่มีการเลือกตั้งออกมาเป็นระยะ ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายก็ยังคงดำรงอยู่ เพราะแน่นอนว่าย่อมมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะและฝ่ายตรงข้ามก็จะประท้วงคัดค้าน อาจมีความรุนแรงบ้างประปรายจากลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่พอใจ การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายยังมีการทะเลาะกันอยู่เพราะนี่คือพหุนิยม แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน ต้องเคารพกันและกัน ที่ผ่านมาสังคมไทยมีบทเรียนจากความเสียหายจากความขัดแย้งมาแล้ว คงจะเกิดการเรียนรู้ และอยู่ที่ประชาชนทุกคนเอง ที่จะร่วมมือกันทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความโปร่งใสเที่ยงธรรม ให้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยของเราให้ก้าวไปข้างหน้า
สำหรับประเด็นเรื่องการเลือกตั้งครั้งใหม่หลังการยุบสภาต้นดือนพฤษภาคมนี้เวทีเสวนาเห็นว่า การเลือกตั้งจะมีขึ้นอย่างแน่นอน แม้จะมีข่าวลือว่าไม่มีการเลือกตั้งออกมาเป็นระยะ ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายก็ยังคงดำรงอยู่ เพราะแน่นอนว่าย่อมมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับชัยชนะและฝ่ายตรงข้ามก็จะประท้วงคัดค้าน อาจมีความรุนแรงบ้างประปรายจากลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่พอใจ การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายยังมีการทะเลาะกันอยู่เพราะนี่คือพหุนิยม แต่ต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน ต้องเคารพกันและกัน ที่ผ่านมาสังคมไทยมีบทเรียนจากความเสียหายจากความขัดแย้งมาแล้ว คงจะเกิดการเรียนรู้ และอยู่ที่ประชาชนทุกคนเอง ที่จะร่วมมือกันทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความโปร่งใสเที่ยงธรรม ให้การเลือกตั้งเป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตยของเราให้ก้าวไปข้างหน้า