ที่มา Thai E-News
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย อย่างญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับภัยพิบัติรุนแรง แต่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่การจัดการสาธารณภัยของรัฐบาลไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับรัฐบาลเผด็จการทหาร อย่างพม่ามากกว่า
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา DNN-Asia Update TV
รายการที่นี่ความจริง ทางโทรทัศน์ Asia Update-DNN ประจำวันอังคารที่ 29 มีนาคม ดำเนินรายการโดย 3 นักวิชาการสาว ผศ.ดร.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อาจารย์หวาน) ,รศ.สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อาจารย์ตุ้ม) และ ผศ.ดร.จารุพรรณ กุลดิลก อาจารย์พิเศษคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อาจารย์จา)...
รายการที่นี่ความจริง วันอังคารที่ 29 มีนาคม:ประเด็นแรก : การจัดการสาธารณภัยในประเทศประชาธิปไตย vs. ประเทศเผด็จการ
นระยะนี้ ได้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ขึ้นมากมายทั้งในต่างประเทศ และในประเทศเราเอง เช่น น้ำท่วมในภาคใต้ แผ่นดินไหวในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า แต่รัฐบาลกลับไม่เข้าไปแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที และยังด้อยประสิทธภาพในการบรรเทาสาธารณภัย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย อย่างญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับภัยพิบัติรุนแรง แต่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ที่จริงแล้ว การจัดการสาธารณภัยของรัฐบาลไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับรัฐบาลเผด็จการทหาร อย่างพม่ามากกว่า เพราะมีความล่าช้า พยายามปกปิดข้อมูลข่าวสาร ขาดระบบการเตือนภัยแม้จะได้ผ่านเหตุการณ์สึนามิมาแล้ว ไม่ส่งเสริมการซ้อมหลบภัย และไม่มีความจริงใจในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ประเด็นที่ 2 : ประชาชนไทยจะได้เลือกตั้ง หรือรัฐประหาร
แม้นายอภิสิทธิจะได้ออกมาส่งสัญญาณทั้งต่อคนไทย และต่างประเทศว่า จะมีการเลือกตั้งในไม่ช้านี้ แต่ในระยะนี้กลับมีสัญญาณที่ชวนให้คิดว่า อาจเกิดการอ้างสถานการณ์บางอย่างเพื่อทำการยึดอำนาจอีกครั้งก็ได้ เช่น การที่นางสดศรี หนึ่งในกรรมการการเลือกตั้ง แสดงท่าทีว่าจะลาออก และอาจมีกรรมการอื่นๆ ลาออกอีก ซึ่งอาจทำให้กรรมการไม่ครบ จัดการเลือกตั้งไม่ได้ จนเป็นเหตุให้เกิดสูญญากาศทางการเมือง
เกิดกระแสว่าอาจมีการขอให้ใช้มาตรา ๗ ขอนายกพระราชทาน ในประเด็นนี้ อ.ตุ้มได้ย้ำว่ามาตรา ๗ เป็นเพียงมาตราที่อุดช่องว่างทางกฎหมายเท่านั้น นั่นคือ เมื่อไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้ให้ใช้ธรรมเนียมปฏิบัติที่ผ่านมา ไม่ได้มีไว้สำหรับแต่งตั้งนายกพระราชทานแต่อย่างใด
เงื่อนไขที่คณะทหารมักใช้เป็นข้ออ้างในการยึดอำนาจ เช่น รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น การแทรกแซงองค์กรอิสระ ความแตกแยกในประชาชน การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และในขณะนี้ได้มีความพยายามจุดชนวนความขัดแย้งชายแดนไทย-กัมพูชาขึ้นอีกครั้ง
ทั้งที่ไทยได้ยอมรับทำตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะให้ผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาร่วมกำกับดูแลการแก้ปัญหาความขัดแย้งชายแดน
นอกจากนี้ การลาออกของนายอานันท์ ปันยารชุน จากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ถูกตั้งข้อสงสัยว่าจะแต่งตัว “ตั้งโต๊ะ” รอรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากการยึดอำนาจหรือเปล่า