WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 27, 2011

จับสัญญาณ ยื้อเกมเลือกตั้ง

ที่มา ข่าวสด


ถึงแม้นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และแกนนำรัฐบาลหลายคน ตลอดจนบรรดาแม่ทัพนายกอง

จะออกมายืนยันสนับสนุนการเลือกตั้งตามแนวทางระบอบประชา ธิปไตย ตามที่หลายคนคาดการณ์ ว่าจะมีขึ้นประมาณปลายเดือนมิ.ย. หรืออย่างช้าต้นเดือนก.ค.

ขณะที่พรรคการเมืองน้อยใหญ่ต่างก็ออกมาขานรับ ทั้งยังร่วมมือผลักดันร่างกฎหมายลูก 3 ฉบับ รองรับการเลือกตั้งและการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จนสามารถผ่านสภาวาระแรกไปอย่างรวดเร็ว

คือพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง

ทั้งยังคืบหน้าไปอีกขั้นกรณีมีราชกิจจานุเบกษาลงประกาศ กกต. เรื่องจำนวนส.ส.แบบแบ่งเขตเลือก ตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด จำนวน 375 เขต ภายหลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 2554

แต่กับกระแสข่าวที่สวนออกมาไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติ หรือการกดดันให้ กกต.ทั้ง 5 คนลาออกหลังการยุบสภา เพื่อให้เกิดสุญญากาศทาง การเมือง นำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ นำ 'คนนอก' เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ

นอกจากคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องวิธีการ 'นอกระบบ' ดังกล่าว

การที่ นางสดศรี สัตยธรรม ถอดใจประกาศพร้อมลาออกจาก กกต. หากได้รับการคัดเลือกเป็นคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ถึงจะมีการยืนยันว่า กกต.ที่เหลืออีก 4 คนยังปฏิบัติหน้าที่ได้ และไม่มีผลกระทบต่อปฏิทินการเลือกตั้ง

แต่ก็เป็นจุดทำให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเริ่มเกิดความไขว้เขว เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งว่าจะมีการเลือกตั้งตามกำหนดเดือนมิ.ย.นี้ได้จริงหรือไม่



นอกจากนี้หลายคนยังวิเคราะห์สัญญาณแปลกๆ ที่บ่งชี้ว่าอาจจะไม่มีการเลือกตั้ง

ส่วนหนึ่งยังมาจากการประเมินผลเลือกตั้งของโพลหลายหน่วยงานที่ทำขึ้นทั้งในทางลับและเปิดเผย ชี้ตรงกันว่าพรรคประชาธิปัตย์อาจเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับพรรคเพื่อไทย

ส่งผลให้เครือข่ายทักษิณกลับมาผงาดบนเวทีการเมืองไทยอีกรอบ

ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้ถืออำนาจตัวจริงขณะนี้ทำใจยอมรับได้ลำบาก ตรงนี้เองจึงเป็นบ่อเกิดของกระแสข่าวการปฏิวัติ

อย่างไรก็ตามทหารยุคนี้เพิ่งจะผ่านบทเรียน 19 กันยาฯ 2549 รวมถึงเหตุการณ์เม.ย.-พ.ค.53 ที่ทำให้ภาพพจน์กองทัพไม่ค่อย ดีนักในสายตาประชาชน

จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ทั้ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. จะให้สัมภาษณ์ยืนกรานว่า กองทัพพร้อมสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

ไม่มีการทำปฏิวัติเด็ดขาด

กระนั้นคำยืนยันของพล.อ.ประยุทธ์ดูเหมือนไม่เพียงพอให้พรรคเพื่อไทยคลายความระแวง

จากล่าสุดที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทยออกมาปูดข่าวดักคอกองทัพ ตั้งหน่วยเฉพาะกิจกอ.รมน.ไว้คอย 'บล็อก' แกนนำคนเสื้อแดง และผู้สมัครส.ส.พรรคเพื่อไทยในสนามเลือกตั้ง

แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ยังมีการเสนออ๊อปชั่นพิเศษจาก 'มือที่มองไม่เห็น' ว่า

ถ้าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งมาเป็นที่ 1 แต่ได้จำนวนส.ส.ไม่ถึงกึ่งหนึ่งคือ 250 เสียง ก็ให้นับจำนวนส.ส.ระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ กับพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนี้

หากเสียงของพรรคร่วมรัฐบาลรวมกันแล้วมากกว่า ก็จะยกตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ก็จะไปเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแทน

ข้อเสนอนี้เป็นการจูงใจพรรคร่วมรัฐบาล จึงมีพรรคการเมืองขนาดเล็กจูงมือไปพบปะกัน และประกาศร่วมมือกันในการเลือกตั้ง

"จึงอยากเรียกร้องให้ผบ.ทบ. ประกาศให้ชัดเจนว่าจะไม่ลาก คอพรรคการเมืองไปตั้งรัฐบาล ในค่ายทหาร หรือไม่ก็ปล้นส.ส. พรรคเพื่อไทยออกไปหลังการเลือกตั้ง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว"



หน่วยเฉพาะกิจที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นำออกมาแฉ ถ้าเป็นจริงประเด็นก็ไม่ต่างจากแผนบันได 4 ขั้นในยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือคมช. ก่อนการเลือกตั้งเมื่อเดือนธ.ค.50

และถ้าเป็นเช่นนั้นผลลัพธ์ก็คง ไม่ต่างกัน คือถึงพรรคประชาธิปัตย์จะได้เป็นรัฐบาลไม่ว่าจะในฐานะพรรคแกนนำหรือพรรคร่วมก็ตาม แต่ปัญหาความขัดแย้งก็จะวนกลับมาที่เดิม เพราะพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดงคงไม่ยอมแน่

อย่างไรก็ตามท่ามกลางกระแส วิพากษ์วิจารณ์ว่า การเลือกตั้งไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น การเมืองส่อเค้าถึงทางตันอีกรอบ

'พรรคประชาสันติ' ก็เลือกจังหวะเปิดตัวออกมาได้พอดิบพอดีในฐานะพรรคทางเลือกใหม่

ฮือฮาตรงที่มีการวางตัว ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นหัวหน้าพรรค นายพันธ์เลิศ ใบหยก เป็น ท่อน้ำเลี้ยง เป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่คะแนนเสียงคนกรุง

แต่ขณะเดียวกันผู้อยู่เบื้องหลังสนับสนุนพรรคยังมีสายสัมพันธ์เชื่อมโยงไปถึงระดับบิ๊กในกองทัพ และพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับประชาธิปัตย์

ตามข่าวที่ออกมาถึงจะดูซับซ้อนแต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไปไม่ได้ และแน่นอนว่าการคืนสังเวียนการเมืองของ 'ปุระชัย' ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาสันติ

ย่อมก่อให้เกิดแรงสะเทือนต่อพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะในสนามเลือกตั้งกทม. ซึ่งจะส่งผลต่อจำนวนส.ส.โดยรวมทั้งประเทศ

ในสถานการณ์ประชาธิปัตย์ตกอยู่ในภาวะ 'ถดถอย' อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันอำนาจการยุบสภายังอยู่ในมือของ นายกฯ อภิสิทธิ์ เต็มๆ

ด้วยเหตุนี้เอง อย่าว่าแต่ประชาชนทั่วไป ขนาดนักการเมือง รุ่นเก๋า และเป็นถึงประธานสภาอย่าง นายชัย ชิดชอบ ยังไม่ปักใจเชื่อเต็มร้อย ว่าจะมีการยุบสภาต้นเดือนพ.ค.ตามที่นายกฯอภิสิทธิ์ประกาศไว้

ตราบใดที่ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกาโปรดเกล้าฯ ลงมา ทุกอย่างยังมีโอกาสพลิกผันได้ตลอด