WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, April 1, 2011

ประเทศไทย(ไม่)ไปทางไหน ? เหมือนตะวันออกกลาง ผู้แทนฯเละ เพราะราษฎรใช้ไม่ได้

ที่มา มติชน





เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มจับกระแสเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ Siam Intelligence Unit (SIU) ได้จัดเสวนาเรื่อง "ประเทศไทยจะไปทางไหนกัน?" ณ อาคารมหิตลาธิเบศร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานรัฐสภา รศ.ดร.โคทม อารียา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันตวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล และรศ.ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเปิดงานว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยต้องเผชิญกับปัญหาทั้งจากภายใน และภายนอก ตั้งแต่ระดับรากหญ้า ไปจนถึงความขัดแย้งระดับชาติกับประเทศเพื่อนบ้าน จึงอยากให้มีการอภิปรายเพื่อร่วมแสวงคำตอบว่า ประเทศไทยควรจะก้าวเดินไปในทิศทางใด เพื่อจะให้มีการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไปในอนาคต


พลเอกบุญสร้าง :ไม่คิดว่าจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นจริง

พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ได้เสนอแนวทางในการพัฒนาประเทศว่า ทุกฝ่ายต้องขับดันประเทศโดยมีเป้าหมายร่วมกัน สำหรับผลประโยชน์ของประเทศชาติ ต้องมีความมั่งคั่ง ประชาชนอยู่ดีกินดี มีศักดิ์ศรี คนทุกคน ไม่ว่าจะนับถือลัทธิใด จะเสรีประชาธิปไตย, ประชาธิปไตยแบบมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือคอมมิวนิสต์ ทั้งหมดต้องสามารถอยู่ร่วมกันได้ อย่างประเทศญี่ปุ่น ประชาชนของเขาต่างมีความรักสามัคคี มุ่งมั่นเสียสละ ในขณะที่ประเทศไทยเรา ณ ตอนนี้ ทุกคนต่างขับเคลื่อนไปคนละทิศละทาง
ต่างฝ่ายต่างไม่ยอมฟังคนอื่น แต่ชอบพูดให้คนอื่นฟัง

เราบอกว่าประเทศเราไม่ได้อยู่นิ่ง แต่เรากำลังพายเรือในอ่าง วนอยู่กับที่ไม่ไปไหน แม้ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของบ้านเราจะมี แต่ด้านการเมืองและสังคมกลับแย่ พอเลือกตั้งเสร็จ รัฐบาลก็ไปแก้ไขรัฐธรรมนูญ แล้วก็เกิดปฏิวัติ เป็นอยู่อย่างนี้ซ้ำไปซ้ำมา ปัญหาทั้งหมดจึงต้องแก้ที่คน ไม่ว่าจะปกครองด้วยระบอบอะไรก็แล้วแต่ต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบอบนั้นๆ ระหว่างที่รอเยาวชนเติบโต รัฐบาลอาจจะตั้งโรงเรียนประชาธิปไตย สอนให้คนรู้เรื่องประชาธิปไตยมากขึ้น ส่วนข่าวลือที่ว่าจะมีการรัฐประหารหลังการเลือกตั้งที่จะเกิดนั้น ยอมรับว่าเคยได้ยินมา แต่ไม่คิดว่าจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้นจริง

อุทัย : สภาผู้แทนราษฎรเละ เพราะราษฎรใช้ไม่ได้


ด้านนายอุทัย พิมพ์ใจชน กล่าวว่า ทิศทางที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประชาชนต้องมั่นใจ และแน่วแน่ในระบอบการปกครอง เพราะจะเห็นได้ว่า ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 แทนที่ประเทศจะพัฒนาอย่างมั่นคง ทุกคนกลับสับสนไม่มั่นใจในระบอบประชาธิปไตย ชาวบ้านกลับมองว่า สภาผู้แทนราษฎรมันโกง มันกิน มันกุ๊ย พอทนไม่ไหว ก็มีคนปฏิวัติเอาอำนาจกลับมาให้ประชาชนตัดสินใจเลือกใหม่ นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า เราไม่มั่นคงในทิศทางนี้ตั้งแต่แรก เราเลือกจะไม่เอาอะไรสักอย่าง ทั้งประชาธิปไตย เผด็จการ หรือคอมมิวนิสต์ แล้วประเทศจะดีได้อย่างไร ถ้าจะเลือกทิศทางใดแล้ว ก็ควรเอาให้มั่นคงไปเลย

นายอุทัยยังกล่าวอีกว่า ผู้แทนราษฎร คือเงาสะท้อนของประชาชน ที่สภาผู้แทนราษฎรเละ เพราะราษฎรใช้ไม่ได้ ถึงตัดสินใจเลือกคนเหล่านี้เข้ามาบริหารประเทศ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาประเทศ จึงต้องพัฒนาที่ราษฎรเป็นอันดับแรก

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ ประเทศญี่ปุ่น เขาสร้างคนมาตั้งแต่อนุบาล ตั้งแต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะฉะนั้นเขาถึงมีคนที่มีคุณภาพ ประเทศไทยก็น่าจะเริ่มจากตรงนี้ คือ พัฒนาคนรุ่นใหม่ ส่วนรุ่นเก่าถ้าใช้ไม่ได้ก็ปล่อยไป เพราะไม้แก่ดัดยาก สำหรับปัญหาของประเทศ ณ ตอนนี้ก็ต้องแก้เฉพาะหน้าไปก่อน พร้อมทั้งเสนอสูตร 5+5 ปี คือ 5 ปีแรก ให้เยาวชนได้เรียนรู้หลักของประชาธิปไตย อาจจะโดยการเข้าค่าย หรือการอบรม ส่วนอีก 5 ปีก็ปลูกฝังเรื่องศีลธรรมจรรยา ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาบุคคลได้ เพราะฉะนั้นแนวทางก็คือ ต้องแนวแน่ในทิศทางของระบอบการปกครอง และปูทางให้คนรุ่นใหม่ก้าวไปให้ถึง

โคทม : ร่วมลงสัตยาบัน จรรยาบรรณการเลือกตั้ง

รศ.ดร.โคทม อารียา มองว่า ประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ คือ การแก้ปัญหาที่ความคิดและความเชื่อของคน เพราะคนหัวเก่าก็ไม่ค่อยอยากเปลี่ยน คนหัวใหม่ก็ไม่ค่อยอยากปรับ จึงเกิดเป็นชุดความคิด เป็นวาทกรรมที่แตกต่างกันอยู่ในสังคม

กลุ่มหนึ่ง มองว่า ประชาธิปไตยเดี๋ยวนี้ขาดคุณธรรม ขับเคลื่อนเป็นวงจรอุบาทว์ ที่นักการเมืองไม่ดีได้รับเลือกเข้ามาโดยการซื้อเสียง พอเกิดการปฏิวัติขึ้น แทนที่จะได้รัฐบาลชุดใหม่ พวกหน้าเดิมๆก็ได้รับเลือกเข้ามาอีก โดยการซื้อเสียงแบบเดิม

แต่อีกกลุ่มหนึ่งก็มองว่า การเมืองไทยเป็นการเมืองเรื่องอำมาตย์ ไม่มีความเท่าเทียมในสังคม มีแต่ความเหลื่อมล้ำ ความแตกต่าง การเป็นเจ้าคนนายคน เพราะฉะน้ันปัญหาทั้งหมดจึงต้องแก้ที่ระบบ แก้ที่ชุดความเชื่อ ให้ความต่างระหว่าง ราชาธิปไตยกับประชาธิปไตยมีความลงตัว ให้ทุกคนเคารพและยอมรับในความแตกต่าง ทางความคิดความเชื่อของกันและกัน แล้วเปลี่ยนครรลองประชาธิปไตยโดยการปิดประตูรัฐประหาร ไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ภายใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่เหนือการเมืองโดยเด็ดขาด

รศ.ดร. โคทม เชื่อว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้จะเกิดขึ้นแน่ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของทุกคน คือ ทำให้มีประชาธิปไตยที่ชอบธรรม และมีการเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม ซึ่งต้องอาศัยการแข่งขันกันอย่างยุติธรรม อย่างมีกติกา อย่างมีจรรยาบรรณ โดยให้ประชาชนคอยจับตา เพราะนักการเมืองเขาไม่กลัวอะไร นอกจากกลัวสอบตก เราต้องบอกกับประชาชนอยู่เสมอว่า ไม่ใช่เงินไม่มากากไม่เป็น เพราะการกากบาทไม่ได้มีไว้เพื่อขาย

"ผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งพฤติกรรมของคนจะเปลี่ยนได้ อย่าไปคิดว่าคนไทยจะยอมขายเสียงตลอดไม่มีอะไรที่ตายตัว "

นอกจากนั้น รศ.ดร. โคทม ยังอยากให้นักการเมืองร่วมลงนามให้สัตยาบัน ในจรรยาบรรณการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบในนโยบายและคำมั่นสัญญาที่เคยได้ให้ไว้ สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า กากบาทคือประกาศิต ลิขิตการเมืองไทย

หากทุกคนตกลงกันว่า เราจะเอาประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่ได้ผลก็ย่อมขึ้นอยู่กับ การเลือกตั้งที่เที่ยงธรรม ซึ่งสื่อมวลชนจำเป็นต้องช่วยกระพือกระแส ให้ประชาชนเห็นความสำคัญในความชอบธรรมดังกล่าว เพราะจะทำให้สังคมไทยพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ส่วนในคำถามที่ว่า เมื่อการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ผู้ชุมนุมหรือการประท้วงหมดไปหรือไม่ ดร. โคทม มองว่า การเลือกตั้งไม่ใช่คำตอบสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาความขัดแย้ง แน่นอนว่าคงยังมีทะเลาะกันอีก แต่แม้เราจะเป็นพหุนิยม คือคิดต่างกันได้ แต่ทุกคนก็ควรจะต้องเคารพต่อกัน ใช้ความอดทนอดกลั้น ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน อย่างไรก็ตาม ยังเชื่อว่า ถึงใครจะขึ้นมาเป็นนายกฯ ก็คงถูกประท้วงอยู่เหมือนเดิม แต่หากเราสามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของประชาชนได้ ประชาชนก็คงจะพอใจ และยอมรับการบริหาร งานของรัฐบาลชุดต่อไป


สมภพ : ดิ่งลึกเข้าสู่ระบบครอบครัว ไม่แตกต่างตะวันออกกลาง

ด้าน รศ.ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ กล่าวว่า ทุกวันนี้ประเทศไทยมีการเปิดกว้างทางเศรษฐกิจมากขึ้น และในขณะเดียวกันก็จำเป็นต้องเปิดกว้าง ในเรื่องอื่นๆที่เป็นกติกาของสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องของการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน หรือการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยประสบปัญหามาโดยตลอด

เพราะในขณะที่เรามีองค์กรเศรษฐกิจที่ทันสมัย สามารถพัฒนาเป็นมืออาชีพได้ แต่เรากลับเลื่อนชั้นจาก เศรษฐกิจภาคผลิต (production economy)ไปเป็นเศรษฐกิจภาคบริการ (service base economy)ไม่ได้เสียที นั่นเพราะปัญหาการเมืองภายในประเทศที่ ดิ่งลึกเข้าสู่ระบบครอบครัว จากพ่อสู่ลูกหลาน เป็นระบบการเมืองแบบเบ็ดเสร็จ แทบไม่ต่างจาก ประเทศในแถบตะวันออกกลาง ซึ่งทำให้โอกาสที่ประเทศจะสามารถขับเคลื่อนอย่างมีพลวัต เป็นไปได้ยาก และหากประเทศไทยยังคงย่ำอยู่กับที่ ไม่มีการปรับตัวเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า ยังคงใช้ระบบเศรษฐกิจ แบบยืมจมูกคนอื่นหายใจ รอให้ชาวต่างชาติมาลงทุน เป็นระบบเศรษฐกิจแบบจับกัง ด้วยแรงงานราคาถูก
ไม่มีแบรนด์ ประเทศไทยก็คงไม่สามารถจะเลื่อนชั้นไปเป็นเศรษฐกิจภาคบริการได้ ทั้งๆที่น่าจะมีโอกาส

รศ.ดร. สมภพ ได้กล่าวอีกว่า หากจะแก้ปัญหาด้วยการสวนกระแส ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง คงจะส่งผลกระทบมากแน่นอนภายใต้เศรษฐกิจระบบเปิดขนาดนี้ ดังนั้น ประเทศจะสามารถพัฒนาได้ ย่อมขึ้นอยู่กับระบบเลือกตั้งที่มีประสิทธิภาพ เพราะระบบการเลือกตั้ง คือเครื่องมือของระบบบริหารประชาธิปไตย ซึ่งตัวจะชี้วัดความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคคล ถ้าบุคคลที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้งมีคุณภาพ สภาผู้แทนราษฎรมีคุณภาพ สิ่งต่างๆก็จะเกิดการขับเคลื่อนพัฒนาเป็นพลวัต ไม่ว่าจะด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือการเมือง

คำถามจึงมีอยู่ว่า จะทำอย่างไรถึงจะพัฒนาจิตสำนึกของคนให้มีวิจารณญาณในการใช้สิทธิ์ของตน ทุกครั้งที่มีการหย่อนบัตรในคูหาเลือกตั้ง


บทสรุป ประเทศไทยไม่ไปไหน ถ้าคนไม่พัฒนา

ในช่วงท้าย พลเอก บุญสร้าง ได้สรุปว่า เราควรจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้การศึกษาเพื่อให้ประชาชนเป็นคนดีของชาติ ทุกคนต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ต้องสอนเด็กให้เป็นคนดี คือ เรื่องนี้ทุกคนต้องช่วยกัน ในส่วนของราชการก็ต้องเต็มกำลัง ประชาชนที่เป็นผู้ใหญ่ก็ต้องสอนเด็กให้ดี ถ้าถามว่าสอนอะไร คงไม่ต้องเป็นวิชาการมากมาย แค่สอนให้พวกเขาเป็นคนดี แล้วไม่ว่าจะอยู่ในระบอบอะไร ก็ย่อมง่ายที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อคุณภาพของบุคคล


ด้าน ดร. โคทม กล่าวว่า ทุกคนน่าจะยอมรับในพหุนิยม หรือความหลากหลาย ความแตกต่าง และจะต้องมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น การเสวนาในประเด็นต่างๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝึกให้คนเรา เป็นผู้ฟัง และคิดไตร่ตรองก่อนพูด รวมทั้งต้องพัฒนาทั้่งคนและระบบควบคู่กันไปเหมือนกับเราไปสอนเด็กว่าให้ระวังไฟไหม้ แต่เราไม่สนใจเรื่องระบบสายไฟ หรือระบบการดับไฟก็ไม่ได้

เพราะฉะนั้นนอกจากพัฒนาคน ให้การศึกษาคนแล้ว ก็ยังต้องมีระบบการเมืองที่ดี ระบบกฎหมายที่ดี ฯลฯ สิ่งสำคัญ คือ อยากให้ทุกคนเริ่มจากการทำในสิ่งที่ทำได้ใกล้ตัวก่อน แต่อย่าลืมเป้าหมายของเรา ที่เราอยากจะเห็นความเที่ยงธรรม ความสงบสันติ ความเจริญ และความสุขของมวลมนุษยชาติ เพราะฉะนั้น จึงอยากเสนอข้อคิดที่เป็นจุดร่วม นั่นก็คือ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมในสังคม ประเทศไทยถึงจะเดินไปได้


รศ.ดร. สมภพ กล่าวว่า มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอยู่ประมาณ 4-5 เรื่อง ที่ประเทศไทยจะต้องเตรียมการรับมือ กับการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มโอกาสและลดปัญหาของประเทศ เรื่องแรก คือ ประเทศตะวันตกซึ่งเป็นผู้นำและมหาอำนาจ เริ่มเผชิญกับสภาวะอัศดงคตทางเศรษฐกิจ เพราะอิงกับการเงินมากเกินไป

เรื่องที่สอง จากสภาวะอัศดงคตของประเทศฝั่งตะวันตก ได้ส่งผลดีกับประเทศในแถบตะวันออก เช่น จีน อินเดีย รวมทั้งประเทศต่างๆในแถบเอเชีย ซึ่งจากผลการวิจัยเปรียบเทียบ พบว่า ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรรวม 60% ของโลก แต่ GDPรวมอยู่ที่ประมาณ 20% คือขนาดรวมแล้ว ก็ยังไม่เท่ากับอเมริกาเพียงประเทศเดียวเลย เพราะฉะนั้นเรามีโอกาสมากที่เจริญเติบโตไปได้อีกมาก

เรื่องที่สาม เราจะต้องเผชิญกับความไม่สมดุลของโลก ทั้งความไม่ดุลทางเศรษฐกิจ หรือ global economic imbalance ที่บ่อยขึ้นและถี่ขึ้น

เรื่องสี่ ความไม่สมดุลในสภาวะธรรมชาติโลก ทั้งภัยพิบัติธรรมชาติ รวมถึงความไม่สมดุลที่มนุษย์ ได้กระทำย่ำยีต่อธรรมชาติโลก ซึ่งเป็นที่มาของสภาวะโลกร้อน และความแปรปรวนทางอากาศต่างๆ

เรื่องที่ห้า คือการที่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีไทยเป็นสมาชิก กำลังถูกขนาบด้วยความเปลี่ยนแปลง โดยภายหลังจากเหตุการณ์สึนามิและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่นที่จะผ่านพ้นไปเชื่อว่า ญี่ปุ่นคงจะทำการโยกย้ายทั้งฐานการลงทุน และฐานประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ออกมา นอกประเทศ นั่นเพราะระบบการขนส่งต่างๆที่ถูกทำลาย รวมทั้งปัญหาด้านพลังงาน ซึ่งคนญี่ปุ่นต้องพึ่งพลังงานจากนิวเคลียร์ถึง 30%

นอกจากนี้แล้ว ประเทศจีนก็นับเป็นอีกหนึ่งประเทศยักษ์ใหญ่ที่น่าจับตามอง ในเมื่อทั้งจีนและญี่ปุ่นจะเข้ามาแข่งขันกันที่ประเทศไทย และสมรภูมิอาเซียนอย่างดุเดือด เราจะมีนโยบายตั้งรับอย่างไร เพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ของการลงทุนจากจีนและญี่ปุ่นตรงนี้

เหมือนอย่างที่เราเห็นว่า แค่จีนมาตั้งศูนย์ค้าส่งที่บางนาตราดแค่ที่เดียว ก็แทบจะทำให้ทั้งประเทศลุกเป็นไฟแล้ว เพราะฉะนั้น นี่จึงเป็นโอกาสที่สำคัญมากของประเทศไทย และถึงอีกห้าปีข้างหน้า ประเทศไทยก็จะเข้าสู่สมาคมอาเซียนอีกด้วย ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องอาศัย good governance policy ต้องมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกต้อง และนโยบายดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ ก็จะต้องมาจากรัฐบาลที่ดี


( เรื่องและภาพ ชชานนท์ ลิ่มทอง )