WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 31, 2011

กองทัพไทย เป็นของใคร ? งบของใคร?

ที่มา Thai E-News


มีความผิดปกติเป็นอย่างมาก ในเดือนมีนาคมนี้ ที่มีแต่เรื่องการจัดตั้งหน่วยกำลังทางทหารค่อนข้างถี่ รวบรัดผิดสังเกต ดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง



โดย ปาแด งา มูกอ
31 มีนาคม 2554

มีความผิดปกติเป็นอย่างมาก ในเดือนมีนาคมนี้ ที่มีแต่เรื่องการจัดตั้งหน่วยกำลังทางทหารค่อนข้างถี่ รวบรัดผิดสังเกต ดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง ยังไงชอบกล

ผมจะลำดับคำพูด ของการให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารประเทศแต่ละคนก่อนน่ะครับ แล้วจึงค่อยวิเคราะห์ความผิดสังเกตให้ท่านผู้อ่านได้เห็นกันชัดๆว่า แต่ละคนมันพูดอะไรของมัน ดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง จริงๆ

เริ่มต้นศักราชแห่งปีการผลาญงบประมาณ


วันที่ 6 ม.ค.2554 พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เปิดบ้านให้ พล.อ.ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผบ.สส. นำทหารม้าจากทั่วประเทศ เข้าขอพรปีใหม่ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ โดย พล.อ.เปรม สวมเสื้อสีส้ม เป็นสีประจำวันพฤหัสบดี ซึ่งเป็นวันเกิด (26ส.ค.) ปัจจุบัน พลเอก เปรม อายุ 91 ปี

พล.อ.ทรงกิตติ เปิดเผยว่า พล.อ.เปรม บอกกับทหารม้า ให้มีความรักสามัคคี รวมกันเป็นหนึ่ง เพื่อดูแลชาติบ้านเมืองและปกป้องสถาบัน สำหรับพล.อ. เปรม เป็นนายทหารเหล่าม้า ซึ่งเป็นที่รักเคารพของทหารม้า จนพร้อมกันตั้งฉายาเรียกว่า "ป๋า"

ส่วนการจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 ตามแนวคิดของ พล.อ.เปรมนั้น พลเอกทรงกิตติ กล่าวว่า ทางกองทัพบกได้มีการจัดโครงสร้าง หรือการเตรียมกำลัง เราต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เราไม่ได้หมายถึงจะต้องเป็นกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) หรือกองพลทหารราบ หน่วยบิน หรือกองเรืออะไรต่างๆ แต่เรามองในภาพรวม ดูถึงความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ และภัยคุกคามในโอกาสต่างๆ ทุกอย่างไม่สามารถหยุดนิ่งได้ จะต้องมีการเคลื่อนไหว และปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของแต่ละสถานการณ์

แหล่งข่าวในกลาโหม กล่าวว่า การตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 ที่ จ.ขอนแก่น ได้ผ่านการพิจารณา และอนุมัติของสภากลาโหม ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ขณะนี้รอการนำเรื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยงบประมาณผูกพันปีแรก 1 พันล้านบาท จากโครงการระยะยาว 10 ปี ทั้งหมด 7 หมื่นล้านบาท แต่หากไม่มีงบประมาณ ก็ให้ชะลอการซื้อรถถังไว้ก่อน

วันที่ 2 มีนาคม 2554 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติงบลับ กว่า 2.3 พันล้านบาท (สังเกตคำว่า 2.3 พันล้านบาทน่ะครับ) เพื่อดำเนินการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) จ.เชียงใหม่ และกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) จ.ขอนแก่น ว่า กระทรวงกลาโหมได้เสนอ ครม.เรื่องความจำเป็นที่จะตั้งกองพลใหม่ขึ้นมาดูแลพื้นที่ความมั่นคงทางภาคเหนือและภาคอีสาน 2 กองพล โดยมีเหตุผลความจำเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ และการตั้งกองพลก็ต้องใช้เวลาจึงเริ่มปีนี้

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การจัดตั้งกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) จ.ขอนแก่น เป็นเพียงความต้องการของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเพียงคนเดียวที่จะใช้ชื่อตัวเอง ทั้งที่มีกองพลทหารม้าที่มีอยู่เดิม 2 แห่ง ก็ยังบรรจุอัตรากำลังพลไม่เต็ม นายสุเทพ กล่าวว่า ต้องขออภัย พอลงรายละเอียดเรื่องนี้ตนตอบไม่ได้ ต้องถามทาง รมว.กลาโหม

ต้องขออภัย พอลงรายละเอียดเรื่องนี้ตน (เทพเทือก) ตอบไม่ได้ หรือไม่กล้าตอบ

**********


วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

นี่ไงครับหลักฐานระดับ “ลับที่สุด” ที่เทพเทือกไม่กล้าตอบ ขืนตอบมีหวังโดนบูทนาบหน้าแน่ๆ

วันที่ 17 มีนาคม 2554 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลุกขึ้นชี้แจง ในสภา กรณีถูกพาดพิง เรื่องการจัดตั้งกองพลทหารราบที่ 7 และกองพลทหารม้าที่ 3 ว่าใช้เวลาการจัดตั้งทั้งสิ้น 3 ปี แต่ใช้งบประมาณเพียง 2,000 ล้านบาท (สังเกตคำว่า 2,000 ล้านบาทน่ะครับ)ไม่ใช่ 70,000 ล้านบาท ตามที่เข้าใจกันก่อนหน้านี้

ส่วนการจัดตั้ง พล.ร.7 นั้น ก็ใช้งบประมาณเพียง 9,000 ล้านบาท (สังเกตคำว่า 9,000 ล้านบาทน่ะครับ)ไม่ใช่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดตั้งกองพลเหล่านี้ ต้องผ่านการตรวจสอบจากสภากลาโหม อยู่แล้ว

วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

งบประมาณของการก่อตั้งทั้งสองกองพล ระหว่างคำพูดของเทพเทือก รองนายกฝ่าย ค.ม.ที่ว่า
“เพื่อดำเนินการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 7 (พล.ร.7) จ.เชียงใหม่ และกองพลทหารม้าที่ 3 (พล.ม.3) จ.ขอนแก่น 2.3 พันล้าน”
และคำพูดของ พล.อ.ประวิตร รมว.ก.ห. ที่ลุกขึ้นชี้แจงในสภา ว่า
“งบจัดตั้ง พล.ม.3 ใช้งบเพียง 2,000 ล้านบาท ส่วนงบจัดตั้ง พล.ร.7 ใช้งบเพียง 9,000 ล้านบาท”


สรุปแล้วทั้งสองกองพล มันก็เท่ากับใช้งบเพียง 1.1 หมื่นล้านบาท แล้วอีก 1.2 หมื่นล้านบาท มันไปซุกอยู่ที่ไหนว่ะ หือ รองนายกฝ่าย ค.ม. และ รมว.ก.ห.

แต่ที่แน่ๆ งบประมาณเฉพาะของ กองพลทหารม้าที่ 3 กองพลเดียวที่ใช้งบผูกพันปีแรก 1 พันล้านบาท จากโครงการระยะยาว 10 ปี ทั้งหมด 7 หมื่นล้านบาท แต่เพราะประเทศไทยตอนนี้เงินมันไม่มี หมดหน้าตักแล้ว “ก็ให้ชะลอการซื้อรถถังไว้ก่อน” นี่ล่ะครับเจ้าตัวสำคัญ เจ้ารถถังนี่แหล่ะครับ ที่ทำให้งบในการจัดตั้ง กองพลทหารม้าที่ 3 เหลือเพียง 2,000 ล้านบาท แต่ยังไงเสีย ตูก็จะหาเรื่องตั้ง กองพลทหาราบที่ 7 ขึ้นมาเพื่อเอางบอีก 9,000 ล้านบาท ใครจะทำไม กองพลนี้ป๋าไม่เกี่ยว

ความวัวยังไม่ทันหายเหม็น ความควายก็เข้ามาแทรก กองพลใหม่อาณาจักรภาคใต้ ความหวังของใคร? เทพเทือก,ผบ.ทบ.โดนยาสั่งจากใคร?


ผมขออธิบายถึงความเป็นมาของ กองพลทหารราบที่ 15 ( พล.ร.15 ) ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบก่อนน่ะครับ

ในยุคสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ครม.ในสมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้ง กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) โดยใช้ค่ายอิงคยุทธบริหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เป็นที่ตั้งหลัก

ทั้งนี้ไม่ใช่การจัดตั้งกองพลขึ้นใหม่ แต่เป็นการโอนย้ายกองพลทหารราบที่ 16 อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ไปอยู่แทน โดยใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการโครงการเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2548-2551 โดยที่ประชุม ครม. ได้ให้ทางกระทรวงกลาโหมไปหารือกับสำนักงบประมาณ เพื่อปรับลดงบประมาณที่จัดตั้งอีกครั้งหนึ่ง

ในส่วนของกำลังพลที่โอนย้ายไปอยู่กองพล ที่จัดตั้งขึ้นใหม่คิดเป็นร้อยละ 35 ของกำลังพลในหน่วยเดิม มียศ ร.อ.ขึ้นไป ในส่วนของกำลังพลหลักชั้นประทวนตั้งแต่ร้อยโทลงไปจนถึงทหารเกณฑ์

ทาง ครม.ได้อนุมัติอัตรากำลังพลใหม่รวม 12,000 นาย ภายในระยะเวลา 4 ปี สำหรับกองพลทหารราบที่ 15 นี้มีการจัดแบ่งเป็น 3 กองพันทหารราบเบาประจำใน จ.ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส มีนายทหารยศ พล.ต.เป็น ผบ.พล.ร.15

อยู่ภายใต้การดูแลสั่งการของ ผอ.กอ.สสส.จชต.ในแต่ละกองพันจะประกอบไปด้วย 3 กองร้อยหลัก คือ กองร้อยทหารเสนารักษ์ กองร้อยทหารช่างพัฒนา และกองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา ทั้งนี้ ทหารในกองพลทหารราบที่ 15 ยังมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนด้วย

ประวัติ กองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร.15) ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย

กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร

๑. นามค่ายและสถานที่ตั้ง
๑.๑ นามค่าย : “ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ”
๑.๒ สถานที่ตั้ง : เลขที่ ๘ ถ.เพชรเกษม (กม.ที่ ๒๓๙ – ๒๔๒) ต.หนองแก อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์

๒. หน่วยทหารที่ตั้งอยู่ในค่าย

๒.๑ บก.และร้อยบก.พล.พท. โดยแปรสภาพมาจาก บก. และ ร้อย.บก.พล.ร.๑๖
๒.๒ กรม พท.๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๑
๒.๓ กรม พท.๑ พัน.๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๑ พัน.๑
๒.๔ กรม พท.๑ พัน.๒ เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นใหม่
๒.๕ กรม พท.๒ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๒
๒.๖ กรม พท.๒ พัน.๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๒ พัน.๑
๒.๗ กรม พท.๒ พัน.๒ เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นใหม่

๓. ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้ง

เดิมเป็นหน่วยกองพลทหารราบที่ ๑๖ ซึ่งได้จัดตั้งตามคำสั่ง ทบ. ที่ ๑๐๒/๒๔ เมื่อ ๒๙ มิ.ย.๒๔ โดยเป็นหน่วยทหารกองหนุนในระดับกองพลเพื่อเป็นกำลังเสริมตามแผนเผชิญเหตุ ซึ่งได้บรรจุกำลังประจำการ ๓๐% และบรรจุกำลัง สำรอง ๗๐% เมื่อเริ่มจัดตั้งมีที่ตั้งชั่วคราวอยู่ในศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ย้ายจากที่ตั้งชั่วคราวมาเข้าที่ตั้งปกติถาวร ณ บริเวณตรงข้ามสวนสนประดิพัทธ์ ต.หนองแก อ.หัวหิน จว.ประจวบคีรีขันธ์

ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี ให้ กองทัพบก ดำเนินการจัดตั้งหน่วยทหารเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ รับผิดชอบการปฏิบัติภารกิจรักษาความมั่นคงภายใน และให้ความปลอดภัยแก่ประชาชน โดยน้อมนำแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๓ ประการ คือ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทางในการดำเนินการ โดยให้ กองพลทหารราบที่ ๑๖ เป็นฐานในการจัดตั้ง /แปรสภาพหน่วย และให้ใช้ชื่อหน่วยว่า “กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร” เมื่อ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ตามคำสั่ง ทบ. ลับ-เฉพาะ ที่ ๒๓/๔๘ ลง ๒๔ มี.ค. ๔๘

ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ได้รับพระราชทานนามค่าย เมื่อวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๓๕ โดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานนามค่ายทหาร ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๒ ลง ๑ ธ.ค. ๓๕ หน้า ๑๓๕๔๒

ประวัติความเป็นมาของนามค่ายได้มาจากพระวีรกรรมของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์สุโขทัย พระอัครมเหสีคู่พระทัยในสนามยุทธหัตถีของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งทรงเป็นกษัตราธิราช พระองค์ที่ ๑๒ ของราชวงศ์สุพรรณภูมิ แห่งแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ด้วยพระวีรกรรมแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย คราวทำศึกกับพม่า เมื่อ วันอาทิตย์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ ปีวอก พุทธศักราช ๒๐๙๑ ที่ทรงคชาธารตามเสด็จ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิออกศึก โดยทรงเครื่องพิชัยยุทธเป็นชาย ในระหว่างการชนช้างของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิกับพระเจ้าแปร แห่งพม่า ช้างของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียเชิงแก่ช้างพระเจ้าแปรทำให้ตกอยู่ในอันตราย เห็นดังนั้น สมเด็จพระสุริโยทัย จึงทรงขับช้างเข้าช่วย และเสียทีถูกพระแสงของ้าวของพระเจ้าแปรสิ้นพระชนม์

ด้วยพระวีรกรรมดังกล่าว แสดงออกถึงความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ในการอาสาศึก จนสิ้นพระชนม์ ซึ่งถือเป็นแบบอย่างของเหล่าทหาร ดังนั้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ แด่พระองค์ท่าน ในฐานะวีรกษัตรี กอปรกับในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีมหามงคล เนื่องในวโรกาสครบรอบสิริพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทาน นามค่ายว่า “ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย ”

หมายเหตุ สำหรับ นขต. พล.พท. ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในค่ายธนะรัชต์ อ.ปราณบุรี จว.ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วย

- กรม พท. ๓ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๓
- กรม พท. ๓ พัน ๑ โดยแปรสภาพมาจาก ร.๑๖๓ พัน ๑
- กรม พท. ๓ พัน ๒ เป็นหน่วยจัดตั้งขึ้นใหม่

พล.ร.๑๕

ประวัติหน่วย

“พล.ร.๑๕ ” ถือกำเนิดจากการเปลี่ยนนามหน่วย “กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร” เป็น “ กองพลทหารราบที่ ๑๕ ” ตามคำสั่ง กองทัพบก (เฉพาะ) ลับมาก ที่ ๑๘/๕๐ ลง๑๔ มี.ค.๕๐ เรื่องการเปลี่ยนนามหน่วย พล.พท. และ นขต.พล.พท. โดยให้เปลี่ยนนามหน่วย และเครื่องหมายสังกัด จากเดิม พล.พท. เป็น “ พล.ร.๑๕ ” และใช้ อจย. ๗ - ๒๑ เป็นอัตราการจัดอาวุธยุทโธปกรณ์

ที่ตั้งหน่วย

ที่ตั้งปกติชั่วคราว : ค่ายเด็จพระสุริโยทัย ต.หนองแก อ.หัวหิน จว. ประจวบคีรีขันธ์
ที่ตั้งปกติถาวร : ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จว. ปัตตานี
ภารกิจของหน่วย : พัฒนาประเทศ ปฏิบัติการรบรักษาความมั่นคงภายในและรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่
การปฏิบัติที่สำคัญ : จัดตั้ง กองกำลังศรีสุนทร ปฏิบัติงานในพื้นที่ จชต.ห้วงตั้งแต่ ต.ค.๔๘ จนจบภารกิจใน ก.ย.๕๐
เกียรติประวัติของหน่วย :
วันสถาปนาหน่วย : วันที่ ๑ เม.ย. วันสถาปนาหน่วย พล.ร.๑๕

เมื่อท่านผู้อ่านได้รับทราบประวัติความเป็นมาของกองพลนี้แล้ว ทีนี้ก็มาช่วยกันวิเคราะห์กันว่า ในเมื่อปัจจุบัน การปฏิบัติงานของ กองพลทหารราบที่ 17 ที่อยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บวก 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ก็เป็นไปโดยปกติ อู้บ้าง ขยันบ้าง ขัดขากันเองบ้าง แล้วอยู่ๆวันดีคืนดีก็มาอ้างถึงความจำเป็นที่จะต้องตั้งกองพลนี้ ในพื้นที่ชายแดนใต้ให้ได้ มันอะไรกันหนักหนาที่ต้องร้อนรนให้มันเสร็จสิ้นภายในเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2554 ให้จงได้

ประเด็นนี้มันมีที่มาที่ไปครับ

ประเด็นที่ 1 มีการตั้งคำถามจากนักรบชายแดนใต้ว่า กองพลทหารราบที่ 15 จะเป็นกองพลที่ต้องดูแลสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน คือการก่อความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไมจึงมีความเร่งด่วนต่ำกว่า กองพลทหารม้าที่ 3 ?

ประเด็นนี้น่าจะเป็นการต่อต้าน “เจ้าของความฝัน พล.ม.3” โดยตรง เพราะกำลังพลส่วนใหญ่ของ พล.ร.15 ไม่ใช่คนใต้ทั้งหมด ดังนั้นกำลังพลเหล่านี้จึงไม่เข้าใจ “เจ้าของความฝัน” เท่าใดนัก

ประเด็นที่ 2 ปัจจุบัน กองพลทหารราบที่15 จะมีที่ตั้งถาวรอยู่ที่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ส่วนบริเวณค่ายอิงคยุทธบริหารเป็นที่ตั้งชั่วคราวไปก่อนจนกว่าที่ตั้งถาวรที่ปัตตานีจะเสร็จ ที่พอจะทราบก็มีโรงเรียนนายสิบมาซุ่มดูพื้นที่ กับ หน่วยรักษาพระองค์ พื้นที่กว้างขวางมากครับ

เดิมพื้นที่นี้มี บก.พล.ร.16 กรม ร.161 พัน1 กรม ร.162 พัน1 และมีศูนย์วิวัฒพลเมือง วันนี้ไม่คึกคักเหมือนเก่าเงียบเหงาเพราะบุคคลากรส่วนใหญ่ลงไปปฎิบัติหน้าที่ 3 จชต.กันเกือบหมด

ปัญหาที่จะตามมาหลังจากย้ายไปอยู่ที่ตั้งถาวรกันแล้ว ก็คือเรื่องการย้ายสำมะโนครัวของครอบครัว กำลังพลส่วนใหญ่ที่อยู่ตามบ้านพักต่างๆซึ่งจะต้องย้ายตามสามีไปด้วยวิถีชีวิตที่จะต้องเปลี่ยน

พักหลังๆที่ได้ทราบข่าวมาว่าแนวหลังค่อนข้างดูหดหู่บางครอบครัวก็แตกแยกเพราะหัวหน้าครอบครัวไปอยู่ที่ 3 จชต. ตั้งแต่ปี 48 ไม่ได้เปลี่ยนผลัดเหมือนหน่วยอื่น ไม่มีกำลังพลหมุนเวียนทำให้เกิดปัญหาครอบครัวตามมา โยกกำลังพลกันสนุกเลยละครับ

ยกตัวอย่าง สิบเอก สุเทพ. ตำแหน่งนายสิบยานยนต์ พัน1 อยู่ไปได้3เดือน โยกไปเป็นหน่วยข่าว จากหน่วยข่าวโยกไปเติมกำลังให้ พัน 2 ที่จัดตั้งใหม่ให้ครบ อจย.เป็นตำแหน่ง หัวหน้าชุดยิง จากนั้นโยกไปอยู่ โครงการพระราชดำริ จากนั้นโยกไปอยู่สาย กร.พัน2 จากนั้นโยกกลับอยู่ พัน1 ตำแหน่งหัวหน้าชุดยิง จากนั้นพอ พัน3 จัดตั้งโยกไปอยู่ พัน3 อีกตำแหน่ง เห็นแล้วเหนื่อยแทนเลยครับ นี้ยกตัวอย่างแค่ นายสิบที่ชื่อสุเทพ คนเดียวนะครับ ส่วนนายทหารไม่ต้องพูดถึงเละยิ่งกว่านี้หลายเท่า

ทีนี้เราก็จะมาดูถึงการตั้ง กองพลทหารราบที่ 15 ทางภาคใต้ ว่ามันลุกลี้ลุกลนกันยังไง

วันที่ 8 มีนาคม 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขา สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการตั้งกองพลทหารราบที่ 15 ( พล.ร.15) เมื่อไหร่จะแล้วเสร็จจะได้ไม่ต้องสับเปลี่ยนกำลัง นายถวิลกล่าวว่า มันไม่ง่าย เป็นเรื่องเร่งด่วน สำหรับการผลิตกำลังพลก็ต้องหมุนเวียนไปก่อน การแต่งตั้งกองพลทหารราบที่ 15 มันต้องใช้เวลา

เมื่อถามด้วยว่า 7 ปีที่ผ่านมาทำไมถึงล่าช้า นายถวิลกล่าวว่า เรื่องสถานการณ์ภาคใต้มันเป็นสถานการณ์ใหม่ มันเปลี่ยนจาก 30-40 ปีที่แล้ว ไม่ใช่การต่อสู้ของคอมมิวนิสต์แล้ว แต่บางอย่างอาจจะนำมาใช้ได้ บางอย่างพัฒนาขึ้นมาใหม่ เจ้าหน้าที่กำลังพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา จึงจำเป็นต้องหมุนเวียนกำลังพล

วิเคราะห์บทสัมภาษณ์


สำหรับท่านถวิล เปลี่ยนศรี เลขา สมช.ท่านนี้ ท่านน่าจะเป็นสมภารเจ้าวัดเสียมากกว่า เพราะท่านมุสาไม่เป็น มีอะไรก็พูดตรงๆไม่อ้อมค้อม แต่ผมขอฟันธงว่า คำพูดของท่านมันเบาเหมือนปุยนุ่น หรือลูกโป่งฟองสบู่ที่เด็กๆชอบเป่าเล่น ถึงแม้จะพูดตามความเป็นจริงก็ตาม อย่างเช่นเรื่อง “ผังล้มเจ้า” ที่ดันไปพูดความจริงเสียหมดว่า ผังล้มเจ้า เป็นความผิดพลาด เป็นตราบาปของ ศอฉ. อ้าวแล้วท่านในฐานะ เลขาศูนย์อับเฉา ท่านมิต้องมีตราบาปติดตัวไปจนตายเหมือนกับคนอื่นเขาหรอกหรือ ท่านถวิล

แผนผัง “ล้มเจ้า” (ฉบับอิ๊กคิวซัง) เป็นแค่การวิเคราะห์เชื่อมโยงบุคคล ที่ฝ่ายยุทธการปัญญาอ่อน ที่มือซนได้ขีดเขียนเล่นในขณะนั่งถ่ายทุกข์เท่านั้นเอง

วันที่ 22 มี.ค. 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาลนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเด็นหนึ่งที่ผู้สื่อข่าวถามถึงเรื่อง การตั้งกองพลทหารราบที่ 15 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายเทพเทือกได้ตอบอย่างฉะฉานว่า
“...ความคืบหน้าในการตั้งกองพลทหารราบที่ 15 ต้องใช้เวลานานหน่อย แต่ขณะนี้ดำเนินการไปได้มากแล้ว และจะพยายามเร่งรัดให้เร็วที่สุด…”


วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

มาอีหรอบเดียวกันกับการตั้ง กองพลทหารม้าที่ 3 และ กองพลทหารราบที่ 7 ที่ว่า “กระทรวงกลาโหมได้เสนอ ครม.เรื่องความจำเป็นที่จะตั้งกองพลใหม่ขึ้นมาดูแลพื้นที่ความมั่นคงทางภาคเหนือและภาคอีสาน 2 กองพล โดยมีเหตุผลความจำเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ และการตั้งกองพลก็ต้องใช้เวลา จึงเริ่มปีนี้ ” แนวเดียวกันเลยไอ้คำว่า “ใช้เวลานานหน่อย” กับคำว่า “ต้องใช้เวลา”

แต่ดันเสือกร้อนรนรีบตั้งหาพระแสงอะไร เจ้าเทพเทือก ประชาชนเขาสงสัย

วันที่ 23 มี.ค. 2554 ที่สโมสรทหารบก ถ.วิภาวดี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เปิดงาน "ประธานชมรมทำดีมีอาชีพ และประธานสภาสันติสุขตำบล พบผู้บริหารระดับสูง" 290 ตำบล ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

พล. อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การแก้ปัญหาภาคใต้ต้องลดปัญหาภัยแทรกซ้อน ทั้งกลุ่มอิทธิพลค้าของเถื่อน ทำผิดกฎหมาย ซึ่งแพร่กระจายในหลายหมู่บ้าน ตนกำชับไม่ให้เจ้าหน้าที่ทำผิดกฎหมาย หากผิดต้องถูกลงโทษ และผู้ที่กระทำความผิดต้องได้รับการดูแลอย่างยุติธรรม เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้มาตรการรุนแรงใดๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ผู้ก่อความไม่สงบจะมีอาวุธ

เหตุการณ์ทั้งกรือเซะ ตากใบ เป็นเรื่องที่เราไม่สบายใจ ขณะนี้เรื่องทั้งหมดอยู่ในกระบวนการยุติธรรม (พลาดอีกเรื่องหนึ่งแล้วเจอไมค์ไม่ได้จริงๆ เรื่องนี้มีปมที่ลึกมากๆครับท่านผู้อ่าน คราวหน้าผมจะนำมาขยายความให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบกันต่อไปว่า ทำไม? ไกรศักดิ์ “ซ้ายผับ”กับปณิธาณ “เลียไข่” จึงพยายามที่จะขุดเหตุการณ์ทั้งสองขึ้นมา เพื่อหวังผลอะไร ? ท่านผู้อ่านคงจะเริ่มอ่านเกมส์ออกแล้วล่ะสิ )

ประชาชนและรัฐต้องช่วยกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก ยอมรับว่าการดูแลรักษาความปลอดภัยตอนนี้ยังไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะพื้นที่กว้างไกล แต่ก็น่ายินดีที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น ส่วนที่มีคนบอกว่า บางโครงการที่ลงไปในหมู่บ้านประชาชนไม่ต้องการ ยืนยันว่าทุกโครงการผ่านสภาตำบล ถ้าต้องการให้บ้านเมืองไปได้ต้องช่วยกันแก้ปัญหา อย่าให้ร้ายทะเลาะกัน

จาก นั้นพล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีประชาชนในพื้นที่อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ไม่เห็นด้วยที่ทหารจะย้ายฐานออกจากพื้นที่ว่า ให้แม่ทัพภาคที่ 4 พิจารณาทบทวนว่า ระยะยาวจะทำอย่างไรให้ดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัยทั้งหมด และให้ประชาชนมีความมั่นใจ ขณะนี้เรามี พล.ร.15 (กองพลทหารราบที่ 15)ซึ่งจะดูแลพื้นที่ให้ปลอดภัยทั้งหมด แต่จะต้องปรับพื้นที่รับผิดชอบให้เหมาะสมขึ้น หรือบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยเก่ากับหน่วยใหม่ ซึ่งคงต้องพิจารณาอีกครั้งโดยให้แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นผู้ตัดสินใจ ทั้งนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความพอใจของประชาชน ต้องรอติดตามผลต่อไป

ห่างกันแค่ 1 วัน มันมาอีกแล้ว!!!

ผบ.ทบ.เร่งสร้างความพร้อม กองพลทหารราบที่ 15 คุมจังหวัดชายแดนใต้ รับภารกิจดับไฟใต้เบ็ดเสร็จหน่วยงานเดียว

วันที่ 25 มีนาคม 2554 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ ผบ.ทย. ได้สัมภาษณ์ถึงการสร้างความพร้อมให้กับกองพลทหารราบที่ 15 (พล.ร. 15) เพื่อให้เข้ามารับผิดชอบพื้นที่ทั้งหมดในอนาคต ว่า ดำเนินการตามระยะเวลา อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ยังไม่เรียบร้อยถึงขั้นมีการใช้ความรุนแรง พล.ร. 15 ยังรับผิดชอบหน่วยเดียวไม่ไหว เนื่องจากมีเพียงกองพลเดียว จึงยังจำเป็นต้องให้กำลังพลจากหน่วยอื่น ๆ เข้ามาเสริมการทำงาน

แต่เมื่อใดที่สถานการณ์เรียบร้อยก็ต้องค่อย ๆ ลดทหารจากส่วนอื่นลงไป ซึ่งเรื่องนี้กองทัพบกมีแผนอยู่แล้ว และเกิดกรณีประชาชนในพื้นที่ไม่ต้องการให้ พล.ร.15 เข้ามาดูแลเพราะต้องการให้หน่วยเดิมดูแลต่อไป ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะต่อไปพล.ร. 15 ต้องรับผิดชอบทั้งหมด

และในเดือนเมษายนนี้จะเริ่มปรับพื้นที่ใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การจัดอัตรากำลังยังเท่าเดิม ตรงไหนปกติแล้ว เราก็จะผ่องถ่ายไปให้ พล.ร. 15 เขารับไป ประชาชนต้องเข้าใจ ต้องไว้ใจ เพราะพล.ร. 15 เขาไม่ไปไหน เขาอยู่ในพื้นที่ คนอาจไม่เข้าใจคิดว่าทำไมอยู่แป๊บเดียวก็เปลี่ยน แต่ความจริงเขาไปหลายรอบแล้ว ก่อนไปก็ต้องอบรมตั้ง 6-7 เดือน เรื่องระเบียบวินัย วัฒนธรรม ศาสนา แต่จะให้รู้ทุกอย่างคงเป็นไปไม่ได้ แต่เรารู้ว่าอะไรที่เราไปทำแล้วไม่ผิดเขา

ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ประเมินผลการทำงานของแต่ละเหล่าทัพที่เข้าไปเสริมการทำงานในพื้นที่มาตลอด และพบว่าดีขึ้นกว่าเดิม ในส่วนใดที่เขาใช้อาวุธเราก็ต้องใช้อาวุธก็ใช้ แต่ถ้าเขาไม่ใช้อาวุธ เราก็ใช้กฎหมายการสร้างความเข้าใจ ซึ่งทำมาตลอด

วิเคราะห์บทสัมภาษณ์

นี่ไงครับที่ผมบอกว่า การตั้งหน่วยกำลังทางทหารระดับ กองพลในเดือน มีนาคม นี้มันดูลุกลี้ลุกลนเหมือนคนโดนยาสั่ง ยังไงชอบกล!!!

ท้ายนี้ได้ข่าว โคตรลับ มาว่า ได้มีการเตรียมขอโปรดเกล้า ชื่อค่าย ของ กองพลทหารราบที่ 15 ว่า “ค่ายพญาตานี” ครับผม