WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 20, 2011

นักวิชาการกระทุ้งพรรคการเมือง:เลือกตั้ง3กรกฎาอย่าดูดาย เลิกหลอกตัวเอง ได้เวลาแก้มาตรา112

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
20 มิถุนายน 2554

หมายเหตุไทยอีนิวส์:นัก วิชาการผู้มีชื่อเสียง ได้ออกแถลงการณ์ในนามเครือข่ายสันติประชาธรรม ยื่นข้อเรียกร้องต่อบรรดาพรรคการเมืองว่า ในเทศกาลเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ ถึงเวลาแก้ไข ม. 112 แล้ว บรรดานักการเมือง อันเป็นตัวแทนของประชาชน ย่อมต้องไม่เพิกเฉยดูดาย หรือหลอกตัวเองต่อไปว่ามาตรา 112 ไม่ใช่ปัญหาแต่ประการใด ดังมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ข้อเรียกร้องต่อบรรดาพรรคการเมือง:ถึงเวลาแก้ไขมาตรา 112 (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ)

ใน วาระที่สังคมไทยกำลังเข้าสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 นี้ การเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนจำนวนมากไม่เพียงต้องการรู้ว่าบรรดาพรรคการ เมืองใหญ่ๆ มีนโยบายที่จะสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนอย่างไร แต่ยังจับตามองว่าพวกท่านแนวทางอะไรในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และหลักการประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรุนแรงนับตั้งแต่การรัฐ ประหารเมื่อปีพ.ศ. 2549 เป็นต้นมา

มาตรา 112 กับการละเมิดสิทธิเสรีภาพ

เป็น ที่ทราบกันดีว่านับตั้งแต่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 วิธีการหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อกดปราบผู้ที่มีความคิดเห็นทาง การเมืองที่แตกต่างก็คือ การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือมาตรา 112 โดยมักใช้ควบคู่ไปกับพ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550

ดัง จะเห็นได้ว่าสถิติผู้ถูกจับกุมและต้องโทษด้วยมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน กล่าวคือ ในขณะที่ระหว่างปีพ.ศ. 2520-2535 การฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเฉลี่ยเพียงปีละ 10 ราย และลดลงเรื่อยมานับจากปีพ.ศ. 2543 แต่หลังการรัฐประหารจนถึงปี พ.ศ. 2552 มีการยื่นฟ้องคดีหมิ่นฯถึง 396 ราย

นอกจากนี้ ภายใต้การทำงานของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เชื่อได้ว่าตัวเลขผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง

เป็น ที่ชัดเจนว่าข้อความหลวม ๆ ของมาตรา 112 ที่ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือ แสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งสามปีถึงสิบห้าปี" ได้ถูกผู้ที่ยึดกุมอำนาจรัฐและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ ใช้เพื่อทำลายความชอบธรรมของกลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้าม

สถาบัน กษัตริย์ถูกอ้างครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ การเมืองของคนบางกลุ่ม “ความจงรักภักดี” กลายมาเป็นอาวุธสำหรับข่มขู่คุกคามและสร้างความเกลียดชังในหมู่ประชาชนด้วย กัน

ตัวอย่างล่าสุดที่ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมดังกล่าวได้ดีก็คือ คำให้การในศาลของพันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด ถึงกำเนิดของ “แผนผังล้มเจ้า” ของศอฉ. ว่าแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเรื่องที่ศอฉ. คิดขึ้นเองแบบทันทีทันใด โดยยังไม่มีข้อยืนยันว่ารายชื่อคนจำนวนมากที่ปราก ฎในแผนผังคือ คนที่คิด "ล้มเจ้า" หรือ "ล้มล้างสถาบันกษัตริย์" จริง ๆ

แต่เราก็ได้ประจักษ์ กันแล้วว่าแผนการณ์ที่ถูกคิดขึ้นแบบทันทีทันใดนี้ กลายมาเป็นข้ออ้างสำคัญเพื่อใช้ปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือน เมษายนและพฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในที่สุด

ข้อหาไม่จงรักภักดียังนำไปสู่ การตามปิดสถานีวิทยุชุมชุนนับร้อยแห่ง และเว็บไซต์อีกนับหมื่นแห่ง โดยที่เหตุผลที่แท้จริงอาจเป็นเพราะพวกเขากล้าวิพากษ์วิจารณ์ผู้ยึดกุมอำนาจ รัฐอย่างรุนแรง และพวกเขาสนับสนุนหรือเห็นใจการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง

ความ อ่อนไหวของข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาและครอบครัว ของพวกเขาต้องประสบกับการกดดันจากสังคมรอบด้าน ซ้ำร้ายพวกเขามักประสบกับการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่คำนึงถึงหลักการพื้นฐาน ของสิทธิพลเมืองอีกด้วย เช่น การตีความตามอำเภอใจ, ไม่อนุญาตให้ประกันตน แม้ว่าบางคนจะสูงวัยและมีโรคประจำตัว, ไต่สวนด้วยวิธีปิดลับ, ห้ามสื่อมวลชนรายงานข่าว ฯลฯ

ประการสำคัญ สื่อมวลชนเกือบทั้งหมดก็เลือกที่จะปิดหูปิดตาทั้งของตนเองและของประชาชนใน เรื่องนี้ จนทำให้การตรวจสอบและคัดคานอำนาจอันล้นฟ้าของกระบวนการยุติธรรมในคดีหมิ่น พระบรมเดชานุภาพเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย

ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่พวกเขากระทำนั้นเป็นเพียงแค่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง หากพวกเขาผิด ก็ผิดเพราะ “คิดต่าง” เท่านั้น แต่อำนาจรัฐกลับกระทำต่อพวกเขาประหนึ่งอาชญากรร้ายแรง ผู้ต้องหาเหล่านี้จึงมักถูกลงโทษขั้นสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หลายคนถูกกลั่นแกล้งและทำร้ายจากทั้งผู้คุมและผู้ต้องขังในคุก จนเกิดความเครียด ต้องการฆ่าตัวตาย

การปิดกั้น ข่มขู่ คุกคาม และละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยมาตรา 112 ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้สถานการณ์สิทธิเสรีภาพของประเทศไทยตกต่ำอย่าง ถึงที่สุด กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2553 องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) เขยิบประเทศไทยจากอันดับที่ 59 (ของปี 2547) ลงไปที่อันดับที่ 153 จากจำนวน 178 ประเทศ

ส่วนในปี พ.ศ. 2554 องค์กรฟรีดอมเฮ้าส์ เปลี่ยนสถานะของไทยจาก “กึ่งเสรี” เป็น “ไม่เสรี” ส่งผลให้ไทยอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเกาหลีเหนือ พม่า จีน คิวบา โซมาเลีย อัฟกานิสถาน อิหร่านและอีก 63 ประเทศทั่วโลก

การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ

ด้วย ความตระหนักต่อสภาวการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ได้มีความพยายามเรียกร้องและรณรงค์ให้รัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากมาตรา 112 และหาทางแก้ไขกฎหมายฉบับนี้

โดยเป็นการผลักดันทั้งในระดับกลุ่ม เช่น นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์, กลุ่มเครือข่ายสันติประชาธรรม, กลุ่มมาตรา 112: การรณรงค์เพื่อการตื่นรู้, กลุ่มนักเขียนอิสระ, ฯลฯ และทั้งในระดับปัจเจกชน โดยผ่านการเขียนและอภิปรายในที่ต่าง ๆ ของศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล, ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เป็นต้น

นอกจากนี้ มาตรา 112 ยังกลายเป็นประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552 นักวิชาการชั้นนำทั่วโลกกว่า 50 คนได้ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ

นอกเหนือจากปัญหาการละเมิด สิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยมาตรา 112 ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว กลุ่มบุคคลและปัจเจกบุคคลข้างต้น ยังได้ท้าทายให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตอบคำ ถามสำคัญดังต่อไปนี้

- อะไรคือบทบาทและพระราชอำนาจที่แท้จริงและที่ควรจะเป็นของสถาบันพระมหากษัตริย์?

- อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกับหลักการเสรีประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน?

- การแก้ปัญหาที่มุ่งไปที่การจับกุมปราบปรามและลงโทษเป็นหลัก จะนำมาซึ่งความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ได้จริงหรือ?

- เจ้าหน้าที่รัฐและระบบตุลาการของไทยปฏิบัติต่อผู้ต้องหาในคดีนี้อย่างโปร่ง ใสและคำนึงถึงหลักการสิทธิและเสรีภาพตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพียงใด?

- กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีความเหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันหรือไม่อย่างไร? ควรมีการปรับปรุงการใช้กฎหมายนี้อย่างไร?

- การวิจารณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จำเป็นต้องเท่ากับการมุ่งทำลายสถาบันจริง หรือ? เราจะมองว่าการวิจารณ์นำไปสู่การปรับตัวของสถาบันกษัตริย์เพื่อให้สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมือง และนำไปสู่ความมั่นคงของสถาบันท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่?

- หากไม่มีกฎหมายหมิ่นฯแล้ว สถาบันพระมหากษัตริย์ควรได้รับการปกป้องคุ้มครองในลักษณะใด และด้วยกฎหมายใด?

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าปัญหาอันรุนแรงของมาตรา 112 ได้ปลุกเร้าให้ผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ไม่สามารถนิ่งเฉยดูดายได้อีกต่อไป

เราเชื่อว่าแนวโน้มว่ากระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112 จะมาจากกลุ่มที่หลากหลายและเสียงดังมากขึ้นเรื่อย ๆ

ฉะนั้น บรรดานักการเมือง อันเป็นตัวแทนของประชาชน ย่อมต้องไม่เพิกเฉยดูดาย หรือหลอกตัวเองต่อไปว่ามาตรา 112 ไม่ใช่ปัญหาแต่ประการใด

พวก เรา ประชาชนที่ลงนามในท้ายจดหมายฉบับนี้ จึงขอเรียกร้องให้พรรคการเมืองทั้งหลายประกาศนโยบายที่เป็นรูปธรรมต่อมาตรา 112 เพื่อเป็นปัจจัยในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนต่อไป

ท้าย นี้ ด้วยความตระหนักถึงประเด็นปัญหาที่รายล้อมการใช้กฎหมายมาตรา 112 พวกเราเชื่อว่าท่ามกลางวิกฤติการเมืองไทยในขณะนี้ หนทางเดียวที่จะสร้างความมั่นคงของสถาบันกษัตริย์ พร้อม ๆ ไปกับสร้างหลักประกันให้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตยของ สังคมไทยก็คือ จะต้องมีการแก้ไขมาตรา 112


เครือข่ายสันติประชาธรรม

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธงชัย วินิจจะกูล ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นิติ ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
David Streckfuss, The CIEE Research and Development Institute, Khon Kaen University
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการอิสระ

หมายเหตุ:สามารถร่วมลงชื่อเพิ่มเติมได้ที่ลิ้งค์ https://mail.google.com/mail/h/14n4k8npg7qmj/?v=c&th=130a88cf7e91f287

******
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:แถลงการณ์ นักอ่าน “เราต้องการเสรีภาพในการอ่าน เพราะเสรีภาพในการอ่านเป็นพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในสังคมอารยะ” ร่วมสนับสนุนนักเขียนที่ลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้มีการแก้ไขมาตรา 112