WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 27, 2011

นิติราษฏร์ ฉบับ 28 (วรเจตน์ ภาคีรัตน์): การลบล้างคำพิพากษาที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมายและความยุติธรรม

ที่มา ประชาไท

เป็น ที่ยอมรับกันทั่วไปเป็นยุติว่าคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด แล้วนั้น เป็นสิ่งที่ชี้ขาดว่าสิทธิหน้าที่ของบุคคลในทางกฎหมายมีอยู่อย่างไร คำพิพากษานั้นจะถูกหรือผิดอย่างไรในทางกฎหมายก็ตาม โดยปกติแล้ว ก็ย่อมมีผลผูกพันบรรดาคู่ความในคดี ข้อพิพาททางกฎหมายย่อมยุติลงตามการชี้ขาดคดีของศาลซึ่งถึงที่สุด และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นฐานแห่งการบังคับคดีตลอดจนการกล่าวอ้างของคู่ ความในคดีต่อไปได้ คุณค่าของการต้องยอมรับคำพิพากษาของศาลก็คือ ความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะของบุคคล อันมีผลบั้นปลายในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย
อย่าง ไรก็ตาม กรณีย่อมเป็นไปได้เสมอที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น ความผิดพลาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความจงใจหรือความประมาทเลินเล่อ ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม หรือความผิดพลาดนั้น อาจเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยก็ได้ ระบบกฎหมายที่ดีย่อมกำหนดกฎเกณฑ์ให้มีการทบทวนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดไปแล้ว ได้ ในทางกฎหมาย เราเรียกกระบวนการทบทวนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดไปแล้ว แต่มีความบกพร่อง และหากปล่อยไว้ไม่ให้มีการทบทวน ก็จะไม่ยุติธรรมแก่คู่ความในคดีว่า การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ในกรณีที่ปรากฏในกระบวนการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าคำพิพากษาที่ถึงที่ สุดแล้วนั้น เป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาด ศาลที่พิจารณาคดีดังกล่าวนั้น ย่อมต้องยกคำพิพากษาเดิมซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาดเสีย แล้วพิพากษาคดีดังกล่าวใหม่
การรื้อฟื้นคดีขึ้น พิจารณาใหม่ จึงเป็นหนทางของการลบล้างคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาด ทั้งนี้ตามกระบวนการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าในระบบกฎหมายนั้น โดยองค์กรที่มีอำนาจลบล้างคำพิพากษาที่ผิดพลาดดังกล่าว ก็คือ องค์กรตุลาการหรือศาลนั่นเอง
ในทางนิติปรัชญาและใน ทางทฤษฎีนิติศาสตร์ ยังคงมีปัญหาให้พิเคราะห์ต่อไปอีกว่า ในกรณีที่ศาลหรือผู้พิพากษาอาศัยอำนาจตุลาการพิจารณาพิพากษาคดีไปตามตัวบท กฎหมายซึ่งเห็นได้ชัดว่าไม่สอดคล้องกับความยุติธรรม หรือในกรณีที่ศาลหรือผู้พิพากษาพิจารณาพิพากษาคดีไปโดยไม่เคารพหลักการพื้น ฐานของกฎหมาย นำตนเข้าไปรับใช้อำนาจทางการเมืองในห้วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ยอมรับสิ่งซึ่งไม่อาจถือว่าเป็นกฎหมายได้ ให้เป็นกฎหมาย แล้วชี้ขาดคดีออกมาในรูปของคำพิพากษา ในเวลาต่อมาผู้คนส่วนใหญ่เห็นกันว่าคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำพิพากษาที่ไม่ อาจยอมรับนับถือให้มีผลในระบบกฎหมายได้ และเห็นได้ชัดว่าไม่อาจใช้วิธีการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ลบล้างคำ พิพากษานั้นได้เช่นกัน จะมีหนทางใดในการลบล้างคำพิพากษาดังกล่าวนั้น
หลัก การเบื้องต้นในเรื่องนี้ มีอยู่ว่า กฎเกณฑ์ที่ขัดต่อความยุติธรรมอย่างรุนแรง ไม่ควรจะได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายฉันใด คำตัดสินที่ขัดต่อหลักการพื้นฐานทางกฎหมายและความยุติธรรมอย่างชัดแจ้งก็ไม่ ควรจะได้ชื่อว่าเป็นคำพิพากษาฉันนั้น
ในประเทศ เยอรมนี หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ความปรากฏชัดว่า ศาลต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งศาลพิเศษที่อดอลฟ์ ฮิตเลอร์จัดตั้งขึ้นเป็นศาลสูงสุดในคดีอาญาทางการเมือง (เรียกกันในภาษาเยอรมันว่า Volksgerichtshof ซึ่งอาจแปลตามรูปศัพท์ได้ว่า ศาลประชาชนสูงสุด เมื่อแรกตั้งขึ้นนั้น ศาลดังกล่าวนี้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการทรยศต่อชาติ ต่อมาได้มีการขยายอำนาจออกไปในคดีอาญาอื่นๆด้วย เช่น การวิจารณ์หรือแสดงความสงสัยในชัยชนะในสงครามของรัฐบาลนาซีเยอรมัน ศาลดังกล่าวนี้ก็อาจลงโทษประหารชีวิตผู้วิจารณ์หรือแสดงความสงสัยในชัยชนะ นั้นเสียก็ได้) ได้พิพากษาลงโทษบุคคลจำนวนมากโดยขัดต่อหลักการพื้นฐานทางกฎหมายและความ ยุติธรรม มีคำพิพากษาจำนวนไม่น้อยที่ศาลได้ใช้วิธีการตีความกฎหมายขยายความออกไป อย่างกว้างขวาง เพื่อลงโทษบุคคล ในหลายกรณีเห็นได้ชัดว่าศาลได้ปักธงในการลงโทษบุคคลไว้ก่อนแล้ว และใช้เทคนิคโวหารในการใช้และการตีความกฎหมายโดยบิดเบือนต่อหลักวิชาการทาง นิติศาสตร์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการลงโทษบุคคลนั้น (เช่น คดี Leo Katzenberger)
มีข้อสังเกตว่า การดำเนินคดีในนามของกฎหมายและความยุติธรรมของศาลในระบบนาซีเยอรมัน เกิดจากแรงจูงใจในทางการเมือง เชื้อชาติเผ่าพันธุ์ และศาสนา (อาจเรียกให้สมกับยุคสมัยว่า "ตุลาการนาซีภิวัฒน์") อีกทั้งกระบวนการในการดำเนินคดี ขัดต่อหลักการพื้นฐานหลายประการ เช่น การไม่ยอมมีให้มีการคัดค้านผู้พิพากษาที่เห็นได้ชัดว่ามีส่วนได้เสียหรือมี อคติในการพิจารณาพิพากษาคดี การจำกัดสิทธิในการนำพยานหลักฐานเข้าหักล้างข้อกล่าวหา การกำหนดให้การพิจารณาพิพากษากระทำโดยศาลชั้นเดียว ไม่ยอมให้มีการอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษา การจำกัดระยะเวลาในการต่อสู้คดีของจำเลย เพื่อให้กระบวนพิจารณาจบไปโดยเร็ว มิพักต้องกล่าวถึงบรรยากาศของการโหมโฆษณาชวนเชื่อในทางสาธารณะ และแนวความคิดของผู้พิพากษาตุลาการในคดีว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ถูกกล่าวหา เพียงใด ที่น่าขบขันและโศกสลดในเวลาเดียวกันก็คือ แม้ว่ากฎหมายที่ใช้บังคับในเวลานั้น จะออกโดยเผด็จการนาซี และศาลในเวลานั้นต้องใช้กฎหมายของเผด็จการนาซีในการพิจารณาพิพากษาคดีก็ตาม แต่ถ้าใช้กฎหมายดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมาแล้วไม่สามารถเอาผิดกับผู้ถูกกล่าว หาได้ เช่นนี้ ศาลก็จะตีความกฎหมายจนกระทั่งในที่สุดแล้ว สามารถพิพากษาลงโทษผู้ถูกกล่าวหาจนได้
เมื่อสงคราม โลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงแล้ว มีเสียงเรียกร้องให้ลบล้างหรือยกเลิกคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมซึ่งเกิด ขึ้นในระหว่างการครองอำนาจของรัฐบาลนาซีเสีย แม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นตรงกันว่าควรจะต้องลบล้างบรรดาคำพิพากษาดังกล่าวก็ตาม แต่ก็ถกเถียงกันว่าวิธีการในการลบล้างคำพิพากษาเหล่านั้นควรจะเป็นอย่างไร ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะดำเนินการลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีเป็นรายคดีไป เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าควรจะลบล้างคำพิพากษาทั้งหมดเป็นการทั่วไป ในชั้นแรก ในเขตยึดครองของอังกฤษนั้น ได้มีการออกข้อกำหนดลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ๑๙๔๗ ให้อำนาจอัยการในการออกคำสั่งลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีหรือให้อัยการยื่นคำ ร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งลบล้างคำพิพากษาของศาลนาซีก็ได้เป็นรายคดีไป การลบล้างคำพิพากษาเป็นรายคดีนี้ได้มีการนำไปใช้ในเวลาต่อมาในหลายมลรัฐ อย่างไรก็ตามวิธีการดังกล่าวมีปัญหาในทางปฏิบัติมาก ทั้งความยุ่งยากในการดำเนินกระบวนการลบล้างคำพิพากษาและการเยียวยาความเสีย หาย ปัญหาดังกล่าวนี้ดำรงอยู่เรื่อยมาในเยอรมนีเกือบจะตลอดศตวรรษที่ยี่สิบ
ใน ค.ศ. ๑๙๘๕ สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์ (Bundestag) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ประกาศว่า ศาลสูงสุดคดีอาญาทางการเมือง (Volksgerichtshof) เป็นเครื่องมือก่อการร้ายเพื่อทำให้ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนาซีสำเร็จผลโดย บริบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาคำพิพากษาทั้งหลายที่เกิดจากการตัดสินของศาลดังกล่าวจึงไม่มีผลใดๆใน ทางกฎหมาย และในปี ค.ศ.๒๐๐๒ ได้มีการออกรัฐบัญญัติลบล้างคำพิพากษานาซีที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมในคดีอาญา กฎหมายฉบับนี้มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลสูงสุดคดีอาญาทางการเมืองและศาล พิเศษคดีอาญาทุกคำพิพากษา
ปัญหาการลบล้างหรือยก เลิกหรือประกาศความเสียเปล่าหรือความเป็นโมฆะของ คำพิพากษาเป็นปัญหาที่แทบจะไม่เคยมีการอภิปรายในระบบกฎหมายไทย ทั้งๆที่คำพิพากษาของศาลถือเป็นการแสดงเจตนาในทางมหาชนก่อให้เกิดการเคลื่อน ไหวในสิทธิหน้าที่ของบุคคล ซึ่งหากขัดต่อกฎหมายอย่างรุนแรงแล้ว ก็อาจตกเป็นโมฆะได้ โดยทั่วไปแล้วหากนักกฎหมายไทยต้องการให้คำพิพากษาของศาลไม่สามารถที่จะ บังคับการต่อไปได้ในทางกฎหมาย ก็มักจะใช้วิธีการนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษเป็นสำคัญ ทั้งนี้โดยไม่กระทบต่อคำพิพากษานั้น ซึ่งหมายความว่าระบบกฎหมายยอมรับคำพิพากษานั้น แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุผลในทางรัฐประศาสโนบาย จำเป็นที่ต้องระงับโทษหรือยกเว้นความผิดให้แก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำ ความผิดหรือบุคคลที่ถูกพิพากษาว่าได้กระทำความผิด
เป็น ที่รับรู้กันทั่วไปว่าศาลและนักกฎหมายไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าบรรดาคำ สั่ง ตลอดจนประกาศต่างๆของคณะรัฐประหารมีสถานะเป็นกฎหมาย และความเป็นกฎหมายของคำสั่งตลอดจนประกาศของคณะรัฐประหารในสายตาของศาลและนัก กฎหมายไทย ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในห้วงเวลาที่คณะรัฐประหารครองอำนาจเท่านั้น แม้คณะรัฐประหารสิ้นอำนาจลงแล้ว บรรดาคำสั่งตลอดจนประกาศเหล่านั้น ก็มีผลเป็นกฎหมายต่อเนื่องไปด้วย ด้วยวิธีคิดเช่นนี้ ศาลหรือองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นคล้ายกับศาลภายหลังการรัฐประหาร เช่น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช ๒๕๔๙ จึงสามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีตามคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐ ประหารได้ เช่น การที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญนำประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ ๒๗ มาใช้บังคับย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่บุคคล และสามารถทำคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยให้มีผลในระบบกฎหมายได้ ทั้งๆที่ขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้นในกระบวนการ“ยุติธรรม” นั้น ในบางขั้นตอนเป็นขั้นตอนที่ถูกกำกับโดยคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร ซึ่งเมื่อตรวจวัดกับหลักการพื้นฐานในทางกฎหมายแล้ว ไม่สามารถยอมรับได้ เช่น การตั้งปรปักษ์ของผู้ถูกกล่าวหา เป็นกรรมการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา เป็นต้น
นอก จากนี้ หากพิเคราะห์เฉพาะในแง่มุมของตัวบทกฎหมาย โดยยังไม่พิเคราะห์ถึงบรรยากาศทางสังคม ทัศนะของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มพลังต่างๆในทางสังคม เช่น สื่อมวลชน ตลอดจนทัศนะและค่านิยมของผู้พิพากษาตุลาการในดำเนินกระบวนพิจารณาคดีที่ เกี่ยวข้องกับผลได้เสียทางการเมือง การต่อสู้คดีของฝ่ายผู้ถูกกล่าวหายังไม่สามารถกระทำได้อย่างเต็มที่ เพราะถูกจำกัดโดยโครงสร้างของบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายซึ่งเป็นผล พวงโดยตรงหรือโดยอ้อมของการทำรัฐประหารเอง เช่น การบัญญัติรับรองให้บรรดาคำสั่งหรือประกาศต่างๆของคณะรัฐประหารซึ่งรับรอง ไว้ชั้นหนึ่งแล้วว่าให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญโดยรัฐธรรมนูญฉบับ ชั่วคราว (ดู มาตรา ๓๖ ของรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว ๒๕๔๙) เป็นคำสั่งหรือประกาศ (รัฐธรรมนูญเรียกว่า “การใดๆ”) ที่ “ถือว่า” ชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับที่เกิดขึ้นตามมา คือรัฐธรรมนูญฉบับที่ต้องการให้ใช้บังคับถาวร (ดู มาตรา ๓๐๙ ของรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐) โครงสร้างของรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นฐานทางกฎหมายชั้นดีในการให้ศาลดำเนิน กระบวนพิจารณาไปได้ โดยไม่ต้องตั้งคำถามว่าบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารซึ่งในทางรูป แบบเป็นคำสั่งหรือประกาศที่ไม่ถูกต้องเป็นธรรมนั้น ในทางเนื้อหาถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
ประเทศไทยผ่าน เหตุการณ์การฉีกรัฐธรรมนูญ ล้มองค์กรสูงสุดในทางบริหารและทางนิติบัญญัติอย่างไร้อารยะมาหลายครั้งเต็ม ที และเมื่อบ้านเมืองกลับสู่ภาวะที่พอจะได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยอยู่บ้าง ก็ไม่เคยมีสักครั้ง ที่องค์กรซึ่งได้รับอาณัติในการปกครองและมีความชอบธรรมสูงสุดในระบอบ ประชาธิปไตย จะได้กลับไปทบทวนบรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัย คำพิพากษาต่างๆที่เป็นผลพวงไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการรัฐประหารว่าสมควร จะทำให้บรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเหล่านั้นสิ้นผลลงในทางกฎหมายหรือทำให้ไม่เคยเกิดผล ในทางกฎหมายเลยอย่างไรได้บ้าง
อาจมีผู้เสนอความ เห็นว่า สมควรที่จะต้องตรากฎหมายยกเลิกบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารเสีย การดำเนินการไปตามความเห็นดังกล่าวเพียงอย่างเดียวอาจมีปัญหาในทางกฎหมายตาม มาอีกว่า ต่อให้ตรากฎหมายยกเลิกบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารเหล่านั้น บรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อาจจะไม่ได้ถูกยกเลิกตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ หากคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหารนั้นไม่ใช่กฎหมายอาญาสารบัญญัติที่กำหนด ความผิดและโทษขึ้น แต่เป็นคำสั่งหรือประกาศที่กำหนดกระบวนการในการดำเนินคดีหรือเป็นคำสั่งหรือ ประกาศแต่งตั้งบุคคลให้เป็นเจ้าหน้าที่หรือกรรมการสอบสวน นอกจากนี้ในทางหลักการ การตรากฎหมายยกเลิกบรรดาคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร โดยไม่ลบล้างบรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาขององค์กรของรัฐไปพร้อมกัน ในทางสัญลักษณ์ยังเท่ากับยอมรับความถูกต้องของคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาขององค์กรของรัฐเหล่านั้นด้วย
การ นิรโทษกรรมบรรดาผู้ที่ต้องคำพิพากษาอันเนื่องมาจากการทำรัฐประหาร นั้น แม้จะทำให้บุคคลที่ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด แต่ก็อาจมีข้อเสียในแง่ที่หากบุคคลเหล่านั้นกระทำความผิดจริง ก็จะทำให้ผู้กระทำความผิดพ้นจากความผิดไป และในทางสัญลักษณ์ก็เท่ากับยอมรับคำพิพากษาของศาลเช่นกัน ทั้งๆที่เป็นไปได้อีกด้วยที่ในทางเนื้อหานั้นคำพิพากษาดังกล่าวเป็นคำ พิพากษาที่ไม่ถูกต้อง เช่น ศาลตีความกฎหมายที่มีโทษทางอาญาออกไปกว้างมากจนไม่ใช่แค่การตีความโดยขยาย ความเท่านั้นแต่กลายเป็นการใช้กฎหมายโดยเทียบเคียง (analogy) เป็นผลร้ายต่อบุคคล ซึ่งต้องห้ามในกฎหมายอาญา
สิ่ง ที่วงการกฎหมายไทย ควรตรึกตรองอย่างมีเหตุผล มีความเป็นธรรม ก็คือ การตรากฎหมายลบล้างคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาที่เป็นผลพวงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการทำรัฐประหาร โดยถือเสมือนว่าไม่เคยเกิดมีคำสั่ง คำวินิจฉัย หรือคำพิพากษาเหล่านั้นขึ้น ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ และหลังจากนั้น ถ้าจะดำเนินคดีกับผู้ใดที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ก็ให้ดำเนินคดีไปตามความเป็นธรรม ตามกฎหมายที่ถูกต้องชอบธรรมในระบอบประชาธิปไตยโดยองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ที่ได้รับการปฏิรูปแล้ว แม้จะมีผู้กล่าวว่าในทางความเป็นจริง การกำหนดกฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ เช่น การประกาศลบล้างคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคดีที่มีการเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคการเมืองพรรคหนึ่งเป็นเวลา ๕ ปี จากการบังคับใช้ประกาศ คปค. ฉบับที่ ๒๗ เพราะเมื่อถึงวันนั้น ระยะเวลาในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคงจะล่วงพ้นไปแล้ว แต่การประกาศลบล้างคำวินิจฉัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลในทางสัญลักษณ์ในการ ปฏิเสธอำนาจรัฐประหารแล้ว ในทางกฎหมายย่อมจะต้องถือว่าบุคคลเหล่านั้นไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เลยด้วย
อย่างไรก็ตาม โดยที่บรรดาคำสั่ง คำวินิจฉัย และคำพิพากษาที่เป็นผลพวงไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อมจากรัฐประหาร เกี่ยวพันกับรัฐธรรมนูญ การตรากฎหมายประกาศลบล้างคำสั่ง คำวินิจฉัย และคำพิพากษาดังกล่าวอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญฯ ๒๕๕๐ อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้บังคับต่อจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับชั่วคราว ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นผลจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙) วินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญเสียก็ได้ อีกทั้งการประกาศความเสียเปล่าของคำสั่ง คำวินิจฉัย ตลอดจนคำพิพากษานั้น บางกรณีก็เป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย เพราะฉะนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องบัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ และเพื่อให้การตัดสินใจในกรณีนี้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยในระดับสูงสุด กรณีจึงสมควรที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจรัฐ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวจึงต้องผ่านการออกเสียงประชามติ
หากเป็นเช่นนั้น นี่จะเป็นการให้คำตอบของเจ้าของอำนาจตัวจริงที่ชัดเจนที่สุดต่อระบบแห่งกฎเกณฑ์ที่เกิดจากการทำรัฐประหาร.