WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, August 23, 2011

"บัวแก้ว" ในยุค "เฮียปึ้ง"

ที่มา มติชน

เทศมองไทย

ใน ฐานะที่คุ้นเคยอยู่กับสื่อต่างประเทศ ผมถูกขอให้มองหาปฏิกิริยาต่อคณะรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่เป็นทัศนะจากต่างแดนในทันทีที่มีการประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีเมื่อ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา

น่าสนใจนะครับที่ กว่าจะมี "ปฏิกิริยา" อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ต้องรอจนถึงอีก 5-6 วันให้หลัง ถึงมีทัศนะที่เป็น "ภาพรวม" ที่น่าสนใจออกมา

ปีเตอร์ ไซมอนด์ แห่งเวิร์ลด์ โซเชียลลิสต์ เว็บไซต์ ให้ภาพรวมที่ชวนคิดเอาไว้ในข้อเขียนของเขาที่เผยแพร่ออกมา เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ในขณะที่ ริชาร์ด เออห์ริก มือเก่าคร่ำหวอดคนหนึ่งในบรรดาคนข่าวต่างชาติในเมืองไทย ก็เผยแพร่บทความชิ้นหนึ่งใน "สกู๊ป" เว็บไซต์ข่าวออนไลน์ของนิวซีแลนด์ ที่เขียนถึงรัฐบาลใหม่ของไทยไว้เมื่อ 16 สิงหาคม ก็ให้ทัศนะต่อ "รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่" เอาไว้น่าสนใจมากๆ เช่นกัน

การที่คนข่าว ทั้ง 2 คน จับตามองการมาถึงของ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่หลายๆ คนเรียกขานว่า "เฮียปึ้ง" มากเป็นพิเศษนั้น อาจเป็นเพราะ ในมุมมองของสื่อต่างประเทศแล้วถือเป็นตำแหน่งที่สำคัญ "ลำดับต้นๆ" รองจากนายกรัฐมนตรีกันเลยทีเดียว



ไซมอนด์มองภาพรวมของรัฐบาล ชุดนี้เอาไว้ว่า เป็น "ความพยายาม" ที่จะสร้างความ "พอใจ" ให้กับ "ส่วนต่างๆ" ที่เคยเป็น "คู่ขับเคี่ยว" ในทางการเมืองกันมาก่อนหน้านี้

เขา ยกตัวอย่างเช่นการแต่งตั้ง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ขึ้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมว่า เป็นไปเพื่อแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลชุดนี้ "จะ" ไม่เข้าไปยุ่งกับเรื่องของ "ทหาร"

แม้แต่ ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ที่ถูกเลือกเป็น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ถูกมองว่าเป็นความพยายามเพื่อคลายวิตกให้ กับ "ซีกธุรกิจใหญ่" ในพรรค และในประเทศโดยรวม ด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า สิ่งที่รัฐมนตรีธีระชัยพูดถึงเป็นอย่างแรกหลังรับตำแหน่งก็คือ เรื่องของการยึดถือ "วินัยด้านการคลัง" และ ย้ำชัดว่า "ความฝันทางการเมือง" นั้น จำเป็นต้องพิจารณา "ความเป็นไปได้" ในความเป็นจริง ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ด้วย

หรือแม้แต่การแต่งตั้ง พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ให้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ก็สะท้อน "นัยพิเศษ" ทำนองนี้เช่นเดียวกัน

ทั้งเออห์ริกและไซมอนด์เห็นตรงกันประการหนึ่งว่า "เสื้อแดง" ถูก "กันออกด้านข้าง" แทบไม่มีส่วนยุ่งเกี่ยวกับรัฐบาลชุดนี้

นั่น อาจหมายความว่า "เสื้อแดง" สามารถ "ควบคุมได้" โดยรัฐบาลชุดนี้ หรืออาจหมายความได้เช่นเดียวกันว่า "เสื้อแดง" ไม่ได้ "อยู่ในสายตา" เมื่อถึงคราวต้องทำให้ "บรรลุผล"

แต่ไม่ว่าจะเป็นในทางใด "เสื้อแดง" อาจเป็นปัญหาของรัฐบาลได้โดยเร็ว แม้จะไม่เหมือนกับเมื่อครั้งที่ผ่านมา แต่จะอยู่บน "ฐานรากทางสังคม" มากกว่า



ในทัศนะของไซมอนด์ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า "ฮันนี่มูน พีเรียด" ของรัฐบาลอาจสั้นกว่าที่คาดหมายไว้ ประการหนึ่งนั้นจาก "ความขัดแย้งในกลุ่มชนชั้นปกครองเองอันเนื่องมาจากประเด็นเชิงนโยบายด้านการ ต่างประเทศและเศรษฐกิจ" อาจแตกออกมาโดยเร็ว และเมื่อ "มายาภาพ" และ "การคัดค้าน" ในหมู่ "ชนชั้นแรงงาน" ก่อรูปขึ้นชัดเจนอันเนื่องมาจาก "การไม่ทำตามสัญญาที่หาเสียง", การกำหนดใช้มาตรการรัดเข็มขัด และการที่มาตรฐานการครองชีพของคนทั่วไปไถลลงตามสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ

ใน ขณะที่ไซมอนด์มองว่า การแต่งตั้ง รัฐมนตรี "สุรพงษ์" นั้น "เป็นหนึ่งในสิ่งไม่ปกติ" เออห์ริกกลับบอกว่า ด้วยการแต่งตั้ง รัฐมนตรีต่างประเทศคนใหม่ "ยิ่งลักษณ์" ก่อให้เกิด "ความกังวล" ขึ้นมาด้วยเหตุที่ว่า "สุรพงษ์" ขาดประสบการณ์ด้านต่างประเทศอย่างที่ควรจะเป็น แต่ถูกเลือกเพราะ "งานจริงๆ ของเขาก็คือการนำเอา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้าน หรือไม่ก็ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถหลีกเลี่ยงการจับกุมและส่งตัวกลับไทยในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนในขณะที่ เดินทางอยู่ในต่างประเทศได้ต่อไป"

เขาให้ข้อมูลว่า "ป้า" ของรัฐมนตรีสุรพงษ์แต่งงานกับ "ลุง" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ สะท้อนถึงความแนบแน่นและความไว้วางใจโดยธรรมชาติระหว่างคนทั้งสอง

แถม ยังตั้งข้อสังเกตเอาไว้ด้วยว่า "หนึ่งวัน" หลังกลายเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ ก็ "ร้องขอ" ต่อเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ให้ "อนุญาตเป็นกรณีพิเศษ" ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้าญี่ปุ่น ที่มีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนอย่างยิ่งว่า ใครที่ต้องโทษจำคุกเกิน 1 ปีห้ามเดินทางเข้าญี่ปุ่น

ลงเอยด้วยการใช้ "ข้อยกเว้น" ที่ให้รัฐมนตรียุติธรรมญี่ปุ่น "อนุมัติ" เป็นรายกรณีตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

มองในแง่ญี่ปุ่น กฎหมายของเขายังคงเป็นกฎหมายอยู่ต่อไป ซึ่งแตกต่างอย่างมากครับถ้ามองจากมุมของเมืองไทย

ไม่เพียงแค่ "ได้ไม่คุ้มเสีย" เท่านั้นนะครับ ยังตอกย้ำความเป็น "เฮียปึ้ง" ได้อย่างเอกอุอีกต่างหาก!