WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 27, 2011

ประชาธิปัตย์กับ “ประเด็นสถาบัน” และ “คำรำพึงประจำพรรค”

ที่มา ประชาไท

“...การ ใส่ร้ายเอาสถาบันเบื้องสูงมาใช้ไม่เป็นส่วนดีต่อใคร เลย แม้แต่สถาบันเอง เป็นเรื่องที่ทำลายทุกคนทุกฝ่าย นายกฯที่ได้รับเสียงเลือกตั้งสูงสุดในประเทศก็ล้มเพราะข้อกล่าวหานี้ และที่ตนเจ็บปวดที่สุด คือข้อกล่าวหานี้ใช้ออกใบอนุญาตฆ่าประชาชน ไม่อยากให้คนตายเพิ่มเติมอีก”

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1314200777&grpid=03&catid=&

นี่ คือข้อความบางส่วนที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.ระบบบัญชีรายเชื่อพรรคเพื่อไทยอภิปรายตอบโต้สุเทพ เทือกสุบรรณ อันเป็นชนวนให้เกิดการประท้วงทั้งจากสุเทพ และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จนเป็นเหตุให้ต้องพักการประชุมชั่วคราว และหลังจากนั้นก็มีอันต้องปิดประชุมสภาไปเมื่อคืนวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา

ผู้อ่านที่ติดตามการอภิปราย จะทราบว่า ณัฐวุฒิพูดย้อนไปถึง (สรุปได้) ว่า ข้ออ้างเรื่องสถาบันได้ทำลายผู้นำที่ดีหรือคนดีของประเทศมามากพอแล้ว ตั้งแต่ปรีดี พนมยงค์ จนต้องระหกระเหินไปสิ้นชีวิตที่ต่างประเทศ กลับคืนประเทศได้เมื่อเหลือเพียงเถ้าอัฐิแล้ว แม้จะได้รับยกย่องว่าเป็นถึงรัฐบุรุษก็ตาม เหตุการณ์ 6 ตุลา เรื่อยมาถึงพฤษภา 53 ก็ยังใช้ข้ออ้างเดิมๆ ทั้งในการทำรัฐประหารทักษิณและเป็นข้อกล่าวหาล้อมปราบประชาชน

ฉะนั้น ณัฐวุฒิจึงเสนอว่า เราควรเรียนรู้จากบทเรียนที่ผ่านมาอดีต และถึงเวลาแล้วที่ต้องเลิกอ้างเรื่องสถาบันในการต่อสู้ทางการเมืองเสียที เพราะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ประเด็นคือ ข้อกล่าวหาเรื่องล้มล้างสถาบันได้ถูกใช้ “ออกใบอนุญาตฆ่าประชาชน” หรือไม่? แน่นอนว่า อภิสิทธิ์และสุเทพปฏิเสธประเด็นนี้ และนายอภิสิทธิ์ยังกล่าวย้ำว่า “การบอกว่าใช้สถาบันออกใบอนุญาตฆ่าประชาชน นอกจากจะทำให้พวกผมเสียหายแล้ว ที่สำคัญยังเป็นการเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย”

อย่างไรก็ ตาม คงไม่มีใครปฏิเสธข้อเท็จจริงได้ว่า มีการอ้างสถาบันเพื่อทำรัฐประหารรัฐบาลทักษิณจริง มีการแสดง “ผังล้มเจ้า” และกล่าวหาว่ามี “ขบวนการล้มเจ้า” ในกลุ่มคนเสื้อแดงจริง โดยเฉพาะมีการประโคมข่าวนี้ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 ที่เป็นกระบอกเสียงของรัฐบาลในการตอบโต้ทักษิณกับฝ่ายเสื้อแดง ทั้งในช่วงก่อนการสลายการชุมและในระหว่างการสลายการชุมนุมเมื่อ เมษา-พฤษภา 53

นอกจากนี้ในการชุมนุมของพันธมิตร การเสนอข่าวทาง ASTV ก็มีการยกประเด็นสถาบันมาโจมตีทักษิณและคนเสื้อแดงตลอดมา ถามว่าประชาธิปัตย์รู้เห็นเป็นใจด้วยหรือไม่? เราอาจต้องย้อนไปดูคำปราศรัยของประพันธ์ คูณมี สมาชิกคนสำคัญของพันธมิตรที่ว่า

“ก่อน การชุมนุมพันธมิตรฯ ปี 49 คนที่เรียกผมไปพบ คือ พี่ชวน หลีกภัย ให้ไปพบในห้องทำงาน ถ้าพูดเท็จเอาตีนมาเหยียบหน้าได้เลย นายชวนเอาเทปมาเปิดให้ดู ปรากฏว่าในเทปด่าป๋า ด่าสถาบัน ของพวกกลุ่มเสื้อแดง นายชวนเปรยด้วยความเศร้าใจว่า ทำไมบ้านเมืองเป็นแบบนี้ และบอกให้ตนออกไปช่วยพูดเพราะรู้ทันคนพวกนี้ พูดแล้วมีน้ำหนักเชื่อถือได้ ให้ออกไปสู้หน่อย ตนก็บอกไปว่าสู้ตลอดชีวิตอยู่แล้ว กับคนที่ไม่จงรักภักดี” [1]

ประพันธ์ยังกล่าวอีกว่า “เพราะ พันธมิตรฯ ออกมาสู้รัฐบาลถึงได้พลิกขั้ว อภิสิทธิ์ถึงได้ขึ้นมาเป็นนายกฯ ถ้าไม่มีพันธมิตรทหารจะไปบังคับพวกพรรคร่วม ให้พลิกขั้วหรือไม่” ขณะที่ก่อนหน้านั้น สนธิ ลิ้มทองกุล ก็เคยพูดระหว่างการต่อสู้เพื่อล้มรัฐบาลทักษิณว่า

“...พล เอกสุรยุทธ์ โทรมา พลเอกสนธิ ให้คนใกล้ชิดโทรมา ในวังมีเยอะ เส้นสายในวัง ทุกคนสนิทหมด ผมถึงเลย คุณไม่ต้องพูดว่าถึงไม่ถึงคุณมีอะไรก็พูดมา รับรองถึงหูพระกรรณ...จนกระทั่งมีสัญญาณบางสัญญาณมาถึงผม จู่ๆ ผมสู้อยู่ก็มีของขวัญมาจากราชสำนักผ่านมาทางท่านผู้หญิงบุษบาซึ่งเป็นน้อง สาวพระราชินี ปรากฏว่าผมได้รับแค่วันเดียว ผมเข้าไปรับด้วยตัวเองกับท่านผู้หญิงบุษบา โทรศัพท์มาหาผมเต็มเลย ป๋าเปรมให้คนสนิทโทรมา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ์ ทุกคนโทรมาหมดถามว่าจริงหรือเปล่า...” [2]

ฉะนั้น เรื่องประเด็นสถาบันกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระยะกว่า 5 ปีที่ผ่านมา การเปิดประเด็น “มือที่มองไม่เห็น” ของทักษิณจะไม่มีน้ำหนักใดๆ เลย หากสังคมไม่รับรู้ “เรื่องราว”อย่างที่สนธิพูด หรือย่างที่ประพันธ์พูด มันจึงไม่ใช่เรื่องที่อยู่ๆ ทักษิณและคนเสื้อแดงจะ “กุขึ้นมาลอยๆ” แล้วทำให้สังคมคล้อยตามได้

แต่กระนั้นก็ตาม หน้าฉากประชาธิปัตย์ก็ยังพยายามเบี่ยงเบน ดังที่นิพิษฏ์ อินทรสมบัติ เขียนจดหมายตอบโต้บรรดานักเขียนที่ออกแถลงการณ์ให้แก้ไข ม.112 ว่า “ตน (นิพิษฏ์)ไม่เห็นมีการใช้สถาบัน หรือใช้ ม.112 เป็นเครื่องมือทำลายศัตรูทางการเมือง” ดังที่เราทราบกัน

การที่ประชา ธิปัตย์พยายามบอกประชาชนว่า ข้ออ้างเรื่องสถาบันไม่เกี่ยวกับการทำลายศัตรูทางการเมือง ไม่เกี่ยวใดๆ กับการปราบปรามประชาชนที่ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย มันไม่ต่างจากที่อภิสิทธิ์เคยยืนยันในเฟซบุ๊คผ่าน “จดหมายถึงคนไทยทั้งประเทศ” ว่า “ในความขัดแย้งที่เป็นมา ประชาธิปัตย์ไม่ใช่เงื่อนไขของความขัดแย้ง เป็นเพียงฝ่ายที่เข้ามาแก้ปัญหาความแตกแยกของบ้านเมืองให้คืนสู่ความ สมานฉันท์ปรองดอง”

“วิธีอธิบาย” ของอภิสิทธิ์เป็นวิธีอธิบายแบบเดียวกับวิธีอธิบายของ นางผุสดี ตามไท ส.ส.ประชาธิปัตย์ในรายการตอบโจทย์ ทีวีไทยตอนหนึ่ง เมื่อ ส.ส.เพื่อไทยกล่าวว่า “นายสุเทพเคยให้สัมภาษณ์ว่า ประชาธิปัตย์จับมือกับพันธมิตรในการขนคนมาชุมนุมล้มรัฐบาลสมัครและรัฐบาลสม ชาย” แล้วนางผุสดีก็โต้ทันทีว่า “ไม่ได้จับมือ ไม่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรใดๆ ทั้งสิ้น แต่มันเป็นธรรมดา เมื่อชาวบ้านเขาจะออกมาชุมนุม มาเคลื่อนไหวทางการเมือง เขาก็ไปขอความช่วยเหลือจาก ส.ส.ในพื้นที่เรื่องค่าเดินทางบ้าง ค่าอาหารบ้าง เมื่อชาวบ้านเขามาขอความช่วยเหลือ ส.ส.ประชาธิปัตย์ในพื้นที่ก็ต้องให้ความช่วยเหลือไป”

ถามว่าตามวิธี อธิบายของนายอภิสิทธิ์ที่ว่า “ประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นเงื่อนไขความขัดแย้ง แต่เข้ามาแก้ความขัดแย้ง” แล้ววิธีแก้ความขัดแย้งด้วยการบอยคอตการเลือกตั้ง เสนอนายกฯมาตรา 7 ยอมรับการนิรโทษกรรมตัวเองของคณะรัฐประหาร แต่อ้างว่าการนิรโทษกรรมแก่นักการเมืองที่ถูกทำรัฐประหารขัดต่อหลักนิติธรรม นิติรัฐ สนับสนุนประชาชนมาชุมนุมกับพันธมิตร บอกว่าไม่เคยเห็นการอ้างสถาบัน การใช้ ม.112 ทำลายศัตรูทางการเมือง แต่กลับใช้ผังล้มเจ้า ใช้ข้อกล่าวหาเรื่องขบวนการล้มเจ้าทำลายความน่าเชื่อถือในการต่อสู้เรียก ร้องประชาธิปไตยของคนเสื้อแดง ฯลฯ

การ กระทำดังกล่าวนี้เป็นต้น ไม่ใช่เงื่อนไขของความขัดแย้งอย่างไรไม่ทราบ และวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวนี้นำไปสู่ความสมานฉันท์ปรองดองภายใน ชาติอย่างไรไม่ทราบ!

ยังไม่ต้องพูดถึงว่า “รัฐบาลปู” ยังไม่ทันแถลงนโยบายเลย ยังไม่ได้ทำอะไรตามนโยบายเลย แต่ประชาธิปัตย์จะถอดถอนนายกฯ และยื่นเรื่องยุบพรรคเพื่อไทยแล้ว นี่คือ “อีกความหมาย” ของคำอธิบายที่ว่า “ไม่เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้ง” หรือครับ!

และยิ่งเป็นเรื่องตลกร้ายมากเมื่อประชาธิปัตย์ประเมินตน เองหลังเลือกตั้ง ว่า นโยบายเราก็ดีแต่ทำไมไม่ได้ใจประชาชน เป็นเพราะเราเป็นสุภาพบุรุษเกินไปหรือไม่ พูดแต่หลักการเหตุผล พูดเป็นวิชาการเกินไปจนชาวบ้านฟังไม่เข้าใจหรือไม่ ต่อไปต้องให้ ส.ส.ของเรามีลีลาการพูดดึงดูดความสนใจ ต้อง Acting ให้มากขึ้น ฯลฯ

ผม ฟังแล้วก็ได้แต่ปลงๆ ถามว่ามีใครเข้าใจ “วิธีอธิบาย” ตามตัวอย่างที่ผมยกมาข้างต้นบ้าง ในเมื่อการพูดและการกระทำของคุณขัดแย้งกันเองอยู่แทบจะทุกเรื่อง ฉะนั้น ชาวบ้านเขาจึงเข้าใจกันเกือบทั้งประเทศว่า “ความหมายที่แท้จริง” ของวิธีอธิบายแบบประชาธิปัตย์นั้นคือ “ดีแต่พูด”

เช่นเดียวกันกรณี ตอบโต้ณัฐวุฒิจนเป็นเหตุให้ต้องปิดการประชุมสภา ในเรื่องเกี่ยวกับประเด็นการอ้างสถาบัน และในวันก่อนนั้นอภิสิทธิ์ก็เรียกร้องให้รัฐบาลรับปากว่า “จะไม่แก้ไข ม.112” นี่คือการสะท้อนวิธีอธิบายว่าประชาธิปัตย์ไม่ใช่เงื่อนไขความขัดแย้ง และสะท้อนหลักคิดในการปกป้องสถาบันด้วยการปกป้อง ม.112 ซึ่งสะท้อนลงลึกถึง “ก้นบึ้ง” แห่งจิตวิญญาณและอุดมการณ์ประชาธิปไตยในทัศนะของประชาธิปัตย์ได้อย่างชัด แจ้งยิ่ง

เป็นความชัดแจ้งในยุคสมัยที่นักวิชาการ นักคิดนักเขียน และประชาชนฝ่ายก้าวหน้าจำนวนมากเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยที่ยืนยันหลัก เสรีภาพและความเสมอภาค และเรียกร้องให้แก้ปัญหาการอ้างสถาบันและการใช้ ม.112 เป็นเครื่องมือทำลายกันในทางการเมือง ซึ่งหมายถึงการเรียกร้องการสร้างมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดรัฐประหาร และการนองเลือดเพราะความขัดแย้งจากการอ้างสถาบันขึ้นในประเทศนี้อีก

เมื่อ ประชาธิปัตย์ยังคงตอบสนอง ต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวของนักวิชาการ นักคิดนักเขียนและประชาชนฝ่ายก้าวหน้าในท่วงทำนองดังกล่าวมานี้ คำรำพึงที่ว่า “นโยบายเราก็ดี แต่ทำไมไม่ได้ใจประชาชน” จะยังคงเป็น “คำรำพึงประจำพรรคประชาธิปัตย์” ไปอีกนาน!

อ้างอิง:

  1. คำต่อคำประพันธ์ คูณมีเผย “ชวน” เคยหนุนร่วมพันธมิตร
  2. เกษียร เตชะพีระ.รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 กับการเมืองไทย. รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 29 ฉบับ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2551), หน้า 51.