WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 25, 2011

คณาจารย์แถลงจี้ยกเลิกระบบประเมินคุณภาพ TQF ด่วน เตรียมบุกยื่นหนังสือนายกฯ

ที่มา ประชาไท

คณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศร่วมหารือปัญหา “TQF” ระบบประเมินคุณภาพการศึกษาใหม่ของ สกอ. เร่งบังคับใช้อย่างครอบคลุมตุลานี้ อาจารย์เดือดสร้างภาระงานโดยไร้ประโยชน์ ชี้ล้าหลัง ซ้ำซ้อน ละเมิดเสรีภาพวิชาการ เตรียมยื่นหนังสือค้านกับนายกฯ ใหม่ - องค์กรที่เกี่ยวข้องเร็วๆ นี้

24 ส.ค.54 ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ มีกาจัดประชุมนานาชาติเรื่องความเป็นเลิศของอุดมศึกษาไทยกับการแข่งขันการ จัดอันดับมหาวิทยาลัยตามมาตรฐานนานาชาติ: สิทธิ อำนาจ และความรับผิดชอบต่อสังคม โดยภายในการประชุมมีการยกตัวอย่างการจัดระบบการศึกษาและระบบการประกันคุณภาพ การศึกษาจากต่างประเทศ พร้อมวิพากษ์วิจารณ์แนวทางในประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดให้ใช้ “กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา” ( มคอ.) หรือ ทีคิวเอฟ (TQF:Thai Qualifications Framework for Higher Education) จนเกิดกระแสคัดค้านในหมู่คณาจารย์อย่างกว้างขวางในปี 2553 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะการล่ารายชื่อคณาจารณ์พร้อมออกแถลงการณ์ต่อต้านระบบดังกล่าว
ภาย หลังการประชุม กฤตยา อาชวนิจกุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหดิล ตัวแทนผู้จัดงาน ได้อ่านแถลงการณ์ร่วมของที่ประชุม ซึ่งระบุว่าจะทำเป็นจดหมายเสนอต่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสำเนาถึง กกอ., สกอ., อธิการบดีทั่วประเทศ,ที่ประชุมอธิการบดี รวมถึงที่ประชุมสภาคณาจารย์ทั่วประเทศ และอาจจะมีการนัดหมายเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี
กฤตยา กล่าวถึงเนื้อหาของแถลงการณ์ว่า ประการแรก เราไม่ได้ปฏิเสธเรื่องการพัฒนาคุณภาพ ความรับผิดชอบต่อสังคม เราย้ำถึงสิ่งเหล่านั้นและยืนยันว่าสิ่งเหล่านั้นต้องมาพร้อมกับเสรีภาพทาง ปัญญา เราจึงปฏิเสธอำนาจครอบงำจาก สกอ. หรือจากรัฐบาลก็ตามแต่
“เรา จะทำอะไร เราต้องเสนอ กกอ. ให้เขารับรอง แต่โดยกฎหมาย ถ้าสภามหาลัยอนุมัติแล้วไม่จำเป็นต้องไปขอการรับรองจะ กกอ.” กฤตยา กล่าวและว่า ดังกรณีของสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงมติแล้วเมื่อเร็วๆ นี้ว่า จะไม่กรอกแบบฟอร์ม TQF
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังไม่เห็นด้วยมาตรฐานเชิงเดี่ยวในการจัดอันดับ และหลักประกันเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวของ สกอ.
ประการ ที่สอง สกอ.ควรปรับบทบาทการบริหารรวมศูนย์ และการควบคุมบังคับ กระทั่งลงโทษ เช่น หลักสูตรไม่ผ่านการอนุมัติ เปิดสอนไม่ได้ ทั้งที่หากสภามหาวิทยาลัยอนุมัติแล้ว สกอ.จะมาระงับการเปิดสอนไม่ได้ เป็นต้น ให้กลับมาที่การกระจายอำนาจ และควรสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษา สมาคมวิชาการต่างๆ ได้มีอิสระ และมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะต้องส่งเสริมให้กับการพัฒนาคุณภาพทางเลือกแบบอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่มีกรอบแบบเดียว หวังว่า สกอ.จะให้ความสำคัญกับความหลากหลายของคุณภาพทางวิชาการ ตลอดจนเป้าหมายที่แตกต่าง
ประการที่สาม ขอให้มีการทบทวน ซึ่งมีการสอบถามที่ประชุมในภายหลังและปรับเป็น “การยกเลิก” ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา หรือ TQF เพราะซ้ำซ้อนกับการประเมินของ สมศ.และการประกันคุณภาพภายในที่มีอยู่แล้ว และขอให้ประมวล รวบรวมปัญหาของระบบประกันคุณภาพของอุดมศึกษาไทย เปิดให้มีการระดมสมองเรื่องการประกันคุณภาพที่มีความแตกต่าง
ทั้ง นี้ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า งานสัมมนาดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อระบบ TQF บังคับให้คณาจารย์ต้องมีการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคมนี้เพื่อเร่งเข้าสู่ตลาดอาเซียน ทั้งที่กำหนดบังคับใช้จริงๆ เป็นปีหน้า ทำให้หลักสูตรใหม่ การปรับปรุงหลักสูตรใดๆ ต้องกรอกเอกสารมากมายเป็นร้อยๆ หน้า โดยไม่เห็นประโยชน์อันใด ส่งผลกระทบกับอาจารย์เป็นรายบุคคล ก่อให้เกิดกระแสไม่พอใจขึ้น นอกจากนี้ช่วงปีที่ผ่านมามีการคัดค้านเรื่องนี้กันเยอะ และมีการให้เหตุผลต่างๆ มากมาย ซึ่ง สกอ.ไม่เคยตอบในประเด็นต่างๆ ได้ แต่กลับมีจดหมายออกมาว่า อาจารย์จำนวนมากยังไม่เข้าใจ
ส่วน ยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์จากคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในวงประชุมถึงปัญหาของ TQF ว่า ปัญหาใหญ่ คือ 1.ใช้มาตรฐานเชิงเดี่ยวโดยไม่เข้าใจความแตกต่างของแต่ละสาขาวิชา หรือจุดเน้นของแต่ละสำนัก ฯ 2.คุกคามเสรีภาพทางวิชาการ เนื่องจากระบุว่าจะติดตามอย่างต่อเนื่อง และการประเมินต้องเป็นไปตามแนวทางของ สกอ. 3.ล้าหลังทางวิชาการ ไม่ได้มาตรฐานสากลเช่น การกำหนดในผลลัพธ์ว่า นศ.มหาวิทยาลัยต้องซาบซึ่งในค่านิยมของไทยและระบบคุณธรรม จริยธรรม ฯ หรือการแยกการสื่อสารออกจากการวัดความรู้ ดังนั้นนักศึกษาตามเกณฑ์ของ TQF จะฉลาด คิดเลขเก่ง แต่เชื่อง ไม่รู้จักความซับซ้อนของโลก ดังนั้น จึงขอเสนอว่าให้แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถมีดุลยพินิจในการประเมินแบบอื่น ที่ไม่ต้องเป็นไปตาม แบบกำหนดของ สกอ.เท่านั้น
ขณะ ที่ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล-เมดิสัน สหรัฐอเมริกา กล่าวในเวทีภาคภาษาอังกฤษ สรุปได้ว่า โลกาภิวัตน์ทำให้คนชั้นกลางเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น โดยเฉพาะในระดับปริญญาตรี ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อุดหนุนเงินแก่มหาวิทยาลัยน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ คือเพียง 20-30% เท่านั้น ที่เหลือมหาวิทยาลัยต้องหาเงินเอง มันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นธุรกิจ และเกิด Liberization, Privatization, Marketization, Reform of university ซึ่งมหาวิทยาลัยจะมีอำนาจในการบริหารจัดการตนเอง (autonomy) พร้อมกับมี accountability (ความรับผิดชอบ) หากไม่มีอย่างแรกมีแต่อย่างหลังดังที่ปรากฏในระบบการศึกษาไทย มันก็คือ การควบคุม (control) ทั้งนี้เป็นเพราะเรามักลอกเลียนระบบหรือเครื่งอมือมาจากคนอื่นเฉพาะบางส่วน โดยไม่ได้เข้าใจระบบนั้นจริงๆ ทำให้เกิดภาวะสมัยใหม่แต่ไม่พัฒนา (modernization without development)
นอกจากนี้ ธงชัย ยังเห็นว่า เราอาจไม่จำเป็นต้องเน้นหรือมุ่งสู่การจัดอันดับสากล เพราะเป็นไปไม่ได้ที่ทุกมหาวิทยาลัยจะไปสู่จุดนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีพันธกิจที่แตกต่างกันไป มหาวิทยาลัยในต่างจังหวัดจำนวนมากก็มีพันธกิจที่จะรับใช้ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม มาตรฐานเป็นสิ่งที่ต้องมี แต่ที่ทำอยู่ไม่น่าจะเป็นทิศทางที่ถูก เพราะเน้นปริมาณมากกว่าประสิทธิภาพ เน้นการรวมศูนย์ และยังมีความไม่เหมาะกับบริบทไทย โดยเฉพาะกับประเทศที่ใช้ภาษาไทย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ในแง่หนึ่งอาจเป็นกำแพงเชื่อมต่อกับความคิดภายนอก และเสียเปรียบต่อประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เราจึงไม่ควรเน้นการแข่งขันเพื่อจัดอันดับสากลจนเกินไป และแทนที่เราจะเน้นการจัดอันดับอาจเปลี่ยนเป็นเน้นความร่วมมือระหว่างกันแทน
อย่างไรก็ตาม แม้อาจารย์จะประสบปัญหากับระบบ TQF อย่างมากแต่คาดว่าภายใน 2 ปีก็จะเลียนรู้ที่จะ copy and paste ได้
ธง ชัยสรุปว่า หน้าที่หลักของ สกอ. ไม่ใช่การเข้าไปควบคุมมหาวิทยาลัย ส่วนการปฏิรูปอุดมศึกษาไทยนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก ระบบการประเมินคุณภาพเป็นเพียงปัจจัยส่วนเดียวเท่านั้น ยังมีเรื่องของการกระตุ้นการวิจัย การสร้างอาจารย์ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องระยะยาว และต้องมีการปรับเปลี่ยนกลไกภายในให้เหมาะสมกับบริบทของเราเอง
ทั้ง นี้ งานดังกล่าวจัดโดย โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา , สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา, สมาคมนักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาสยาม, สมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วมการประชุมกว่าร้อยคน