ที่มา ประชาไท
นิธิ เอียวศรีวงศ์ปาฐกถาหัวข้อ ‘นิสัยการอ่านของคนไทยในมิติด้านวัฒนธรรม’ ในการประชุมวิชาการประจำปี Thailand Conference on READING 2011 จัดโดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน) วันที่ 25 ส.ค. 2554
โด ยอ.นิธิระบุว่า สังคมไทยเดิมนั้นไม่ใช้ตัวอักษร วรรณกรรมของไทยจึงพิ่งเกิดมาในสมัยหลังๆ มานี้เอง และมีจำนวนเทียบไม่ได้เลยกับวรรณกรรมมุขปาฐะ คนไทยจึง “อ่าน” ผ่านการ “ฟัง” และส่งต่อความรู้โดยอาศัย “ความจำ”
เมื่อ ก้าวเข้าสู่ยุคของการมี หนังสือบันทึกเรื่องราวและความรู้ลงเป็นตัวอักษร ซึ่งต้องอ่านโดยการตีความ แต่คนไทยก็ยัง “อ่าน” ในรูปแบบเดิมคือ อ่านแล้วจำ การศึกษาไทยยังมีส่วนสำคัญต่อการผลิตคนที่อ่านออกเขียนได้แต่ไม่ใช่นักอ่าน เพราะยังคงสอนความจริงเพียงมิติเดียว ซึ่งหากยังเป็นเช่นนี้ การส่งเสริมการอ่าน ก็ดูจะไร้ความหมาย
รายละเอียดดังนี้.....
สังคมไทยไม่ใช่สังคมที่ใช้ตัว อักษร หรือตัวหนังสือมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับยุโรป จีน อินเดีย หรือญี่ปุ่น ในระบบการปกครองไทยสมัยโบราณแทบจะไม่มีเอกสารราชการสักเท่าไหร่ เราอาจจะอธิบายว่าเอกสารถูกพม่าเผา แต่ถ้าดูตั้งแต่แต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ก็จะพบว่ามีเอกสารราชการน้อยมาก คือส่วนกลางแทบไม่ส่งหนังสือถึงหัวเมืองเลยในปีหนึ่งๆ บางเมืองส่งเพียงฉบับหรือสองฉบับเท่านั้น
ดังนั้นหนังสือไม่ใช่สื่อ กลางในการบริหารราชการแผ่นดิน การค้าเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ตัวอักษรในหลายแห่งทั่วโลก แต่ในเมืองไทย มีใช้ตัวหนังสือในการทำสัญญาน้อยมาก ที่มีมากที่สุดคือหนังสือสัญญาค้าทาสเท่านั้นเอง นอกจากนั้นก็มีเอกสารเกี่ยวกับคดีที่ปรากฏในศาลเรื่องเช่าที่นา โคกระบือเป็นต้น ซึ่งพบว่าไม่มีหนังสือสัญญาการเช่าระหว่างกัน แม้แต่การยืมเงิน
ที่มีการใช้หนังสือมากอีกอย่างหนึ่งก็คือเอกสาร ด้านศาสนา ซึ่งส่วนหนึ่งลอกมาจากภาษาบาลีทั้งหลาย มีส่วนที่แปลบ้าง และที่ใช่ตัวหนังสือมากจริงๆ คือหนังสือเทศก์ ที่พระเตรียมเทศก์ให้กับอุบาสกอุบาสิกา
แม้ว่าวรรณกรรมไทยที่เหลือตก ทอดเป็นลายลักษณ์อักษรจะมีอยู่พอสมควร แต่วรรณรกรรมในส่วนที่ไม่เหลือตกทอดเพราะเป็นวรรณกรรมมุขปาฐกหายนั้นไป มากกว่าที่เหลืออยู่เป็นลายลักษณ์อักษรไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเท่า
สิ่ง ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้จะเขียนเป็นตัวหนังสือ แต่วิธีเสพวรรณกรรมของคนโบราณไม่ได้เสพโดยการอ่าน แต่เขาเสพโดยการฟัง เช่ยประเพณีของเจ้านายสมัยโบราณ มีคนขับเสภากล่อมพระบรรทม ดังปรากฏในหนังสือกฎหมายตราสามดวง
พูดอีกนัยหนึ่งคือวิธีการอ่านให้ฟังเป็นหัวใจสำคัญของวรรณกรรมไทย เป็นการอ่านทำนองเสนาะ เป็นการขับ หัวใจสำคัญของวรรณกรรมต่างๆ ของไทยไม่ใช่มาจากการอ่าน แต่เป็นการฟังอันเป็นเหตุผลที่พบว่าวรรณกรรมที่เป็นความเรียงมีไม่ค่อยมาก นัก เพิ่งเริ่มมีมากขึ้นนิดหน่อยเมื่อตอนต้นรัตนโกสินทร์นี้เอง เหตุผลงายๆ คือความเรียงเป็นหนังสือสำหรับการอ่านมากกว่าการฟัง เพราะความเรียงต้องการการคิดใคร่ครวญบางอย่างไปกับการอ่านด้วย
ที่ น่าสังเกตอีกอย่างคือ เราติดต่อกับจีนมาไม่รู้กี่ศตวรรษแล้ว แต่นำเอาเครื่องพิมพ์มาจากฝรั่งมาใช้ในสมัยถึงรัชกาลที่ 4 แต่ก่อนหน้านี้ เราไม่เคยลอกเลียนเอาแทคโนโลยีการพิมพ์ของจีนมาใช้เลย แต่ถ้าเราเป็นชาตินักอ่านจริง อย่างไรเราก็หนีไม่พ้นเอาเทคโนโลยีการพิมพ์ของจีนมาใช้ เมื่อเทียบกับญี่ปุ่นที่รับเอาเทคโนโลยีการพิมพ์ของจีนมาใช้ก่อนที่จะมีระ บยบการพิมพ์แบบฝรั่ง
การอ่านในสังคมไทยจึงมีน้อยมาก ส่วนใหญ่เราฟังมากกว่าอ่าน และถึงแม่ว่าจะมีหลักฐานในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ว่ามีมิชชันนารีที่เข้ามาเปิด คลินิกสอนศาสนาและรักษาผู้ป่วยด้วยใรกรุงเทพฯ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 และเขาขยันพอที่จะเก็บรวบรวมสถิติว่ามีคนไข้อ่านออกเขียนได้กี่เปอร์เซ็นต์ ปรากฏว่าเขาทำสถิตืคือคนไทยอ่านออกเขียนได้ถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ถ้าดูจากตัวเลขนี้จะพบว่าคนไทยอ่านออกเขียนได้พอสมควสร แต่ความจริงเมื่อเขาไม่ได้ใช้การอ่านในชีวิตประจำวันก็น่าสงสัยว่าการ อ่านออกเขียนได้นั้นทำหน้าที่ได้จริงหรือไม่ เพราะอาจจะไม่ได้อ่านคล่องอย่างที่เราอ่านกันทุกวันนี้
ในสังคมที่มี การอ่านน้อย และมีการเขียนน้อย คำถามคือเราสามารถส่งทอดความรู้ ความงาม ความจริงกันอย่างไร คำตอบที่ง่ายที่สุดคือส่งทอดผ่านความจำ ซึ่งก็ไม่ใช่องประหลาดอะไร เพราะในระบบการศึกษาแบบโบราณเกือบทุกแห่งก็ส่งทอดความจริง ความงามเหล่านี้ผ่านความจำทั้งนั้น
ขณะเดียวกันพุทธศาสนา (รวมถึงศาสนาอื่นๆ ด้วย) ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสังคมโบราณ ก็เสนอว่าความจริงมีอย่างเดียว ทำให้ไม่ต้องใช้สมองวิเคราะห์อะไรมากนัก การศึกษาสังคมโบราณทุกแห่งจึงสอนให้จำ เพราะมีความจริงให้จำเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ที่ผมพูดมาถึงตรงนี้ เพื่อเตือนให้ระลึกว่า เวลาที่เราพูดถึงการอ่านในสังคมปัจจุบันนี้ ผมคิดว่าเราไม่ได้ให้ความหมายเดียวกับที่ คนโบราณอ่านหนังสือดังๆ ให้ฟัง ดังที่เราจะเห็นว่าคนเก่าคนแก่จำนวยไม่น้อยที่อ่านแล้วต้องทำเสียงในลำคอ หรือทำปากขมุบขมิบ เพราะการรับความหมายต้องผ่านเสียงก่อนที่จะเข้าไปสู่สมอง
ที่เราเรียกว่าอ่านในปัจจุบันหมายถึงอะไร
ประการแรกสุดผมอยาก เตือนว่าแม้ภาษาไทยมีตัวสะกด แต่เราไม่ได้สะกด เราทำเหมือนกับที่คนจีนหรือญี่ปุ่นทำกับภาษาของเขา คือเรามองคำทั้งคำเป็นสัญลักษณ์ คำว่าอ่าน คือการซึมเข้ามาโดยที่เราไมได้ไปสะกดมัน เราจำตัวหนังสือเป็นคำๆ หรือเป็นวลีหรือเป็นประโยคด้วยซ้ำเหมือนว่าเป็นสัญลักษณ์
การที่เรา สามารถอ่านได้รวดเร็ว อ่านข้ามไปเวลาอ่านเอกสารบางอย่าง ความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านี้ได้เป็นโอกาสที้จะทำให้เราสามารถคิดวิเคราะห์ ความหมายจากตัวสัญลักษณ์เหล่านี้ไปได้พร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างทีเป็นรูปธรรม เช่น เวลาที่เห็นป้ายห้ามเข้า ซึ่งมีวงกลมและขีดตรงกลาง เราคิดต่ออีกหลายอย่าง ว่าเราจะอ้อมไป หรือเข้าทางไหนได้ หรือมีตำรวจแถวนี้หรือไม่ ถ้าไม่มีก็ฝ่าเข้าไป เป็นต้น
เมื่อเห็น สัญลักษณ์เราจะคิดวิเคราะห์และรับความรู้สึกด้วย เวลาที่เราอ่านหนังสือเราสามารถรับความรู้สึกได้อย่างรวดเร็ว การกระทำทั้งหมดนี้เรียกว่า ‘การอ่าน’ หัวใจของการทำสิ่งเหล่านี้ได้คือ ความเพลิดเพลิน ผมรู้สึกว่าในประเทศไทยเวลาพูดถึงการอ่าน เราเครียดจังเลย เราพูดถึงประโยชน์ของการอ่านว่าจะมีการพัฒนาอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ไม่พูดว่ามันสนุกดี ซึ่งนี่เป็นหัวใจของการอ่าน และการสนุกดีจากการอ่านได้ ก็จะต้องอ่านแบบที่กล่าวมา แต่ถ้าจะสนุกจากการอ่านสุนทรภู่ ต้องฟัง คือผ่านสิ่งอื่นมากกว่าผ่านตัวเอกสารโดยตรง
ความสามารถในการ วิเคราะห์นี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความสามารถในการอ่านในความหมายแบบใหม่ ซึ่งถ้าเอาความสามารถนี้ไปอ่านหนังสือโบราณ คุณจะรู้สึกว่ามีอะไรขัดๆ อยูตลอดเวลา เพราะคนโบราณไม่ได้เขียนด้วยความคิดว่าผู้เสพจะอ่านแบบปัจจุบัน เขาจึงไม่สนใจที่จะรักษาตรรกะ จากเหตุไปหาผลได้เพื่อที่จะทำให้คนอ่านคล้อยตาม หรือมองเห็นเหตุผบต่างๆ นานาได้
ดังนั้นการที่เราอ่านแบบปัจจุบัน ถ้าเรากลับไปอ่านสุนทรภู่ ก็จะพบว่ามีอะไรขาด หรือกระโดดไป จะไม่ได้รสชาดของการอ่านแบบโบราณ
การอ่านของไทยหลังการพิมพ์แบบตะวันตก
ทั้งหมดที่พูดคือ การอ่านก่อนที่จะมีเทคโนโลยีการพิมพ์และการอ่านหลังการพิมพ์
การ อ่านในประเทศไทยหลังจากได้รับการพิมพ์แบบตะวันตกคือการศึกษาแผนใหม่ เกิดโรงเรียนแบบใหม่ แต่โรงเรียนแบบใหม่ก็ยังคงรักษาจุดมุ่งหมาย หรือวิธีการศึกษาแบบโบราณ นั่นคือมุ่งที่จะให้ผู้เรียนจดจำอะไรบางอย่างที่เราเชื่อว่ามันเป็นความจริง เพียงอย่างเดียว เช่นโลกกลม หรือการแบ่งภูมิภาคต่างๆ ของโลก
กล่าว ได้ว่า การศึกษาของไทยในสมัยโบราณความจริงเอามาจากบาลี ขณะที่การศึกษาสมัยใหม่เอาความจริงมาจากภาษาอังกฤษ แต่ยังใช้วิธีการเดียวกันคือ ‘จำ’ สิ่งที่เชื่อว่าเป็น ‘ความจริง’ เอาไว้ ดังนั้น ในแบบเรียนภาษาไทยจะค่อนข้างสั้นและสรุปรวมสิ่งที่ถือว่าเป็นความจริงแท้แน่ นอนสำหรับเด็กอ่านและจดจำได้
ผมคิดว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นตัวอย่าง ที่เห็นชัด ตำราวิชากวิทยาศาสตร์ของไทยเทียบกับอเมริกันจะเห็นว่าแตกต่างชัดเจน เพราะตำราของอเมริกันหนามาก เพราะเขาจะอธิบายว่าความจริงเป็นแบบนี้ทำไมเป็นแบบนี้ และคนที่ไม่คิดแบบนี้เขาคิดอย่างไร เพราะการเรียนไม่ใช่การเรียนเฉพาะตัวข้อเท็จจริง แต่เป็นการเรียนวิธีคิด วิธีคิดที่ผิดจึงให้การศึกษาและให้ความรู้กับตัวเราสูงมาก สรุปง่ายๆ คือวิชาวิทยาศาสตร์จึงเต็มไปด้วยการอภิปรายเกี่ยวกับการค้นหาคงวามจริง ไม่ใช่ตัวความจริงที่ยัดไว้ในแบบเรียนเป็นหลัก
ถึงวันนี้การศึกษาของ ไทยก็ยังไม่ต่างจากโบราณ คือสรุปความจริงให้กระทัดรัด ง่ายต่อการจดจำ ในสภาพการเรียนแบบนี้ คำถามที่ชัดคือ อ่านทำไม เพราะไม่รู้จะอ่านสิ่งที่นอกเหนือจากตำราไปทำไมเนื่องจากเป็นความจริงมิติ อื่น ที่ไม่ปรากฏในตำรา
ที่เราบอกว่านักเรียนนักศึกษาควรอ่านให้มาก เพราะความจริงมันสลับซับซ้อนมากกว่า ถ้าเราคิดว่าความจริงเป็นของง่ายๆ ตามตำรา ก็ไม่รู้จะอ่านหนังสือไปทำไม และการเขียนแบบนี้จึงทำให้ครูบังคับให้เด็กอ่านแบบเคร่งเครียดมาก ผมไม่แน่ใจว่ารุ่นหลังนี้ให้อ่านแบบที่ผมเคยเจอหรือเปล่า คือถูกบังคับให้อ่านตั้งแต่ปกรอง คำนำของกระทรวงฯ ถ้าคุณสอนให้เด็กอ่านแบบนี้เขาจะไม่อ่านอีกเลยตลอดชีวิต เพราะมันน่าเบื่อ เหนื่อย ไม่ทำให้รู้สึกว่าการอ่านทำให้เกิดความเพลิดเพลิน และอ่านแล้วคิดไม่เหมือนกันได้ เอามาแลกเปลี่ยนกันได้ เหมือนการดูละครทีวี เรานับถือตัวหนังสือเกินไป ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษาก่อนการพิมพ์ คือชินกับการฟังข้อเท็จจริงมากกว่าการอ่านข้อเท็จจริง
เหตุดังนั้นสง คมไทยในแง่ความสำเร็จของรัฐไทยก็ถือว่าประสบความสำเร็จใน การให้คนอ่านออกเขียนได้มาก แต่เป็นชาติที่มีคนอ่านหรือซื้อหนังสืออ่านน้อยมาก เคยมีหัวข้อถามในเว็บไซต์แห่งหนึ่งเปรียบเทียบระหว่างคนไทยกับคนพม่า ว่าใครเป็นนักอ่านมากกว่ากัน ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือพม่ากับไทยไม่มีอะไรแตกต่างกันมากนักในสมัยโบราณ พบว่าผู้แสดงความเห็น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฝรั่งที่ได้คลุกคลีกับทั้งคนไทยและคนพม่าเป็นเวลานาน ลงคะแนนว่าคนพม่าโดยพื้นฐานแล้วมีความเป็นนักอ่านมากกว่าคนไทย เพียงแต่ระยะหลังไม่มีอะไรให้อ่าน
เราไม่ใช่ชาตินักอ่าน และตราบเท่าที่เราไม่ทำสองอย่างคือทำให้การอ่านเป็นการหาความสุขในชีวิต อย่างหนึ่ง อ่านสิ่งที่เขาอยากจะอ่าน ไม่จำเป็นต้องอ่านสิ่งที่เป็นประโยชน์ และประการที่สองคือ การอ่านผูกพันอยู่กับการศึกษาตราบเท่าที่เราไม่ได้ปฏิรูปการศึกษามากไปกว่า การแจกแท็บเบล็ตหรือโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา ทำให้เด็กพบว่าความจริงมองได้หลายชั้น สนุกในการคิดวิเคราะห์ที่แตกต่างจากครูและตำรา ไม่ถูกลงโทษถ้าคิดวิเคราะห์แตกต่างไปจากครูและตำรา ถ้าไม่ทำเช่นนี้ สังคมไทยก็จะไม่ใช่สังคมนักอ่านตลอดไป