WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, August 25, 2011

ชี้สอบสื่อไม่เป็นธรรม "เจ๊ยุ"นักข่าวอาวุโส เตือน"อนุกก."แล้ว เข้าทางการเมือง

ที่มา มติชน


ยุวดี ธัญญศิริ


ยุวดี ธัญญสิริ

′ เจ๊ยุ-ยุวดี ธัญญศิริ′นักข่าวอาวุโสประจำทำเนียบ เผยเบื้องหลังเตือนกรรมการสภาหนังสือพิมพ์ฯ ชี้ผลสอบไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะการเปิดเผยนามปากกา ยอมรับไม่สบายใจ ค้านวิธีนับจำนวนรูป-ข่าวแล้วสรุปสื่อเข้าข้างฝ่ายไหน ติงอนุ กก.ใจร้อน ตั้งข้อสงสัยเร่งเข้าทางใคร

นางยุวดี ธัญญศิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ประจำทำเนียบรัฐบาล และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ เมื่อ วันที่ 23 สิงหาคม กรณีสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ตั้งอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง การส่ง อีเมล์ของนักการเมืองระบุให้เงินและผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ว่า สภาการหนังสือพิมพ์ทำตามระเบียบข้อบังคับของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ มีอำนาจ ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาสอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่อง ดังกล่าว โดยที่ประชุมเลือกกรรมการเอง มี นพ.วิชัย โชควิวัฒน นางบัญญัติ ทัศนียเวช นางดรุณี หิรัญรัตน์ ศาสตราจารย์พิเศษสิทธิโชค ศรีเจริญ และดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เป็นเลขานุการ มีสื่อมวลชน 2 คน สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ต้องการให้เป็นคนนอกเข้ามาตรวจสอบเพื่อความเป็นกลาง เพราะเป็นกระแสร้อน ในการติดสินบนสื่อ เป็นสิ่งที่สังคมอยากรู้ เพราะภาพของสื่อต่อสังคมต้องเป็นภาพที่เป็นกลางและสามารถเสนอข่าวได้โดยใช้ สิทธิเสรีภาพ และอยู่ในกรอบจริยธรรมสื่อ

"ในฐานะที่ประกอบวิชาชีพ สื่อ รู้สึกไม่สบายใจ แต่เท่าที่ดูอีเมล์ตั้งแต่ต้นมองเป็นเรื่องธรรมดา เพราะใครจะกล่าวหาใครทำได้ เพราะปราศจากหลักฐาน แต่เมื่อพาดพิงมาถึงบุคคลที่บังเอิญเป็นสมาชิกอยู่ในสภาการหนังสือพิมพ์ฯ อยู่ด้วย โดยเฉพาะเป็นผู้ใหญ่ เชื่อโดยสุจริตว่าคนเหล่านี้เราคบกันมา เป็นรุ่นพี่ส่วนผู้ที่ถูกกล่าวหาเป็นรุ่นน้อง เห็นนิสัยใจคอมาคิดว่าคงไม่เป็นไปตามอย่างที่กล่าวหา" นางยุวดีกล่าว

นาง ยุวดีกล่าวว่า เมื่อมีการสอบก็พร้อมสนับสนุน แต่ผลสอบสรุปออกมารู้สึกตกใจว่าทำไมแนวทางที่สอบถูกต้องแล้วหรือ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งไปตรวจสอบข้อมูลข่าวสารสื่อที่ถูกพาดพิงในช่วงระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน-3 กรกฎาคม เป็นช่วงหาเสียงเลือกตั้ง

"ประเด็น เหล่านี้เป็นธรรมแล้วหรือ กรรมการ บอกว่าทำถูกต้องแล้ว" เพราะก่อนแถลง หรือชี้แจงของคณะอนุกรรมการ จึงถามว่าคณะกรรมการดูที่แนวนโยบายของหนังสือพิมพ์หรือเปล่าว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในเครือมติชนเท่าที่ติดตามข้อมูลข่าวสารและอ่านข่าวประจำทุกวันเห็น ว่าในเครือมติชน แต่ละฉบับมีแนวนโยบายที่ไม่ได้ยืนข้างฝ่ายรัฐบาล แต่ไม่ใช่ลักษณะตรงข้ามรุนแรง ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่เกิด" นางยุวดีกล่าว

นางยุวดีกล่าวว่า ถ้าติดตามหนังสือพิมพ์ "ข่าวสด" เท่าที่เกิดเหตุการณ์วิกฤตในบ้านเมือง 2 ปีที่ติดต่อ ข่าวสดพยายามเป็นตัวแทนต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของสังคม มีคนตายในบ้านเมืองเยอะแยะ คำตอบต่างๆ ที่สังคมยังไม่ได้รับ และเคลือบแคลง สงสัยรัฐบาล แต่การสงสัยนั้นไม่ได้หมายความว่าจะเป็นฝ่ายตรงข้าม

"คน ที่มีสายตาเป็นกลางและให้ความเป็นธรรมควรจะมองว่า การเรียกร้องเหล่านี้เพื่อประโยชน์ของสังคมและเหตุการณ์รุนแรงขนาดนี้ รัฐบาลยังอยู่ได้เรียกว่าเก่งมาก อีกทั้งไม่ได้แสดงความรับผิดชอบอะไร เรื่องนี้ไม่ใช่ไปกล่าวหา แต่ดูตามหลักการของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การที่เข้ามาแสดงความเห็นต่างไม่ได้หมายความว่ายืนอยู่คนละซีก" นางยุวดีกล่าว

นางยุวดีกล่าวว่า คณะอนุกรรมการแถลงปรารภตั้งแต่ต้นว่า เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของการสอบสวนเรื่องจริยธรรม และบอกว่าการตรวจสอบมันอ่อนไหว อาจจะมีคนเอามาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง ในขณะที่สถานการณ์ยังมีความขัดแย้งสูง สื่อมวลชนเข้าไปอยู่ในวงการขัดแย้งด้วยจะต้องระมัด ระวัง จึงเตือนแล้วเตือนอีกว่าเอาให้แน่ใจนะจะแถลงกัน แต่เวลามันน้อยองค์ประชุมครบ มาสรุปให้คณะกรรมการ ฟังและรับฟังข้อโต้แย้งต่างๆ แล้วบอกว่าไม่มีอะไรสามารถแถลงได้ ทุกคนตกลง

"ดิฉัน ติงอนุกรรมการของสภาหนังสือพิมพ์ อย่างที่บอกว่าท่านมีเวลาน้อย เดี๋ยววันนี้นัดกับทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไว้บ่ายโมงจะต้องรีบไป ในที่ประชุมไม่ได้ถามว่านัดเรื่องอะไร ตกกลางคืนเห็นกรรมการไปออกทีวีตก ใจมาก ทำไมรวดเร็วถึงขนาดนี้ แสดงว่า เป็นประเด็นที่สังคมอยากรู้ และอนุกรรมการพยายามป้อนในทันทีอย่างนั้นหรือ แต่บางทีการทำอะไรเร็วๆ อาจขาดความรอบคอบ ส่วนตัวดิฉันเองหากมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องร้อนและเรื่องใหญ่ควรที่จะดู อะไรให้ละเอียดรอบคอบ ก่อนจะออกข่าวไป" นางยุวดีกล่าว และว่า หนังสือพิมพ์ที่ถูกกล่าวหาแต่ละฉบับไม่ใช่กระจอกงอกง่อย แต่ละคนสร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นขึ้นมา ในแง่ของการเสนอข่าวสาร คือเราเป็นนักข่าวในโรงพิมพ์กว่าข่าวจะได้ขึ้นหัวแต่ละข่าวไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องประชุม 3-4 ครั้ง กำหนดว่าข่าวไหนควรขึ้นหน้าหนึ่งโดยเฉพาะข่าวการเมืองที่ส่งเข้ามาปัจจุบัน มีทั้งออนไลน์ อีเมล์ วันๆ ข่าวที่ถูกทิ้งเป็นตะกร้าเป็นเข่ง แต่ละวันกว่าข่าวจะได้รับเลือกไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นเรื่องการติดสินบนสื่อเพื่อลงข่าวไม่ได้ติติงคณะอนุกรรมการ ถือว่าเสียสละเข้ามาทำหน้าที่ทำงานให้ต้องขอบคุณ แต่ประเด็นที่สอบอาจแคบไปและการตรวจสอบ แค่ระยะเวลาก็ไม่ควรแล้ว ถ้ากรรมการจะตรวจสอบกันจริงต้องตรวจสอบย้อนหลังว่าที่ผ่านมาข่าวสารเป็น อย่างไรเพื่อดูพฤติกรรมว่าเป็นอย่างไร

นางยุวดีกล่าวว่า ในวงการสื่อส่วนตัวคิดว่าเพื่อนสื่อส่วนใหญ่ทุกคนทำหน้าที่โดยยึดมั่นในหลัก จริยธรรม ไม่ว่าจะเป็นฉบับเล็กหรือใหญ่ หนังสือที่มีความมั่นคง จริงอยู่ในทุกองค์กรมีทั้งคนดีคนไม่ดี คนไม่ดีก็มี

"พวกเราเองยัง พูดล้อกันเลยว่า วันเกิด ปีใหม่ ไม่มีใครเขาหิ้วของมาเยี่ยมพวกข่าวการเมืองหรอก เขาไปหน้าเศรษฐกิจโน่น ทุกคนก็หัวเราะ เรื่องแบบนี้เป็นเรื่องของมิตรจิตมิตรใจ เรื่องการเชิญสื่อไปทำข่าวอะไรเราไม่อยากเปิดโปงเบื้องหลัง มีทุกพรรคการเมืองอย่ามาคุยเลย" นางยุวดีกล่าว และว่า ถ้าเอากันถึงที่สุดและจะสอบสวนยืนยันกันได้ทุกเรื่อง แม้แต่หน่วยราชการใหญ่ๆ ยกตัวอย่างกระทรวงการต่างประเทศเองยังมีงบฯรับรองสื่อ พาสื่อไปต่างประเทศ และมีบางรัฐบาลไม่เอาสื่อไปเลย คนในกระทรวงเอางบฯไปถลุงกันเองแล้วแกล้งมาจัดเลี้ยงน้ำชาแล้วให้สื่อเซ็น ชื่อ เคยสงสัยถามและแอบสืบดูรู้ว่าต้องเอาลายเซ็นไปเป็นหลักฐานว่านี่คือการเอ็น เตอร์เทนเลี้ยงรับรอง

"เขามีงบฯสื่อเยอะแยะไปหมด เพราะฉะนั้น เรื่องของพรรคการเมือง ยิ่งเป็นช่วงเลือกตั้งแต่ละคนพยายามให้ตัวเองเป็นข่าว ได้ผลประโยชน์ การเลือกตั้งที่ผ่านมาระหว่างคุณ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ฝ่ายคนที่เป็นรัฐบาลและยิ่งถ้าผลงานไม่ดีไม่ถูกใจประชาชนก็ยิ่งเป็นรอง ส่วนฝ่ายค้านเคยมีผลงานเป็นคนที่เชื่อถือได้แม้คนที่เข้ามาไม่ได้เป็นคนทำก็ ตาม แต่ยี่ห้อยังใช้ได้อยู่ คนให้ความเชื่อถือมากกว่า และสถานการณ์ที่ผ่านมา ช่วงเวลา 2 ปี มีแต่เรื่องการเมืองทะเลาะกันไม่จบไม่สิ้น คนเบื่อหน่าย และอย่าคิดว่าคะแนนโหวตที่ประชาชนลงให้ 15 ล้านเสียงเป็นคนพวกสีเสื้อ มันไม่ใช่ คนส่วนใหญ่ที่ไม่พอใจต้องการเปลี่ยนเพื่อให้บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ" นางยุวดีกล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะอนุกรรมการสอบแล้ว ไปพูดถึงความผิดปกติ เรื่องของจำนวนข่าวและรูปที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์นั้น สามารถวัดความผิดปกติและการเข้าข้างได้หรือไม่ นางยุวดีกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์จะเอาเรื่องพวกนี้มาวัดไม่ได้ อย่างที่พูด การเลือกตั้งคือการแข่งขันสื่อต้องเสนอคนที่เป็นข่าวมากกว่า รูปภาพต้องเลือกตามสถานการณ์

"ที่ผ่านมารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ในช่วงน้ำท่วมแอ๊กชั่นเป็นอย่างไร คนดูก็อมยิ้มกัน ส่วนฝ่ายค้านเป็นอีกแบบ ทั้งหมดอยู่ที่การจัดการว่าเป็นระบบอย่างไร การพรีเซนต์อยู่ที่ทีมงานมากกว่า ว่าจะจัดให้หัวหน้าพรรคแต่ละพรรคทำอย่างไร" นางยุวดีกล่าว

เมื่อถาม ว่า สรุปว่าหนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่งเอียงข้างไปอยู่กับอีกฝ่ายหนึ่งจากผลการ นับจำนวนข่าวหรือรูปภาพนั้น ถือว่ายุติธรรมแล้วหรือ นางยุวดีกล่าวว่า "ช่วงการเลือกตั้ง เมื่ออีกฝ่ายคอยจ้องว่าคุณอย่าพลาดน่ะถ้าคุณพลาดงับทันที มันจึงออกมาเป็นอย่างเช่นวันนี้ ดิฉันเตือนแล้วให้ข้อสังเกตแล้ว โดยบอกว่าเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องเตะเนื้อเข้าปากฝ่ายตรงข้าม เขาไม่ ฟังหรอก ที่คุณตรวจสอบเฉพาะแค่เรื่องของจริยธรรม เพราะฝ่ายตรงข้ามเตรียมงับอยู่แล้ว ดิฉันบอกตรงๆ เลยว่า เมื่อแถลงออกไปเช่นนี้ก็รู้สึกไม่สบายใจแทนเพื่อนร่วมวิชาชีพ ที่พูดดิฉันไม่ได้เอาใจ แต่เป็นโดยหลักและสำนึกของตัวเองว่าดูแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้ประกอบ วิชาชีพ โดยเฉพาะไปเปิดเผยชื่อคอลัมน์ต่างๆ ความจริงต้องปกปิดแม้แต่ขึ้นศาลยังไม่ค่อยจะเปิดเผย ยกเว้นตัวบรรณาธิการต้องให้เกียรติกัน" นางยุวดีกล่าว

นางยุวดีกล่าว อีกว่า การนับจำนวนข่าวหรือภาพอย่างนั้นไม่เป็นเหตุเป็นผลเพียงพอ ถ้าจะเอากันจริงๆ ต้องนับย้อนหลังไปด้วยว่า สื่อนั้นๆ เป็นอย่างไรไม่ใช่มาดูกันแค่นี้ หนังสือพิมพ์มติชน เป็นฉบับหนึ่งที่ทุกเช้าคนต้องถือเพื่อมาดูข้อมูล เป็นหนังสือที่น่าเชื่อถือและลงครบถ้วน โดยเฉพาะข่าวสารราชการติดตามต่อเนื่องไม่ปล่อย

"อนุกรรมการน่าจะใจ ร้อนใจเร็วไปออกเป็นขั้นเป็นตอน เลยทำให้คนตกใจว่าเออ ขบวนการอย่างนี้ไปทำเพื่อเร่งให้เข้าทางใครหรือเปล่า" นางยุวดีกล่าว

นาย สุนทร จันทร์รังสี รองประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ คนที่ 1 เปิดเผยว่า สภาการหนังสือพิมพ์ฯ เลื่อนประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จากวันที่ 13 กันยายน เป็นวันที่ 20 กันยายน

นายสุนทรกล่าวว่า หากมีองค์กรสมาชิกผู้เป็นต้นสังกัด หรือผู้ถูกกล่าวหา ยื่นคำอุทธรณ์ ที่ประชุมคณะกรรมการต้องพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับอุทธรณ์ เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติม แต่หากไม่มีผู้ใดยื่น ที่ประชุมคณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์ฯ จะพิจารณากำหนดท่าทีที่เหมาะสมของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ต่อไป