WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 24, 2011

อ่านรายงานผู้ตรวจการพิเศษยูเอ็นด้านเสรีภาพการแสดงออก ฉบับเต็ม

ที่มา ประชาไท

รายงานว่าด้วยการสนับสนุนและปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออก ซึ่งแฟรง ลา รู (Frank La Rue) ผู้ตรวจการพิเศษสหประชาชาติด้านเสรีภาพการแสดงออก นำเสนอต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งใช้เวลาเก็บข้อมูลในประเทศต่างๆ เป็นเวลา 1 ปี (มี.ค. 2553 - มี.ค. 2554)

"ประชาไท" เรียบเรียงบทสรุปและข้อเสนอแนะของรายงานมานำเสนอ ดังนี้

0 0 0

"ผู้ รายงานพิเศษเชื่อว่าอินเทอร์เน็ตกลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากสุด อย่างหนึ่งในศตวรรษที่ 21 ทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติของผู้มีอำนาจมากขึ้น มีการเข้าถึงข้อมูลสนเทศ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเรือนในการสร้างสังคมประชาธิปไตย กระแสเรียกร้องประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ทั่วทั้งตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ ชี้ให้เห็นบทบาทสำคัญของอินเทอร์เน็ตในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวของมวลชน เพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ความเท่าเทียม การตรวจสอบได้ และการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวรัฐทุกแห่งจึงควรกำหนดการส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของบุคคลทุกคนให้เป็นภารกิจเร่งด่วน โดยให้มีการควบคุมเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตน้อยสุด" (ส่วนหนึ่งจากรายงาน)

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

อิน เทอร์เน็ตต่างจากสื่อกลาง อื่นๆ อินเทอร์เน็ตช่วยให้บุคคลแสวงหา ได้รับ และเผยแพร่ข้อมูลและความคิดทุกประเภทข้ามพรมแดนโดยทันทีและสิ้นเปลืองค่าใช้ จ่ายน้อย นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังมีส่วนส่งเสริมศักยภาพของบุคคลให้บรรลุถึงสิทธิที่มีเสรีภาพ ในการแสดงความเห็นและการแสดงออก ซึ่งจะเป็น “ปัจจัยส่งเสริม” นำไปสู่สิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ ซึ่งเท่ากับช่วยส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และทำให้เกิดการพัฒนาของมนุษย์โดยรวม ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้รายงานพิเศษจึงขอกระตุ้นให้ผู้มีอำนาจตามกลไกพิเศษ (Special Procedures) อื่นๆ มีส่วนร่วมในการทำงานด้านอินเทอร์เน็ตตามอำนาจหน้าที่ของตน

ผู้รายงานพิเศษเน้นว่าควรควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตให้น้อยสุด โดย ให้มีข้อยกเว้นไม่มากนักซึ่งเป็นไปตามหลักของกฎบัตรสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศ ทั้งยังย้ำด้วยว่า การประกันอย่างเต็มที่ซึ่งสิทธิที่มีเสรีภาพในการแสดงออกจะต้องกำหนดเป็น บรรทัดฐาน และการจำกัดสิทธิให้ถือเป็นกรณียกเว้นเท่านั้น และไม่ควรมีการแก้ไขหลักการดังกล่าวเลย ตามหลักการดังกล่าว ผู้รายงานพิเศษจึงมีข้อเสนอแนะในด้านต่างๆ ดังนี้

ก. การควบคุมเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต

ผู้ รายงานพิเศษตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เช่นเดียวกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีอื่นๆ อินเทอร์เน็ตอาจถูกใช้อย่างมิชอบและก่ออันตรายให้ผู้อื่น และเช่นเดียวกับข้อมูลทั่วไป มาตรการ ที่ควบคุมจำกัดเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ตควรกระทำในลักษณะเป็นข้อยกเว้น และจะต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์สามประการ ได้แก่ (1) ต้องมีกฎหมายรองรับ และเป็นข้อกำหนดที่ชัดเจนและเข้าถึงได้สำหรับทุกคน (หลักความคาดหมายได้และโปร่งใส) และ (2) ต้องเป็นไปตามจุดประสงค์ข้อใดข้อหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในย่อหน้า 3 ข้อ 19 ของกติกาฯ กล่าวคือเพื่อ (i) คุ้มครองสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่นหรือ (ii) รักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชน (หลักความชอบธรรม); และ (3) ต้องใช้เมื่อจำเป็นอย่างยิ่ง และให้นำมาตรการที่ควบคุมจำกัดน้อยสุดมาใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว (หลักความจำเป็นและชอบด้วยสัดส่วน) นอกจากนั้น หน่วยงานที่ใช้มาตรการตามกฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิที่มีเสรีภาพในการแสดงออก จะต้องเป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง พาณิชย์ หรืออิทธิพลภายนอกอื่นใด และกระทำโดยไม่พลการหรือไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ และมีมาตรการป้องกันการใช้อำนาจอย่างมิชอบอย่างเพียงพอ รวมทั้งการเปิดโอกาสให้มีการยื่นคำร้องเพื่อทบทวนและขอรับการเยียวยากรณีที่ มีการนำมาตรการนั้นๆ ไปใช้อย่างมิชอบ

1. การปิดกั้นและคัดกรองเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตโดยพลการ
ผู้รายงานพิเศษกังวลอย่างยิ่งว่ารัฐได้นำกลไกปิดกั้นหรือคัดกรองที่ทันสมัยมากขึ้นมาใช้เพื่อการเซ็นเซอร์ มาตรการ ที่ขาดความโปร่งใสเช่นนี้ทำให้ยากจะตรวจสอบได้ว่าการปิดกั้นหรือคัดกรองเช่น นั้นมีความจำเป็นเพื่อตอบสนองเป้าหมายตามที่รัฐอ้างหรือไม่ ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้รายงานพิเศษจึง เรียกร้องให้รัฐที่ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์รายงานเว็บไซต์รายชื่อที่ถูก ปิดกั้น พร้อมกับรายละเอียดที่อธิบายถึงความจำเป็นและความชอบธรรมที่จะต้องปิดกั้น การเข้าถึงเว็บไซต์แต่ละแห่ง และในหน้าของเว็บไซต์ที่ถูกปิดกั้นจะต้องมีคำอธิบายอย่างชัดเจนว่าเหตุใดจึง ถูกปิด หลักเกณฑ์พิจารณาว่าควรมีการปิดกั้นเนื้อหาส่วนใด เป็นสิ่งที่พึงกระทำโดยหน่วยงานตุลาการ ผู้มีอำนาจ หรือหน่วยงานที่เป็นอิสระจากอิทธิพลทางการเมือง พาณิชย์ หรืออิทธิพลที่ไม่พึงประสงค์อื่นใด

ใน แง่ของภาพอนาจารของเด็ก ผู้รายงานพิเศษสังเกตว่ากรณีดังกล่าวเป็นข้อยกเว้นที่ชัดเจนที่สนับสนุน มาตรการปิดกั้น แต่จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อกฎหมายในประเทศกำหนดมาตรการป้องกันการใช้กฎหมาย อย่างมิชอบหรือการใช้อำนาจในทางที่ผิดอย่างชัดเจนและหนักแน่นเพียงพอ เพื่อป้องกัน “mission creep” อย่างเช่น กำหนดให้มีการกำกับดูแลและตรวจสอบโดยหน่วยงานตุลาการหรือหน่วยงานกำกับดูแล เป็นอิสระและไม่ลำเอียง อย่างไรก็ตาม ผู้รายงานพิเศษเรียกร้องให้รัฐพยายามนำตัวผู้ผลิตและเผยแพร่ภาพอนาจารของ เด็กมาลงโทษ แทนที่จะกำหนดแต่มาตรการปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว

2. การเอาผิดทางอาญาต่อการแสดงออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ รายงานพิเศษกังวลต่อไปว่ายังคงมีการเอาผิดทางอาญาต่อการแสดงความเห็นในอิน เทอร์เน็ตที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการละเมิดพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศของรัฐ ไม่ว่าจะ เป็นการใช้กฎหมายอาญาเพื่อเอาผิดต่อการแสดงความเห็นในอินเทอร์เน็ต หรือการออกกฎหมายใหม่ๆ เพื่อปราบปรามและเอาผิดต่อการแสดงความเห็นทางอินเทอร์เน็ต รัฐมักอ้างว่าจำเป็นต้องใช้กฎหมายเช่นนี้เพื่อคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคล รักษาความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อต่อต้านลัทธิก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้วมักมีการนำมาใช้เพื่อเซ็นเซอร์เนื้อหาที่รัฐบาลและหน่วยงาน ที่มีอำนาจไม่เห็นด้วยหรือไม่ชอบ

ผู้รายงานพิเศษย้ำถึงเสียงเรียกร้องให้รัฐทุกแห่งลดการเอาผิดทางอาญาต่อกรณีหมิ่นประมาท นอกจากนั้น ยังย้ำว่ารัฐ ไม่ควรใช้เหตุผลเพื่อการรักษาความมั่นคงในประเทศหรือต่อต้านลัทธิก่อการร้าย เพื่อสนับสนุนมาตรการควบคุมสิทธิในการแสดงออก เว้นแต่รัฐบาลจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า (ก) การแสดงออกนั้นมุ่งหมายเพื่อยุยงให้เกิดความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นอย่างแน่ นอน (ข) การกระทำเช่นนั้นมีแนวโน้มเป็นการยุยงให้เกิดความรุนแรง และ (ค) มีความเชื่อมโยงในทางตรงและอย่างชัดเจนระหว่างการแสดงความเห็นเช่นนั้นกับ โอกาสหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรุนแรงดังกล่าว

3. การกำหนดความรับผิดของผู้ที่เป็นสื่อกลาง
ผู้เป็นสื่อกลางมีบทบาทสำคัญช่วยให้ผู้ใช้อิน เทอร์เน็ตสามารถใช้สิทธิที่มีเสรีภาพในการแสดงออกและการเข้าถึงข้อมูล สืบเนื่องจากอิทธิพลของผู้เป็นสื่อกลางถึงวิธีการเผยแพร่และข้อมูลที่ต้อง การเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต รัฐจึงได้พยายามควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อกลาง มีการเอาผิดในทางกฎหมายกรณีที่ไม่สามารถป้องกันการเข้าถึงเนื้อหาที่ถือว่า ผิดกฎหมายได้

ผู้รายงานพิเศษเน้นว่าไม่ควรมีการผ่องถ่ายการใช้ มาตรการเซ็นเซอร์ให้กับ ภาคเอกชน และไม่ควรเอาผิดทางกฎหมายต่อผู้เป็นสื่อกลางที่ปฏิเสธจะดำเนินการในลักษณะ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคล การ ขอความร่วมมือใดๆ ต่อผู้เป็นสื่อกลางเพื่อให้ปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหาบางอย่าง หรือเพื่อให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเป้าประสงค์ที่จำกัดอย่างเช่น เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา ควรกระทำโดยผ่านคำสั่งจากศาลหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจที่เป็นอิสระจากอิทธิพล ทางการเมือง พาณิชย์ หรืออิทธิพลที่ไม่พึงประสงค์อื่นใด

นอก จากนั้น แม้ว่ารัฐมีหน้าที่หลักในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน แต่ผู้รายงานพิเศษก็ย้ำว่าบรรษัทมีความรับผิดชอบต้องเคารพสิทธิมนุษยชนด้วย หมายถึงว่าต้องมีการตรวจสอบการทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิของบุคคล อื่น ผู้รายงานพิเศษจึงมีข้อเสนอ แนะ ต่อผู้เป็นสื่อกลางให้จำกัดสิทธิเหล่านั้นก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งจากศาลเท่า นั้น แสดงความโปร่งใสให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีการใช้มาตรการควบคุมอย่างไรบ้าง และควรแจ้งให้สังคมโดยรวมทราบด้วย หากเป็นไปได้ แจ้งเตือนให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้าก่อนจะนำมาตรการควบคุมจำกัดมาใช้ และลดผลกระทบให้น้อยสุดด้วยการเซ็นเซอร์เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น สุดท้าย จะต้องมีมาตรการเยียวยาที่เป็นผลต่อผู้ใช้งานที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งโอกาสที่จะร้องเรียนผ่านกลไกของผู้เป็นสื่อกลางเอง และการร้องเรียนต่อหน่วยงานตุลาการที่มีอำนาจ

ผู้รายงานพิเศษ ชมเชยการทำงานของหน่วยงานและบุคคลเพื่อเผยให้เห็นอุปสรรค ต่อสิทธิที่มีเสรีภาพในการแสดงออกในระบบอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เขากระตุ้นให้ผู้เป็นสื่อกลางเปิดเผยข้อมูลกรณีที่มีการร้องขอให้ลบเนื้อหา และคำร้องขอเกี่ยวกับการเข้าถึงเว็บไซต์ใดๆ นอกจากนั้น ผู้ รายงานพิเศษยังมีข้อเสนอแนะต่อบรรษัทให้กำหนดเงื่อนไขของบริการที่ชัดเจนและ ไม่คลุมเครือ โดยให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานและหลักการสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และให้มีการทบทวนผลกระทบของบริการและเทคโนโลยีที่มีต่อสิทธิที่มีเสรีภาพใน การแสดงออกของผู้ใช้อย่างสม่ำเสมอ หรือช่องว่างที่อาจนำไปสู่การใช้บริการและเทคโนโลยีในทางที่มิชอบ และโอกาสที่อาจมีการนำสิทธิดังกล่าวไปใช้อย่างมิชอบ ผู้รายงานพิเศษเชื่อว่าความโปร่งใสเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมการตรวจสอบได้มาก ขึ้นและการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน

4. การตัดการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต โดยอ้างกฎหมายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
ในขณะที่มาตรการปิดกั้นและคัดกรองทำให้ผู้ใช้ ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อหาบางส่วนในอินเทอร์เน็ต แต่รัฐก็ยังได้นำมาตรการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมาใช้เช่นกัน ผู้ รายงานพิเศษมีความเห็นว่าการตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะด้วยเหตุผล ของการละเมิดกฎหมายสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา หรือด้วยเหตุผลใด เป็นการกระทำที่ไม่มีสัดส่วนเหมาะสม และมีแนวโน้มจะเป็นการละเมิดย่อหน้า 3 ข้อ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

ผู้ รายงานพิเศษเรียกร้องให้รัฐ ทุกแห่งดูแลให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา รวมทั้งในช่วงที่มีการลุกฮือทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้รายงานพิเศษเรียกร้องให้รัฐยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญาที่อนุญาตให้ตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ และให้หลีกเลี่ยงการนำกฎหมายเหล่านี้มาใช้

5. การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์
ผู้รายงานพิเศษกังวลอย่างยิ่งว่า มีความพยายามมากขึ้นที่จะใช้การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ต่อเป้าหมายที่เป็น เว็บไซต์ของหน่วยงานสิทธิมนุษยชน เว็บบล็อกที่เสนอความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ และบุคคลหรือหน่วยงานอื่นที่เผยแพร่ข้อมูลซึ่งทำให้รัฐหรือผู้มีอำนาจเกิด ความอับอาย

กรณีที่พิสูจน์ ได้ว่าการก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์เป็นผลจากการทำหน้าที่ของรัฐ ย่อมถือเป็นการละเมิดพันธกรณีของรัฐที่จะต้องเคารพสิทธิที่มีเสรีภาพในการ แสดงความเห็นและการแสดงออก แม้ว่าในทางเทคนิคเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะจำแนกแหล่งที่มาของการก่อกวนระบบ คอมพิวเตอร์หรือผู้ที่อยู่เบื้องหลัง แต่ควรสังเกตว่ารัฐต่างๆ มีพันธกรณีต้องคุ้มครองบุคคลจากการแทรกแซงของบุคคลที่สาม ซึ่งขัดขวางไม่ให้มีการใช้สิทธิที่มีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแสดงออก ได้ พันธกรณีเชิงบวกเพื่อการคุ้มครองเช่นนี้ กำหนดให้รัฐต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมและเป็นผลสอบสวนการกระทำของบุคคลที่สาม ดังกล่าว ให้นำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และนำมาตรการมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้อีกในอนาคต

6. ความบกพร่องในการคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูล
ผู้ รายงานพิเศษกังวลว่า แม้ผู้ใช้จะสามารถปกปิดชื่อของตนได้ระดับหนึ่งในระหว่างการใช้งานอิน เทอร์เน็ต แต่รัฐและภาคเอกชนก็มีเทคโนโลยีที่ใช้เพื่อสอดส่องดูแลและเก็บข้อมูลการสื่อ สารและกิจกรรมของบุคคลที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตได้ การกระทำเช่นนั้นถือเป็นการละเมิดต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อิน เทอร์เน็ต ทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจและไม่มีความปลอดภัยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและ เป็นการปิดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลและความเห็นอย่างเสรีทางอินเทอร์เน็ต

ผู้ รายงานพิเศษย้ำถึงพันธกรณีของรัฐที่จะต้องนำกฎหมายคุ้มครองความเป็น ส่วนตัวและคุ้มครองข้อมูลที่เป็นผลมาใช้ ให้สอดคล้องกับข้อ 17 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และความเห็นทั่วไปที่ 16 ของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงกฎหมายที่คุ้มครองอย่างชัดเจนต่อสิทธิของบุคคลทุกคน เพื่อพิสูจน์ว่ามีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลในไฟล์ข้อมูลแบบอัตโนมัติอย่างไร และเป็นไปเพื่อเป้าประสงค์ใด บุคคลทุกคนยังควรสามารถพิสูจน์ได้ว่าหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนหรือบุคคลอื่น ใดมีอำนาจควบคุมหรืออาจควบคุมไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นได้หรือไม่

เขา ยังเรียกร้องให้รัฐประกันว่า บุคคลจะสามารถแสดงความเห็นทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่เปิดเผยตัวตน และหลีกเลี่ยงการนำระบบการลงทะเบียนด้วยชื่อจริงมาใช้ เฉพาะสภาพการณ์ที่เป็นข้อยกเว้นบางอย่างเท่านั้นที่รัฐจะสามารถจำกัดสิทธิ ความเป็นส่วนตัวได้ อย่างเช่น หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการบริหารงานยุติธรรมทางอาญา หรือเพื่อป้องกันอาชญากรรม ถึงอย่างนั้น ผู้ รายงานพิเศษย้ำว่ามาตรการควบคุมที่นำมาใช้จะต้องสอดคล้องกับกรอบสิทธิมนุษย ชนระหว่างประเทศ โดยมีมาตรการป้องกันการใช้อำนาจอย่างมิชอบอย่างเพียงพอ อย่างเช่น การประกันว่ามาตรการจำกัดสิทธิความเป็นส่วนตัวใดๆ ที่นำมาใช้โดยหน่วยงานของรัฐต้องมีกฎหมายรองรับอย่างชัดเจน และต้องสอดคล้องกับหลักความจำเป็นและการมีสัดส่วนที่เหมาะสม

ข. การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น

เนื่อง จากอินเทอร์เน็ตได้กลาย เป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้เพื่อให้เกิดสิทธิมนุษยชนที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมและส่งเสริมการพัฒนาและความก้าวหน้า ของมนุษย์ รัฐทุกแห่งจึงควรกำหนดให้การส่งเสริมการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างทั่วถึงและ เท่าเทียมเป็นภารกิจเร่งด่วน รัฐแต่ ละ แห่งจึงควรพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ที่เป็นผลและเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง และในราคาที่เหมาะสมสำหรับคนทุกคน โดยนโยบายและยุทธศาสตร์เหล่านั้นควรจัดทำขึ้นจากการปรึกษาหารือกับทุกภาค ส่วนในสังคม ทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง

ใน ระดับสากล ผู้รายงานพิเศษย้ำถึงเสียงเรียกร้องให้รัฐต่างๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ปฏิบัติตามพันธกรณีของตน อย่างเช่นพันธกรณีตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เพื่อให้มีการถ่ายโอนเทคโนโลยีมาสู่ประเทศกำลังพัฒนาและกำหนดนโยบายส่งเสริม การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

ใน กรณีที่มีโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้รายงานพิเศษกระตุ้นให้รัฐสนับสนุนโครงการเพื่อประกันว่าทุกภาคส่วนของ ประชากร รวมทั้งกลุ่มผู้เสียเปรียบในสังคมอย่างเช่น ผู้พิการหรือชนกลุ่มน้อยด้านภาษา สามารถเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้อย่างจริงจัง

รัฐ ควรกำหนดให้มีเนื้อหาส่งเสริมการใช้งานอินเทอร์เน็ตในหลักสูตรของ โรงเรียน และสนับสนุนหลักสูตรที่คล้ายคลึงกันในการศึกษานอกโรงเรียนด้วย นอกจากการฝึกทักษะขั้นพื้นฐานแล้ว หลักสูตรดังกล่าวควรจำแนกประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และข้อมูลที่มีการเผยแพร่อย่างรับผิดชอบ การอบรมควรช่วยให้บุคคลเรียนรู้ที่จะปกป้องตนเองจากเนื้อหาที่เป็นภัย และอธิบายถึงผลที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนในทางอิน เทอร์เน็ต




...............................................................

หมายเหตุ: ดาวน์โหลดรายงานฉบับภาษาไทย แปลโดย พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ (พีดีเอฟ) ได้ที่ด้านล่าง

AttachmentSize
อ่านรายงานผู้ตรวจการพิเศษยูเอ็นด้านเสรีภาพการแสดงออก ฉบับเต็ม.pdf191.85 KB