WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, August 27, 2011

เสียงจากผู้นิยมกษัตริย์ในอเมริกา

ที่มา มติชน



โดย เกษียร เตชะพีระ

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2554)


J. Anthony McAlister & Charles A. Coulombe

แกนนำสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากล สาขาลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา

ระเบียบการ เมืองหนึ่งจะจัดการกับผู้มีแนวคิดแหกคอกนอกลู่นอกทางทวนกระแส สุดโต่งสุดขั้วอย่างไรดี? ปราบปรามขับไล่เขาออกไปอยู่นอกกฎหมายใต้ดิน? หรือจะให้เขาอยู่ได้อย่างถูกกฎหมายบนดินแต่นอกระบบ? หรือจะให้เขาเข้ามาในระบบ มาต่อสู้กับคนอื่นทางความคิดด้วย เหตุผลข้อถกเถียงอย่างถูกกฎหมายโดยสันติและเปิดเผยตามความเชื่อของตน?

น่า สนใจที่สหรัฐอเมริกาเลือกให้ผู้นิยมระบอบกษัตริย์อย่าง เจ. แอนโธนี แมคคาลิสเตอร์ กับพวกเข้ามารณรงค์ต่อสู้ทางความคิดตามความเชื่อของตนอย่างเปิดเผยและถูก กฎหมายในระบบ กับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ซึ่งนิยมระบอบประธานาธิบดีที่มีมาตั้งแต่ก่อตั้ง ประเทศเมื่อ 230 ปีก่อน

โดยที่ฝ่ายความมั่นคงไม่ว่ารัฐมนตรีกลาโหม หรือเสนาธิการทหารแม่ทัพนายกองอเมริกันไม่ได้แสดงปฏิกิริยาหวาดวิตกเดือด เนื้อร้อนใจแต่อย่างใด

ทำให้ชาวอเมริกันและผู้ฟังทั่วไปได้ มีโอกาสสดับตรับฟังทรรศนะเหตุผลของเขาในรายการ The Changing World ตอน For King or Country? Part 2 ทางสถานีวิทยุ BBC เมื่อ 5 เมษายนศกนี้ ว่าทำไมอเมริกาจึงควรเปลี่ยนไปปกครองในระบอบกษัตริย์แทน?

(http://www.thechangingworld.org/archives/2011/wk17.php)

เจ. แอนโธนี แมคคาลิสเตอร์ หนุ่มอเมริกันผิวดำเชื้อสายสก๊อตกับแคนาดาวัย 29 ปี ผู้เกิดที่ลอสแองเจลิสคนนี้เป็นนักดนตรีเชลโลคลาสสิกโดยวิชาชีพ และเป็นประธานสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากล สาขาลอสแองเจลิส (International Monarchist League, Los Angeles Chapter http://www.monarchistleaguela.org/) โดยอุดมการณ์ทางการเมือง

เขา ชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนแต่ต้นว่าระบอบกษัตริย์ที่เขาสนับสนุนนั้น คือระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ หรือ Constitutional Monarchy, ไม่ใช่ระบอบเจ้าแผ่นดินที่ปกครองด้วยอาญาสิทธิ์แบบโบราณ,

พูด ง่ายๆ ว่าเขาอยากได้ระบอบกษัตริย์เหมือนที่อังกฤษมีทุกวันนี้นั่นแหละ กล่าวคือกษัตริย์ทรงมีบทบาทเพียงเท่าที่ประชาชนเห็นชอบด้วย, มีตัวบทกฎหมายระบุรองรับบทบาทนั้นๆ ของพระองค์อย่างชัดเจน, และมีสภาผู้แทนราษฎรคอยประกบประกอบอยู่

แมคคาลิสเตอร์ลำดับเรียบเรียงเหตุผล 3 ประการที่รองรับสนับสนุนระบอบกษัตริย์ว่า: -

1) ธรรมชาติของมนุษย์

มนุษย์ มีความปรารถนาโดยธรรมชาติที่จะเฉลิมฉลองชนชั้นนำในหมู่พวกตน, ต้องการความรู้สึกอัศจรรย์ใจ, โหยหาความวิเศษสง่างามแห่งพระราชาและราชสำนัก

ดัง นั้นเองจะเห็นได้ว่าในอเมริกา เมื่อไม่มีเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินหรือนัยหนึ่งราชบัลลังก์ว่างเปล่า ชาวอเมริกันก็เอาดาราเซเล็บฮอลลีวู้ดมายกย่องปลาบปลื้มเทิดทูนเสมือนหนึ่ง เป็นเจ้าแทน เพราะดาราเหล่านี้แสดงออกซึ่งความรวยหรูเลิศอลังการ มีคฤหาสน์พำนักโอ่โถงสง่างามเยี่ยงราชวัง

หรือในกรณีประธานาธิบดี อเมริกัน ก็มีธรรมเนียมประเพณีประพฤติปฏิบัติหลายอย่างเทียบเคียงเลียนเยี่ยงกษัตริย์ อาทิ Camp David อันเป็นค่ายพักผ่อนสำหรับประธานาธิบดี ก็เลียนแบบพระตำหนักแปรพระราชฐานตามหัวเมือง, State of the Union Address อันเป็นคำปราศรัยสำคัญของประธานาธิบดีเพื่อรายงานสถานการณ์ของประเทศประจำปี ต่อสภาคองเกรส ก็เทียบได้กับพระราชดำรัสเปิดประชุมรัฐสภา, การจุดพลุและเดินขบวนพาเหรดฉลองวันชาติสหรัฐ ก็เทียบได้กับงานฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา, หรือการตั้งสมญาทำเนียบประธานาธิบดีสมัยเคนเนดี้ว่าเปรียบประดุจปราสาทราช วัง Camelot ในตำนานสมัยพระเจ้าอาเธอร์ของอังกฤษ เป็นต้น

เหล่านี้ ว่าไปแล้วก็คือการสร้างเรื่องเล่าเพื่ออวยเกียรติยศศักดิ์ศรีให้สามัญชนที่ ขึ้นกุมอำนาจรัฐ มันสะท้อนความโหยหาที่จะปลาบปลื้มเฉลิมฉลองชนชั้นนำซึ่งแฝงฝังลึกอยู่ในดี เอ็นเอของคนเรา

2) วิพากษ์ทรรศนะแบบฉบับของฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยต่อระบอบกษัตริย์

พวก นิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยในอเมริกามักแสดงท่าทีเกลียดกลัวและโจมตีระบอบ กษัตริย์ว่าเป็นยุคมืด กดขี่ราษฎร ดังที่ชาวอเมริกันเคยลุกขึ้นก่อกบฏต่อกษัตริย์อังกฤษเพื่อกู้อิสรภาพมาแล้ว ในอดีต

พวกเขากล่าวอ้างว่าเมื่อเทียบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยแล้ว ระบอบกษัตริย์ไม่สามารถผนวกรวมประชาชนเข้ามาด้วยกันได้มากเท่า เพราะเป็นระบอบปกครองทรราชย์อาญาสิทธิ์

แมคคาลิสเตอร์มองสวนทรรศนะ แบบฉบับอเมริกันดังกล่าวว่า เอาเข้าจริงสถาบันกษัตริย์ เป็นศูนย์รวมเอกภาพ ความสามัคคี ความมั่นคงและอุ่นใจของคนในชาติต่างหาก

ในทางกลับกัน นักการเมืองมาแล้วก็ไป และต่อให้ระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จที่สุด ก็ยังบกพร่องอย่างลึกซึ้ง

เกี่ยว กับเรื่องนี้ Charles A. Coulombe นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการสังกัดสันนิบาตนิยมกษัตริย์สากลได้วิพากษ์ วิจารณ์ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยกลับคืนว่าการเลือกตั้งก่อเกิดมายาคติ แห่งประชาธิปไตยว่าลำพังเพียงแค่หย่อนบัตรลงหีบเท่านั้น.....

1) มันก็สามารถเชื่อมต่อประชาชนผู้ออกเสียงเข้ากับนักการเมือง และ

2) มันช่วยให้ประชาชนคุมนักการเมืองได้จริงๆ

ซึ่ง ดูจากประสบการณ์ก็จะพบว่ามันหาได้จริงเช่นนั้นไม่ ดังปรากฏนักการเมืองทุจริต บิดเบือนฉวยใช้อำนาจในทางมิชอบ ทรยศหักหลังประชาชนมากมาย อย่างไรก็ตาม ด้วยมายาคติข้างต้นนี้ เราก็ให้อำนาจมหาศาลแก่นักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้ง เช่น อำนาจประกาศสงคราม, อำนาจในการเปลี่ยนตัวผู้นำ ฯลฯ

ทั้งที่หากอำนาจทำนองเดียวกันตกเป็นของผู้นำที่สืบเชื้อสายสันตติวงศ์มาแล้ว เรากลับหวาดระแวงและคอยจับตาดูตลอดเวลา

นอกจากนี้ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยมักโจมตีว่าจุดอ่อนข้อบกพร่องของระบอบกษัตริย์คือเราไม่อาจโหวตให้กษัตริย์พ้นจากตำแหน่งได้

ต่อ เรื่องนี้ Coulombe ตอบว่าหากกษัตริย์พระองค์ใดไม่ดีจริงก็มักอยู่ในอำนาจได้ไม่นาน โดยสมาชิกราชวงศ์ที่เหลือจะช่วยกันแก้ไขปัญหาให้พ้นไป ทว่าเหตุทำนองนี้ก็ไม่เกิดบ่อยนัก เพราะเอาเข้าจริงระบอบกษัตริย์มักปรับปรุงแก้ไขตัวเองได้มาก แม้ว่าลักษณะดังกล่าวจะสรุปถอดถอนออกมาเป็นสูตรสำเร็จทางวิชาการไม่ได้และ ค่อนข้างยุ่งเหยิงยุ่งยากก็ตาม

ในทางกลับกัน ตัวประธานาธิบดีจากการเลือกตั้งต้องคอยระวังตัวกลัวถูกคนอื่นแย่งอำนาจ มันสะท้อนว่าเนื้อแท้แล้วระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบ่งแยกคนให้แตกกัน ก่อเกิดบาดแผล แก่ระเบียบการเมืองซึ่งต้องค่อยๆ เยียวยาอยู่ช้านานกว่าจะหาย ยกตัวอย่างเช่นการกล่าวร้ายโจมตีกันวุ่นวายระหว่างนักการเมืองพรรคเดียวกัน และต่างพรรคในช่วงรณรงค์หาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของอเมริกาที่กำลัง เริ่มต้นขึ้นในปีนี้เป็นต้น

ฉะนั้น ในบรรดาประเทศที่โค่นกษัตริย์ออกไปแล้ว สิ่งที่พวกเขาได้มาแทนมักจะเป็นแก๊ง ก๊วนต่างๆ ที่แก่งแย่งกันทุจริตรีดไถเหมือนๆ กัน

ผู้นิยมสาธารณรัฐมองว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบแทนตนที่ชอบธรรมแต่เพียงระบอบเดียว เป็นวิธีการเดียวที่จะป้องกันไม่ให้เกิดทรราชได้

แต่ เอาเข้าจริงประชาธิปไตยบรรลุได้เพียงแค่อำนาจสูงสุดของเสียงข้างมากชั่วคราว เท่านั้น (the supremacy of a temporary majority) ขณะที่ระบอบกษัตริย์ปกครองจากหลักการที่สูงส่งกว่าแค่การเดินตามกระแสเลือก ตั้ง และในระบอบที่ผสมผสานสถาบันกษัตริย์เข้ากับประชาธิปไตยนั้น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ต่างหากที่คอยพิทักษ์ปกป้องส่วนที่เป็น ประชาธิปไตยเอาไว้

สำหรับฐานะบทบาทของสถาบันกษัตริย์ในระบอบผสมผสาน ดังกล่าว ปกติกษัตริย์จะไม่ทรงมีอำนาจจริงในการเมืองประจำวัน แต่ทรงมีศักยภาพทางอำนาจในภาวะวิกฤตคับขันเมื่อรัฐบาลทำงานไม่ได้

นอก จากนี้กษัตริย์ยังทรงมีบทบาทถ่วงดุล-ปรับดุลในการเมืองประจำวันด้วย เพราะพระองค์เป็นหลักเป็นแกนมาตรฐานของบ้านเมืองให้นักการเมืองเจริญรอยตาม เบื้องพระยุคลบาท จึงทรงมีผลต่อการเมืองที่เหลือ

ในฐานะนักดนตรี คลาสสิก แมคคาลิสเตอร์เปรียบเปรยว่ากษัตริย์ยังทรงดูแลผลประโยชน์ของประชาชนโดยรวม เสมือนวาทยกรวงซิมโฟนีออเคสตราคอยกำกับดูแลไม่ให้เครื่องดนตรีชิ้นหนึ่งชิ้น ใดเล่นผิดโน้ตหรือดังสนั่นเกินขนาดจน (ผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง) ไปกลบเสียงเครื่องดนตรีชิ้นอื่นหรือไม่สอดคล้องกลมกลืนกับผลประโยชน์ส่วนรวม โดยเฉพาะไปกลบกดทับผลประโยชน์ของชนส่วนน้อย

ฉะนั้น หากไร้กษัตริย์ ประเทศก็จะแตกแยก คนส่วนหนึ่งในวงก็อาจจะยึดเอาทั้งประเทศไปครอง

ส่วน ที่หาว่ากษัตริย์ย่อมเหินห่างและฉะนั้นจึงไม่สนองผลประโยชน์ของประชาชนก็ไม่ จริง ดังจะเห็นได้ว่าทรงสามารถบันดาลใจให้ราษฎรภักดีต่อชาติได้ผ่านการภักดีต่อ พระองค์ อีกทั้งราษฎรก็รู้สึกว่าการสัมพันธ์กับพระองค์มีความหมายอิ่มเอิบลึกซึ้งกิน ใจกว่าสัมพันธ์กับนักการเมืองธรรมดา โดยแมคคาลิสเตอร์ได้อ้างคำสัมภาษณ์ของหญิงไทยวัยกลางคนผู้หนึ่ง ณ วัดไทยในลอสแองเจลิส เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประกอบว่า (แม้ไวยากรณ์และศัพท์แสงอังกฤษของเธออาจผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่เนื้อความชัดเจนจนไม่จำต้องแปลเป็นไทย):

"The King is the best of the whole world. I love the King the most of the whole world. I love him more than my own life. Everybody do that, believe me. I can die for him. 100%."

ทำไมพระองค์จึงบันดาลใจคนไทยให้เกิดความรู้สึกอันแรงกล้าได้มากขนาดนั้นล่ะครับ?

"Because he do a lot of good things. It′s not he talk only but he do it. You know you are a king, why do you have to go to the forest, to the jungle, to the mountain. You are the King you can stay very good in the palace. But he don′t. He pity on the people. He want the people to live in a good life."

อนึ่ง ชนชั้นนักการเมืองนั้นมีบุคลิกโดยธรรมชาติที่ทะเยอทะยานมักใหญ่ใฝ่สูง ทุ่มสุดตัว หิวอำนาจ เหี้ยมเกรียม ไม่ยับยั้งชั่งใจ ไม่สงสารผู้แพ้ แรงขับเคลื่อนในจิตใจสูงมาก ซึ่งก็ดีต่อการเป็นผู้นำพาประเทศให้ก้าวรุดหน้าไป ทว่าก็ต้องมีคนคอยถ่วงดุลไว้บ้าง ซึ่งก็คือกษัตริย์นั่นเอง

3) กษัตริย์ทรงเป็นผู้นำทางจิตใจ

กษัตริย์ ยังทรงเป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นตัวแทนศีลธรรมที่ถูกที่ชอบทางจิตใจ ด้วยความที่สถาบันกษัตริย์มีรากเหง้าอยู่ในประวัติศาสตร์แต่อดีต และเป็นตัวแทนความต่อเนื่องไปในอนาคต สถาบันกษัตริย์จึงดำรงอยู่เกินกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าปัจจุบัน อยู่เหนือความผูกพันกับการดำรงอยู่ของเราในฐานะปัจเจกบุคคล แมคคาลิสเตอร์อุปมาอุปไมยว่าในแง่นี้กษัตริย์จึงเปรียบเสมือน

พ่อแม่ที่อยู่เหนือกาลเวลา

แมคคาลิสเตอร์ และ Coulombe ผลัดกันสรุปตบท้ายว่าผู้นิยมสาธารณรัฐประชาธิปไตยมักอ้างเรื่องสิทธิของ ประชาชนที่จะปกครองตนเอง แต่เอาเข้าจริงใครล่ะที่ได้ปกครองในทางปฏิบัติ? ก็คนคนเดียวที่มาจากการเลือกตั้งนั่นแหละ คือตัวประธานาธิบดีไง ซึ่งก็มีอำนาจราวกับกษัตริย์แต่ก่อน ชั่วแต่ว่ากษัตริย์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง หากสืบสันตติวงศ์มา, อยู่เหนือการเมืองเรื่องแบ่งพรรคฝักฝ่าย และยึดถือผลประโยชน์ของทุกคน

สาธารณรัฐ นั้นเข้าท่าบนแผ่นกระดาษ, ส่วนประชาธิปไตยก็ดีในเชิงนามธรรม แต่เมื่อใดเราว่ากันบนพื้นฐานความเป็นจริงและประสบการณ์แล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือการต่อสู้แย่งชิงอำนาจ กำจัด กวาดล้างกัน ส่วนฝ่ายค้านก็ถูกข่มเหงรังแก

ฉะนั้น หากถามว่าจะ For King or Country ดีแล้ว? แมคคาลิสเตอร์ตอบในทำนองราชาชาตินิยมว่าเอาทั้งคู่นั่นแหละ เพราะแยกจากกันไม่ได้

แน่ นอนว่าย่อมมีชาวอเมริกันและผู้ฟังทั่วไปทั้งที่เห็นด้วยและเห็นต่างจาก ทรรศนะเหตุผลประการต่างๆ ของแมคคาลิสเตอร์กับพวกดังยกมาข้างต้นเป็นธรรมดา อาทิ ข้อคิดเห็นโต้แย้งของ Mona Broshammar กับพวกที่สังกัดสมาคม Republikanska Foreningen ในสวีเดน (http://www.repf.se/) ซึ่งปรากฏในตอน For King or Country? Part 1, 29 มีนาคม 2011

ทว่าประเด็นสำคัญอยู่ ตรงระเบียบสถาบันการเมืองอเมริกันยินดีเปิดรับการท้าทายโต้แย้ง ด้วยเหตุผลข้อถกเถียงดังกล่าวอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา อันจะนำไปสู่การสานเสวนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้หรือนัยหนึ่งทะเลาะกันอย่างสันติที่อาจก่อตัวเป็นพลังพลวัตทางปัญญา ในสังคมและจุดประกายให้เกิดกระแสการปรับตัวเปลี่ยนแปลงปฏิรูประเบียบสถาบัน การเมืองในที่สุด

มันอาจไม่นำไปสู่ระบอบราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญ อย่างที่แมคคาลิสเตอร์กับพวกมุ่งหวัง แต่มันย่อมมีส่วนช่วยเปิดเผยบ่งชี้จุดอ่อนช่องโหว่ข้อบกพร่องในระบอบ สาธารณรัฐประชาธิปไตยอเมริกันดังที่เป็นอยู่ และเป็นโอกาสในการแก้ไขปรับปรุงตัวมันเองให้ดีขึ้นได้บ้างไม่มากก็น้อย

เทียบ กับการตวาดข่มขู่ปิดกั้นเหยียบกดผู้เห็นต่างสุดโต่งให้เงียบด้วยความกลัว แล้ว วิธีแบบอเมริกันนับว่าฉลาดกว่าและเป็นคุณต่อระเบียบการเมืองและสังคมของตัว เองยิ่งกว่ามากมายนัก