WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 24, 2011

ภาพชุดทักษิณอินJAPANคนที่ญี่ปุ่นอ้าแขนรับ คนอาภัพที่คนไทยส่วนหนึ่งและคนขี้อิจฉาขับไสไล่ส่ง

ที่มา Thai E=News

พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยยิ้มระหว่างตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่างประเทศในโตเกียว โดยชี้ว่าเขาอยากนำประสบการณ์แก้พิบัติภัยสึมามิในประเทศไทยมาสนับสนุนแก่ ญี่ปุ่น กับตอบคำถามเรื่องช่างภาพผู้สื่อข่าวชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตระหว่างเหตุรุนแรง ทางการเมืองในไทยเมื่อปีกลายด้วย โดยชี้ว่า ต้องเข้าสู่กระบวนการค้นหาความจริง (ภาพ:AP)

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา เฟซบุ๊ค Thaksin in JAPAN(by Asia Update)




พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร พบ มร. ชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น


ภารกิจของนายกรัฐมนตรีที่คนไทยบางส่วนไม่ต้องการ แต่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นอ้าแขนรับ
พ.ต.ท.ทักษิณได้รับการต้อนรับจากสตรีญี่ปุ่นรายหนึ่งระหว่างเดินทางมาถึงสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในโตเกียว(ภาพ:AP)

กำหนดการภารกิจเฉพาะวัน 24 สิงหาคม ช่วงเช้า

9.00 - 9.45 รับประทานอาหารเช้าร่วมกับสมาชิกพรรค DPJ
10.00 - 10.45 ให้สัมภาษณ์สื่อ asahi shimbun
11.00 - 11.45 ให้สัมภาษณ์สื่อ NHK

ช่วงบ่าย

12.00 - 14.00 ร่วมรับประธานอาหารกับอดีต รมต. และทีมผู้บริหาร บ ชื่อดัง
14.00 - 14.30 ประชุมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยทามะ
14.30 - 15.30 ประชุมร่วมกับอดีตผู้ว่าเมืองโออิตะ แะสื่อท้องถิ่น
...15.30 - 16.00 เข้าฟังรายงานพิเศษเรื่อง "หัวใจของญี่ปุ่น" จากทีมผู้เชี่ยวชาญ
16.00 - 16.30 สำรวจพื้นที่ประสบภัยสินามิ
17.00 - 18.30 ประชุมร่วมผู้แทนพรรค JFC
18.30 - 21.00 งานเลี้ยงต้อนรับ จัดขึ้นโดย วุฒิสภา ฮาจิเมะ อิชิ แห่งพรรค DPJ






ทักษิณ ระบุ ช่างภาพญี่ปุ่นตาย ต้องหาความจริง !!!


พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศว่า เรื่องการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง ที่ผ่านมานั้น ทุกคนที่มีส่วนสั่งการต้องรับผิดชอบ ส่วนกรณีช่างภาพชาวญี่ปุ่น ที่เสียชีวิต ต้องเข้าสู่กระบวนการค้นหาความจริง ซึ่งมั่นใจว่ารัฐบาลชุดใหม่ จะเดินหน้าต่อ(ภาพ:AP)

ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร TIME
สรุปเนื้อหาการตอบคำถามของ พ.ต.ท. ทักษณ์ ชินวัตร

ด้านการเมือง

พ.ต.ท. ทักษิณ ระบุว่า ศาลของไทยต้องทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน ไม่ใช่ทำเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ขอยกตัวอย่างกรณีที่ตนโดนโจมตีด้วยกฏหมาย “หมิ่น” ทั้งที่ตนไม่ได้ทำอะไร ซึ่งตนมองว่าการโจมตีในเรื่องนี้ ก็เพื่อบังคับให้ทหารออกมาแสดงบทบาท นำมาซึ่งการทำลายล้างตนในที่สุด

กับ ราชวงศ์ไทยนั้น เป็นที่รักของประชาชนทุกคน นี่ผ่านมา 5 ปีแล้ว ผมก็ยังรักพระราชวงศ์เหมือนเดิม ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข และจะเป็นแบบนี้ตลอดไป

สำหรับเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา ตนไม่คิดจะแก้แค้น แต่จะให้กระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ให้คำตอบ ทั้งในเรื่องของ คนเสื้อแดงที่เสียชีวิต และ นักข่าวญี่ปุ่น ซึ่งในส่วนนี้ จะผลักดันรัฐบาลให้ทำหน้าที่หาข้อเท็จจริงให้เร้วที่สุด

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะกลับประเทศเลยหรือไม่ เพราะ พท.ชนะแล้ว อดีตนายกฯ ระบุว่า จะไม่กลับแน่นอน ถ้าหากว่ากลับมาแล้ว กลายเป้นชนวนความขัดแย้ง

นอกจากนั้นยังย้ำว่าประเทศไทยต้องมีสี่เสาหลักซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเจริญคือ

1. ประชาธิปไตย
2. เสรีภาพในการพูดและแสดงออก
3. หลักนิติธรรม
ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดข้อ 4 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

นอก จากนั้น ยังได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีว่า เป็นเหมือนบุตรคนหนึ่ง บทบาทของตนกับการทำงานของน้องสาวนั้น ตนเป็นได้แค่ Encycopedia คอยให้คำปรึกษา แต่ส่วนใหญ่แล้ว น้องสาวจะทำเองได้หมด ไม่ต้องพึ่งใคร

ส่วนประเด็นการขอ Visa เข้าญี่ปุ่น ตนมองว่า เพราะชาติอื่นเข้าใจสถานการณ์ประเทศไทย มากยิ่งขึ้น

พบสนทนาผู้บริหารและสมาชิกพรรคDPJ


ให้สัมภาษณ์พิเศษโทรทัศน์ยักษ์ใหญ่NHK
พ.ต.ท. ทักษิณ ให้สัมภาษณ์ มร. นิมูระ ผู้สื่อข่าว NHK ภาคภาษาอังกฤษ


มื้อกลางวันกับนักการเมืองนักบริหารยักษ์ใหญ่
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร่วมรับประทานอาหารกับอดีตรัฐมนตรี และกลุ่มผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่ ในญี่ปุ่น เช่น มร. ชิโอกาว่า อดีต รมต. การเงิน, มร. ยานากิซาว่า อดีต รมต. สาธารณสุข, มร. วาตานาเบะ ประธานบริษัท เจแปน ปิโตรเลี่ยม, มร. โมกิ ผู้บริหาร บริษัท คิโคมัน

หารือที่ มหาวิทยาลัยทามะ

หารือกับ ดร.คุมอง ผู้เชี่ยวชาญแห่งมหาวิทยาลัยทามะ

แนะนำญี่ปุ่นช่วยผู้ประสบภัยซึนามิ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้สนทนาและให้คำแนะนำ มร. ฮิรามัตซึ อดีตผู้ว่าเมืองโออิตะ เกี่ยวกับการเยียวยาผู้ประสบภัยสินามิ เพราะไทยเคยประสบภัยพิบัตินี้เมื่อปี2546 และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ท่ามกลางความสนใจของสื่อท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ เมืองโออิตะเป็นอีกเมืองหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิครั้งใหญ่ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

โอ ท่อป มีความหวัง !!!
ต่อ มา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้หารือกับ มร. ฮิรามัตซึ ผู้ว่าเมืองโออิตะ เรื่องการไปพัฒนาโอท่อปไทย ทั้งนี้ เมืองโออิตะ ถือเป็นเมืองต้นแบบโอท่อปของประเทศญี่ปุ่น

มื้อค้ำกับสว.-สส.ญี่ปุ่น
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ร่วมรับประทานอาหารค่ำกับ ส.ส., ส.ว. ญี่ปุ่น รวมทั้งรักษาการหัวหน้าพรรคDPJ

บรรยายพิเศษ เรื่องการทำธุรกิจ ในยุคโลกาภิวัตน์ โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ต่อที่ประชุมเรื่อง Talking Point Special Lecture At Gakushi Kaikan
Organized by ASEAN -China-Japan Economic & Culture Association

ต้อง ขอขอบคุณสำหรับคำเชิญ ผมรู้สึกยินดีมากที่ได้เดินทางมายังประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าจะเป็นการเดินทางอย่างเป็นทางการ หรือการเดินทางส่วนตัว

ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจสำหรับทุกท่านที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น

อาจ จะเป็นการกล่าวอย่างซ้ำซาก ถ้าจะกล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นและไทยนั้นมีความสัมพันธ์ที่พิเศษต่อกันโดยที่ผมไม่ต้องกล่าว ถึงรายละเอียดในที่นี้ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นและไทยที่ได้มีการเจรจากันมาตั้งแต่สมัย รัฐบาลของผมในช่วงปี 2548-2549 เป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นหุ้นส่วนพิเศษที่ยังคงอยู่ระหว่างสองประเทศ

ผม รู้สึกภูมิใจอย่างยิ่งกับผลของความร่วมมือระหว่างเราภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ผมมั่นใจว่ารัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งจะยังคงร่วมมือกับประเทศ ญี่ปุ่นต่อไปเพื่อให้โครงการดังกล่าวเป็นต้นแบบของ “การบ่มเพาะเศรษฐกิจภายในประเทศให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง” ซึ่งความสำเร็จอย่างสูงของโครงการนี้จะส่งผลต่อเนื่องไปยังส่วนอื่นๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาเชิงคุณภาพและความหลากหลาย

ทั้งประเทศ ญี่ปุ่นและไทยกำลังก้าวเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่าน แม้ว่าสถานการณ์จะต่างกัน แต่ในการก้าวข้ามจุดผ่านนั้นย่อมจะต้องสร้างผลกระทบให้กับประชาชนและหน่วย งานต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ปัญหาเศรษฐกิจในตะวันตกที่ เกิดจากวิกฤตการณ์ทางการเงินที่ปรากฎออกมาให้เห็นนั้น ปัญหาพื้นฐานของประเทศเหล่านั้นก็คือ ไม่สามารถที่จะ “บ่มเพาะความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศ” ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเราในที่สุด ปัญหาของตะวันตกจะเป็นแรงกดดันให้เราต้องมาทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างเรากับ ตะวันตก และระหว่างเรากันเอง

ผมเชื่อมั่นว่า ประเทศญี่ปุ่นนั้นจะสามารถก้าวผ่านไปได้ ทั้งการปรับปรุงกระบวนการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ การแข่งขันกับประเทศเกาหลีและจีนที่รุนแรงมากขึ้นในขณะที่ตลาดยุโรปและสหรัฐ อเมริกาอ่อนแอลงเรื่อยๆ ในด้านของกำลังซื้อ แม้ว่าเอเชียจะแข็งแกร่งขึ้นแต่ทว่ากำลังซื้อต่อหัวของประชากรยังไม่อาจ เทียบเท่าผู้บริโภคในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา

ประเทศญี่ปุ่นจะ สามารถฟื้นเศรษฐกิจภายในประเทศในแง่ของการบริโภคและการจ้างงานภายใต้ สถานการณ์การเปลี่ยนผ่านที่เข้าใจได้ยากของโลกเช่นนี้ได้หรือไม่ ผมไม่มีคำตอบ แต่อยากจะได้ยินทางออกที่เป็นไปได้จากท่านสุภาพบุรุษและสุภาพทั้งหลายที่ อยู่ในที่นี้

ประเทศไทยกำลังก้าวสู่จุดผ่านเช่นกัน ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความคิดที่ดีนักที่จะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงถึงสอง ด้าน ในขณะที่ต้องเผชิญกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกพร้อมกับความผันผวนของค่าเงิน ที่เป็นสกุลเงินสำรองระหว่างประเทศ ( ผมยังไม่ได้นับความผันผวนแหล่งพลังงานหลักในแอฟริกาตอนเหนือ) แต่นั่นคือความจริง

ผมรู้สึกเหมือนพวกคุณบางกลุ่มที่เป็น เพื่อนกับประเทศไทย ว่าคนไทยนั้นได้เสียโอกาสในการปรับเปลี่ยนเศรษฐิกจของเราเองไปถึง 6 ปี ในระหว่าง 6 ปีแห่งความไม่แน่นอนนั้น เราได้รับคำร้องเรียนจากนักลงทุนและภาครัฐจากต่างประเทศถึงความไม่แน่นอนใน การตัดสินใจของรัฐบาลไทย แต่ทว่าพวกคุณส่วนใหญ่ก็ยังคงลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผมจึงขอขอบคุณพวกคุณสำหรับวิสัยทัศน์ระยะยาวในประเทศไทย

ประเทศ ไทยได้ผ่านพ้นช่วงของการบริหารประเทศที่ปราศจากกระบวนการตัดสินใจอย่างที่ ควรจะเป็นมาแล้ว ในระยะ 6 ปีที่ผ่านมานั้นสิ่งที่สร้างความปั่นป่วนมากยิ่งขึ้นไปก็คือ การขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ความตรงไปตรงมาในแง่ของความชัดเจนของหลักนิติธรรมในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในหมู่คนไทย แต่ยังเกิดขึ้นในกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ เราต้องไม่ยอมให้สถานการณ์เช่นนี้ยังคงอยู่ต่อไป

ดังนั้น การเกิดขึ้นใหม่ของประชาธิปไตย และการบรรลุวุฒิภาวะของหลักนิติธรรมในประเทศไทย เป็นสองสิ่งที่จำเป็นสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของประเทศในอนาคต ภายใต้กระบวนการปรองดอง ผมหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถกลายเป็นหุ้นส่วนที่คุ้มค่ากับประเทศญี่ปุ่น ในอนาคตอันใกล้

ในแง่ของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะยังคงมีความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทย แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ความขัดแย้งทางการเมืองไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของ ประเทศมากนัก และในความจริงการส่งออกของไทยเติบโตได้ค่อนข้างดี ซึ่งต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเหตุผลสำคัญมาจากความสามารถในการบริหารจัดการ ของผู้ผลิตและผู้ส่งออก และต้องยอมรับว่ากลุ่มที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลชุดก่อนไม่ได้สร้าง อุปสรรคกีดขวางอุตสาหกรรมการส่งออกของไทย
ประเทศไทยกำลังเผชิญกับ ปัญหาพื้นฐานเช่นเดียวกับญี่ปุ่น และประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศนั้นพึ่งพาการส่งออก เราจึงเผชิญกับปัญหาเดียวกันว่าจะ “บ่มเพาะเศรษฐกิจในประเทศ” ได้อย่างไร แน่นอนว่ามีความแตกต่างค่อนข้างมากระหว่างประเทศญี่ปุ่นและอาเซียนในด้าน คุณภาพขององค์ประกอบการผลิตอย่างเช่น ระดับของเทคโนโลยี และทักษะเฉพาะทาง อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทยนั้นเราจำเป็นต้องทำให้เศรษฐกิจในประเทศมีสัด ส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มมากขึ้น การทำเช่นนั้นเราต้องมีการยกระดับองค์ประกอบของการผลิตในทุกด้านสำหรับการ ผลิตและการบริโภคภายในประเทศ ประเทศไทยนั้นโชคดีอย่างน่าประหลาด เพราะเทคโนโลยีการผลิตสำหรับการบริโภคในประเทศยังต้องการการยกระดับอีกมาก เราจึงต้องสร้างแรงจูงใจของภาครัฐเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพ

แม้ ว่าการส่งออกในเวลานี้จะไปได้ดี และเรามีการจ้างงานเต็มกำลัง แต่ก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะถ้าหากพิจารณาให้ลึกลงไปในรายละเอียดมากขึ้นจะพบว่า ธุรกิจจำนวนมากในประเทศไทยกำลังจ่ายค่าแรงขั้นต่ำในระดับที่ไม่สอดคล้องกับ ค่าครองชีพ นั่นหมายความว่าอำนาจในการกำหนดราคาของธุรกิจนั้นขึ้นอยู่กับระดับค่าแรง เท่านั้น ธุรกิจบางกลุ่มจึงมีกำไรน้อยมากซึ่งถ้าหากมีการถอนการอุดหนุนด้านพลังงานของ รัฐบาลออก ธุรกิจเหล่านั้นก็จะอยู่ไม่ได้ (อย่างกรณีโรงงานเซรามิกในลำปาง) เมื่อปราศจากเส้นทางที่โรยกลีบกุหลาบสำหรับการส่งออกในอีก 3-5 ปีข้างหน้า เราจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ของเรานั้นควรจะมุ่งไปที่การรักษาสถานะการส่งออกให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ แต่ต้องบ่มเพาะเศรษฐกิจในประเทศอย่างเร่งด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราจึงต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง “การจ้างงานที่ก่อให้เกิดรายได้ที่สามารถดำรงอยู่ได้”

ภาค ชนบทของไทยนั้นไม่ใช่กลุ่มคนยากจนอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็น “เกษตรกรที่มีรายได้ระดับกลาง” ที่จบการศึกษาระดับพื้นฐาน 100% และมีโทรศัพท์มือถือใช้งานมากกว่า 50% และมีความรู้ที่ว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงต้องมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และมีความน่าเชื่อถือที่จะมารับใช้ประเทศและผลประโยชน์ในระยะยาวของพวกเขา

ความ บอบช้ำจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิได้สร้างโศกนาฏกรรมแก่มนุษยชาติอย่าง เหลือคณานับรวมถึงการทำลายล้าง ประเทศไทยคงจะไม่มีคุณค่าในฐานะมิตรแท้ของประเทศญี่ปุ่น ถ้าหากเราไม่คิดหาหนทางที่จะช่วยเหลือในการฟื้นฟูและก่อสร้างพื้นที่ที่เสีย หาย

ผมหวังว่า รัฐบาลชุดใหม่จะเปิดการประชุมในทุกด้านกับรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับความเสียหาย ตั้งแต่ในประเด็นของการขนย้าย โรงงานที่จำเป็น การขาดแคลนแรงงานในการก่อสร้าง การขาดแคลนอาหารที่อาจเกิดขึ้น สุขอนามัยถ้าหากจำเป็น รวมถึงความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรเอเชียสำหรับการก่อสร้างพื้นที่ที่เสีย หาย

ผมจำได้อย่างชัดเจนว่า เมื่อภาคใต้ของประเทศไทยถูกกระหน่ำจากสึนามิ ประเทศญี่ปุ่นได้กรุณาให้ความช่วยเหลือกับประเทศไทยในการรับมือกับปัญหา

ความ สัมพันธ์ในฐานะหุ้นส่วนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและไทยต้องมองถึงความร่วมมือใน อนาคต เราต่างคาดว่าเอเชียจะเป็นพื้นที่ที่มีการเติบโตของโลก การลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทยของนักลงทุนญี่ปุ่นทั้งในปัจจุบัน และอนาคตจะได้รับผลประโยชน์จากเส้นทางถนนเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและตะวันตก ของเอเชีย ผมหวังว่ารัฐบาลที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยนี้จะให้ ความสนใจเป็นพิเศษร่วมกับผู้เกี่ยวข้องรายอื่นเพื่อให้โครงการดังกล่าวนี้ ลุล่วงโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะความสำเร็จของโครงการนี้ หมายถึงการจ้างงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น ระบบการขนส่งที่ทันสมัยสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ และเป็นเส้นทางการคมนาคมทางเลือกสำหรับประเทศพม่า ไทย กัมพูชา และเวียดนาม