ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
6 สิงหาคม 2554
ตามที่ไทยอีนิวส์นำเสนอบทความเรื่อง 5สิงหาจงเจริญ:สดุดีวีรประวัติ4ปีเสื้อแดงลุกขึ้นสู้ โดยระบุว่าวันที่ 5 สิงหาคม 2550 เป็นวันแรกที่มีคนใส่เสื้อแดงออกมารณรงค์กิจกรรมทางการเมือง เผยแพร่ในวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น
ท่านผู้อ่านกรุณาแจ้งข้อมูลแย้งมาว่า "ผมเห็นว่าอาจจะมีข้อมูลที่ผิด ทั้งนี้ รูปในข่าวที่เป็นการใส่เสื้อแดงรณรงค์นั้นน่าจะไม่ใช่ 5 ส.ค.50 แต่น่าจะเป็นเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นหลายเดือน คือวันเปิดตัวกิจกรรมรณรงค์โหวตไม่รับ รธน. 50 ที่หน้ารัฐสภา เมื่อ 1 มี.ค. 50 ในการเปิดตัวกิจกรรม "ไทยเซย์โน" ที่มีสมบัติ บุญงามอนงค์ สมยศ พฤกษาเกษมสุข ฯลฯ กับอีกหลายๆ คนเริ่มรณรงค์" ตามลิ้งค์ข่าวต่อไปนี้
-ประชาไท:ไม่เอารธน. ฉ.รัฐประหาร จวกไม่มีใครแตะอำนาจทหาร
วันนี้ (1 มี.ค.) เวลา 10.00น. ที่หน้ารัฐสภา กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ กว่า 30 คน ภายใต้โครงการไทยเซย์โน ร่วมชุมนุมหน้ารัฐสภา โดยมีป้ายข้อความ "ไม่รับ ไม่เอา ไม่ปลื้มรัฐธรรมนูญรัฐประหาร" มีผู้ร่วมชุมนุม อาทิ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมทางสังคม นายใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ นางสาวจรรยา ยิ้มประเสริฐ คณะกรรรมการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน
ทั้งนี้ รณรงค์ให้ใช้สีแดง และคำว่า "ไม่" ในการรณรงค์กิจกรรมทางสังคมจนกว่าจะถึงการลงประชามติ
-เวบ ไซต์thaingo.org:คำประกาศ “40 นักวิชาการและบุคคลสาธารณะ - ผู้ต่อต้าน รัฐประหารและไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหาร (ฉบับ รรร.)” ลงวันที่ 1 มีนาคม 2550 หน้ารัฐสภา
ภาพข่าวจากเวบไซต์ไทยเอ็นจีโอเรื่องกลุ่มพลเมืองภิวัตน์ใส่เสื้อแดงรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ50ที่หน้ารัฐสภา เมื่อ 1 มีนาคม 2550
-เวบไซต์thaingo.org:ไม่เอา ไม่รับ ไม่ปลื้ม รัฐธรรมนูญ คมช.
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2550 กลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ ได้มีการประกาศจุดยืน "40 นักวิชาการ และบุคคลสาธารณะ" ผู้ต่อต้านคณะรัฐประหาร และไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหาร ภายใต้สโลแกน "ไม่เอา ไม่รับ ไม่ปลื้ม" ที่หน้ารัฐสภา
ส่วนกิจกรรมที่ไทยอีนิวส์นำเสนอรายงานข่าวว่าเกิดขึ้นในวันที่ 5 ส.ค.50นั้น น่าจะหมายถึงวันที่สมบัติ บุญงามอนงค์ นัดจัดกิจกรรม "แดงไม่รับ" พร้อมกัน 3 จังหวัด (กทม. เชียงใหม่ เชียงราย)ซึ่งนัดกันวันที่ 4 ส.ค.ตามลิ้งค์รายงานข่าวเรื่อง
-ประชาไท: "บก.ลายจุด" นัดเที่ยงเสาร์นี้! ชูแคมเปญ "แดงไม่รับ" สามจังหวัดทั่วประเทศ!
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" แกนนำ นปก. น้องใหม่ ชูแนวทาง "แดงไม่รับ" สวมเสื้อแดงประกาศจุดยืน "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 2550" เที่ยงวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550 หน้าห้างในกทม.-เชียงใหม่-เชียงราย
นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" ผู้ประสานงานกลุ่มพลเมืองภิวัฒน์ และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ชุดใหม่ เปิดเผยว่า เวลาเที่ยง วันเสาร์ที่ 4 ส.ค. 50 แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) และเครือข่ายประชาธิปไตยต่างๆ จะจัดกิจกรรมรณรงค์ "แดงไม่รับ" ครั้งแรก ในสามจังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ และ เชียงราย
โดยที่กรุงเทพมหานครนัดหมายที่สยามเซ็นเตอร์และบริเวณสยามสแควร์ โดยนัดสวมเสื้อสีแดงและ พบกันเที่ยงตรง หลังจากนั้นจะช่วยกันแจกเอกสาร สติ๊กเกอร์ และโปสเตอร์รณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญจากสยามสแควร์ไปตามเส้นทางสุขุมวิท
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากมีการใส่เสื้อแดงครั้งแรกหลายเดือน และเกิดขึ้นภายหลังมีการจับกุมแกนนำนปก.นำโดยวีระ มุสิกพงษ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จักรภพ เพ็ญแข เป็นต้นไปขังคุกไว้ จึงมีการตั้งแกนนำนปก.ชุด2ขึ้นมาแทนแกนนำที่โดนขังคุก ซึ่ง1ในแกนนำชุดที่2มีสมบัติ บุญงามอนงค์ร่วมอยู่ด้วย
บก.ลายจุดเผยสัญลักษณ์เสื้อแดงบูมเพราะ3เกลอนำไปขยายผล
เวบไซต์Voice TVเคยสัมภาษณ์บก.ลายจุด โดยมีความตอนหนึ่งว่า
ตนได้เคยเสนอให้ประชาชนร่วมกันใช้สีแดงในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อแสดงออกถึงการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ด้วยแคมเปญ "แดงไม่รับ" แต่ในขณะนั้นยังไม่ได้รับการตอบรับเป็นวงกว้าง และจากการที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ได้มีการนัดรวมพลคนเสื้อแดงที่อิมแพคเมืองทองธานี นับตั้งแต่นั้นมาจึงเกิดแดงทั้งแผ่นดินมาจนบัดนี้
กิจกรรม ชุมนุมใหญ่เสื้อแดงหนแรกที่มีคนร่วมนับหมื่นที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี 11 ตุลาคม 2551 และกลายมาเป็นนปช.แดงทั้งแผ่นดินในเวลาต่อมา(อ่านข่าว)
สมบัติ บุญงามอนงค์ ออกVOICE TV เมื่อ 5 สิงหาคม 2554 กล่าวถึงกำเนิดเสื้อแดง
ไทยอีนิวส์ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่แจ้งข้อมูลมาในโอกาสนี้ และหากท่านใดมีข้อมูลใดๆเพิ่มเติม หรือโต้แย้ง โปรดแจ้งมาเพื่อเราจะได้บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องเที่ยงตรงของ ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง
********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ในการบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่ สุดเรื่องหนึ่งในไทยคือเรื่องที่ว่าด้วย"วันเสียงปืนแตก"ซึ่งมีความเชื่อและ บันทึกสืบต่อกันมาว่าเป็นวันที่ 7 สิงหาคม 2508
ต่อมานักวิชาการที่เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ดร.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้โต้แย้งว่า เหตุการณ์นี้เกิดในวันที่ 8 สิงหาคม 2508
แต่ก็มีข้อมูลโต้แย้งด้วยว่า เหตุการณ์เสียงปืนแตกครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2504 มากกว่า
แนะนำอ่านเพิ่มเติม
-“8 สิงหา 2508” (8-8-08) “วันเสียงปืนแตก” (ตอน1)
-“8 สิงหา 2508” (8-8-08) “วันเสียงปืนแตก” (ตอน 2)