WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 5, 2011

5สิงหาจงเจริญ:สดุดีวีรประวัติ4ปีเสื้อแดงลุกขึ้นสู้

ที่มา Thai E-News

5สิงหาจงเจริญ-คน เสื้อแดงปรากฎตัวเป็นครั้งแรกบนถนนการเมืองไทยเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2550 เพื่อรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเผด็จการพ.ศ.2550 โดยบก.ลายจุด-สมบัติ บุญงามอนงค์ กำหนดใช้เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ เนื่องจากตอนนั้นฝ่ายอำมาตย์จะเข็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ2550 ให้ผ่านจงได้ ฝ่ายประชาธิปไตยจึงใช้สัญลักษณ์สีแดง เหมือนกับ"ไฟแดง"ไม่ให้ผ่าน เป็นสัญลักษณ์สำคัญ

ผลสรุปจบลงที่ฝ่ายอำมาตย์ใช้อำนาจทุกทางผ่านได้ ฉิวเฉียด51:49% แต่จากจุดเริ่มต้นนับสิบคน ขยายตัวเป็นแสนเป็นล้าน และ15.7ล้านเสียงทั่วประเทศในเวลานี้ และสีแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้อันสง่างามและมีเกียรตินับแต่ นั้น


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
5 สิงหาคม 2554


วีรประวัติการต่อสู้เบื้องแรกของภาคประชาชน

ก่อน จะคลี่คลายขยายตัวมาเป็นเสื้อแดงทั่วไทย ฝ่ายประชาธิปไตยทั่วมุมโลก และเป็น 15.7 ล้านเสียงที่โอบอุ้มพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเข้ากุมอำนาจรัฐ อย่างที่เห็นกันเวลานี้

การเมืองภาคประชาชนย่อมมีอิฐก้อนแรก มีต้นสายธารประวัติศาสตร์การต่อสู้

หลังรัฐประหาร19 กันยายน 2549 คนแรกที่ออกมาสู้ ต้องบันทึกเป็นเกียรติยศแก่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร และทวี ไกรคุปต์ นักการเมืองอาวุโส แต่เพราะมาน้อยเป็นวีรชนลุยเดี่ยว เลยโดนพวกมันหิ้วขึ้นรถตู้ไปเก็บที่เซฟเฮาส์ทันควัน
เครื่องแบบเครือข่าย19กันยาต้านรัฐประหารคือเสื้อดำไว้ทุกข์ให้ประชาธิปไตย


พอวันรุ่งขึ้น 20 กันยายน 2549 กลุ่มเครือข่าย19กันยาต้านรัฐประหาร ซึ่งเป็นการรวมตัวกันหลวมๆของนักกิจกรรมนักศึกษาเก่าค่ายธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ บวกกับบก.ลายจุด และอาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ ก็พากันแต่งชุดดำไปยกป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ไม่สนกฎอัยการศึกห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เพราะไปกัน5คนพอดี

แม้ แต่ในเวลาถัดมา การจัดชุมนุมที่สนามบอลธรรมศาสตร์ คนขยับขยายเป็นหลายสิบ แต่ก็ซอยแบ่งเป็นวงละ 5 คน รวมแล้วก็ไม่เกิน5 ไม่ผิดกฎหมายเผด็จการ...

นี่เป็นตำนานบทแรกของการลุกขึ้นสู้"ภาคพลเมือง"คือประท้วงแบบ"ดื้อแพ่ง"เชิงสัญลักษณ์ต่อกฎเกณฑ์เผด็จการ

ต่อมาพวกคณะรัฐประหารก็สะดุ้งเฮือกไปมา แล้วหาว่าทักษิณมี"คลื่นใต้น้ำ"จะต่อต้านการรัฐประหาร แต่ก็ไม่เห็นโผล่ซักที

ก็ให้มีกระทาชายนายหนึ่งโผล่มาจากรู ใช้ชื่อแฝงว่า"เตมูจิน"คุย คำเขื่องว่าจะระดมคนมาต้านคมช.เป็นหมื่น ประชาชนคนฝ่ายประชาธิปไตยที่เวลานั้นรวมตัวกันอยู่ที่เว็บบอร์ดราชดำเนิน เวบไซต์พันทิป ก็เห็นหน่วยก้านพอพึ่งพาได้ เลยโดดจะไปร่วม

แต่"เตมูจิน"ก็ออกอาการแปลกๆ คือไปจัดแถลงข่าวที่โรงแรมรอยัล ก็ให้พวกกองเชียร์ควักค่าห้องประชุมแถลงข่าว ค่ากาแฟด้วย พอจะไปหา"บังสนธิ"หัวหน้าคณะรัฐประหารเพื่อยื่นข้อเรียกร้อง ก็ไม่องอาจมาดผู้นำการต่อต้าน หากแต่"กุมไข่"เข้าไป"ขอรับๆๆ"เป็นหลัก

พอวันนัดหมายว่าจะมีคนมาร่วมต้านรัฐประหารเป็นหมื่นที่สนามหลวง ก็หายหน้า นายเตมูจินเลยกลายเป็น"คลื่นใต้น้ำลวงโลก" บรรดากองเชียร์ก็เลยเลิกพึ่งพาอาศัย แล้วหันมาพึ่งตัวเองแทน
ขนาดของหัวใจ-ลุง นวมทอง ไพรวัลย์ แท็กซี่พุ่งชนรถถังและกระทำอัตวินิบาตกรรมเพื่อปลุกคนไทยให้ลุกขึ้นสู้ ลบคำสบประมาทของโฆษกทหารที่ว่า"ไม่มีใครกล้าตายเพื่อประชาธิปไตย" ส่วนภาพล่างคือความอัปยศของทหารหาญไทยที่เอาฮ.ขึ้นรถลากไปซ่อมในอีก 4 ปีต่อมา เพราะปอดแหกกลัวฮ.ตก

ระหว่างประชาชนผู้รักชาติรัก ประชาธิปไตยอย่างแรงกล้า กับคนสวมเครื่องแบบที่ทำได้แค่"ตบเด็ก เตะหมา ด่าหญิง ยิงคนมือเปล่า"ใครที่มันมีขนาดของหัวใจใหญ่กว่ากัน


1 พฤศจิกายน 2549 หลังรัฐประหาร 19 กันยายนไม่นานนัก และหลังลุงนวมทอง ไพรวัลย์ -แท็กซี่ชนรถถัง"เสียสละ"ไป 1 วันเพื่อปลุกสังคมไทยให้ออกมาต้านเผด็จการและทวงประชาธิปไตย กลุ่มคนใส่ชุดดำก็ ปรากฎตัวที่ท้องสนามหลวง ฝั่งธรรมศาสตร์ มีเก้าอี้เล็กๆ 1 ตัว โทรโข่ง 1 อันไม่มีใครมีชื่อเสียงบิ๊กเนม เป็นผู้นำอะไรมาก่อนทั้งนั้น มีสิ่งเดียวคือหัวใจที่จะขับไสเผด็จการ เรียกร้องประชาธิปไตยคืนมา

อิฐก้อนแรก-สุชา ติ นาคบางไทร แกนนำคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ มีเครื่องแบบเสื้อดำเช่นกัน จัดชุมนุมทุกวันเสาร์ที่สนามหลวง ขึ้นสู่กระแสสูงสุด 10 เมษา2550 ในชื่อรหัส DDAY 10450 หลังจากนั้น3เกลอเริ่มเข้ามามีบทบาทนำการต่อสู้แทน สุชาติในปัจจุบันถูกขังคุกคดี112เป็นเวลา3ปี เพื่อนร่วมขบวนอย่าง"จ๋า"ถูกขังคดี"ผู้หญิงยิงฮ."จะถูกตัดสินในว้นที่10นี้

เนื่องจากกลุ่มคนที่ไปรวมตัวต้านรัฐประหารที่สนามหลวงนี้เป็นคนชั้นกลางในกรุงเทพฯ วันปกติต้องทำมาหากิน พอวันอาทิตย์เป็นวันfamily day ก็เลยนัดหมายเจอกันทุกวันเสาร์ นั่นคือปฐมบทของ"คนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ"

แกน นำก็ต้องหาชื่อแฝงไปก่อน จะสมศักดิ์ สมชาย สมหญิง หรือสุชาติก็ว่ากันไป และเนื่องจากเป็นภาคพลเมืองของแท้ไร้การจัดตั้งใดๆ ก็เปรียบเสมือนการต่อสู้ของชาว"บางระจัน" เพียงแต่บางระจันยุคนี้มันเป็นยุค"ไซออน"แล้ว ก็เลยกลายเป็นรหัสวงในนัดหมายกันว่าพวกเขาคือชาว "บางไซ(ออน)"

พอนักข่าวมาถามแกนนำที่ถือโทรโข่งบนเวทีว่าชื่อแซ่อะไรไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน เขาตอบไปว่า"ผมชื่อ สุชาติ ณ บางไซ"

นักข่าวเลยส่งข่าวเข้าไปที่โรงพิมพ์เป็น"สุชาติ นาคบางไทร" ที่ไปที่มาจุดเริ่มต้นของคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ขบวนการที่เป็นหน่อเนื้อเสื้อแดงในเวลาต่อมา ก็เริ่มต้นจากตรงนั้นนั่นเอง

การต่อสู้ของภาคประชาชนเบื้องต้นก็ต้องบอกว่าใครคิดอะไรได้ก็ทำไป ดังที่ปรากฎว่าขณะที่"สุชาติ นาคบางไทร"กำลังเหยียบเก้าอี้หัวโล้นตะโกนปราศรัยกับมวลชนหลักร้อยที่สนามหลวง เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2549 นั้น

วันเวลาเดียวกัน ภายในธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์เอง ทางบก.ลายจุดและเครือข่าย19กันยาต้านรัฐประหารก็ รวมพลคนกลุ่มหนึ่งอยู่แถวสนามบอลธรรมศาสตร์แล้ว พอได้ที่นับจำนวนคนเข้าร่วมเกือบๆร้อย ก็เคลื่อนขบวนออกจากธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์เพื่อไปประท้วงที่หน้ากองทัพบก ถนนราชดำเนิน

ระหว่างเดินออกจากธรรมศาสตร์ด้านหอประชุใหญ่ ผ่านสนามหลวงที่สุชาติ นาคบางไทร กำลังยืนบนเก้าอี้ใช้โทรโข่งด่าคมช.นั้น ก็มีเสียงหนึ่งแทรกมาว่า"เฮ้ยๆนั่นใช่พวกเราพวกต้านรัฐประหารใช่มั๊ย เห็นใส่เสื้อดำเหมือนกัน"ทางฝ่ายที่กำลังเดินขบวนบอก"ใช่" พวกสนามหลวงก็ยุติการอภิปรายแล้วแห่เข้ามาร่วมเดินขบวนไปยังหน้ากองทัพบก

คน ร่วมเดินขบวนตอนนั้น ซึ่งเป็นครั้งแรกรับจากวันรัฐประหาร นับแบบนับช่วยแล้วเต็มที่คือซัก 300 คนเห็นจะได้..แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นให้มีเสื้อแดงเรือนแสนเรือนล้าน เป็น 15.7 ล้านเสียง เป็นไฟลามทุ่งในเวลาต่อมา

นั่นเป็นการเดินขบวนหนแรก ที่จัดการโดยเครือข่าย 19 กันยาต้านรัฐประหาร เป็นวันแรกที่เป็นจุดกำเนิดคนวันเสาร์ไม่เอาเผด็จการ ทั้ง2กลุ่มหลอมรวมไปหน้ากองทัพบกโดยมิได้นัดหมาย และประการสำคัญทั้งที่ปลายฝนต้นหนาวแล้วก็ตาม พอขบวนเคลื่อนไปถึงหน้ากองทัพบก ฝนก็เทลงมาห่าใหญ่ เปียกกันมะล้อกมะแล้กไปตามๆกัน

ฝนยังอยู่คู่ฝ่ายประชาธิปไตยเรื่อยมา บางทีหลายครั้งก็มานอกฤดูหน้าตาเฉย!
เครื่องแบบนปก.ในระยะบุกเบิก ภาพนี้ที่หน้าบ้านสี่เสา 22 ก.ค.2550 ก่อนถูกปราบปราม ยัดคุกแกนนำครั้งแรก


แต่ ภาคประชาชนอย่างเครือข่าย 19 กันยาฯ และคนวันเสาร์ฯค่อยลดบทบาทลง เมื่อทัพหลวงอย่าง 3 เกลอเริ่มออกศึกในต้นปีถัดมา...แต่เมื่อไหร่ที่ภารกิจเรียกร้อง แน่นอนว่า ภาคประชาชนไม่ได้ลี้กายสลายตัวไปไหน พวกเราจะกลับมา ด้วยวุฒิภาวะที่แกร่งกล้า ประสบการณ์ที่แกร่งกร้าน และยุทธวิธีที่จัดเจนขึ้นกว่าเมื่อแรก เป็นแน่

และควรบันทึกไว้เป็น วีรประวัติการต่อสู้ของภาคพลเมืองไทยด้วยว่า นับจากจุดเริ่มต้นการลุกขึ้นสู้ของภาคพลเมืองเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม 2550 ก็เป็นครั้งแรกที่ภาคพลเมืองผู้เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยพากันใส่"เสื้อแดง"ออกสู่ท้องถนนปรากฎต่อโลกเป็นครั้งแรก

เสื้อแดงเมื่อแรกกำเนิด-กลุ่ม ต่อต้านเผด็จการและรัฐประหารที่สนับสนุนประชาธิปไตยเริ่มใส่เสื้อแดงเป็น สัญลักษณ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2550 หรือวันนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว

ก่อน นี้ตอนเริ่มต้นทั้งคนวันเสาร์ฯและเครือข่าย19กันยา"แต่งดำ "เพิ้อไว้ทุกข์ให้กับประเทศไทย แลตอนที่3เกลอวีระ-จตุพร-ณัฐวุฒิปรากฎตัวตอนแรกก็พากันใส่เสื้อเหลือง มาจนถูกสลายม็อบหน้าบ้านสี่เสาเมื่อ22 กรกฎา 2550 ก็ยังใส่"เสื้อเหลือง"

เพิ่งจะมา"แดง"ในเดือนถัดมา คือสิงหาคม 2550
ชายนิรนามถอดเสื้อแดงขึ้นต้านรถถังในเหตุการณ์สงกรานต์เลือดปี 2552

โดยจุดเริ่มต้นไอเดียมาจากใครยังต้องตามหาเพื่อให้"เครดิต"กันต่อไป แต่คนแรกที่กำหนดสีสัญลักษณ์และนำพาการรณรงค์คือบก.ลายจุด-สมบัติ บุญงามอนงค์ โดยตอนนั้นฝ่ายอำมาตย์จะเข็นรัฐธรรมนูญเผด็จการ2550ให้ผ่านจงได้ ฝ่ายประชาธิปไตยจึงใช้สัญลักษณ์สีแดง เหมือนกับ"ไฟแดง"ไม่ให้ผ่านออกมาเป็นสัญลักษณ์สำคัญ

ผลสรุปจบลงที่ฝ่ายอำมาตย์ใช้อำนาจทุกทางผ่านได้ฉิวเฉียด51:49%

แต่ สีแดงและเสื้อแดงได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้อันสง่างาม และมีเกียรติ ของขบวนประชาธิปไตยที่ใหญ่โตที่สุดนับแต่ประเทศไทยเคยมีมา..นับแต่นั้น***

********
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:สมศักดิ์ เจียมฯ เรียงลำดับช่วงประวัติศาสตร์คนเสื้อแดง