WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, August 5, 2011

สื่อเยอรมันชี้ กรณีวอลเตอร์บาวอาจสะเทือนความสัมพันธ์ไทย-เยอรมนี

ที่มา ประชาไท

เมื่อ วันที่ 3 ส.ค. 2554 นสพ.สปีเกลของเยอรมนีเปิดเผยเบื้องหลังการดำเนินการอายัดเครื่องบิน ระบุหากทางการไทยยังไม่ชำระค่าชดเชยให้วอลเตอร์ บาว รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องใช้ไม้แข็งกับไทย โดยลดความสัมพันธ์ทางการค้า และอายัดทรัพย์สินในต่างประเทศ มิเช่นนั้น ทางการเยอรมนีอาจต้องชำระหนี้ให้วอลเตอร์ บาวแทน

หนังสือพิมพ์สปีเกล (Spiegel) ของเยอรมนี ได้รายงานความคืบหน้าของกรณีพิพาทระหว่างไทย-เยอรมนี เกี่ยวกับการอายัดเครื่องบินพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 โดยอ้างรายงานของศาสตราจารย์คริสตอฟ เพาลัส ประจำมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายการล้มละลาย ซึ่งมีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลเยอรมนีควรทำทุกวิถีทางในอำนาจ เพื่อบังคับให้ทางการไทยจ่ายค่าชดเชยจำนวนกว่า 30 ล้านยูโร คืนให้บริษัทวอลเตอร์ บาว โดยมาตรการดังกล่าวรวมถึงการลดความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย-เยอรมนี และการอายัดทรัพย์สินต่างชาติ มิเช่นนั้น รัฐบาลเยอรมนีอาจต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวให้กับบริษัทวอลเตอร์ บาวแทน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่ผ่านมา สถานทูตเยอรมนีได้ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยชำระค่าชดเชยที่ยังคง ชำระต่อบริษัทวอลเตอร์ บาว เพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และระบุด้วยว่า ทางผู้ลงทุนจะจับตากรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด


เผยเบื้องหลังการอายัดเครื่องบิน

หนังสือ พิมพ์สปีเกล ยังได้เปิดเผยเบื้องหลังการดำเนินการอายัดเครื่องบินของนายแวร์เนอร์ ชไนเดอร์ ผู้พิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทวอลเตอร์ บาวว่า ในระยะสองปีที่ผ่านมา นายชไนเดอร์ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเจรจาการยุติข้อพิพาทดังกล่าวหลาย ครั้ง ตามด้วยจดหมายเตือนจำนวนหลายฉบับ หากแต่ไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ทางการไทยแต่อย่างใด จนทำให้นายชไนเดอร์จำเป็นต้องใช้มาตรการขั้นสุดท้าย คือการอายัดทรัพย์สิน โดยได้เริ่มเล็งตรวจสอบเครื่องบินโบอิ้งของรัฐไทย

สปีเกลระบุว่า นายชไนเดอร์ได้รับข้อมูลจากแหล่งข่าวนิรนามจากกรุงเทพฯ ทางแฟกซ์ อันประกอบด้วยข้อมูลเส้นทางการบินของเครื่องบินลำดังกล่าว รวมถึงใบทะเบียน หมายเลขไฟล์ท และชื่อของนักบิน โดยพระราชพาหนะโบอิ้ง 737 มีกำหนดการมาลงจอดที่สนามบินมิวนิควันที่ 21 พ.ค. 54 และจะประจำอยู่จนถึง 8 ส.ค. 54 และมีแผนการบินไปยังหลายแห่ง เช่น สนามบินเมมมิงเงน (Memmingen) (ห่างจากเมืองมิวนิค 100 กิโลเมตร) กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และกรุงลอนดอน นสพ.สปีเกลรายงานว่า นายชไนเดอร์ได้ว่าจ้างนักศึกษาเพื่อให้บันทึกความเคลื่อนไหวของเครื่องบินลำ ดังกล่าว และปรากฏว่าความเคลื่อนไหวของเครื่องบินเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับทุกประการ ทางผู้พิทักษ์ทรัพย์ของวอลเตอร์ บาว จึงได้ดำเนินการร้องขอคำสั่งจากศาล โดยในครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จ เพราะศาลแขวงมิวนิคพิจารณาว่าไม่มีอำนาจตัดสิน เนื่องจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สวมใส่เครื่องแบบ ทำให้มีภูมิคุ้มกันทางการทูต แต่ประสบความสำเร็จในครั้งต่อมา เมื่อนายชไนเดอร์นำคดีดังกล่าวไปดำเนินการที่ศาลในกรุงเบอร์ลิน

อัยการสูงสุดเตรียมเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน เพื่อยุติกรณี วอลเตอร์ บาววันนี้
ล่าสุด (4 ส.ค.54) สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการหารือกับอัยการสูงสุด ตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการสู้คดีกับ บริษัทวอลเตอร์ บาว ของเยอรมนี ซึ่งถือหุ้นใน บริษัทดอนเมือง โทลล์เวย์ อายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์จากกรณีข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทย กับ บริษัทวอลเตอร์ บาว ว่า รัฐบาลต้องการให้คดีนี้สิ้นสุดโดยเร็ว เพื่อไม่ให้กระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสถาบันพระมหากษัตริย์ วันนี้อัยการสูงสุดจะเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน เยอรมนี เพื่อเร่งรัดให้ได้ข้อยุติที่ดี คาดว่าไม่เกิน 3 วัน น่าจะมีความคืบหน้า ขอยืนยันว่ารัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหา โดยไม่ให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ขณะนี้ ยังไม่มีการวางเงินเพื่อถอนอายัดแต่อย่างใด

ทั้งนี้ หลังจากที่สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 ก.ค. เรื่อง การอายัดเครื่องบินพระที่นั่งส่วนพระองค์ว่า พระองค์ทรงมีพระราชปณิธานจะใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อนำไปยุติกรณีพิพาทดัง กล่าวจำนวน 20 ล้านยูโร เพื่อถอนอายัดพระราชพาหนะ ทำให้ทางการไทยจัดประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา โดยนายอำพล กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี นัดพิเศษว่า คณะรัฐมนตรีได้รับทราบตามแนวทางและพระราชวินิจฉัย และเห็นชอบอนุมัติเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี เช่น ค่าว่าจ้างทนาย โดยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางการสู้คดีทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นการระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท

เรื่องที่เกี่ยวข้อง
Spiegel. Thailand Pledges to Settle Dispute Over Prince's Jet. 3 ส.ค.54
สถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ยืนยัน ไทยต้องชำระค่าชดเชยตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ, 26 ก.ค. 54