WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, August 3, 2011

ถึงคราวิกฤติการณ์ทางทหารของประเทศไทย?

ที่มา ประชาไท

เทร์เฟอร์ มอสส์ ผู้สื่อข่าวอังกฤษด้านความมั่นคงและการทหาร เขียนบทความแสดงความคิดเห็นในบล็อกของ The Diplomat เกี่ยวกับกรณีอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตกสามครั้งติดกันในเมืองไทย พร้อมวิเคราะห์ว่า สภาพอากาศ และความขัดข้องทางเทคนิค หาใช่เป็นสาเหตุของโศกนาฏกรรมดังกล่าวไม่ หากแต่เป็นเพราะอำนาจและงบประมาณของกองทัพที่มากเหลือล้น

ธรรมชาติ ที่เสี่ยงของปฏิบัติการทางทหาร ย่อมหมายถึงการประสบพบเจอกับอุบัติเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หากแต่เคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นกรณีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศไทยตก ชี้ให้เราเห็นถึงปัญหาที่เป็นระบบมากกว่านั้น

กรณีเฮลิคอปเตอร์แบลก ฮอว์ก ซีกอร์สกี้ ยูเอช-60 ของกองทัพอากาศไทยตก เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากการสูญเสียเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 212 ฮิวอี้สองลำ ในขณะที่กำลังปฏิบัติภารกิจกู้ภัยแถบชายแดนไทย-พม่าที่จังหวัดเพชรบุรี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 17 รายในอุบัติเหตุทั้งสามครั้ง

เช่นเดียว กับสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อกองทัพประสบกับความล้มเหลวที่ต่อ เนื่อง อุบัติเหตุสองครั้งแรกกลายเป็นเรื่องของสภาพอากาศที่ไม่ดี และอุบัติเหตุครั้งที่สามต้องโทษความผิดพลาดทางเทคนิค ทางผู้บัญชาการระดับสูงมีท่าทีต่อปัญหาดังกล่าวโดยเรียกร้องให้มีการจัดซื้อ ยุทโธปกรณ์ใหม่ ผู้บัญชาการทหารบก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้ซึ่งสงบปากสงบคำมากขึ้นหลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา ให้สัมภาษณ์ต่อสาธารณะว่า กองทัพอากาศไทยจำเป็นต้องจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใหม่จำนวน 36 ลำเพื่อให้สามารถปฏิบัติการได้อย่างปลอดภัย พลเอกประยุทธ์ ได้ขอให้รัฐบาลใหม่ช่วยดูแลคำร้องขอดังกล่าว และเสริมว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ก่อนหน้านี้ไม่สามารถอนุมัติงบประมาณสำหรับเฮลิคอปเตอร์ ใหม่ ถึงแม้จะทราบแล้วว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องด่วนก็ตาม

สถานการณ์ของ ไทยเป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับวิกฤติการณ์ที่สิ่งที่กองทัพ อากาศอินโดนีเซียในปี 2552 ได้ประสบ เมื่อเหตุเครื่องบินตกอย่างต่อเนื่องทำให้บุคลากรของกองทัพอากาศอินโดฯ เสียชีวิตกว่า 130 ราย และทำให้เรื่องยุทโธปกรณ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานกลายเป็นวาระที่ถูกพูดถึงระดับ ชาติ เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดโอกาสให้รัฐบาลอินโดนีเซียเพิ่มงบประมาณทางการทหารและ จัดซื้อเครื่องบินใหม่

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของประเทศไทยนั้นต่างไปจากสถานการณ์ของอินโดนีเซียมาก เนื่องจากกองทัพของอินโดนีเซียนั้นได้รับงบประมาณต่ำมากมานับศตวรรษ และถูกคว่ำบาตรทางอาวุธยุทโธปกรณ์มาอย่างยาวนาน ซึ่งมาตรการคว่ำบาตรเพึ่งได้รับการยกเลิกเมื่อเร็วๆ นี้ ในขณะที่ประเทศไทยนั้นได้รับงบประมาณทางการทหารที่ถือว่าเยอะพอสมควรตาม มาตรฐานของภูมิภาค โดยเฉพาะหลังการรัฐประหารปี 2549 อันที่จริง งบประมาณทางด้านการทหารของไทยเพิ่มขึ้นสามเท่านับจากการทำรัฐประหารครั้งล่า สุด และในปี 2554 งบประมาณทางทหารยืนอยู่ที่ 5.6 พันล้านบ้าน ซึ่งมากพอกันกับงบประมาณทางทหารของอินโดนีเซีย ซึ่งมีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทยสี่เท่า

ก็จริงว่า โครงการทางความมั่นคงบางส่วนหยุดชะงักไปในปี 2553 เนื่องจากวิกฤติการณ์ทางการเงินทั่วโลก แต่ก็ออกจะเกินไปหน่อยสำหรับพลเอกประยุทธ์ ที่จะโทษรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่าไม่ยอมอนุมัติงบประมาณทางทหาร ในขณะที่ทางกองทัพเองเป็นผู้ที่มีอำนาจเรื่องนโยบายด้านความมั่นคงอย่างเต็ม ที่ รวมถึงนโยบายด้านอื่นๆ ของรัฐบาลด้วย คำถามก็คือว่า เหตุใดกองทัพอากาศไทยอยู่ดีๆ จึงต้องการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ใหม่อย่างเร่งด่วน ในเมื่อกองทัพก็ได้รับงบประมาณอย่างมากมายมาตลอด และอยู่ในตำแหน่งที่สามารถกำหนดวาระต่างๆ เองได้

ในขณะที่เฮลิ คอปเตอร์แบลกฮอว์กที่ตกในอุบัติเหตุครั้งแรก มีอายุการใช้งานเพียงสองสามปี แต่เครื่องเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้ที่นับเป็นยุทโธปกรณ์หลักของกองทัพไทยส่วนใหญ่ แล้ว มีอายุการใช้งานมาแล้วราวสามสิบปี อย่างไรก็ตาม ทางการไทยก็รับทราบถึงปัญหานี้เป็นอย่างดี จึงได้ขอซื้อเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กอีกสามลำจากสหรัฐอเมริกา มูลค่า 235 ล้านดอลลาร์ หนึ่งวันก่อนที่อุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ลำแรกตก นอกจากนี้ การอัพเกรดเฮลิคอปเตอร์รุ่นฮิวอี้ ยังเป็นวาระของกองทัพมาเป็นระยะเวลานาน ถึงแม้ว่าพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกคนก่อนหน้า ตัดสินใจจะไม่อัพเกรดเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้ 15 ลำ ในปี 2551 และตัดสินใจจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์รุ่นรัสเซียน Mil Mi-17 แทน

ดังนั้น คำร้องขอของพลเอกประยุทธ์เพื่อจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ 36 ลำจึงดูเป็นเรื่องไม่ค่อยจริงใจเท่าไร เขาอาจจะลองโยนหินถามทาง และรอดูว่านายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่น่าจะเป็นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะตอบสนองต่อข้อเรียกร้องดังกล่าวอย่างไร นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ใช้มาตรการกดดันอีกหลายครั้งผ่านทางสาธารณะ หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา โดยเขาได้เสนอให้ทหารรับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ถึงแม้ว่าจะเคยลั่นวาจาไว้แล้วก่อนหน้านี้ก็ตามว่า เขาจะไม่แทรกแซงทางการเมืองใดๆ อีก

ณ จุดนี้ สิ่งที่คนไทยทั่วไป รวมถึงเหล่านายทหารที่ใช้เครื่องเฮลิคอปเตอร์ฮิวอื้ที่เก่าแก่ คงต้องสงสัยว่ากองทัพไทยที่ได้งบประมาณอุดหนุนอย่างอื้อซ่านั้นเอาเงินไปทำ อะไร ภารกิจการต่อต้านการก่อความไม่สงบในภาคใต้ที่ใช้งบประมาณเยอะ ก็เป็นเรื่องหนึ่ง โครงการการจัดตั้งกองทัพภาคใหม่ที่ภาคเหนือ ก็ใช่ รวมถึงโครงการจัดตั้งกองพลทหารม้าของเปรม ติณสูลานนท์ ก็เป็นที่เห็นแจ้งแถลงไขแล้วว่า เพียงแค่สองเรื่องแรกนี้ ก็ใช้งบประมาณไปแล้วหลายพันล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม คำอธิบายที่กว้างกว่านั้นคือ การที่กองทัพเป็นผู้กำหนดงบประมาณและกำหนดวาระต่างๆ ด้วยตนเอง ทำให้เงินภาษีของประชาชนที่จ่ายไปไม่คุ้มค่า และกองทัพเองก็มักจะไม่ลงทุนในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ทั้งนี้ ปัญหาสำหรับประเทศไทยก็คือ ประเด็นด้านนโยบายดังกล่าว เป็นพื้นที่ทางนโยบายที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ไม่กล้าที่จะเข้าไปแตะต้อง ถึงแม้ว่าจะมีคำสัญญาทางนโยบายด้านต่างๆ ออกมามากแค่ไหนก็ตาม

ที่มา : The Diplomat: Thailand’s Military Crisis? 29/07/54