WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 19, 2011

โครงการรับจำนำข้าว บทพิสูจน์ฝีมือรัฐบาล ยกระดับข้าวไทยบนเวทีโลก

ที่มา มติชน



สุเมธ เหล่าโมราพร

การที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ไฟเขียว โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2554/2555 ให้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม 2554-29 กุมภาพันธ์ 2555 โดยรับจำนำข้าวเปลือกความชื้นไม่เกิน 15% สำหรับข้าวหอมมะลิราคา 20,000 บาทต่อตัน ข้าวหอมจังหวัด 18,000 บาทต่อตัน ข้าวปทุมธานี 16,000 บาทต่อตัน ข้าวเปลือกเจ้า 100% 15,000 บาทต่อตัน โดยใช้งบประมาณรองรับโครงการ 400,000 ล้านบาท


ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ นโยบายนี้ส่วนหนึ่งได้รับการขานรับจากชาวนาไทยว่าเป็นโครงการที่ดี เพราะชาวนาจะได้ขายข้าวในราคาที่ดี


แต่อีกด้านหนึ่งหลายคนเป็นห่วงว่า การที่รัฐบาลตั้งราคา ข้าวเปลือกหอมมะลิไว้ที่ 20 บาทต่อกิโลกรัม ข้าวเปลือกเจ้าความชื้นไม่เกิน 15 % กิโลกรัมละ 15 บาท ถ้าเป็นข้าวเปลือกเจ้า 100 % ราคาจะสูงกว่าปัจจุบันเยอะ เพราะปัจจุบันข้าวเปลือกเจ้า ความชื้น 15 % จะซื้อขายกันกิโลกรัมละ 11 บาท ขณะที่รัฐบาลตั้งธงราคาจำนำไว้ 15 บาท นั่นหมายความว่าราคาจะสูงกว่าปัจจุบันถึงกิโลกรัมละ 4 บาท


ส่วนข้าวสารขาวคุณภาพปานกลางที่ทุกวันนี้ซื้อขายกันในตลาดกิโลกรัมละ ประมาณ 16-17 บาท จะขยับขึ้นไปเป็นประมาณกิโลกรัมละ 22-24 บาท ด้วยเหตุนี้เมื่อรัฐบาลประกาศเดินหน้ารับจำนำข้าวในวันที่ 7 ตุลาคม

หลายคนจึงกังวลว่าหากราคาข้าวสูง รัฐบาลจะรับมือไหวไหม จุดนี้เป็นประเด็นที่มีคนพูดถึงกันมาก โดยเฉพาะผู้ส่งออกซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากราคาข้าวที่แพงขึ้น เนื่องจากเกรงว่าหากราคาข้าวสูง การขายจะลำบาก เพราะไม่รู้ว่าต่างประเทศจะปรับราคาตามหรือเปล่า

ยิ่งในช่วงสองสามวันที่ผ่านมามีข่าวว่ารัฐบาลอินเดีย ได้ประกาศให้มีการส่งออกข้าวตามเดิม หลังจากที่มีการระงับการส่งออกมาเป็นเวลา 2-3 ปี ยิ่งเพิ่มความไม่สบายใจให้กับผู้ส่งออกไทยว่าจะสู้ในตลาดโลกได้ไหม


สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายของโครงการรับจำนำข้าวของประเทศไทย

หากจะถามว่าราคาข้าวเปลือกเจ้าที่รัฐบาลยกระดับขึ้นมาเป็น 15,000 บาทต่อตัน หรือข้าวเปลือกหอมมะลิ 20,000 บาทต่อตัน มีที่มาของตัวเลขจากไหน ประเด็นนี้รัฐบาลบอกไว้ว่า ได้คำนวณจากปัจจัยพื้นฐานการผลิตและต้นทุนของไทย ระดับรายได้ขั้นต่ำที่ชาวนาควรได้รับ ดัชนีเงินเฟ้อในประเทศ และผลกระทบจากค่าเงินอเมริกันดอลลาร์ที่อ่อนตัวลง การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรทั่วโลก เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล เป็นต้น ราคารับจำนำที่กำหนดนี้จึงเป็นราคาที่เหมาะสมกับราคาข้าวของไทย


ปัจจุบันประเทศไทยมีส่วนแบ่งการส่งออกข้าวอยู่ที่ประมาณ 10 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 33 % ในขณะที่ทั่วโลกค้าขายกันอยู่ประมาณ 28-29 ล้านตันต่อปี เท่ากับไทยมียอดการส่งออกข้าว 1 ใน 3 ของโลก


ดังนั้น ถ้าประเทศไทยขึ้นราคาข้าวจะมีผลทำให้ผู้ส่งออกรายอื่นๆปรับราคาขึ้นตาม ประเทศไทยหรือไม่ ตรงนี้ก็เป็นประเด็นที่ต้องยอมรับว่าท้าทายความสามารถของรัฐบาลชุดปัจจุบัน นี้อย่างมาก


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มของข้าวขาวและข้าวนึ่ง ซึ่งมีประเทศคู่แข่ง ยกตัวอย่างข้าวนึ่ง วันนี้มีแหล่งผลิตในหลายประเทศ ทั้งจากอินเดีย ปากีสถาน บราซิล ส่วนข้าวขาวก็มีที่มาจากหลายแหล่งเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม พม่า ปากีสถาน ในขณะที่อเมริกาก็มีทั้งข้าวนึ่งและข้าวขาว

ซี.พี.อินเตอร์เทรด จำกัด (ผู้ผลิตและค้าข้าวภายใต้ “ตราฉัตร”) ในฐานะผู้ประกอบการทั้งส่งออกและขายภายในประเทศ ยอมรับว่านโยบายที่รัฐบาลจะเริ่มทำนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี กล้าที่จะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ ยกระดับราคาข้าวไทยให้สูงขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชาวนาไทย

ถึงแม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทาย เพราะหากไม่ปรับราคาจำนำสูงขึ้น รัฐบาลก็ต้องเอาเงินอุดหนุนให้กับชาวนา ในรูปการจ่ายชดเชยรายได้จากนโยบายประกันรายได้ เพราะมิเช่นนั้นชาวนาบางกลุ่มอาจจะเลิกปลูกข้าว เนื่องจากปลูกแล้ว ผลตอบแทนที่ได้รับจากราคาตลาดที่ต่ำไม่คุ้มค่า ซึ่งตรงนี้กำลังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชาวนาในประเทศกำลังพัฒนา หรือพัฒนาแล้วทั่วโลก ที่ขาดแคลนแรงงานภาคเกษตร หรือแรงงานภาคเกษตรออกจากภาคนี้ไปประกอบอาชีพอื่น

ฉะนั้นทุกประเทศจึงมีนโยบายแทรกแซง เพื่อยกระดับราคาสินค้าเกษตรที่จำเป็นของตัวเองให้สูงขึ้น พอเพียงสำหรับสร้างความมั่นคงให้อาชีพชาวนา โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง “วิกฤตอาหาร” ที่กำลังเป็นเรื่องใหญ่ในระดับโลก ฉะนั้น ถ้าอาชีพชาวนา หรือเกษตรกรไม่มั่นคง เราจะสร้างผลผลิตให้พอความต้องการของพลเมืองโลกได้อย่างไร


ประเทศไทยเราตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะในการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้หลาย ชนิด นอกจากข้าว เช่น อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน ที่ผ่านมาหลายรัฐบาลมีนโยบายจะปฏิรูปโครงสร้างพื้นที่การเกษตรของไทยให้ เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจโลกด้านอาหารและพลังงาน ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงและราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ราคาน้ำมันและประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน เช่น เอทธานอล มาผสมกับน้ำมันเบนซิลเป็นแก๊สโซฮอลที่เราคุ้นเคยมากขึ้น เพื่อทดแทนน้ำมันดิบที่เราต้องพึ่งการนำเข้า 100%


โดยเอทธานอลผลิตจากกากน้ำตาลของอุตสาหกรรมน้ำตาล และมันสำปะหลัง ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่รัฐบาลชุดนี้จะเริ่มทำนโยบายปฏิรูปนี้อย่างจริง จัง ซึ่งอาจหมายถึงการลดพื้นที่ปลูกข้าวลง แต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น แล้วไปปลูกพืชที่ใช้ทำพลังงานทดแทนมากขึ้ร ลดการพึ่งพาน้ำมันดิบนำเข้าลง


อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวไทยที่สูงขึ้นจากราคารับจำนำ จะเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของรัฐบาล ซึ่งก็ควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะรัฐบาลที่มีความสามารถต้องบริหารเรื่องที่ยาก และท้าทายได้ โดยสินค้าข้าวที่น่ากังวลจะเป็นในกลุ่มข้าวขาวและข้าวนึ่ง เพราะไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันจากเวียดนาม, อินเดีย, ปากีสถาน, สหรัฐ, พม่า, บราซิล ซึ่งถ้ารัฐบาลบริหารจัดการได้ดีก็จะสร้างการยอมรับจากสังคมได้


ส่วนข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียว อาจมีอุปสรรคไม่มาก เพราะยังไม่มีสินค้าจากประเทศคู่แข่งที่จะมาทดแทนได้ในระยะใกล้นี้ และไทยเองก็มีผลผลิตไม่ล้นมากเกินไป เพราะมีการบริโภคภายในและส่งออกที่ดี


ที่มากกว่านั้นในการดำเนินนโยบายนี้สิ่งที่รัฐบาลจะหลงลืมที่จะดูแลไม่ ได้ คือ การปรับราคาของสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องช่วยเหลือ เหยียวยาผู้บริโภคในประเทศไทยไปพร้อมๆ กัน จากการติดตามข่าวเข้าใจว่ารัฐบาลมีการวางมาตรการหลายรูปแบบ ตั้งแต่การขายข้าวราคาประหยัดในรูปของข้าวธงฟ้า เพื่อลดแรงเสียดทานในเรื่องของภาวะเงินเฟ้อในประเทศลง หรืออาจจะเป็นการแจกคูปองเพื่อซื้อสินค้าสำเร็จรูปในหมวดที่จำเป็นสำหรับการ ดำรงชีพในชีวิตประจำวันให้กับคนยากจนเลย เช่น คูปองสำหรับข้าวสาร น้ำมัน ฯลฯ


นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีอีกหลายมาตรการที่กำลังซึ่งศึกษาอยู่เพื่อรองรับสถานการณ์การปรับราคาข้าวที่สูงขึ้น


สำหรับประเด็นเรื่องข้าวถุงที่หลายคนแสดงความเป็นห่วงว่าราคาจะขยับขึ้น ซี.พี.อินเตอร์เทรด ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ประกอบการข้าวถุง เชื่อว่าสมาชิกโดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีความตั้งใจเอาเปรียบสังคม ไม่ใช่ว่าข้าวเปลือกราคาปรับขึ้น แล้วข้าวถุงจะถือโอกาสปรับขึ้นอย่างรุนแรง คงจะเป็นการปรับตัวตามปกติซึ่งเป็นผลจากวัตถุดิบราคาสูงขึ้น


และหากผู้ประกอบการจะมีการปรับราคาข้าวถุงก็ต้องตอบสังคมให้ได้ว่า ราคาที่ขึ้นมานั้นได้มีการพัฒนาคุณภาพของสินค้าให้ดีขึ้นด้วยหรือเปล่า เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจำเป็น เมื่อประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากราคาข้าวที่แพงขึ้น ผู้ประกอบการก็ต้องมีทางเลือกที่ดีให้กับผู้บริโภค


ที่สำคัญกว่านั้นในปัจจุบันข้าวที่ขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปมีเป็น 1,000 แบรนด์ เพราะฉะนั้นข้าวสารบรรจุถุงจึงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสินค้าที่มีการแข่งขัน สูง


เมื่อการแข่งขันสูง ก็หมายความว่าใครก็ตามที่ต้องการจะเอาเปรียบสังคม โดยขึ้นราคาสินค้าอย่างไม่เป็นธรรม จะทำได้ยาก เพราะคู่แข่งต่างก็จ้องที่จะแย่งส่วนแบ่งการตลาด


ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วงว่าข้าวถุงในประเทศไทยจะหมดไปจากบนชั้นวางของ เหมือนสินค้าอื่นๆ เพราะเชื่อว่าการปรับราคาของข้าวถึงน่าจะเป็นไปในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป


ซี.พี.ก็เอาใจช่วย เพราะอยากจะเห็นข้าวไทยมีราคาที่แพงขึ้น สมน้ำสมเนื้อกับค่าแรงงานของชาวนาไทยที่ได้ลงทุนปลูก ซึ่งหากโครงการนี้สำเร็จก็จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับรัฐบาลชุดได้อย่างมาก

( จาก คุยกับซีพี. cp e-news)