ที่มา มติชน
หลักศิลา กลางน้ำเขียว
มุกดา สุวรรณชาติ
19 กันยายน 2554 นี้จะครบรอบ 5 ปี ของการรัฐประหารรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร
แม้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2549 แต่ความวุ่นวายทางการเมืองก็ยังดำรงอยู่และจะต้องต่อสู้กันไปอีกอย่างน้อย 3-4 ปี
ว่า กันว่าการรัฐประหารครั้งนั้นกำหนดตามฤกษ์ที่คิดว่าทำแล้วจะก้าวหน้าคือวัน ที่ 9 เดือน 9 ปี 2549 กำหนดเวลายึดอำนาจเวลา 9.39 ตอนกลางคืน แต่มีการเคลื่อนกำลังตั้งแต่สามทุ่ม พอ 4 ทุ่มรถถังก็ปรากฏอยู่บนถนนหลายสาย
มี ผู้วิจารณ์ว่าการรัฐประหารครั้งนั้น ผิดทั้งตามหลักประชาธิปไตยและการกำหนดฤกษ์ยาม เพราะเมื่อก้าวต่อไปอีกหนึ่งก้าว เลขเก้าจะกลายเป็นเลขศูนย์ทันที คือจะมีความสำเร็จเฉพาะช่วงนั้นและเมื่อก้าวต่อไปก็จะพบกับความวิบัติ
ซึ่ง ดูแล้วจะเป็นจริงเพราะหลังจากนั้นเพียงหนึ่งปี ความวิบัติก็มาเยือน ความเสื่อมเข้ามาแทนที่ แต่ประชาชนไทยต้องมาร่วมรับเคราะห์กรรมด้วย ความวุ่นวายทางการเมืองมีติดต่อกันมาถึง 5 ปี
ผลจากการรัฐประหาร ปี 2549 ยังคงทำให้วันนี้มีข่าวการรื้อฟื้นเรื่องการถวายฎีกาขึ้นมาอีกครั้ง และมีผู้ตั้งคำถามว่า พรรคเพื่อไทยและทักษิณจะเดินแนวทางการเมืองแบบไหน?
อีก ข่าวก็เกี่ยวกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพราะมีการแต่งตั้งโยกย้ายเลขาธิการ สมช. คุณถวิล เปลี่ยนศรี ซึ่งเป็นประเด็นเถียงกันว่าเหมาะสมหรือไม่?
คิดว่าถ้าวิเคราะห์บทบาทของ สมช. กับการรัฐประหารและรัฐบาล น่าจะเข้ากับสถานการณ์ช่วงนี้ได้ดีที่สุด
สภาความมั่นคงแห่งชาติ
เป็นสถาบันที่เก่าแก่กว่ารัฐบาลประชาธิปไตย
รัฐบาล ในระบบประชาธิปไตยที่ตั้งขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 กำลังจะมีอายุครบ 80 ปี ในปี 2555 นี้ แต่สภาความมั่นคงแห่งชาติมีอายุครบ 100 ปีมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 เพราะมีการตั้งองค์กรเกี่ยวกับความมั่นคงของ ประเทศสยาม หลังถูกภัยคุกคามจากชาติตะวันตก ในเดือนธันวาคม 2453 สมัยรัชกาลที่ 6 แต่ใช้ชื่อว่าสภาป้องกันพระราชอาณาจักร และมาเปลี่ยนเป็นสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในปี 2502 ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคงแห่งชาติ
สมช. มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์เกี่ยวกับความมั่นคง ส่วนการบริหารงานเป็นรูปแบบ คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วย
1.นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
2.รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง เป็นรองประธาน
3.รมว.กระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการ
4.รมว.กระทรวงการต่างประเทศ "
5.รมว.กระทรวงการคลัง "
6.รมว.กระทรวงมหาดไทย "
7.รมว.กระทรวงคมนาคม "
8.ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ "
9.เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
ใน ทางปฏิบัติ ฝ่ายการเมืองที่จะมาดูแลงานนี้คือรองนายกฝ่ายความมั่นคง ส่วนคนอื่นก็คงมีงานประจำทำเต็มมือ การปฏิบัติจริงจึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการ สมช.
ดังนั้น ความมั่นคงและความเป็นความตายของรัฐบาลส่วนหนึ่งจึงตกอยู่ในมือของเลขา สมช. อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สม ช. มิได้มีผู้ปฏิบัติการ หรือกองกำลังมากมาย แต่สามารถเรียกใช้ข่าวกรองจากหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ ตำรวจสันติบาล และหน่วยข่าวกรองทหาร หรือประสานงานเพื่อขอความสนับสนุนกับหน่วยกำลังอื่นๆ
บทบาทเด่นของ สมช.
และเลขาธิการในอดีต
คน ไทยมารู้จักชื่อ สมช. พร้อมกับชื่อเลขาธิการ คุณประสงค์ สุ่นศิริ และด้วยฉายาที่สื่อตั้งให้ว่า CIA เมืองไทย คนทั่วไปก็เลยเข้าใจว่าเป็นหน่วยงานที่ทำงานแบบหนังสายลับ แทบไม่มีใครรู้จักนโยบาย 6 ด้านของ สมช. ในปัจจุบัน
52 ปี นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อเป็นสภาความมั่นคงแห่งชาติ มีเลขาธิการจนถึงปัจจุบัน 15 คน คนแรกคือพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ อยู่ในยุครุ่งเรืองของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นรัฐบาลทหารเผด็จการเต็มรูปแบบ
เลขาธิการคนที่ 5 คือ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา ซึ่งมาดำรงตำแหน่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ช่วงนั้นมีการปราบขบวนการนักศึกษาอย่างหนัก จนถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ก็เกิดการรัฐประหารรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
จากข่าวการเมือง ในช่วงนั้น คิดว่า สมช. คงไม่ได้ช่วยอะไรรัฐบาลเลย เพราะวันที่ 5 ตุลาคม นายกฯ เสนีย์เพิ่งปรับ ครม. เสร็จ เป็น ครม. ที่มีอายุสั้นที่สุด อยู่ได้เพียงวันเดียวก็ถูกรัฐประหารในวันที่ 6 ตุลาคม คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินขึ้นมาเป็นรัฐบาล แต่ สมช. ก็ยังคงอยู่ เลขาฯ สมช. ก็ยังเป็นคนเดิม ทำงานให้รัฐบาลเผด็จการต่อไปอีกหลายปี ท่ามกลางความขัดแย้งถึงขนาดใช้กำลังอาวุธเข้าต่อสู้กันจนเกิดสงครามกองโจรไป ทั่วประเทศ
เลขาธิการ สมช. คนที่ 6 คือ นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ เป็นนายทหารคนสนิทของ พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา ไปเรียนงานข่าวกรองจากอเมริกา กลับมาทำงานใน สมช. จนได้ตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ในปี 2523 ต่อจาก พล.อ.อ.สิทธิ โดยเป็นผู้ดูแลความมั่นคงให้พลเอกเปรมซึ่งเพิ่งเข้ามารับตำแหน่งนายก รัฐมนตรีเช่นกัน
ยุคนั้น สมช. ทำงานเข้ากับนายกฯ ที่มาจากทหารได้ดี ฝีมือการทำงานของคุณประสงค์ เป็นที่เลื่องลือ ได้ฉายาว่าเป็น CIA เมืองไทย มีทหารบางกลุ่มพยายามรัฐประหารพลเอกเปรมหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เขาลาออกมารับตำแหน่ง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้ พลเอกเปรมในปี 2529
เลขาธิการ คนที่ 11 คือ พลเอกวินัย ภัททิยกุล เข้ามารับตำแหน่งในปี 2545 สมัยนายกฯ ทักษิณ เข้าอยู่ในตำแหน่งจนถึงปี 2549 วันที่เกิดการรัฐประหาร ก็ยังเป็นเลขาฯ สมช. การรัฐประหารครั้งนั้น
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้นำการรัฐประหารสารภาพว่าได้มีการเตรียมการก่อนหน้าถึง 7 เดือน มีการเคลื่อนไหวชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ มีข่าวการลอบสังหารนายกฯ แต่ในที่สุด ทักษิณก็ถูกรัฐประหารขณะที่เดินทางไปทำงานที่สหประชาชาติ
สมช. ไม่ได้มีบทบาทช่วยทักษิณเลยแม้แต่น้อย
หลัง จากคณะรัฐประหารซึ่งมีชื่อว่าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้เข้าควบคุมอำนาจรัฐ จึงได้รู้ว่าพลเอกวินัยมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการของคณะรัฐประหาร แม้แต่ชื่อ คปค. ก็เป็นคนตั้ง งานนี้ต้องถือว่ารัฐบาลโดนหักหลัง
จากนั้นมา ตำแหน่งเลขาธิการ สมช. ซึ่งเคยอยู่ในตำแหน่งติดต่อกัน 4-5 ปีก็ถูกเปลี่ยนตามความไว้วางใจของนายกรัฐมนตรีแต่ละยุค และมีอายุงานในตำแหน่งสั้นลง
สมช.ในยุคแห่งความหวาดระแวง
ใน ปี 2550 เมื่อพลเอกสุรยุทธ์เป็นนายกก็ตั้ง พลโทศิรพงศ์ บุญพัฒน์ ขึ้นเป็นเลขาธิการ สมช. ในปี 2551 เมื่อนายสมัครขึ้นเป็นนายกฯ การเมืองเปลี่ยนขั้ว ก็ตั้ง พลโทสุรพล เผื่อนอัยกา ขึ้นเป็นเลขาธิการแทน ในปี 2552 หลังจากมีการตุลาการภิวัตน์ สลับขั้วรัฐบาลและจัดตั้งรัฐบาลในค่ายทหารสำเร็จ นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เปลี่ยนเลขาฯ สมช. เป็น นายถวิล เปลี่ยนศรี
นายถวิล เปลี่ยนศรี เป็นเลขาฯ สมช. คนที่ 15 เติบโตมาด้วยการสนับสนุนของพลเอกวินัย หลังการรัฐประหารกันยายน 2549 ก็ได้รับตำแหน่งเป็นรองเลขาฯ ของ สมช. และเมื่อประชาธิปัตย์ขึ้นเป็นรัฐบาล ก็ได้ย้ายพลโทสุรพลออกไปเพราะเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับอดีตนายกฯ ทักษิณ ประชาธิปัตย์ไว้ใจคุณถวิลมากกว่า
คนที่เข้าใจธรรมเนียมแห่งอำนาจของ สมช. ดีที่สุดคือคุณถวิลเพราะได้เข้าทำงานมาตั้งแต่เจ้าหน้าที่ระดับ 3 ได้เห็นการรัฐประหารรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ได้ศึกษาการทำงานของคุณประสงค์ เรียนรู้งานจนมาถึงการรัฐประหารนายกฯ ทักษิณ ได้เป็นรองเลขาธิการและเป็นเลขาธิการในยุคที่ คมช. มีอำนาจใน
มีคน บอกว่าคุณถวิลเป็นลูกหม้อของ สมช. อย่างแท้จริง ถ้านับอายุการทำงานคงจะใช่ แต่ถ้าจะดูผลงานว่าได้ทำหน้าที่เพื่อความมั่นคงของรัฐบาลที่มาจากการเลือก ตั้งได้ดีแค่ไหน อันนี้ยังไม่เห็นผลงานเด่นชัดแม้สักครั้งเดียว
มีคน หลายกลุ่มเรียกร้องว่าการโยกย้ายครั้งนี้เป็นเรื่องการเมืองให้คุณถวิลยอม รับ แต่คุณถวิลบอกว่าจะสู้เพราะเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง การโยกย้าย คุณถวิล เปลี่ยนศรี ในวันนี้ รัฐบาลไม่ควรให้เหตุผลว่า เพื่อความเหมาะสม แต่ควรจะสู้กันในข้อเท็จจริงของการทำงานที่ผ่านมา ถ้ามีความผิด จะต้องถูกปลดออกหรือจะฟ้องร้องดำเนินคดีก็ต้องทำ ถ้าเป็นคนทำงานดีก็สมควรให้อยู่ต่อ
ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือน เมษายน - พฤษภาคม 2553 ถวิล เปลี่ยนศรี ก็นั่งอยู่ในตำแหน่งเลขาฯ ของ ศอฉ. ได้รู้เรื่องราวทั้งหมดและต้องร่วมรับผิดชอบในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตเกือบ 100 คน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน
เมื่อฝ่ายตรงข้ามที่ถูกทำรัฐประหารและ ถูกปราบเกิดชนะเลือกตั้งขึ้นมา จะเอาศัตรูทางการเมืองมานั่งอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการความมั่นคงก็เป็นเรื่อง ที่ฝืนธรรมชาติ ไม่เพียงเป็นเรื่องความไว้วางใจแต่เพราะคนที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้จะต้อง ถูกสอบสวน ถูกฟ้องรัองดำเนินคดี การถูกย้ายหรือถูกพักราชการชั่วคราวเพื่อรอก่อนการสอบสวน จึงเป็นเรื่องปกติ
มีบางคนคิดว่า คล้ายการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงตำแหน่งแบบสมยอมกัน
ถึงเวลาต้องยกเครื่อง สมช.
ทั้งระดับกรรมการ และผู้ปฏิบัติ
เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติจริงๆ
ที่ ควรจะทำแบบนี้เพราะว่าสภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นองค์กรที่จำเป็นในการรักษา ความมั่นคงของประเทศและรัฐบาล การดำรงอยู่ยาวนานถึง 100 ปีเป็นเกียรติภูมิ แต่ในโลกประชาธิปไตยสมัยใหม่ ต้องการมืออาชีพที่ทำงานอย่างซื่อสัตย์ให้กับประชาชน ต้องยืนหยัดหน้าที่และหลักการให้เที่ยงตรง เพราะทุกกลุ่มอำนาจอยากจะใช้ สมช. เป็นเครื่องมือ
ท่ามกลางความขัดแย้งครั้งนี้ ควรจะถือโอกาสปรับปรุงยกเครื่อง สมช. ให้เป็นสภาความมั่นคงแห่งชาติไทยจริงๆ ไม่ใช่ของคนบางกลุ่มบางพวก
เพราะ ถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนี้ สมช. จะกลายเป็นองค์กรที่ทุกฝ่ายขาดความไว้วางใจ และจะถูกทำให้ตายไปอย่างช้าๆ ซึ่งจะไม่เป็นผลดีกับข้าราชการระดับกลางและระดับล่าง เพราะใน สมช. ยังมีคนดีคนเก่งอีกมาก
วันนี้ประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ความเป็น ประชาธิปไตย ก้าวไปสู่สังคมในระดับสากล ถ้าไม่พัฒนาบุคคล และนโยบาย ทั้งองค์กรจะสร้างผลงานอย่างไร? และจะอยู่รอดได้อย่างไร?
การปรับ ปรุง พัฒนา สมช. จึงเป็นเรื่องที่ต้องเร่งระดมความคิดเพราะปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางการมือง เศรษฐกิจ เปลี่ยนไปมาก และกำลังจะเปลี่ยนอีกอย่างรวดเร็วใน 2-3 ปีนี้ การเชื่อมต่อทางเศรษฐกิจของอาเชียนและโลก ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เกิดการไหลของแรงงาน การไหลของระดับช่างฝีมือ ระดับมันสมอง การไหลของทรัพยากรและเงิน
ไม่ ต้องพูดถึงระบบสื่อสารสมัยใหม่ที่เรายังต้องวิ่งตามและไม่มีปัญญาดูแลให้ เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เพียงความขัดแย้งระหว่างคนกับคน แม้แต่ภัยธรรมชาติที่เกิดซ้ำซากและรุนแรงขึ้นก็กลายเป็นภัยต่อความมั่นคงไป แล้ว สมช. จึงต้องได้รับการพัฒนาเพื่อรับภาระหน้าที่ที่หนักขึ้น โดยการระดมยอดฝีมือเข้ามาให้มากกว่านี้ ควรมีตัวแทนประชาชนจากสภาผู้แทนมาร่วมในคณะกรรมการด้วย
ตาม ยุทธศาสตร์สมัยใหม่ สมช. ต้องเดินเกมรุก ไม่ใช่นั่งป้องกันอยู่ในบ้าน หรือถูกใช้ประโยชน์เพียงแค่ปกป้องหรือชิงอำนาจกันเอง อย่าให้ต่างชาติมองเราเหมือนไก่ที่จิกตีกันอยู่ในเล้า รอวันเป็นเหยื่อ
ภาระหน้าที่ของ สมช.ยุคใหม่ ควรมีส่วนร่วมในการสร้างชาติ แบบมืออาชีพอย่างแท้จริง