ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
หมายเหตุ - คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดเสวนา "มรดกและบทเรียนจากรัฐประหาร 19 กันยา" โดยเชิญนักวิชาการและภาคประชาธิปไตยที่เกาะติดความเคลื่อนไหวทางการเมือง มาร่วมแสดงความคิดเห็นในโอกาสครบรอบ 5 ปีรัฐประหาร ที่ห้องประชุม คณะสังคมศาสตร์ มช. เมื่อวันที่ 21 ก.ย.
ศรีวรรณ จันทร์ผง
นปช.เชียงใหม่
การ รัฐประหารทำให้คนสนใจการเมือง ต่อยอดจากคนเดือนตุลารุ่น 16 และ 19 มาเป็นคนชั้นกลางและสังคมอินเตอร์เน็ต ทำให้เห็นว่าไทยไม่ได้โดดเดี่ยว
แต่ช่องว่างระหว�างคนรวยคนจนห่างชั้นมากขึ้น ส่งผลต่อภาวะความกดดันของประชาชนที่อยากได้รัฐธรรมนูญปี"40
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไม่ได้มีส่วนร่วมต่อสู้เลย ก่อนการเลือกตั้งทุกพรรคนำเสนอนโยบายเหมือนกัน แต่พ.ต.ท.ทักษิณเสนอนโยบายตรงใจ เป็นประโยชน์แก่คนรากหญ้ามากกว่า
ทำลาย โครงสร้างอำนาจเก่าหรือไม่ ไม่รู้ ชาวบ้านรู้อย่างเดียวว่าได้ประโยชน์ พ่อแม่หลายคนได้ลูกคืนจากนโยบายปราบยาเสพติด คนยากจนได้อานิสงส์หมด
แต่ไม่รู้มีกระบวนการใด ทำให้เกิดการก่อหวอดทำรัฐประหารขึ้น
ก่อน ปี"49 กลุ่มพันธมิตรออกมา มีข้อกล่าวหาและปลุกกระแสมวลชน ใช้สื่อตนเองโจมตีรัฐบาลทักษิณ เงื่อนไขดังกล่าวส่อแววให้กลุ่มอำนาจเก่าผนึกกำลังเพื่อจัดการกับรัฐธรรมนูญ ปี"40 และรัฐบาลทักษิณ เพื่อฆ่าประชาธิปไตยอีกครั้ง
คนเสื้อแดง ต่อสู้ด้วยเหตุผลหลายเรื่อง ไม่ว่า สองมาตรฐาน ความไม่เป็นกลาง และรัฐธรรมนูญปี"50 การต่อสู้ของคนเสื้อแดง ผมไปร่วมทุกครั้ง ตั้งแต่ ปี"52-53
พวกผมไม่อยากเห็นความขัดแย้งของคนในสังคม โดยเฉพาะการเอาชีวิตและเลือดเนื้อไปแลกกัน
ธเนศวร์ เจริญเมือง
คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มช.
ยัง ไม่เคยมีวิทยานิพนธ์ที่แข็ง แกร่งเกี่ยวกับการรัฐประหาร เหตุ การณ์เมื่อ 5 ปี มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ แบ่งงานกันทำ ในทางวิชาการน่าจะรวบรวมข้อมูล และบทสัมภาษณ์ต่างๆเก็บไว้เพื่อการศึกษา
หลังเลือกตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ ได้ไม่ถึงเดือน ถูกด่ามากมาย จึงต้องเรียกร้องผ่านทางวิชาการไปยังสภาถึงฝ่ายค้านว่า มารยาทควรจะมีอย่างไรบ้าง
กรณีเรียกร้องไม่ให้ไปต่างประเทศ ทำไมไม่ยุบกระทรวงต่างประเทศเสียเลย การไปเยือนต่างประเทศของนายกฯ มีมากกว่าการไปแนะนำตัว เพราะก่อนหน้านั้นสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านไม่ค่อยดี
รัฐบาล นี้ถูกจำกัดด้วยวัฒนธรรมและโดนตีกรอบ ตอกย้ำสิ่งที่ภาคประชาธิปไตยรับรู้ คือ ชนะการเลือกตั้งเพียงคะแนน แต่ประชาธิปไตยยังไปไม่ถึงไหนเลย
ใน รอบ 5 ปี ความอยุติธรรมที่เคยเกิดขึ้นได้รับการแก้ไขแค่ไหน ดังนั้นต้องมาช่วยกัน ทำความเข้าใจในระบบรัฐสภามากขึ้น เพราะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ความคิดประชาธิปไตยได้เปล่งเสียงออกมา
แต่ ไม่ใช่เล่นสำนวนเหมือนฝ่ายค้านกำลังทำขณะนี้ เป็นการโต้วาทีที่ไม่ใช�เหตุผล ไม่อยากได้ยินความคิดที่ขอเป็นแค่ความสะใจ ควรพูดและคิดให้ไกลกว่านี้ รักษาสภาวะประชาธิปไตยให้นานกว่านี้
การโหมวิธีการของฝ่ายค้านที่ค้านทุกเรื่องโดยไม่เคารพกติกา ทั้งเรื่องการปฏิรูป แก้ไขแต่งตั้ง นายทหาร โยกย้ายข้าราชการที่แตะไม่ได้
รวมถึงปัญหาของวงราชการที่ไม่ยอมรับว่า ผู้บริหารที่ประชาชนเลือกมานั้น หากเขาจะเลือกใครไปทำงานในตำแหน่งไหนแล้วก็ควรจะยอมรับ
แต่ดูแล้ววิธีคิดยังเป็นแบบเก่า อยู่ในวัฒนธรรมแบบเดิม ข้าราชการแตะไม่ได้ รัฐบาลที่มาจากประชาชนแต่ไปแตะระบบราชการไม่ได้
นอกจากนี้ ยังมีการนำเรื่องคำทำนาย ความไม่พอใจของหน่วยงานต่างๆ มาบั่นเซาะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วย
แต่ไม่ใช่ปัญหา การเกิดหมู่บ้านเสื้อแดงหรือหมู่บ้านต่างๆ เป็นวิธีการผลักดันให้กระบวนการประชาธิปไตยเข้มแข็งขึ้น
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
คณะนิติศาสตร์ มช.
การรัฐประหารปี"49 ถือว่าล้มเหลว หากมองเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเข้าใจอะไรได้มากขึ้น
รัฐ ธรรมนูญปี"50 กับปี"40 ต่างกัน โดยการเมืองหลังรัฐประหารปี"49 สร้างระบอบกึ่งรัฐสภาและกึ่งอมาตยาธิปไตย จำเป็นต้องมีการเลือกตั้ง และเป็นระบอบที่ปฏิเสธไม่ได้เพราะเป็นแรงกดดันจากสากลด้วย
แต่การ เลือกตั้งอย่างเดียวไม่พอ เพราะมีการออกแบบรัฐธรรมนูญที่กำกับรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง คือ มีบางอย่างเข้ามาเกี่ยวข้องให้ยอมรับรัฐประหาร
ไม่ว่า เรื่องผูกพันที่เรียกว่าอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับข้าราชการ ประจำ ซึ่งเป็นปัญหาต่อรัฐบาลกับข้าราชการประจำโดยเฉพาะทหาร
โดยหลัก การ รัฐบาลน่าจะมีอำนาจเหนือข้าราชการประจำในการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นไปโดย ชอบ สามารถทำได้ แต่ก็ยังเป็นปัญหาในส่วนของทหาร
เพราะอำนาจร มว.กลาโหม เป็นเพียงแค่ตรายาง ไม่สามารถโยกย้ายข้าราชการระดับสูงสุดได้ อันเป็นผลจากกฎหมายในยุคคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
2.กระบวน การยุติธรรมและองค์กรอิสระ มีความรับผิดชอบอะไรบ้าง ทำหน้าที่โดยมีข้อกังขา เมื่อใดที่มีข้อขัดแย้ง องค์กรอิสระจะมาชี้ถูกชี้ผิดเสมอ ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีมาตรฐาน
3.รากฐานรัฐธรรมนูญ ต้องถามว่ารับรองเสรีภาพได้หรือไม่ แต่จะมีกฎหมายพิเศษ กฎหมายยกเว้น ถามว่าเราจะทำได้หรือไม่ เพื่อให้รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพกับเราได้
ดังนั้นต้องผลักดัน มีคนไม่น้อยที่ประสบปัญหาไม่กล้าพูดอะไรเพราะกลัวผิดกฎหมาย
4.เรื่องสถาบันและองคมนตรี ต้องจัดวางสถานะให้พ้นจากการเมือง
และ 5.รัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นมาใหม่นี้ ต้องเป็นรัฐธรรมนูญที่ตรงตามความต้องการของประชาชนทุกคน ผลักสังคมไทยไปข้างหน้า ให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
อรรถจักร สัตยานุรักษ์
คณะมนุษยศาสตร์ มช.
การ เมืองหลังรัฐธรมนูญปี"50 มีความพยายามสืบทอดอำนาจ ระบบราชการเองก็พยายามสร้างกฎเกณฑ์การรักษาอำนาจขึ้นเพื่อรักษาระบอบ ประชาธิปไตยครึ่งใบ
กระบวน 5 ปี เป็นการยื้ออำนาจของประชาธิปไตยครึ่งใบ และเป็นการรุกอำนาจของประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง
เช่น เดียวกัน เหตุการณ์ความรุนแรงปี"52-53 เป็นการยื้ออำนาจระหว่างประชาธิปไตยครึ่งใบกับประชาธิปไตย ทำให้ความเป็นชนบทกับเมืองไม่มีอีกแล้ว
สรุปได้ว่าการยื้อทางอำนาจไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยรวม เกิดความขัดแย้ง จำเป็นต้องคิดหาทางออก
ข้อเสนอของผม คือ
1.ปลด ล็อกและสร้างกติกาใหม่ ถ้าปล่อยให้ยื้อต่อไปโศกนาฏกรรมจะเกิดอีก การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยกลไกรัฐธรรมนูญปี"40 ทำให้สังคมไทยเคลื่อนไปสู่การตกลงง่ายขึ้น
เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการลงประชามติ ยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ จะเป็นทางออกที่ช่วยเปิดหน้าประวัติศาสตร์แก้ไขความขัดแย้ง
แต่ข้อกังวลคือ หากพรรครัฐบาลปัจจุบันมีความสุขกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลไกการร่างรัฐธรรมนูญ และ ส.ส.ร.จะไม่เกิด
2.สร้างแนวทางแก้ไขข้อขัดแย้งโดยให้สังคมตัดสินเพื่อไม่ให้เกิดรัฐประหาร
3.กลุ่ม สนับสนุนการเมืองต้องใจเย็น การรัฐประหารมีโอกาสเกิดขึ้นทั้ง 2 ฝั่ง ไม่ว่าฝั่งที่อยากรักษาประชาธิปไตยครึ่งใบ และฝั่งทหารแตงโม
แต่ถ้าทหารแตงโมจะทำรัฐประหาร เราต้องคัดค้านด้วย