WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 20, 2011

วิวาทะว่าด้วย"ความดี-คนดี" "บก.ลายจุด vs แทนคุณ" เมื่อจอมยุทธ์ฝ่ายธรรมะเจอโจร !!!

ที่มา มติชน






รับชมข่าว VDO ชมคลิป

เมื่อวันที่ 19 ก.ย. ได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ "รัฐประหารเปลี่ยนแปลงประเทศไทยอย่างไร" ณ ห้องจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งจัดโดยองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.)

โดยมีวิทยากรในการเสวนาได้แก่ ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี, นายแทนคุณ จิตต์อิสระ อดีตพิธีกรรายการโทรทัศน์และอดีตผู้สมัคร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์, นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ "บก.ลายจุด" ประธานมูลนิธิกระจกเงา และผศ.สุดา รังกุพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและพิธีการประจำรายการ "ที่นี่ความจริง" ทางช่องเอเชียอัพเดท โดยมี อ.ดร.วรรณภา ติระสังขะ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นพิธีกรดำเนินการเสวนา


นพ.ตุลย์กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และ "เราก็รู้ว่าการรัฐประหารก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างไรในโลกปัจจุบัน ซึ่งในต่างประเทศเขาจะไม่ยอมรับรัฐบาลที่มีการปฏิวัติรัฐประหาร" ก่อนจะเท้าความถึงการรัฐประหารที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์การเมืองไทยว่า "การรัฐประหารทุกครั้งจะมีข้ออ้างในการทำรัฐประหารว่า เพราะ นักการเมืองทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งจริงหรือเท็จทุกคนคงรู้อยู่แก่ใจดี ตอน รสช. สมัยรัฐบาลชาติชายก็อ้างว่า รัฐบาลเป็น บุฟเฟ่ต์คาบิเนต สมัยรัฐบาลทักษิณก็อ้างว่าเป็นเพราะมีการคอร์รัปชั่น"


"ผมยืนยันว่า รัฐประหารทุกครั้งที่เกิดขึ้น จะมีข้ออ้างที่ว่า การเมืองอ่อนแอและคนเริ่มเบื่อกับการเมืองที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง ส่วนตอน คมช.ก็มีการอ้างในเรื่องหมิ่นสถาบันเพิ่มเข้ามาด้วย"


นพ.ตุลย์กล่าวว่า "แล้วถ้าเกิดเราไม่อยากให้เกิดการปฏิวัติ รัฐประหารแล้วเราจะทำอย่างไร ถ้าเราคิดว่าการรัฐประหารไม่ดีกับประเทศชาติ เราต้องทำอย่างไรบ้าง เราก็ต้อง ปิดข้ออ้าง ของทหารสิครับ"


"ถ้าภาคประชาชนสามารถต่อรองกับภาคการเมือง และภาคการเมืองไม่ทุจริตคอร์รัปชั่นจนเกินสมควร เขาจะไม่มีข้ออ้างใดๆในการจะมาทำปฏิวัติรัฐประหาร"


"การรัฐประหารทุกครั้ง เขาจะดูสถานการณ์แล้ววิเคราะห์ ผมยืนยันว่าถ้าท่านนายกยิ่งลักษณ์บริหารบ้านเมืองได้ดี ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่โยกย้ายอะไรจนเกินงาม ก็จะไม่มีข้ออ้างใดๆที่ทำให้เกิดการรัฐประหาร" นพ.ตุลย์กล่าว





ส่วนนายแทนคุณ กล่าวว่า "รัฐประหารคือความอัปยศที่สุด" รัฐประหารเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากๆเพราะมันเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งที่มัน ซ้ำเติมปัญหาที่มีอยู่แล้ว"


"ถ้าเรามองย้อนกลับไปในข้ออ้างของผู้ที่ทำการรัฐประหาร เราจะเห็นว่าในข้ออ้างเหล่านั้นมีสมมติฐานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งก็คือการทุจริตคอร์รัปชั่น มีปัญหาความแตกแยก และมีปัญหาการล้มล้างสถาบันจริง แต่ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นอุปสรรคมากพอต่อการพัฒนาประชาธิปไตย แม้ว่าจะมีปัญหาเหล่านั้นอยู่ ก็ควรจะแก้ไปเรื่อยๆแล้วให้ประชาธิปไตยซึ่งเป็นระบอบใหญ่ที่ดีที่สุดจัดการ ไม่ใช่ว่ามาตัดตอนด้วยการรัฐประหาร ซึ่งเป็นการคิดสั้น" นายแทนคุณกล่าว


นายแทนคุณกล่าวต่อว่า สิ่งที่ตนอยากจะสะท้อนให้เห็นว่ายังเป็นปัญหาอยู่ในสังคมไทยก็คือ ปัญหาระหว่างประชาธิปไตยในอุดมการณ์ กับ ประชาธิปไตยในความหมายของผลประโยชน์ ซึ่งประชาธิปไตยมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของปากท้อง เป็นประชาธิปไตยที่กินได้ ประชาชนส่วนใหญ่ของเราต้องการนโยบายเพื่อปากท้อง เพื่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ในขณะเดียวกัน "absolute power corrupts absolutely"- ยิ่งมีอำนาจมาก คอร์รัปชั่นยิ่งมาก


"ผมพยายามมองไปข้างหน้าว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นอีก ทำอย่างไรให้ที่จะให้ ผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริงไม่ให้ผูกขาดอำนาจถึงแม้ว่าจะมาจากประชาชนเสียเอง แล้วก็ใช้อำนาจแบบเผด็จการอีกรูปแบบหนึ่ง รัฐประหารที่ผ่านมา กองทัพแตกแยกกับประชาชน แตกจากความเป็นประชาธิปไตย และแตกแยกกันเองเรื่องอุดมการณ์และผลประโยชน์"


"เสรีภาพที่มาจากสิทธิและการตัดสินใจของประชาชนต้องเป็นใหญ่กว่า" "เรามีประชาธิปไตยที่วุ่นวาย ย่อมดีกว่าเจ็บตายเพราะมีเผด็จการ" นายแทนคุณกล่าว


"คำถามในวันนี้คือ จะทำอย่างไรให้สิ่งที่เป็นปัญหา ซึ่งก็คือเรื่องของการตรวจสอบจากภาคประชาชนนั้นมีความเข้มแข็ง เพราะในระบบประชาธิปไตยเราไม่ได้เลือกคนที่จะมาเป็นนายเรา ที่เราจะไปตรวจสอบหรือเรียกร้องอะไรไม่ได้ หรือจะรักกันจนเรียกว่าลุ่มหลงจนไม่มองว่าถูกหรือผิด อันนี้ต่างหากที่ไม่ใช่ ที่มันมีกลไกอะไรบางอย่างที่มันบิดเบือนไป"


"ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้แปลว่าประชาชนด้อยคุณภาพหรือรู้เท่าไม่ถึง การณ์ แต่บางทีความรักมากๆ ถ้าเรารักใครสักคนมากๆ ต่อให้เป็นคนฉลาดแค่ไหน แต่เราก็พร้อมที่จะเห็นแต่ข้อดีของเขา แต่ในมุมมองของประเทศชาติบ้านเมือง ผมคิดว่ามันไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น"


นายแทนคุณกล่าวต่อว่า หากเราจะตรวจสอบคนที่ทุจริตคอร์รัปชั่น เราจะทำอะไรได้บ้าง เราจะร้องเรียนหน่วยงานต่างๆและเชื่อมั่นในหน่วยงานเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ ไหนว่าจะไม่ถูกแทรกแซงจากกระบวนการทางการเมือง


"คุณภาพของประชาธิปไตยต้องสัมพันธ์กับคุณภาพของประชาชนด้วย ผมขอเสนอทางออกคือ ให้ หนึ่ง ต้องปฏิรูประบบการศึกษา สอง กระบวนการการสร้างวุฒิภาวะทางประชาธิปไตยสำคัญมาก"


"สิ่งที่สำคัญกว่านั้นก็คือ รัฐประหารได้เกิดขึ้นแล้ว และผมเชื่อว่าเชื้อร้ายกำลังค่อยๆเน่าหมดไป แต่สิ่งที่มันเลวร้ายและเป็นต้นเหตุ เป็นรากเหง้า เป็นข้ออ้างที่ทำให้มันเกิดขึ้น ผมเชื่อว่าไม่เพียงแต่ยังไม่หมด แต่อยู่ในช่วงบูรณาการ"


"เผด็จการทหารจบ อาจมีเผด็จการความคิดบางอย่างอาจจะเกิดขึ้นใหม่แทน และมันอาจจะรุนแรงไม่น้อยกว่ากัน"


"ผมเองก็ไม่เห็นด้วยกับการที่มีการยุบพรรคซึ่งเป็นกฏหมายที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติ และกฏหมายไม่ควรจะใช้ย้อนหลัง"


"สุดท้ายนี้ สิ่งที่ผมอยากจะเห็นก็คือ การทุจริตคอร์รัปชั่นได้หมดไป" นายแทนคุณกล่าว





ทางด้านผศ.สุดา กล่าวว่า ความรุนแรงที่กล่าวอ้างโดยคณะรัฐประหารว่า "จะกระทำการนี้เพียงเพื่อจะยึดอำนาจจากรัฐบาลที่ทุจริตคอร์รัปชั่น" ได้ทำให้กระบวนการยุติธรรมไทยต้องเสียหายย่อยยับ นอกเหนือไปจากการที่ต้องมีผู้เสียชีวิตมากมาย


"กระบวนการยุติธรรมถูกทำลายด้วยข้ออ้างตุลาการณ์ภิวัฒน์ ซึ่งถูกอ้างโดยกลุ่มคนที่สนับสนุนการทำรัฐประหาร เพื่อจะให้เกิดความชอบธรรมว่ากระบวนการยุติธรรมจะมาเป็นผู้ตัดสินใจแทน ประชาชน โดยอ้างว่าตุลาการณ์ภิวัฒน์มีความเที่ยงตรง เป็นกลางกว่าประชาชน คำพูดที่ว่า "การยุบสภาไม่สามารถแก้ปัญหาได้" คือข้อกล่าวอ้าง บัดนี้ 5 ปีมาแล้ว เราได้เห็นกระบวนการยุติธรรมไทยเสียหายย่อยยับ มีกฏหมายเหมือนไม่มีกฏหมาย มีบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมก็เหมือนไม่มี"


"กฏหมายที่เคยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้ที่ยึอำนาจจากประชาชนไป กฏหมาย บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมได้ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า หลัก ยุติธรรมที่บอกว่า ทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์จนจะมาถึงการพิสูจน์ ว่าผิดจริงในขั้นที่สุด บัดนี้มันได้พลิกกลับมาเป็นอีกด้านหนึ่ง ประชาชนกลุ่มหนึ่งที่เรียกร้องประชาธิปไตยถูกตีตราว่าเป็นผู้ผิด จนกว่าจะถูกพิสูจน์ได้ว่าถูก"


ผศ.สุดาเสนอว่า อยากให้รัฐบาลใหม่ที่มาจากเสียงของประชาชนได้ปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมไทยทั้งหมดให้เกิดความเป็นธรรมอย่างแท้จริง


นอกจากนี้ ผศ.สุดายังได้พูดถึง คำพูด "นักการเมืองคอร์รัปชั่น" ของนพ.ตุลย์ว่า "สิ่งที่คุณตุลย์ออกมาพูดมีความคล้ายกันกับวาทกรรมที่ถูกใช้ปูพื้นเพื่อจะไป สู่การรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ซึ่งก็คือวาทกรรมที่ว่า "คอร์รัปชั่น นักการเมืองโกงกิน เผด็จการรัฐสภา"


"วาทกรรมชุดนี้แหละที่ถูกหยิบยกขึ้นมาโดยกลุ่มนักวิชาการบางกลุ่ม ทำให้เห็นด้านเดียวของปัญหาของการบริหารงานของรัฐบาล แม้แต่คำว่า คอร์รัปชั่นก็เกิดคำใหม่ๆเช่น "คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย" คำนี้ที่จริงแล้วก็คือนโยบาย แล้วเราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคำว่า "ประชานิยม" ถูกทำให้เป็นผู้ร้ายตัวสำคัญ"


""รัฐประหาร" คำว่า "ประหาร" แปลว่า ฆ่า ฆ่ารัฐ ก็คือฆ่าประชาชน คือการยึดอำนาจที่เป็นความชอบธรรม ที่เป็นอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปจากประชาชน และเขาได้สร้างความเสียหายให้ประชาชนทั้งประเทศ" ผศ.สุดากล่าว





ทางด้านนายสมบัติ หรือ "บ.ก.ลายจุด" กล่าวว่า ตนเชื่อว่าคนจำนวนมากได้บทเรียนจากการรัฐประหาร 23 กุมภา 2534 และเหตุการณ์พฤษภานองเลือด 2535 ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหารดังกล่าว


"เมื่อถามว่า รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้เปลี่ยนอะไรในประเทศไทยไปบ้าง ผมตอบว่า ′มันเปลี่ยนจากหน้ามือ- ผมไม่ได้บอกว่าเป็นมือที่สะอาดนะ มันเปลี่ยนมือที่มันไม่สะอาดนัก มือที่มันหม่นๆมีฝุ่นมีสิ่งสกปรกติดอยู่ ไปเป็นหลังเท้าเขียวๆ′ เพราะรัฐประหารก็คือการปกครองโดยทหารเป็นใหญ่"


"มันไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่ไหน ที่ทหารออกมาแสดงความเห็นทางการเมืองแบบนี้ มันไม่มี ประเทศเรานี่มันผิดปรกติอยู่มากๆ"


นายสมบัติกล่าวว่า รัฐประหารครั้งดังกล่าวได้เปลี่ยนความคิดประเภท "ช่างมันฉันไม่แคร์" เปลี่ยนจากคนที่นิ่งเฉย ไม่เป็นไร ให้ออกมาสู่ท้องถนน "มันทำให้คนตื่น คนที่หลับใหลมันตื่น ตั้งคำถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น"


นายสมบัติกล่าวต่อว่า รัฐประหารได้เปลี่ยนเสรีภาพของประชาชนที่จะแสดงความคิดเห็นเป็น "ภัยความมั่นคง" เปลี่ยนจากรัฐธรรมนูญของประชาชนเป็นรัฐธรรมนูญของรัฐประหาร


"วันนี้มีใครที่กล้าบอกว่าตนเห็นด้วยกับรัฐประหาร แม้แต่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังบอกว่าไม่เห็นด้วยเลย แม้แต่สนธิ บุญยรัตกลิน แม้แต่ผู้ที่เป็นผู้กระทำเอง นี่เป็นเรื่องน่าสนใจที่หัวหน้าคณะรัฐประหารมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แล้วลงสมัครรับเลือกตั้ง แล้วก็ได้ด้วย มันอาจจะเป็นภาพที่ดูขำๆอยู่บ้าง แต่นี่เป็นตลกร้าย"


นายสมบัติกล่าวว่า มันจะต้องเกิดสถานการณ์ที่คนในสังคมจะต้องมาดีเบตกันในเรื่องนิยามของคำว่า ประชาธิปไตย เพราะประเทศเรายังไม่เคยมาดีเบตเรื่องนี้กันอย่างจริงๆจังๆ สิ่งที่ทั้งสองฝ่ายกำลังดีเบตกันอย่างแรงเลยคือในเรื่อง "นิยามความหมาย" ของคำว่าประชาธิปไตย: "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" "แนวร่วมประชาชนต่อต้านเผด็จการ" "สิ่งเหล่านี้คือการดีเบตกันว่า คำว่าประชาธิปไตยมันจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร มันจะมีองค์ประกอบเป็นอะไร ตนคิดว่านี่คือจังหวะที่เราต้องมาดีเบตกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเสียหายเลย ตนคิดว่านี่เป็นกระบวนการสำคัญและไม่ควรมองข้าม


นายสมบัติกล่าวว่า "เราไม่ควรใช้คำว่า "ปรองดอง" ประหนึ่งแปลว่า "หุบปาก"


"แต่คำว่าปรองดองมันควรมีความหมายว่า หนึ่ง เรารับฟัง สอง เรายอมรับที่จะให้มีความแตกต่างดำรงอยู่ในสังคม สาม เราจะตีกรอบขีดวงไว้ ไม่ให้ความแตกต่างมันลุกลามไปเป็นการฆ่าฟันกัน "เราจะไม่อนุญาตให้ใครฆ่าใคร ทำร้ายใคร ด้วยเหตุผลที่ว่าเราคิดต่างกันอย่างสุดขั้ว′ "


นายสมบัติกล่าวในเรื่องคอร์รัปชั้นของนักการเมืองว่า "หนึ่ง คนที่คอร์รัปชั่นไม่ได้มีแค่นักการเมือง ข้าราชการก็ไม่เบา ทุกยุคทุกสมัยมีสิ่งเหล่านี้ แต่ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้แปลว่ายอมรับนะครับ แต่คำถามก็คือ หากมันเป็นเงื่อนไขที่เป็นวิทยาศาสตร์ เหตุไฉน มันไม่มีการรัฐประหารทุกสมัย ทุกรัฐบาล"


"เราต้องถอดบทเรียนเรื่องนี้อย่างจริงๆจังๆ มิฉะนั้นเราจะวิเคราะห์ผิด เราต้องพูดถึง หรือคำนึงถึงพลังต่างๆที่มีอยู่ในสังคมไทยที่กระทบต่อขบวนการพัฒนา ประชาธิปไตยไทย และผมหวังว่า เราจะสร้างประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งโดยมีประชาชนเป็นพื้นฐาน"


"อย่าไปคาดหวังกับนักการเมืองอะไรมากครับ" นายสมบัติกล่าว


"คนดี" "ความดี"


นายสมบัติกล่าวว่า"วิกฤตินี้เป็นวิกฤติของคนที่คิดว่าตัวเองเป็น คนดี "


"คือนอกจากเราจะเถียงกันเรื่องประชาธิปไตยแล้วยังมาเถียงกันว่าอะไร "ดี" แต่มีเงื่อนไขนะ เวลาที่เราเถียงกันว่าอะไรคือ "ความดี" หรืออะไรคือ "คนดี"


"มันมีจอมยุทธ์ หรือฝ่ายธรรมะที่รวมหัวกันว่าในยุทธจักรเรานี่มีผู้ร้าย พวกเราต้องรวมตัวกันแล้วไปกวาดล้างให้ยุทธจักรเราขาวสะอาด พอไปถึงเจอโจรปุ๊บ โจรถึงขนาดโอดครวญว่า "โอ้โห นี่หรือท่านจอมยุทธ์ฝ่ายธรรมะ ทำไมท่านถึงได้โหดเหี้ยมได้ขนาดนี้"


"คนที่มาบอกว่าคนอื่นเลวร้ายมันไม่ได้แปลว่าเขาเป็นคนดี มันไม่ได้แปลว่าระบบการเมืองที่มันคอร์รัปชั่น มันเน่า มันโกงเรา แล้วไอ้วิธีการรัฐประหารนี่มันถูกต้อง มัน"ดีกว่า" ดังนั้นเวลาที่เรากำลังดีเบตกัน เรากำลังสร้างชุดการเรียนรู้ที่ว่าด้วย "ความดี" และ "คนดี"


นายสมบัติกล่าวว่า สังคมต้องยอมให้มีการดีเบต ยอมให้มีการตรวจสอบ "ยอมให้มีแสงสว่างเข้าถึง มันต้องตรวจสอบได้ เราต้องเอา ความดี ทั้งหลายมาวางบนโต๊ะ แล้วคุยกันจริงๆ "


"มันเป็นเรื่องการเถียงกันถึงวิธีการปกครอง หรือเทคโนโลยีการปกครองทางการเมืองว่า เทคโนโลยีไหนที่เหมาะกับประเทศไทยมากที่สุด หรือในเรื่องของ "ประชาธิปไตยแบบไทยๆ" ซึ่งเราก็ต้องมาเถียงกันว่าไอ้ประชาธิปไตยแบบไทยๆนี่มันดีกว่ายังไง มันต้องเปิดโอกาสให้มีการพูดถึงรูปแบบของประชาธิปไตยทุกรูปแบบ มันควรมีเสรีภาพที่เราจะมาคุยกัน แค่คุย ถ้ามันเริ่มไม่ได้ มันก็แย่แล้ว ผมคิดว่าเราไม่ไปไหน เราไปไหนไม่ได้"


"ทางออกคือทุกคนต้องไปทางของประชาชน ชี้ไปประชาธิปไตยเท่านั้น ที่มันวุ่นวายขนาดนี้เพราะมันชี้ผิดทาง"


นายสมบัติยังได้กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ ทหารเองก็ต้องปรับทัศนคติ "แต่ผมเข้าใจนะ ว่าเท่าที่ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยที่ผ่านมา ทหารเป็นชนชั้นนำในสังคม เป็น "elite" ซึ่งเชื่อว่าประเทศอยู่ได้เพราะคนอย่างพวกเขานี่แหละ ซึ่งในอดีต ชุดความเชื่อแบบนี้ก็อาจจะพอไปได้บ้าง แต่ว่ามันอธิบายโลกอนาคตไม่ได้เลย"


"ต้องปรับทัศนคติตรงนี้ก่อน สองคือต้องลดพื้นที่ในการพูด ให้คนพวกนี้พูดน้อยลงโดยเฉพาะในทางการเมือง และสาม แล้วต้องตรวจสอบได้ ทหารนี่ต้องตรวจสอบได้ เอาไฟฉายส่องลงไปเลย เอาให้ชัด ทหารที่บอกว่าออกมาต่อต้านคอร์รัปชั่นเนี่ยเป็นอย่างไร"





นายแทนคุณได้กล่าวถึงเรื่อง "ความดี" ต่อจากความเห็นต่อ "ความดี" ของนายสมบัติว่า


"ผมคิดว่า ความหมายของคำว่าความดี ไม่ได้มีความหมายเพื่อโจมตีคนอื่นว่าเลวร้าย แต่มีความหมายเพื่อขัดเกลา แล้วก็ลดทอนความเห็นแก่ตัวของเราลง เมื่อไหร่ที่เรารู้สึกว่าเราดี แสดงว่าเรายังไม่ดี แต่แน่นอนว่าเราก็ต้องทำความดีต่อไป เพราะความดีไม่ใช่ทำให้เราได้ดี แต่มันคือดีที่ได้ทำ"


"สังคมที่คนมีวิริยะอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร มีวัฒนธรรม เคารพระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด อย่างญี่ปุ่น แต่บ้านเรานี่ค่อนข้างจะเป็นสังคม emotional society เป็นสังคมอารมณ์นิยม ตั้งแต่ละครที่ปลุกเร้าอารมณ์ ความสุขที่เกิดขึ้นคือความสุขแบบสะใจ แต่ในการแก้ปัญหาวิกฤติบ้านเมือง การนำเอาความสะใจมาใช้ไม่ช่วยอะไร เรากำลังพูดถึงการแก้ปัญหา มิใช่กระทำซ้ำเติมปัญหาที่มันเกิดขึ้น"


"ประชาธิปไตยคือระบบการปกครองที่สำคัญที่สุดที่ประชาชนเป็นใหญ่ แต่จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีคุณภาพและขับเคลื่อนประชาธิปไตยที่มีคุณภาพได้ ผมคิดว่านี่คือหน้าที่ของเราทุกคน" นายแทนคุณกล่าวทิ้งท้าย