WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 19, 2011

สิทธิธรรมเหนือสิทธิเสรีภาพ, แหล่งอำนาจและรากเหง้าของปัญหาสังคมการเมืองไทย

ที่มา ประชาไท

สิทธิธรรมคือ การใช้อำนาจเหนือชีวิตและความตายของผู้คนโดยอ้างแหล่งที่มาของอำนาจมาจากที่ ใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น สายเลือดศักดิ์สิทธิ์ สมมติเทพ ทศพิธราชธรรม เทวราชา ศาสนจักร วิมุติภาวะ หรือความดีงามความชอบธรรมอื่นใด

สังคมการเมืองของมนุษย์ในยุคก่อนสมัยใหม่คือสังคมที่ปกครองด้วยสิทธิธรรม

รัฐที่ปกครองโดยศาสนา ก็คือ รัฐที่ปกครองด้วยสิทธิธรรมโดยอ้างอิงแหล่งอำนาจตามความเชื่อทางศาสนา

รัฐที่ปกครองโดยกษัตริย์ ก็คือ รัฐที่ปกครองด้วยสิทธิธรรมโดยอ้างอิงแหล่งอำนาจจากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโดยสายเลือดของบรรพบุรุษ โดยความเชื่อมโยงกับพระเจ้า โดยความเชื่อมโยงกับพระพุทธเจ้า โดยความเชื่อมโยงกับเทวดา หรืออำนาจเหนือมนุษย์ใด ๆ ก็ตามแต่จะรังสรรค์ขึ้นมา

กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนับแต่รัชกาลที่ ๑ ถึง รัชกาลที่ ๔ นั้นอ้างอิงแหล่งอำนาจตามจารีตของอยุธยาที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ประกอบไปด้วยอำนาจพระพุทธเจ้า อำนาจเทวดา อำนาจผี และเพิ่มอำนาจจากทศพิธราชธรรม ประกอบกับอำนาจชนเผ่าก่อนอารยธรรม คืออำนาจของกำลังที่เหนือกว่าผู้ปราบยุคเข็ญของความไร้ระเบียบ (กรุงแตก) และกอบกู้ระเบียบใหม่รวบรวมบ้านเมืองกลับมาให้เป็นปึกแผ่นได้ เรื่องเล่าเกี่ยวกับสัญญาวิปลาสของพระเจ้าตากและจลาจลเมื่อครั้งกรุงธนบุรี มีหน้าที่ทำให้เห็นว่า ความไร้ระเบียบตั้งแต่ครั้งกรุงแตกยังไม่จบสิ้น แต่จบสิ้นก็ต่อเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากระษัตรศึกเสด็จกลับมาปราบจลาจล และขึ้นเถลิงอำนาจสถาปนากรุงขึ้นใหม่ให้วัฒนาสถาวรสืบไปชั่วกัลปาวสาน

ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๔ เมื่อกรุงรัตนโกสินทร์ต้องเผชิญกับอำนาจของตะวันตกที่มาพร้อมกับแสนยานุภาพที่เหนือกว่า

ทำให้เวลาต่อมารัชการที่ ๕ ต้องปรับตัวในการอ้างอิงแหล่งอำนาจด้วยการอ้างแหล่งอำนาจใหม่สมทบเพิ่มเข้า มา และนั่นคือ “ความเป็นสมัยใหม่”

การเสด็จประพาสยุโรป การเลิกทาส การสถาปนาสถาบันการศึกษา และการสร้างถนน รางรถไฟ และความก้าวหน้าอื่น ๆ ทั้งมวลล้วนคือการสถาปนาสิทธิธรรมของผู้สามารถเข้าถึง “ความเป็นสมัยใหม่” ก่อนใครในสยาม

เป็นอุบัติการณ์ที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงหลักการของคานท์ เมื่อตัว “ความเป็นสมัยใหม่” เองกลายเป็นแหล่งอ้างอิงของการใช้สิทธิธรรมที่เหนือกว่า ทั้งที่การกำเนิดขึ้นของสมัยใหม่คือการปฏิเสธสิทธิธรรมทั้งมวลที่มีมาก่อน หน้า

ความสว่างคือการปลดปล่อยคนออกจากตัวตนแห่งความเสื่อม ซึ่งอยู่ในโอวาท การอยู่ในโอวาทของคนคือความไม่สามารถที่จะมีความเข้าใจโดยปราศจากการชี้นำ จากผู้อื่น ตัวตนอันเสื่อมสภาพนี้คือสิ่งที่อยู่ในโอวาทและมันก่อให้เกิดความลวง ไม่ใช่เพราะไม่สามารถใช้เหตุผล แต่เพราะขาดไร้ซึ่งการตัดสินใจและความกล้าหาญที่จะใช้เหตุผลโดยปราศจากการ ชี้นำของผู้อื่น ซัปเออเร ออเด! “จงกล้าที่จะใช้เหตุผลของคุณเอง” – นั่นคือคำขวัญของความสว่างทางปัญญา [1]

หลักการของยุคแสงสว่างอันเป็นยุคซึ่งให้กำเนิดความเป็นสมัยใหม่ คือ จงกล้าที่จะรู้! จงกล้าที่จะใช้เหตุผลของตนเอง!! เพราะเหตุว่า มนุษย์เกิดมาเสรี แต่เขาถูกพันธนาการอยู่ทุกแห่งหน [2] สิ่งที่คนสมัยใหม่จะต้องตระหนักก่อนสิ่งอื่นใดก็คือ เขาเกิดมาพร้อมกับสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องอยู่เหนือสิทธิธรรมทั้งหมดทั้งปวงไม่ว่าสิทธิธรรมนั้นจะ อ้างอิงแหล่งอำนาจใดก็ตาม มนุษย์ต้องยอมตัดใจจากการพึ่งพิงสิทธิธรรมซึ่งอ้างแหล่งที่มาจากสิ่งเหนือ มนุษย์ และต้องก้าวเดินต่อไปด้วยขาของตนเอง พร้อมกับเสรีภาพและหน้าที่ซึ่งวางอยู่บนบ่า

อำนาจเพียงหนึ่งเดียวที่สามารถบังคับสิทธิเสรีภาพของมนุษย์ได้ก็คืออำนาจ ของรัฏฐาธิปัตย์ ซึ่งต้องมาจากเจตจำนงร่วมของคนทั้งสังคม อันบังเกิดและเป็นไปก็เพื่อรับรองและปกป้องสิทธิเสรีภาพแต่กำเนิดของมนุษย์ มิให้ถูกละเมิดด้วยสิทธิธรรม หรืออำนาจโบราณก่อนอารยธรรมเช่นการใช้กำลังที่เหนือกว่า ผู้แข็งแรงที่สุดไม่เคยแข็งแรงพอที่จะเป็นนายได้ตลอดไป ถ้าเขาไม่แปลงกำลังของตนไปเป็นสิทธิ และทำให้การเชื่อฟังตนกลายเป็นหน้าที่ [3]

แม้แต่ผู้แข็งแรงก็ต้องสมัครใจยอมรับอำนาจของเจตจำนงร่วม ด้วยเหตุว่าเขาเองก็อาจถูกสังหารในยามหลับ รัฏฐาธิปัตย์คือเจตจำนงร่วม และเหตุที่มันมีอำนาจเหนือชีวิตและความตายของผู้คนก็เพราะว่ามันคือสิทธิ เสรีภาพของคนทั้งสังคมซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพที่ใหญ่กว่าคนเพียงคนเดียว และคนแต่ละคนยอมเข้ามาอยู่ใต้อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ก็ด้วยเหตุของการยอมรับ การปกป้องคุ้มครองจากสิทธิเสรีภาพที่มีพลังกว่าของตนเพียงลำพัง เพื่อว่าตนจะไม่ถูกล่วงละเมิดจากสิทธิธรรม หรืออำนาจก่อนอารยธรรม

บ่อเกิดของความเป็นสมัยใหม่จึงไม่ใช่การเลิกทาส ไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่ใช่รัฐสภา ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรือกลไฟ ไม่ใช่ไฟฟ้า ไม่ใช่ถนน ไม่ใช่รถไฟ ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างใด ๆ ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้นนอกจากการตระหนักว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความเท่าเทียมกันในสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจะต้องไม่ถูกล่วงละเมิด

อำนาจเดียวที่คนสมัยใหม่ยอมอยู่ในบังคับก็คืออำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ซึ่ง อ้างอิงแหล่งอำนาจจากสิทธิเสรีภาพของคนทุกคนในสังคมที่ยอมเข้ามาอยู่ใน บังคับนั้นเอง ดังนั้นสิทธิเสรีภาพจึงเป็นแหล่งอำนาจโดยตัวของมันเอง และเป็นแหล่งอำนาจแหล่งเดียวเท่านั้นที่โลกสมัยใหม่ยอมรับ

แต่การณ์ที่บังเกิดในสังคมไทยกลับกลายเป็นว่า “ความเป็นสมัยใหม่” ได้กลายเป็นแหล่งอำนาจให้กับการใช้สิทธิธรรมเข้าบังคับชีวิตและความตายของ ผู้คน โดยที่สิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมของมนุษย์ไม่เคยดำรงอยู่ หรือกล่าวอีกทางได้ว่า ผู้ปกครองได้แปลง “ความเป็นสมัยใหม่” ให้กลายเป็นนามธรรมเหนือมนุษย์เช่นเดียวกับ พระพุทธเจ้า, เทวดา, ผี เพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงอำนาจ และบังคับใช้สิทธิธรรมต่อไปในลักษณาการที่โดยแก่นแท้แล้วไม่ผิดไปจากเดิม เพียงแต่ปรุงแต่งโฉมหน้าของอำนาจขึ้นใหม่ให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของสมัย ใหม่

ความเป็นสมัยใหม่ในสังคมไทยจึงเป็นเพียงองค์จำแลงที่สามารถเป็นบ่อเกิด ของอำนาจได้ในตัวของมันเอง โดยที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมที่เป็นต้นกำเนิด เป็นหลักการ และสาระสำคัญที่สุดของความเป็นสมัยใหม่ที่แท้จริงแม้แต่น้อย

แต่แม้ว่าความเป็นสมัยใหม่จะกลายเป็นแหล่งอำนาจของสิทธิธรรมตามที่กล่าว มาแล้ว ก็ไม่อาจปกปิดและค้ำจุนความอ่อนแอที่เกิดจากการสืบทอดสิทธิธรรมได้ เมื่อเปลี่ยนรัชกาลจากรัชกาลที่ ๕ มาสู่ที่ ๖ และมาสู่ที่ ๗ ในที่สุดผู้คนจำนวนหนึ่งก็ได้เห็นแล้วว่า องค์จำแลงก็คือองค์จำแลง มันหาได้เป็นตัวตนที่แท้จริงของความเป็นสมัยใหม่ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ จึงบังเกิดขึ้น

แต่ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุของเคราะห์กรรมอันใดก็ตาม คณะราษฎร์กลับหลงลืมประเด็นสำคัญที่สุดจนทำให้เกิดการยินยอมให้มีการแก้ไข ข้อความเล็กน้อยในรัฐธรรมนูญ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยเติมคำว่า “ชั่วคราว” ลงไป [4] จนกระทั่งนำไปสู่รัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕

สาระสำคัญที่สุดของเหตุการณ์นี้ไม่ใช่เนื้อหาของตัวรัฐธรรมนูญ แต่เป็นปัญหาของแหล่งกำเนิดของรัฐธรรมนูญ การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม คือการเปิดพื้นที่เล็ก ๆ ให้กับสิทธิธรรมที่มีมาแต่เดิม จนกระทั่งก่อให้เกิดการบิดเบือนเหตุการณ์ทางสังคมการเมือง และนำไปสู่การบิดเบือนอำนาจทางการเมือง การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญ หรือแหล่งที่มาของรัฐธรรมนูญกลายเป็น “การต่อรอง” ระหว่างกษัตริย์กับคณะราษฎร์ หรือกระทั่งเป็นการ “มอบให้” ของกษัตริย์ไปในที่สุด

การที่รัฐธรรมนูญซึ่งเปรียบเสมือนกายที่จับต้องได้ของเจตจำนงร่วมได้กลาย เป็นสิ่งที่พระราชทานมาจากกษัตริย์นั้น มีความหมายเท่ากับ การยินยอมให้สิทธิธรรมที่มีมาแต่เดิมดำเนินสืบต่อไป แม้ว่ารัฐธรรมนูญนั้นจะผูกมัดไว้ซึ่งกษัตริย์ให้ต้องปฏิบัติตาม มันก็เป็นเพียงการล่ามโซ่สิทธิธรรมก่อนสมัยใหม่ไว้ชั่วคราว รอคอยวันที่โซ่ขึ้นสนิมและสิ่งที่ถูกล่ามไว้จะหลุดออกมาอีกครั้ง

“มนุษย์เกิดมาเสรี แต่เขาถูกพันธนาการอยู่ทุกแห่งหน” หมายความว่า ไม่มีใครสามารถมอบเสรีภาพหรือความเท่าเทียมให้กับมนุษย์ได้ แม้แต่สิทธิธรรมที่อ้างว่ามาจากพระเจ้า สิทธิเสรีภาพของมนุษย์มีอยู่แล้วในตัวของมนุษย์เอง ไม่ใช่สิ่งที่ได้รับมอบจากใครทั้งนั้น นี่คือสำนึกเบื้องลึกของความเป็นสมัยใหม่ที่แท้จริง แต่มนุษย์ถูกพันธนาการอยู่ทุกแห่งหน หมายความว่า เขาถูกผูกมัดไว้ด้วย “หน้าที่” ในอันที่จะต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมดังกล่าวไว้ในนามของเจต จำนงร่วม เพื่อมิให้ถูกละเมิดโดยสิทธิธรรมหรืออำนาจอนารยะใด

สิ่งที่ทำให้คณะราษฎร์ต้องพลาดหวัง คือการไม่ได้ “ยกเลิก” สิทธิธรรมอย่างถาวร และสร้างสังวรให้สังคมไทยมองเห็นอย่างแท้จริงว่า สิทธิธรรมไม่ใช่สิทธิธรรมอีกต่อไป มันไม่มีความชอบธรรมที่จะมาอ้างใช้อำนาจบังคับเหนือชีวิตและความตายของผู้คน อีกต่อไป อำนาจเดียวที่คนจะยอมรับคืออำนาจจากเจตจำนงร่วม และเหตุที่เจตจำนงร่วมมีอำนาจก็เพราะมนุษย์แต่ละคนล้วนเกิดมาพร้อมกับสิทธิ เสรีภาพเท่าเทียมกัน หากไม่มีสิทธิดังกล่าวก็ไม่มีเจตจำนงร่วม เพราะนั่นหมายความว่า มนุษย์ยังไม่ได้เป็นมนุษย์ มนุษย์จะเป็นมนุษย์อย่างแท้จริงได้ต้องตระหนักใน “เจตจำนงเสรี” ของตน ซึ่งมาพร้อมกับ “ความรับผิดชอบ” การอ้างสิทธิธรรมคุณงามความดีต่าง ๆ มาบงการบังคับใช้อำนาจเหนือมนุษย์อื่น คือการทำให้มนุษย์กลายเป็นทาส เป็นเด็ก เป็นคนที่ไม่โต สิทธิธรรมเหล่านี้มีได้ตามวัฒนธรรม หรือจารีตประเพณี หากแต่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของสิทธิเสรีภาพแต่กำเนิด อันเป็นสิทธิเสรีภาพจริงแท้ นี่คือแหล่งอำนาจเดียวของรัฏฐาธิปัตย์ในโลกสมัยใหม่

ในเมื่ออำนาจบังคับเหนือชีวิตและความตายของสิทธิธรรมไม่ได้ถูกยกเลิก อย่างถาวร คนยังไม่ตระหนักอย่างแท้จริงว่าตนมีสิทธิเสรีภาพ และมีหน้าที่ในการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ความเป็นสมัยใหม่ก็เป็นเพียงองค์จำแลงและแหล่งอ้างอิงให้กับการใช้อำนาจที่ ไม่มีความชอบธรรมต่อไป โดยมิได้สังวรเลยว่า รัฐสภาก็ดี รัฐธรรมนูญก็ดี รัฐบาลก็ดี ศาลก็ดี กฎหมายก็ดี องค์กรอิสระก็ดี สถาบันทางสังคมการเมืองทั้งหมดเหล่านี้และอื่นใด หรือแม้แต่ประชาชนเองก็ดี มีหน้าที่เบื้องต้นคือต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้คน ไม่ใช่เพราะว่ามันเป็นสิ่งดีงาม แต่เพราะว่ามันคือแหล่งอำนาจต้นกำเนิดเพียงแหล่งเดียวของตัวสถาบันนั้น ๆ และตัวคน ๆ นั้นเอง

เผด็จการมักกล่าวอ้างชาตินิยมเพื่อรักษาอำนาจ แต่แหล่งอำนาจของเผด็จการอยู่ในอนาคตเสมอ

เผด็จการคือรูปแบบการปกครองก่อนสมัยใหม่ที่อยู่ในโลกสมัยใหม่ได้ด้วยการ อ้างแหล่งอำนาจจากอุดมคติ หรืออีกนัยหนึ่งคือสัญญาซึ่งสิทธิเสรีภาพความเท่าเทียมที่จะมาถึงในวันข้าง หน้า หากแต่แท้แล้วเป็นอนาคตที่ไม่เคยมาถึง

นโปเลียนอ้างสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคแห่งสาธารณรัฐในการคงอำนาจและทำ สงครามทั่วยุโรป ฮิตเลอร์ใช้ชาตินิยมในการครองอำนาจและเป็นพลังในการทำสงครามขยายอำนาจ

เหตุใดการปฏิวัติคิวบาจึงไม่นำไปสู่ประชาธิปไตย ไม่ใช่เพราะสัญญาที่ไม่เคยมาถึงหรอกหรือ

เหตุการณ์ในพม่าคือการซื้อเวลาและต่อสัญญาไปไม่จบสิ้นใช่หรือไม่

เผด็จการไทยหลังจอมพล ป. เป็นต้นมาอาจจะเป็นกรณีที่ไม่พบบ่อยนัก เนื่องจากเป็นเผด็จการที่อ้างสิทธิธรรมแบบก่อนสมัยใหม่ผสมกลมกลืนไปกับองค์ จำแลงของความเป็นสมัยใหม่

ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน จะต้องมีการอ้างนักการเมืองคอรัปชั่น และอ้างชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ของรัฐบาลเผด็จการทหารนั้นอ้างใช้แหล่งอำนาจที่ หลากหลาย ประการที่หนึ่ง คือ ความเป็นผู้ปราบคอร์รัปชั่น หรือผู้กวาดล้างความไม่ดี ซึ่งหมายความอีกนัยว่า สัญญาถึงอนาคตที่จะดีขึ้น การอ้างแหล่งอำนาจจาก “สัญญา” นี้คือการอ้างแหล่งอำนาจจากอนาคตอันเป็นลักษณะของเผด็จการโดยทั่วไป

ประการที่สอง พร้อมกันนั้นก็เป็นการบอกให้รู้ว่า คณะเผด็จการนี้จะอยู่เพียง “ชั่วคราว” เท่านั้น เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อชำระสะสางนักการเมืองเลว เพื่อซักฟอกระบบ เพื่ออะไรก็ตามแต่จะอ้าง โดยที่ความรู้สึก “ชั่วคราว” นี้ผูกพันกับ “สัญญา” ในประการที่หนึ่ง และก่อให้เกิดความชอบธรรมอีกลักษณะหนึ่ง

ประการที่สาม ทุกครั้งที่มีการรัฐประหารก็จะมีการอ้างสถาบันกษัตริย์ในการทำรัฐประหาร ไม่ว่าจะเป็นการอ้างความจงรักภักดี หรืออ้างว่าสถาบันถูกล่วงละเมิด โดยที่ไม่มีแม้แต่ครั้งเดียวที่สำนักพระราชวังออกมาท้วงติง ปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ แม้แต่การรัฐประหารล่าสุดเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นอกจากไม่มีการปฏิเสธแล้ว ต่อมาภายหลังในสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช เมื่อกรรมาธิการองค์การตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน และกองทุนสภาผู้แทนราษฎร เรียกเลขาธิการ ป.ป.ช.เข้าชี้แจงในกรณีไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สำนักราชวังก็ได้มีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ป.ป.ช.ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะยึดอำนาจ และถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์ผู้มีอำนาจเด็ดขาดขณะนั้น

ดังนั้นสิทธิธรรมของกษัตริย์ซึ่งเป็นแหล่งอำนาจก่อนสมัยใหม่ จึงได้กลายเป็นแหล่งอ้างใช้อำนาจของระบอบเผด็จการในไทยมาโดยตลอด โดยอีกนัยหนึ่งคือการต่อสัญญาให้กับสิทธิธรรมก่อนสมัยใหม่ไปไม่สิ้นสุด

อ้างอิง:

  1. Immanuel Kant, Answering the question: What is Enlightenment?, 1784
  2. ฌอง ฌากส์ รุสโซ, สัญญาประชาคม หลักแห่งสิทธิทางการเมือง แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ทับหนังสือ: กรุงเทพฯ, 2550. น. 3
  3. ฌอง ฌากส์ รุสโซ, สัญญาประชาคม หลักแห่งสิทธิทางการเมือง แปลโดย วิภาดา กิตติโกวิท. ทับหนังสือ: กรุงเทพฯ, 2550. น. 8
  4. ดู ณัฐพล ใจจริง, “ราชธรรมนูญ” กับ “ราษฎร์ธรรมนูญ” : ปัญหากำเนิด “ระบอบรัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งของขนาดพระราชอำนาจหลังการปฏิวัติ. (http://thaienews.blogspot.com/2010/12/blog-post_4154.html)