WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, September 19, 2011

แก้รธน.ลบรัฐประหารโมฆะคำสั่ง-ประกาศ-คำตัดสิน-เอาผิดฐานกบฏ

ที่มา thaifreenews

โดย bozo



คณะนิติราษฎร์ นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ออกแถลงการณ์
เรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อยกเลิก ประกาศ คำสั่ง คปค. กฎหมายที่ออกหลังการรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549
ตลอดจนกระบวนการสอบสวน และคำตัดสินของศาลที่เป็นผลพวงมาจากการยึดอำนาจ
พร้อมยกเลิกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้ก่อการ ผู้สนับสนุน เพื่อเอาผิดฐานก่อกบฏ
ระบุถึงเวลาที่จะต้องกล้าลบล้างสิ่งเหล่านี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกในอนาคต
ย้ำไม่ได้ทำเพื่อช่วยใคร
หากจะสอบสวนเอาผิดผู้ถูกกล่าวหาให้ใช้กระบวนการตามกฎหมายปรกติดำเนินการ
เรียกร้องประชาชนร่วมกันแสดงพลังผลักดันให้เป็นรูปธรรมอย่าดีแต่พูดต้านรัฐประหาร

วันที่ 18 ก.ย. 2554 คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
ได้จัดเสวนาและออกแถลงการณ์ทางวิชาการ “5 ปีรัฐประหาร 1 ปีนิติราษฎร์”
โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ
นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายธีระ สุธีวรางกูร อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายวรเจตน์ได้อ่านแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีนิติราษฎร์ระบุว่า
ประเด็นที่ 1 การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549

รัฐบาลประหารก่อให้เกิดความขัดแย้ง

รัฐประหารวันที่ 19 ก.ย. 2549 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายนิติรัฐ ทำลายประชาธิปไตย
และยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้คณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหารดังต่อไปนี้

1.ประกาศให้รัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549 และการกระทำใดๆ
ที่มุ่งต่อผลในทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)
ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 จนถึงวันที่ 30 ก.ย. 2549 เสียเปล่า
และถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย

ยกเลิกรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 49

2.ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
มาตรา 36 และมาตรา 37 เสียเปล่า และถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย

3.ประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ที่อาศัยอำนาจตามประกาศของ คปค.
และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษา
ที่เกิดจากการเริ่มกระบวนการโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำ
ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย คปค. เสียเปล่า
และถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย

ยุติเรื่องที่เริ่มต้นมาจาก คตส.

4.ประกาศให้เรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่
และเรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นศาล ที่เกิดจากการเริ่มเรื่องโดย คตส. เป็นอันยุติลง

5.การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาตามข้อ 3
และการยุติลงของกระบวนการตามข้อ 4 ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือการอภัยโทษ
หรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
และไม่ใช่เป็นการลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
ดังนั้น หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่
ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการทางกฎหมายปรกติได้

แก้รัฐธรรมนูญให้ประชาชนลงประชามติ

6.เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไปจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
และนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ

ประเด็นที่ 2 การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ตามที่คณะนิติราษฎร์ได้จัดทำข้อเสนอการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
และนำเสนอสู่สาธารณะตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. 2545 แล้วนั้น

ย้ำมาตรา 112 มีปัญหาหลายด้าน

1.คณะนิติราษฎร์ยังยืนยันว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
มีปัญหาทั้งในแง่ตัวบทกฎหมาย การบังคับใช้ และอุดมการณ์
จำเป็นต้องแก้ไข
บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ควรปฏิเสธว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่มีปัญหา
และไม่จำเป็นต้องแก้ไข ทั้งที่ยังไม่มีการศึกษาและอภิปรายในวงกว้างอย่างจริงจัง

2.คณะนิติราษฎร์เห็นว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องความสมดุลระหว่าง
ความร้ายแรงของการกระทำอันเป็นความผิดกับโทษที่ผู้กระทำความผิดนั้นควรได้รับ
จึงไม่เป็นไปตามหลักความพอสมควรแก่เหตุ
ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 29

จี้ กก. ปฏิรูปฯเปิดรับฟังความเห็น

3.คณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในประเด็นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
เพื่อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. 2553 มาตรา 19 (3)

ประเด็นที่ 3 กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย
และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549

ต้องอำนวยความยุติธรรมกับทุกฝ่าย

สืบเนื่องจากการรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549
ประเทศไทยต้องตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเรื่อยมา
มีการชุมนุมของฝ่ายต่างๆ
มีการใช้ความรุนแรง
มีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
และมีผู้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน
ดังนั้น เพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย
และเพื่อบรรเทาความเสียหายของประชาชน
คณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้ดำเนินการดังต่อไปนี้โดยเร่งด่วน และเป็นรูปธรรม

สร้างหลักประกันความยุติธรรม

1.คณะนิติราษฎร์ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมที่มีเป้าหมายแอบแฝง
เพื่อยุติกระบวนการพิสูจน์ความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งต่างๆที่เกิดขึ้น
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี สิทธิของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด
โดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง หรือมีประเด็นทางการเมืองเป็นองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญ
ต้องได้รับการประกันตามกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรม (Due Process)
ในลักษณะที่ไม่แตกต่างจากผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดในกรณีทั่วไป
สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวต้องถูกพิจารณาโดยเคร่งครัดและอย่างเป็นภาวะวิสัย
ในขณะที่การเรียกประกันหรือหลักประกันก็ต้องไม่เกินความจำเป็นแก่กรณี
ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 110 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งสอดคล้องกับหลักให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ (Presumption of Innocence)
และก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น
เสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ ตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 39

จี้ ครม. ออกมติช่วยเหลือผู้เสียหาย

2.โดยอาศัยหลักความรับผิดของรัฐ คณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะรัฐมนตรี
พิจารณาออกมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความช่วยเหลือหรือจ่ายค่าทดแทน
แก่ผู้ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น
ภายหลังรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549 อย่างไม่เลือกปฏิบัติ
โดยอาจแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบโดยเฉพาะ
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราค่าทดแทน สามารถอาศัยแนวทางตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว เช่น
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544
หรือพระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการ การปฏิบัติงานของชาติ
หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 เป็นต้น
และการได้รับค่าทดแทนดังกล่าวไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ผู้เสียหายพึงได้ตามกฎหมายอื่น

กสม. ต้องติดตามการละเมิดสิทธิ

3.คณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
ติดตามตรวจสอบการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชนของผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยองค์กรต่างๆ
ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เพื่อเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนตามพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 28

ประเด็นที่ 4 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
เป็นผลพวงต่อเนื่องจากรัฐประหาร วันที่ 19 ก.ย. 2549
จึงมีปัญหาความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
แม้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวผ่านการออกเสียงประชามติก็ตาม
แต่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญ
และกระบวนการจัดให้มีการออกเสียงประชามติไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย

1.คณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
“หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่”

ใช้รัฐธรรมนูญ 4 ฉบับเป็นต้นร่าง

2.คณะนิติราษฎร์เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบ
ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
สมควรเป็นพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ
ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญ
เท่าที่สอดคล้องกับพัฒนาการในยุคร่วมสมัยมาเป็นแนวทางในการยกร่าง

สร้างจิตวิญาณประชาธิปไตย

3.เพื่อมิให้การรัฐประหารทำลายหลักการอันเป็นรากฐานของนิติรัฐประชาธิปไตยจนหมดสิ้น
คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการจัดทำ
“คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย”
แม้คำประกาศดังกล่าวจะไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย
แต่คำประกาศดังกล่าวเป็นวิญญาณของระบอบเสรีประชาธิปไตย
ที่ไม่มีบุคคลใดหรือไม่มีวิธีใดทำลายหรือทำให้สูญสิ้นไปได้

ทุกคนมีอิสระและเสมอภาค

4.คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตยยืนยันว่า
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิอำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย
ไม่มีผู้ใดและไม่มีวิธีใดที่จะพรากไปจากราษฎรได้
การปกครองโดยกฎหมายที่ยุติธรรมเป็นคุณค่าพื้นฐานของรัฐ
และการแบ่งแยกอำนาจเป็นอุดมการณ์ในการจัดรูปการปกครองที่ต้องธำรงไว้ให้มั่นคงตลอดกาล

ลงประชามติรัฐธรรมนูญใหม่

5.หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
ให้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบ

นายปิยบุตรกล่าวว่า ประเด็นแรกเรื่องผลพวงรัฐบาลวันที่ 19 ก.ย. 2549
ข้อเสนอนี้ตั้งบนพื้นฐานการไม่ยอมรับรัฐประหาร
หรือบางคนอาจต่อต้าน เวลาการรัฐประหาร 5 ปีที่ผ่านมาเป็นโอกาสอันดีของคน
ที่เคยพูดว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารในการแสดงออกมาเป็นรูปธรรม
ขอเชิญชวนให้คนที่ไม่เห็นด้วยแต่ไม่เคยแสดงออก
ช่วยพิจารณาข้อเสนอของพวกเราเรื่องการล้มล้างรัฐประหาร
ถ้าสักแต่พูดใครก็พูดได้ วิธีการนี้คือวิธีการบอกอย่างชัดเจนว่าไม่เอารัฐประหาร

เสนอเพื่อไม่ให้มีรัฐประหารอีก

ข้อเสนอนี้มีประโยชน์คือ เป็นการประกาศเป็นสัญลักษณ์ว่าต่อไปนี้ในแผ่นดินนี้
มีโอกาสที่รัฐประหารจะถูกประกาศว่าเป็นสิ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
มีโอกาสที่ผลผลิตจากรัฐประหารอาจต้องถูกล้มล้าง
และเป็นการป้องกันการทำรัฐประหารที่อาจจะมีขึ้นในอนาคต
เพราะคนที่ทำรัฐประหาร คนรับใช้รัฐประหาร
ต้องพึงสังวรว่าวันข้างหน้าถ้าระบบเข้าสู่ปรกติ
อาจจะถูกระบบการล้มล้างรัฐประหารโต้กลับเกิดขึ้นได้

ศาลต้องกล้าไม่ใช้คำสั่งรัฐประหาร

นายปิยบุตรกล่าวว่า เวลาพูดถึงเรื่องรัฐประหารมักมีคนพูดว่ามีวิธีการป้องกัน แบ่งเป็นสองช่วงคือ
หลังรัฐประหารหมาดๆ คนจะต่อต้านน้อย แต่ยังมีวิธี เช่น
องค์กรผู้ใช้กฎหมาย โดยเฉพาะศาลอาจจะมาช่วยในการตัดสินคดี
ในทิศทางไม่ยอมรับกับสิ่งที่คณะรัฐประหารทำขึ้นมา
แต่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าหลังรัฐประหารหมาดๆมีแต่อำนาจดิบเถื่อนใครจะไปกล้าขวางทางปืน
และอีกช่วงคือ หลังจากรัฐประหารเสร็จแล้วเริ่มเข้าสู่รูปแบบปรกติ
มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง พอเข้าสู่ช่วงนี้ก็มีวิธีการ เช่น องค์กรนิติกรผู้ใช้กฎหมาย
โดยเฉพาะศาลต้องกล้าพอที่จะหาหนทางไม่ใช้ข้อกำหนดที่เกิดจากการรัฐประหาร
หรือใช้แต่ตีความให้เป็นคุณกับประชาธิปไตย

ย้อนดูคำตัดสินอ้างประกาศรัฐประหาร

“ปัญหาของเราคือพยายามที่จะไม่ใช้ผลผลิตของการรัฐประหาร
หากย้อนไปดูในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าศาลยึดถือคำสั่ง คปค.
ในการตัดสินคดีหลายคดี โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญ ที่ถึงขั้นประกาศว่า
คำสั่ง ประกาศของ คปค. เป็นอำนาจรัฐถาธิปัตย์
บ้างก็อธิบายว่าสถานการณ์ขณะนั้นจำเป็นต้องมีองค์กรอย่าง คตส.
ขึ้นมาตรวจสอบทรัพย์สิน คุณค่าของคำพิพากษาหรือกฎหมายจึงมีแค่ข้อเดียวคือ
เอามาใช้สอนนักศึกษาว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องลบล้างเรื่องเหล่านี้”

ล้างคำสั่งไม่พอต้องเอาผิดฐานก่อกบฏ

นายธีระกล่าวว่า เมื่อมีการทำให้การนิรโทษกรรมเป็นโมฆะ หมายถึง
การนำรัฐประหารมาลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง
ข้อเสนอคือจะประกาศความเป็นโมฆะของรัฐธรรมนูญ
เมื่อประกาศการนิรโทษกรรมถือเสมือนหนึ่งไม่เคยเกิดขึ้น
คณะรัฐประหารก็ยังเป็นกบฏ จึงไม่เฉพาะตัวการคณะรัฐประหารเท่านั้น
ผู้ใช้และผู้สนับสนุนทั้งหลายต้องลากเอามาลงโทษด้วย
จึงเห็นว่าแค่ลบล้างคำสั่งของคณะรัฐประหารไม่เพียงพอ
เพราะไม่เช่นนั้นเขาก็จะทำรัฐประหารใหม่
สิ่งที่จะเสนอควบคู่คือการประกาศการเป็นโมฆะของรัฐธรรมนูญ
ถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
จะประกาศความเป็นโมฆะของนิรโทษกรรมให้ผู้ทำรัฐประหารปี 2549
และขอให้ลงประชามติให้ถล่มทลายเพื่อจะได้ลากพวกเขาออกมา



http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=12144